พบผลลัพธ์ทั้งหมด 36 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4413/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีโอนสิทธิการรับเงินค่าจ้าง ผู้รับโอนทำหน้าที่แทนผู้รับเหมาหลัก ยังต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
โจทก์ทำสัญญารับจ้างก่อสร้างอาคารกับทางราชการ แม้ต่อมาโจทก์จะโอนสิทธิในการรับเงินค่าจ้างทั้งหมดให้แก่บริษัท ว. และทางราชการจ่ายค่าจ้างแต่ละงวดให้แก่บริษัท ว. โดยบริษัทดังกล่าวเป็นผู้ออกใบกำกับภาษีและเป็นผู้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม และชำระภาษีแก่จำเลย แต่โจทก์ก็ยังเป็นคู่สัญญากับทางราชการ การที่ผู้รับโอนรับค่าจ้างไปก็รับไปในฐานะตัวแทนของโจทก์ โจทก์ในฐานะผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจึงเป็นผู้มีหน้าที่ที่จะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตาม ป.รัษฎากร มาตรา 82 (1) เมื่อทางราชการจ่ายค่าจ้างแต่ละงวดโดยบริษัทผู้รับโอนรับเงินไปก็ต้องถือว่าโจทก์เป็นผู้รับเงินค่าจ้างดังกล่าว โจทก์จะต้องนำรายได้ไปยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งมาตรา 83 กำหนดให้โจทก์ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มทุกเดือน ไม่ว่าจะมีการให้บริการในเดือนนั้นหรือไม่ก็ตาม และกรณีเช่นนี้ไม่เป็นการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มซ้ำซ้อนเนื่องจากการที่โจทก์มอบอำนาจให้บริษัท ว. ทำการก่อสร้างแทนโจทก์เท่ากับว่าโจทก์ได้จ้างให้บริษัท ว. ก่อสร้างแทนโจทก์ดังกล่าว บริษัท ว. จึงเป็นผู้ให้บริการแก่โจทก์ จึงต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในฐานะเป็นผู้ประกอบการและเป็นผู้ให้บริการโดยเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากโจทก์ และออกใบกำกับภาษีขายให้แก่โจทก์ ภาษีมูลค่าเพิ่มที่โจทก์ถูกเรียกเก็บดังกล่าวโจทก์สามารถนำไปเป็นภาษีซื้อ ซึ่งจะสามารถนำไปหักภาษีขายที่โจทก์เรียกเก็บจากทางราชการในกรณีที่โจทก์ได้รับเงินค่าจ้างจากทางราชการในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4379/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดสรรที่ดินและบ้าน แม้ไม่มีการจดทะเบียนนิติบุคคลหรือขออนุญาตจัดสรร ไม่ถือเป็นเจตนาฉ้อโกง หากมีเจตนาดำเนินการจริง
จำเลยทั้งสองร่วมกับ จ. และ ว. เป็นหุ้นส่วนร่วมกันจัดสรรที่ดินพร้อมสร้างอาคารพาณิชย์และทาวน์เฮาส์ขายให้แก่ประชาชน โดยใช้ชื่อว่า โครงการหมู่บ้านศรีเมืองทองฯ แม้จำเลยทั้งสองจะไม่ได้จดทะเบียนบริษัทเป็นนิติบุคคล และไม่ได้ขออนุญาตจัดสรรที่ดินตามกฎหมาย ก็ไม่ใช่สาระสำคัญจะบ่งชี้ได้ว่าจำเลยทั้งสองมีเจตนาที่จะฉ้อโกงโจทก์ร่วมที่ 2 และที่ 5 และประชาชน การที่โจทก์ร่วมที่ 2 และที่ 5 เข้าจองซื้อที่ดินและบ้านของโครงการดังกล่าว ก็ได้รับการชักชวนจาก จ. ซึ่งเป็นหุ้นส่วนของจำเลยทั้งสองและเป็นการชักชวนกันของโจทก์ร่วมทั้งแปด หาใช่เป็นเพราะเชื่อถือว่าโครงการดังกล่าวจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ทั้งจำเลยทั้งสองก็ได้ดำเนินการก่อสร้างทาวน์เฮาส์และอาคารพาณิชย์ไปแล้วบางส่วน และยังดำเนินการแบ่งแยกที่ดินจดทะเบียนเป็นทางภาระจำยอม มีการจัดการสาธารณูปโภคเพื่อใช้ประโยชน์ร่วมของโครงการ และได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์ให้แก่ผู้ซื้อบางส่วนแล้ว แม้ต่อมาจำเลยทั้งสองไม่สามารถก่อสร้างทาวน์เฮาส์และอาคารพาณิชย์จนแล้วเสร็จสมบูรณ์ตามโครงการและโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์ร่วมที่ 2 และที่ 5 ได้ครบตามสัญญาทุกรายก็เป็นเพียงผิดสัญญาทางแพ่งเท่านั้นจำเลยทั้งสองจึงไม่มีความผิดฐานฉ้อโกง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8847/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นในการออกคำสั่งระงับการก่อสร้าง และการพิจารณาคำสั่งตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
การออกคำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ผู้ใดก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคารตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 เป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่น สำหรับในเขตกรุงเทพมหานครหมายถึงผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 2 ดังนั้น การที่ ส. ผู้อำนวยการเขตบางกอกใหญ่ในฐานะผู้ปฏิบัติราชการแทนจำเลยที่ 2 มีคำสั่งให้โจทก์ระงับการดัดแปลงอาคาร จึงเห็นได้ว่าคำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งของจำเลยที่ 2 โดยเฉพาะ มิใช่คำสั่งของกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงมิใช่ผู้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1
พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร มาตรา 40 (3) ที่กำหนดให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจพิจารณามีคำสั่งตามมาตรา 41 คือสั่งโดยกำหนดเวลาให้เจ้าของอาคารยื่นคำขออนุญาตให้ถูกต้องภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้มีคำสั่งตามมาตรา 40 (1) นั้น เป็นบทบังคับให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องพิจารณามีคำสั่งตามมาตรา 41 ภายในเวลาอันสมควร มิใช่บังคับให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องมีคำสั่งตามมาตรา 40 (1) เสียก่อนหรือบังคับให้คำสั่งตามมาตรา 40 (1) ต้องมีผลบังคับไปชั่วระยะเวลาหนึ่งก่อนจึงจะพิจารณามีคำสั่งดังที่บัญญัติไว้ตามมาตรา 40 (3) ได้ ดังนั้นคำสั่งที่ให้โจทก์ระงับการดัดแปลงอาคารและคำสั่งที่ให้โจทก์แก้ไขและยื่นคำขอรับใบอนุญาตฉบับใดจะออกก่อนหลังกันอย่างไรและลงวันที่ในคำสั่งหรือไม่จึงไม่ใช่ข้อสำคัญ คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นทั้งสองฉบับและคำวินิจฉัยอุทธรณ์จึงชอบด้วยกฎหมายและไม่มีเหตุจะเพิกถอน
พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร มาตรา 40 (3) ที่กำหนดให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจพิจารณามีคำสั่งตามมาตรา 41 คือสั่งโดยกำหนดเวลาให้เจ้าของอาคารยื่นคำขออนุญาตให้ถูกต้องภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้มีคำสั่งตามมาตรา 40 (1) นั้น เป็นบทบังคับให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องพิจารณามีคำสั่งตามมาตรา 41 ภายในเวลาอันสมควร มิใช่บังคับให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องมีคำสั่งตามมาตรา 40 (1) เสียก่อนหรือบังคับให้คำสั่งตามมาตรา 40 (1) ต้องมีผลบังคับไปชั่วระยะเวลาหนึ่งก่อนจึงจะพิจารณามีคำสั่งดังที่บัญญัติไว้ตามมาตรา 40 (3) ได้ ดังนั้นคำสั่งที่ให้โจทก์ระงับการดัดแปลงอาคารและคำสั่งที่ให้โจทก์แก้ไขและยื่นคำขอรับใบอนุญาตฉบับใดจะออกก่อนหลังกันอย่างไรและลงวันที่ในคำสั่งหรือไม่จึงไม่ใช่ข้อสำคัญ คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นทั้งสองฉบับและคำวินิจฉัยอุทธรณ์จึงชอบด้วยกฎหมายและไม่มีเหตุจะเพิกถอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1739/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ที่ดินติดต่อเพื่อการก่อสร้างและการซ่อมแซมรั้ว/กำแพง แม้ฝ่าฝืนเทศบัญญัติก็ใช้สิทธิได้หากสุจริต
