พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3616/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจผู้รับมอบอำนาจ: การมอบอำนาจต้องระบุชัดเจนถึงขอบเขตการกระทำแทน
แม้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 47 จะมิได้กำหนดแบบของหนังสือมอบอำนาจไว้ก็ตาม แต่ข้อความในหนังสือมอบอำนาจก็ต้องระบุไว้ว่า ให้ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจกระทำการใดแทนผู้มอบอำนาจได้บ้างอันจะทำให้ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจกระทำแทนผู้มอบอำนาจได้เท่าที่ได้รับมอบอำนาจเท่านั้น เมื่อตามหนังสือมอบอำนาจผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้มอบอำนาจได้มอบอำนาจให้ ธ. ติดต่อขอรับรถของกลางจากพนักงานสอบสวนและให้ถ้อยคำต่อพนักงานสอบสวนเกี่ยวกับการติดต่อขอรับรถของกลางคืนเมื่อคดีถึงที่สุดเท่านั้น ผู้มอบอำนาจไม่ได้มอบอำนาจให้ ธ. ยื่นคำร้องต่อศาลหรือดำเนินคดีในชั้นศาล ดังนั้น ธ. ย่อมไม่มีอำนาจยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3206/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีและการกระทำแทนของกรรมการบริษัท: การวินิจฉัยข้อเท็จจริงตามที่คู่ความนำสืบเท่านั้น
คำให้การต่อสู้เพียงว่า นายแสงชัยนายไชยยงค์ และนายเจริญ จะเป็นกรรมการมีอำนาจกระทำการแทนโจทก์หรือไม่ เพียงใด จำเลยไม่รับรองและบุคคลทั้งสามจะมีความสามารถสมบูรณ์ตามกฎหมายเพียงใดหรือไม่ขณะที่ทำหนังสือมอบอำนาจจำเลยไม่ทราบ ลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจในช่องผู้มอบอำนาจ ไม่ใช่ลายมือชื่ออันแท้จริงของผู้มอบอำนาจ เป็นลายมือปลอม ตราประทับก็เป็นตราปลอมเท่านั้น คำให้การดังกล่าวในตอนแรกที่ว่ากรรมการของโจทก์ทั้งสามจะมีอำนาจกระทำแทนโจทก์หรือไม่เพียงใด จำเลยไม่รับรองนั้น เป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งถือว่าไม่ได้ทำการปฏิเสธจึงไม่มีประเด็นจะต้องวินิจฉัย ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังว่านายแสงชัยนายไชยยงค์ และนายเจริญ เป็นกรรมการ ซึ่งกรรมการ 2 ใน 3 ของจำนวนกรรมการดังกล่าวลงชื่อร่วมกันและประทับตราของบริษัทโจทก์มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้ตามฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยในปัญหาว่านายแสงชัยกรรมการคนหนึ่งในจำนวนสองคนของโจทก์ที่ได้ลงชื่อร่วมกันมอบอำนาจให้นายจิรัฐฟ้องคดีนี้ได้ลาออกจากการเป็นกรรมการโจทก์แล้วหรือไม่จึงเป็นการวินิจฉัยที่ไม่ชอบ ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ภาค 3ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1328/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกรรมการขอถอนฟ้องคดี: การกระทำแทนโจทก์โดยกรรมการที่ยังดำรงตำแหน่ง
ตามหนังสือรับรองเอกสารท้ายฟ้องปรากฏว่า พ. และ ท.เป็นกรรมการของโจทก์โดยไม่มีการจดทะเบียนถอนชื่อบุคคลทั้งสองจากการเป็นกรรมการของโจทก์ ต้องถือว่า พ. และ ท.ไม่ได้พ้นจากการเป็นกรรมการของโจทก์ และตามหนังสือรับรองระบุว่า จำนวนหรือชื่อกรรมการที่ลงชื่อผูกพันโจทก์ได้ คือกรรมการสองคนลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของโจทก์ ประกอบกับตามหนังสือรับรองดังกล่าวและข้อบังคับของโจทก์ไม่มีข้อห้ามหรือข้อจำกัดอำนาจของกรรมการว่า ถ้าโจทก์ไม่มีมติให้ถอนฟ้องคดีใด กรรมการของโจทก์จะทำการแทนโจทก์ขอถอนฟ้องคดีนั้นไม่ได้ การที่ พ.และ ท.ลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของโจทก์ขอถอนฟ้อง ถือได้ว่า พ.และ ท.ในฐานะกรรมการของโจทก์ได้ขอถอนฟ้องคดีนี้แทนโจทก์
