พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2575/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างต้องพิจารณาจากการกระทำของนายจ้าง ไม่ใช่แค่การบอกกล่าว การเรียกคืนทรัพย์สินและสั่งหยุดงานถือเป็นการเลิกจ้าง
พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 118 วรรคสอง บัญญัติว่า "การเลิกจ้างตามมาตรานี้หมายความว่า การกระทำใดที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้ ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเพราะเหตุอื่นใด และหมายความรวมถึงกรณีที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่ดำเนินกิจการต่อไป" ดังนั้น การจะวินิจฉัยว่ามีการเลิกจ้างแล้วหรือไม่จึงต้องพิจารณาถึงการกระทำของนายจ้างประกอบด้วย จะพิจารณาเพียงว่ามีการบอกกล่าวเลิกจ้างด้วยวาจาหรือเลิกจ้างเป็นหนังสือแล้วหรือไม่ ย่อมไม่ได้
ธ. ประธานกรรมการบริหารของจำเลยแจ้งในที่ประชุมว่าขอให้โจทก์ลาออกโดยจะให้ค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้าง 3 เดือน และให้เวลาโจทก์ปรึกษากับครอบครัวก่อน 3 วัน แต่ในวันเดียวกันนั้นเอง ธ. ขอรถยนต์ประจำตำแหน่งที่โจทก์ใช้อยู่คืน โดยในช่วงระยะเวลา 3 วันนี้โจทก์ไม่ต้องไปทำงาน ซึ่งหาก ธ. ยังให้โอกาสโจทก์ตัดสินใจเสียก่อนดังที่แจ้งต่อโจทก์ ก็ไม่มีเหตุผลใดที่ต้องเรียกเอารถประจำตำแหน่งคืนเสียตั้งแต่วันนั้น และไม่มีเหตุผลใดที่จะให้โจทก์หยุดทำงาน การกระทำของ ธ. มีลักษณะไม่ยอมให้โจทก์ทำงานให้จำเลยอีก ถือได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ตั้งแต่วันที่เรียกเอารถประจำตำแหน่งคืนจากโจทก์แล้ว หาใช่วันที่จำเลยคัดชื่อโจทก์ออกจากการเป็นพนักงานของจำเลยอันเป็นระยะเวลาหลังจากนั้นไม่
ธ. ประธานกรรมการบริหารของจำเลยแจ้งในที่ประชุมว่าขอให้โจทก์ลาออกโดยจะให้ค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้าง 3 เดือน และให้เวลาโจทก์ปรึกษากับครอบครัวก่อน 3 วัน แต่ในวันเดียวกันนั้นเอง ธ. ขอรถยนต์ประจำตำแหน่งที่โจทก์ใช้อยู่คืน โดยในช่วงระยะเวลา 3 วันนี้โจทก์ไม่ต้องไปทำงาน ซึ่งหาก ธ. ยังให้โอกาสโจทก์ตัดสินใจเสียก่อนดังที่แจ้งต่อโจทก์ ก็ไม่มีเหตุผลใดที่ต้องเรียกเอารถประจำตำแหน่งคืนเสียตั้งแต่วันนั้น และไม่มีเหตุผลใดที่จะให้โจทก์หยุดทำงาน การกระทำของ ธ. มีลักษณะไม่ยอมให้โจทก์ทำงานให้จำเลยอีก ถือได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ตั้งแต่วันที่เรียกเอารถประจำตำแหน่งคืนจากโจทก์แล้ว หาใช่วันที่จำเลยคัดชื่อโจทก์ออกจากการเป็นพนักงานของจำเลยอันเป็นระยะเวลาหลังจากนั้นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2575/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างต้องพิจารณาจากการกระทำของนายจ้าง ไม่ใช่แค่การบอกกล่าว การเรียกคืนรถและให้หยุดงานถือเป็นการเลิกจ้าง
การที่จะวินิจฉัยว่ามีการเลิกจ้างแล้วหรือไม่ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118 ต้องพิจารณาถึงการกระทำของนายจ้างประกอบด้วย จะพิจารณาเพียงว่ามีการบอกกล่าวเลิกจ้างด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือแล้วหรือไม่ ย่อมไม่ได้ แม้ในที่ประชุม ธ. ซึ่งเป็นประธานกรรมการบริหารของบริษัทจำเลยจะขอให้โจทก์ลาออกโดยจะให้ค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้าง 3 เดือน และให้เวลาโจทก์ปรึกษากับครอบครัวก่อน 3 วัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่ายังให้โอกาสโจทก์ตัดสินใจว่าจะยอมลาออกหรือไม่ ก่อนที่ ธ. จะมีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดต่อไป แต่กลับปรากฏว่าในวันนั้นเอง ธ. ขอรถยนต์ประจำตำแหน่งที่โจทก์ใช้อยู่คืน โดยในช่วงระยะเวลา 3 วันนี้ โจทก์ไม่ต้องไปทำงาน การกระทำของ ธ. มีลักษณะไม่ยอมให้โจทก์ทำงานให้จำเลยอีกมิได้ให้โอกาสโจทก์ดังที่กล่าวในที่ประชุม ถือได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ตั้งแต่วันที่เรียกเอารถประจำตำแหน่งคืนแล้วมิใช่เพิ่งเลิกจ้างนับแต่วันที่จำเลยคัดชื่อโจทก์ออกจากการเป็นพนักงานของจำเลย