จำเลยเป็นผู้ครอบครองที่ดินติดต่อที่ดินของโจทก์ด้านที่ โจทก์จำเป็นต้องใช้ฉาบปูนและทาสีอันเป็นการจำเป็นในการ ปลูกสร้างอาคารของโจทก์เมื่อโจทก์ได้บอกกล่าวล่วงหน้าให้ จำเลยทราบเป็นระยะเวลาพอสมควรแล้วโจทก์ก็ย่อมใช้ที่ดินที่จำเลยครอบครองอยู่เพียงเท่าที่จำเป็นเพื่อการดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1351 วรรคแรก โจทก์ฟ้องจำเลยเนื่องจากจำเลยไม่ยอมให้โจทก์เข้าไปใช้ ที่ดินของจำเลยตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1351 อันเป็นบทบัญญัติจำกัดสิทธิของจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดิน ที่อยู่ติดต่อกับที่ดินของโจทก์ แม้การก่อสร้างอาคารของโจทก์ ซึ่งติดกับแนวเขตที่ดินจะเป็นการฝ่าฝืนเทศบัญญัติก็ตาม แต่กรณีดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3372/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำที่ดินโดยสุจริต: การบังคับใช้ภาระจำยอมและการชำระค่าใช้ที่ดิน
จำเลยประกาศเรียกประกวดราคาซื้อที่ดินโดยมีเงื่อนไขว่าผู้ขายต้องถมที่ดินและล้อมรั้วด้วยเสาคอนกรีตเสริมเหล็กรอบที่ดินในเนื้อที่ 1 ไร่ อันเป็นส่วนที่จะใช้ก่อสร้างอาคาร ป.ซึ่งเป็นตัวแทนขายที่ดินแก่จำเลยได้ทำรั้วตามแนวโฉนดด้วยความระมัดระวังตามแนวที่เจ้าของที่ดินชี้ และจำเลยได้ปลูกสร้างอาคารในเขตรั้วนั้น โดยไม่มีคำคัดค้านจาก บ.เจ้าของที่ดินข้างเคียง ส่วนโจทก์ซื้อที่ดินจาก บ.ในระหว่างที่จำเลยกำลังปลูกสร้างอาคาร แต่โจทก์ก็มิได้โต้แย้งคัดค้านแนวเขตแม้จำเลยมิได้รังวัดสอบเขตก่อนลงมือปลูกสร้างอาคาร แต่พฤติการณ์มีเหตุให้จำเลยเชื่อและถือเอาตามแนวเขตหรือแนวรั้วที่ครอบครอง และจำเลยปลูกสร้างอาคารในเขตรั้วที่ผู้รับมอบอำนาจจากผู้ขายทำไว้โดยไม่อาจคาดคิดว่าจะรุกล้ำ ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยประมาทเลินเล่อ แต่เป็นกรณีที่จำเลยสร้างอาคารรุกล้ำที่ดินของโจทก์โดยสุจริตมาตั้งแต่แรกแล้ว กรณีต้องบังคับตาม ป.พ.พ.มาตรา 1312 วรรคหนึ่งคือ จำเลยเป็นเจ้าของอาคารส่วนที่รุกล้ำโดยไม่ต้องรื้อถอน แต่ต้องชำระค่าใช้ที่ดินให้โจทก์ และโจทก์ต้องจดทะเบียนภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่อาคารของจำเลยตามฟ้องแย้ง และหากอาคารส่วนที่รุกล้ำสลายไปหรือรื้อถอนก็ให้โจทก์จดทะเบียนเพิกถอนภาระจำยอม และจำเลยไม่ต้องชำระค่าใช้ที่ดินแก่โจทก์ทั้งสองอีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7105/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวสิ้นผลเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ทางกายภาพ ทำให้ไม่ต้องเพิกถอนคำสั่ง
ภายหลังศาลชั้นต้นมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวระหว่างพิจารณาโดยให้จำเลยขนคนงานและสิ่งของนอกเหนือจากที่ตกเป็นของโจทก์ออกไปจากบริเวณที่ก่อสร้างแล้ว ในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลอุทธรณ์จำเลยได้ขนย้ายคนงานและสิ่งของออกไปจากบริเวณที่ก่อสร้างตามคำสั่งศาลชั้นต้น และโจทก์ได้เข้าทำการก่อสร้างอาคารจนแล้วเสร็จ และได้แบ่งแยกโฉนดโอนขายให้แก่บุคคลภายนอกแล้ว ดังนี้ คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นย่อมสิ้นผลบังคับไปโดยสภาพ กรณีจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องพิจารณาเพิกถอนคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวของศาลชั้นต้นตามฎีกาของจำเลยอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3822/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้แทนโจทก์โดยตัวแทนและบุคคลที่เกี่ยวข้อง: การชำระหนี้โดยชอบ