การขอถอนฟ้องคดีดังกล่าวข้างต้นไม่ว่าจะเป็นผลดีหรือผลเสียต่อโจทก์ ผลดีหรือผลเสียนั้นย่อมตกได้แก่ พ.และ ท.ในฐานะที่เป็นกรรมการของโจทก์ด้วยในลักษณะอย่างเดียวกัน จะถือว่าประโยชน์ทางได้ทางเสียของโจทก์กับของ พ.และ ท.ในการถอนฟ้องคดีเป็นปฏิปักษ์ต่อกันดังที่บัญญัติใน ป.พ.พ.มาตรา 80 ไม่ได้
การขอถอนฟ้องคดีดังกล่าวข้างต้นไม่ว่าจะเป็นผลดีหรือผลเสียต่อโจทก์ ผลดีหรือผลเสียนั้นย่อมตกได้แก่ พ.และ ท.ในฐานะที่เป็นกรรมการของโจทก์ด้วยในลักษณะอย่างเดียวกัน จะถือว่าประโยชน์ทางได้ทางเสียของโจทก์กับของ พ.และ ท.ในการถอนฟ้องคดีเป็นปฏิปักษ์ต่อกันดังที่บัญญัติใน ป.พ.พ.มาตรา 80 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 538/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำแทนผู้อื่นไม่ผูกพันจำเลยโดยตรง แม้รับเงินตามเช็ค การรับสภาพหนี้ต้องทำในนามตนเอง
เช็คมิใช่หลักฐานแห่งการกู้ยืม จำเลยเขียนหนังสือรับสภาพหนี้ลงชื่อด้วยตนเอง แต่วงเล็บท้ายลายมือชื่อว่าแทน พ.จึงเป็นการกระทำแทนพ. มิใช่กระทำในนามของจำเลยเอง ตามพฤติการณ์โจทก์ทราบดีว่าจำเลยกระทำการแทน พ.จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นส่วนตัว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1955/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีละเมิดและอาญา: การรู้ตัวผู้ละเมิดและการกระทำแทนผู้อำนวยการ
หัวหน้าแผนกประกันภัยและสอบสวนขององค์การโจทก์ได้ทำหนังสือตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนดไว้ในระเบียบของโจทก์ ซึ่งออกตามความในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์(ร.ส.พ.) พ.ศ. 2496 มาตรา 21,22 ที่กำหนดให้เจ้าหน้าที่ของโจทก์ปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ ในทันทีที่เกิดอุบัติเหตุขึ้นอันมีผลเท่ากับเป็นการปฎิบัติงานตามหน้าที่ของผู้อำนวยการของโจทก์และแทนผู้อำนวยการของโจทก์ ทวงถามให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2523 ถือได้ว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้วอย่างช้าตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2523 เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องวันที่ 9 สิงหาคม 2525 จึงเกินกว่า 1 ปี คดีของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคแรก จำเลยที่ 1 กระทำความผิดทางอาญา ข้อหาขับรถประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของโจทก์เสียหาย ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 มาตรา 43,157 ซึ่งเป็นคดีลหุโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 102 อายุความทางอาญามีกำหนด 1 ปี เท่ากับคดีละเมิดต้องบังคับตามอายุความทางแพ่งซึ่งมีกำหนด 1 ปี ฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 จึงขาดอายุความเช่นกัน เมื่อคดีได้ความว่า จำเลยที่ 2 ที่ 4 ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดในผลแห่งละเมิด เนื่องจากฟ้องของโจทก์ขาดอายุความเรียกร้องแล้ว จำเลยที่ 6 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนก็ไม่ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887 โจทก์ฟ้องจำเลยเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิด เมื่อพ้นหนึ่งปีนับแต่วันเกิดการละเมิด จำเลยให้การต่อสู้ว่าคดีโจทก์ขาดอายุความ ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่โจทก์ที่จะต้องนำสืบให้ได้ความว่าคดีของโจทก์ไม่ขาดอายุความ หากโจทก์ไม่สืบหรือสืบไม่ได้ก็ต้องถือว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2579/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำแทนของตัวแทนเชิด: ห้างฯ ยอมรับนับถือการกระทำของจำเลยที่ 3 แม้พ้นสถานะผู้จัดการแล้ว
จำเลยที่ 3 ซึ่งเคยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำเลยที่1 แต่ได้พ้นจากการเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการแล้ว ได้เปิดบัญชีกระแสรายวันและทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเปิดเล็ตเตอร์ออฟเครดิตและทำสัญญารับมอบสินค้าเชื่อ (ทรัสต์รีซีท) กับธนาคารโจทก์ ในนามของห้างจำเลยที่ 1และประทับตราชื่อห้างจำเลยที่ 1 ซึ่งแสดงว่าจำเลยที่ 3 กระทำแทนห้างจำเลยที่ 1 มิใช่กระทำเป็นส่วนตัวและ ห้างจำเลยที่ 1ก็ทราบดีถึงกิจการที่จำเลยที่ 3 ได้กระทำ และยอมรับเอาเป็นกิจการที่ทำแทนห้างจำเลยที่ 1 ดังนี้ ถือได้ว่าห้างจำเลยที่ 1 ได้เชิดหรือ รู้อยู่แล้วยอมให้จำเลยที่ 3 แสดงออกเป็นตัวแทนของตน มีอำนาจกระทำกิจการดังกล่าวแทนห้าง ห้างจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดต่อธนาคารโจทก์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า แม้จำเลยที่ 3 จะพ้นจากหุ้นส่วนผู้จัดการห้างจำเลยที่ 1 แต่ก็คงกระทำแทนห้างจำเลยที่ 1 และเพื่อประโยชน์ของห้างจำเลยที่ 1 ตลอดมา เท่ากับโจทก์ตั้งประเด็นไว้ว่า ห้างจำเลยที่ 1เชิดหรือรู้อยู่แล้วยอมให้จำเลยที่ 3 แสดงออกเป็นตัวแทนของห้างจำเลยที่ 1 การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ห้างจำเลยที่ 1 เชิดจำเลยที่ 3 เป็นตัวแทน จึงมิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
โจทก์บรรยายฟ้องว่า แม้จำเลยที่ 3 จะพ้นจากหุ้นส่วนผู้จัดการห้างจำเลยที่ 1 แต่ก็คงกระทำแทนห้างจำเลยที่ 1 และเพื่อประโยชน์ของห้างจำเลยที่ 1 ตลอดมา เท่ากับโจทก์ตั้งประเด็นไว้ว่า ห้างจำเลยที่ 1เชิดหรือรู้อยู่แล้วยอมให้จำเลยที่ 3 แสดงออกเป็นตัวแทนของห้างจำเลยที่ 1 การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ห้างจำเลยที่ 1 เชิดจำเลยที่ 3 เป็นตัวแทน จึงมิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1685/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาโอนสิทธิการเช่าไม่สมบูรณ์ผลหากผู้รับโอนไม่สามารถทำสัญญาเช่ากับเจ้าของตึกได้ การเก็บค่าเช่าช่วงก่อนทำสัญญาเช่าถือเป็นการกระทำแทน
ผู้เช่าทำสัญญากับผู้รับโอน ยอมโอนสิทธิการเช่าตึกให้แก่ผู้รับโอนตั้งแต่วันที่ผู้เช่ามีมติเลิกกิจการบริษัทเป็นต้นไป. โดยผู้รับโอนยอมจ่ายเงินชดเชยให้ผู้เช่าจำนวนหนึ่งเมื่อผู้รับโอนได้ทำสัญญาเช่ากับเจ้าของตึกแล้ว. เห็นเจตนาได้ว่าเป็นสัญญาซึ่งมีวัตถุประสงค์ให้ผู้เช่าโอนสิทธิการเช่าตึกให้ผู้รับโอนในเมื่อผู้รับโอนได้ทำสัญญาเช่ากับเจ้าของตึกแล้ว. ความสำเร็จผลเป็นสัญญาผูกพันกันขึ้นอยู่กับการที่ผู้รับโอนได้ทำสัญญาเช่ากับเจ้าของตึกเป็นสำคัญ. มิใช่เพียงโอนการเช่าหรือให้เช่าช่วงที่มิได้เกี่ยวข้องถึงผู้ให้เช่า.