โจทก์ได้ยินยอมให้นายแช่มเป็นตัวแทนของโจทก์ในการควบคุมการก่อสร้าง รวมตลอดถึงรับเงินค่าจ้างได้ด้วย ดังนี้ การที่จำเลยชำระเงินค่าก่อสร้างให้แก่นายแช่ม จึงเป็นการชำระให้แก่ผู้มีอำนาจรับชำระหนี้แทนโจทก์ ถึงแม้จำเลยจะชำระเงินค่าก่อสร้างบางส่วนให้แก่ บ. ช. และ อ. แต่เนื่องจาก บ.เป็นภริยาของนายแช่ม ช.เป็นน้องชายของนายแช่ม และ อ.เป็นผู้ร่วมทำการก่อสร้างกับนายแช่ม ทั้งไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทักท้วงการกระทำดังกล่าวของจำเลย กรณีจึงถือได้ว่า บุคคลดังกล่าวกระทำการรับชำระหนี้ร่วมกับนายแช่มแทนโจทก์ เป็นการชำระหนี้โดยชอบเช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2660/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองชั่วคราวเพื่อห้ามการก่อสร้างบนที่ดินพิพาทที่มีข้อโต้แย้งเรื่องสิทธิครอบครอง
แม้คำฟ้องอ้างเพียงว่าจำเลยเข้าเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทของโจทก์ทั้งหกกับพวกด้วยการยื่นคำคัดค้านขอรังวัดออกโฉนดที่ดินขอให้ห้ามจำเลยเข้าเกี่ยวข้องและรบกวนการครอบครองแต่เมื่อจำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองจึงมีประเด็นพิพาทว่าฝ่ายใดมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทการที่จำเลยยินยอมให้ผู้อื่นเช่าที่ดินพิพาทส่วนหนึ่งปลูกสร้างอาคารร้านค้าในเวลาต่อมาอันเป็นการกระทำขึ้นใหม่ซึ่งอาจเกิดความเสียหายแก่โจทก์ทั้งหกได้หากศาลพิพากษาให้โจทก์ทั้งหกเป็นฝ่ายชนะคดีจึงมีเหตุสมควรและเพียงพอที่จะนำวิธีคุ้มครองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา254(2)มาใช้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3217/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอม: การก่อสร้างหลังคาและประตูปิดกั้นทางพิพาทโดยไม่จำเป็น ขัดสิทธิการใช้ภารจำยอม แม้มีการอนุญาตจากเจ้าของเดิมก็ยกเลิกได้
ทางพิพาทซึ่งอยู่ในที่ดินของโจทก์ตกอยู่ในภารจำยอมแก่ที่ดินของจำเลยทั้งสองเพียงให้คนและยานพาหนะผ่านเข้าออกสู่ถนนสาธารณะเท่านั้น ฉะนั้นการก่อสร้างหลังคาคลุมทางพิพาทก็ดี การทำประตูปิดกั้นทางพิพาทก็ดี หาใช่การอันจำเป็นเพื่อรักษาและใช้ภารจำยอมไม่จำเลยทั้งสองจึงไม่มีสิทธิที่จะปลูกสร้างหลังคาคลุมและทำประตูปิดกั้นทางพิพาท และแม้เจ้าของที่ดินที่เป็นภารยทรัพย์คนเดิมจะอนุญาตให้จำเลยทั้งสองก่อสร้างหลังคาคลุมและทำประตูปิดกั้นทางพิพาทได้ การอนุญาตดังกล่าวก็หาได้มีข้อผูกพันให้มีผลอยู่ตลอดไปไม่ดังนั้น เจ้าของที่ดินเดิมหรือโจทก์ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์จากเจ้าของที่ดินเดิมจะถอนการอนุญาตเสียในเวลาใดก็ย่อมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2427/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของโครงการไม่ต้องรับผิดค่าเสียหายจากการก่อสร้าง หากไม่ได้ควบคุมดูแล
จำเลยเป็นเจ้าของโครงการก่อสร้างอาคาร แต่จำเลยไม่ได้ควบคุมและสั่งการในการก่อสร้าง เพราะได้ว่าจ้างให้บุคคลอื่นเป็นผู้ก่อสร้างและควบคุมดูแลการก่อสร้าง เมื่อความเสียหายเกิดจากการก่อสร้าง โจทก์จะต้องไปเรียกร้องเอาค่าเสียหายจากผู้ก่อสร้าง ไม่ใช่จากจำเลย เพราะจำเลยไม่ได้ทำละเมิดต่อโจทก์