แม้ผู้เช่าจะมอบหมายให้ผู้รับโอนเก็บค่าเช่าช่วงจากผู้เช่าช่วงตึกได้ก่อนที่ผู้รับโอนจะทำสัญญาเช่ากับเจ้าของตึก.แต่เมื่อผู้รับโอนไม่อาจเข้าเป็นผู้เช่าตึกได้ เพราะเจ้าของตึกไม่ยอมทำสัญญาเช่ากับผู้รับโอน. ทำให้สัญญาโอนสิทธิการเช่าไม่บังเกิดผล. ดังนั้นการที่ผู้รับโอนเข้าเก็บค่าเช่าช่วงจากผู้เช่าช่วง ย่อมมีผลเป็นเพียงกระทำแทนผู้เช่าเท่านั้น. ผู้รับโอนจึงต้องมอบค่าเช่าช่วงทีเก็บไปคืนให้ผู้เช่า โดยหักค่าใช้จ่ายซึ่งเป็นภาระในการเช่าออกเสียก่อน.
แม้ผู้เช่าจะมอบหมายให้ผู้รับโอนเก็บค่าเช่าช่วงจากผู้เช่าช่วงตึกได้ก่อนที่ผู้รับโอนจะทำสัญญาเช่ากับเจ้าของตึก.แต่เมื่อผู้รับโอนไม่อาจเข้าเป็นผู้เช่าตึกได้ เพราะเจ้าของตึกไม่ยอมทำสัญญาเช่ากับผู้รับโอน. ทำให้สัญญาโอนสิทธิการเช่าไม่บังเกิดผล. ดังนั้นการที่ผู้รับโอนเข้าเก็บค่าเช่าช่วงจากผู้เช่าช่วง ย่อมมีผลเป็นเพียงกระทำแทนผู้เช่าเท่านั้น. ผู้รับโอนจึงต้องมอบค่าเช่าช่วงทีเก็บไปคืนให้ผู้เช่า โดยหักค่าใช้จ่ายซึ่งเป็นภาระในการเช่าออกเสียก่อน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1321/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำแทนในการซื้อขายเรือขุดและการเสียภาษีของผู้แทน
โจทก์ได้รับมอบอำนาจจากผู้ขายที่อยู่ต่างประเทศให้ลงชื่อในสัญญาซื้อขายเรือขุดให้แก่การท่าเรือแห่งประเทศไทย การที่โจทก์ลงชื่อในสัญญาซื้อขายแทนผู้ขาย ย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้กระทำการแทนในการทำสัญญาขายนั้นแล้ว จึงต้องยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 76 ทวิ
เมื่อโจทก์มิได้ยื่นรายการตามมาตรา 71(1)เจ้าพนักงานประเมินจึงประเมินเอาได้จากยอดรายรับหรือยอดขายก่อนหักรายจ่าย
แม้ผู้ขายเรือขุดจะได้ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่เมื่อผู้ขายมีการค้าและสถานที่ทำการค้าอยู่ในต่างประเทศ เพียงแต่ประกอบกิจการขายเรือขุด 2 ลำในประเทศไทยโดยมีการประมูลปีละลำ ยังไม่เป็นการประกอบหรือดำเนินการค้าในประเทศไทยตามประมวลรัษฎากร มาตรา 78 โจทก์ผู้ทำการแทนจึงไม่ต้องเสียภาษีการค้าและภาษีเทศบาล
เมื่อโจทก์มิได้ยื่นรายการตามมาตรา 71(1)เจ้าพนักงานประเมินจึงประเมินเอาได้จากยอดรายรับหรือยอดขายก่อนหักรายจ่าย
แม้ผู้ขายเรือขุดจะได้ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่เมื่อผู้ขายมีการค้าและสถานที่ทำการค้าอยู่ในต่างประเทศ เพียงแต่ประกอบกิจการขายเรือขุด 2 ลำในประเทศไทยโดยมีการประมูลปีละลำ ยังไม่เป็นการประกอบหรือดำเนินการค้าในประเทศไทยตามประมวลรัษฎากร มาตรา 78 โจทก์ผู้ทำการแทนจึงไม่ต้องเสียภาษีการค้าและภาษีเทศบาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1254/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแทงเพิกถอนในเอกสารกู้เงิน: การกระทำแทนเจ้าหนี้โดยบุตร
ลูกหนี้ไปทำนิติกรรมขายฝากทรัพย์ให้แก่เจ้าหนี้ เงินค่าขายฝากนี้ตกลงกันให้หักใช้หนี้เงินกู้บางส่วน เจ้าหนี้เอาสัญญากู้ให้บุตรชายบันทึกไว้ว่าลูกหนี้ให้เงินมาเท่าใด คงเหลือเท่าใด และบุตรชายเจ้าหนี้เซ็นชื่อกำกับไว้ ดังนี้ เป็นการที่บุตรชายเจ้าหนี้กระทำแทนเจ้าหนี้ ถือได้ว่าเป็นการแทงเพิกถอนในเอกสารกู้เงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 579/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำแทนบริษัท: แม้ไม่มีการลงนามตามข้อบังคับ ก็ผูกพันบริษัทได้หากทำเพื่อกิจการ
ฟ้องโจทก์กล่าวว่าจำเลยโดยร่วมกันและแทนกันได้ซื้อเชื่อสิ่งของต่าง ๆ และจ้างโจทก์ติดตั้งไฟฟ้ารวมเป็นเงิน 14,405 บาท ขอให้ร่วมกันและแทนกันใช้เงินพร้อมด้วยดอกเบี้ย ดังนี้ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุมเพราะโจทก์พรรณาความชัดแจ้งพอที่จะให้จำเลยเข้าใจได้ดีแล้ว
เมื่อฟังว่าจำเลยที่ 2 ซื้อของจากโจทก์และจ้างโจทก์เพื่อกิจการของบริษัทจำเลยที่ 1 หรือนัยหนึ่งได้ทำการแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งได้รับและใช้ประโยชน์ไปเสร็จแล้ว ไม่จำต้องให้กรรมการลงนามและประทับตราของบริษัทตามข้อบังคับ บริษัทจำเลยที่ 1 ก็หาพ้นความรับผิดไม่.
เมื่อฟังว่าจำเลยที่ 2 ซื้อของจากโจทก์และจ้างโจทก์เพื่อกิจการของบริษัทจำเลยที่ 1 หรือนัยหนึ่งได้ทำการแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งได้รับและใช้ประโยชน์ไปเสร็จแล้ว ไม่จำต้องให้กรรมการลงนามและประทับตราของบริษัทตามข้อบังคับ บริษัทจำเลยที่ 1 ก็หาพ้นความรับผิดไม่.