คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
การขัดขวาง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1820/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าของที่ดินในการใช้สอยและขัดขวางการใช้ประโยชน์ในที่ดินของตนโดยมิชอบ แม้จะกระทบสิทธิการค้าขายของผู้ที่ได้รับประโยชน์จากการใช้ทางร่วม
การที่จำเลยที่ 2 นำแผ่นเหล็กปิดกั้นประตูด้านข้างตึกแถวของโจทก์ หรือทำประตูเหล็กปิดกั้นปากทางเข้าออกหอพัก ล้วนได้กระทำภายในเขตโฉนดที่ดินของตนที่ซื้อมาจากจำเลยที่ 1 และปากทางเข้าออกหอพักนั้นก็ไม่ได้ตกอยู่ในภารจำยอมอันจะทำให้โจทก์มีสิทธิใช้ประโยชน์จากที่ดินดังกล่าว โดยเฉพาะการที่บุคคลใดจะใช้ประโยชน์จากที่ดินของบุคคลอื่นได้นั้นต้องมีสิทธิอันมีกฎหมายรองรับ เมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิเช่นว่านี้จำเลยที่ 2 ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินย่อมมีสิทธิที่จะใช้สอย รวมทั้งมีสิทธิขัดขวางไม่ให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับที่ดินนั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336
การที่จำเลยที่ 2 นำแผ่นเหล็กและทำประตูเหล็กปิดกั้นก็เพราะมีบุคคลภายนอกเข้ามาใช้ทางเข้าออกหอพัก และเพื่อเป็นการป้องกันทรัพย์สินของผู้ที่อาศัยอยู่ในหอพักเป็นการใช้สิทธิตามปกติวิสัยของผู้เป็นเจ้าของที่ดินในการคุ้มครองความปลอดภัยแก่ผู้ที่อาศัยอยู่ในที่ดินของจำเลยที่ 2 ถือไม่ได้ว่าเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นและโจทก์เองก็สามารถประกอบกิจการค้าขายด้านหน้าร้านได้ตามปกติ ซึ่งอาจจะลดความสะดวกลงไปบ้าง แต่ก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ใช้สิทธิของตนเป็นเหตุให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ได้รับความเสียหาย หรือเดือดร้อนเกินกว่าที่ควรคิดหรือคาดหมายได้ว่าจะเป็นไปตามปกติและเหตุอันควรในเมื่อเอาสภาพและตำแหน่งที่อยู่แห่งทรัพย์สินนั้นมาคำนึงประกอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1337
ขณะทำสัญญาซื้อขายตึกแถว จำเลยที่ 1 ได้ตกลงให้โจทก์ทำประตูเหล็กปิดเปิดที่ผนังด้านข้างของตึกได้ แต่ข้อตกลงดังกล่าวไม่ได้มีการทำบันทึกไว้เป็นหลักฐานและเป็นเพียงบุคคลสิทธิไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 2 ผู้ซื้อที่ดินต่อจากจำเลยที่ 1 และไม่ใช่กรณีผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการกระทำโดยชอบด้วยกฎหมายไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3898/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนพรรคการเมือง: ภาพเครื่องหมายพรรคขัดต่อ พ.ร.บ.ธงหรือไม่ และการร้องซ้ำ
คดีก่อนศาลวินิจฉัยว่า การขอเปลี่ยนภาพเครื่องหมายพรรคการเมืองหลังจากนายทะเบียนสั่งรับแจ้งหนังสือเชิญชวนแล้ว ไม่มีบทมาตราใดในพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2524 กำหนดให้นำคดีขึ้นสู่ศาลได้คณะผู้เริ่มจัดตั้งพรรคปฏิวัติไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยได้พิพากษายกคำร้อง คดีนี้ผู้ร้องอ้างว่าผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอจดทะเบียนพรรคต่อนายทะเบียนพรรคการเมือง ผู้คัดค้านไม่ยอมรับจดทะเบียนให้อ้างว่าพรรคปฏิวัติมิได้แก้ไขภาพเครื่องหมายพรรคที่มีลักษณะประดิษฐ์ภาพบนแถบสีธงชาติ อันเป็นความผิดต่อพระราชบัญญัติธง พ.ศ. 2522 ขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดว่า การไม่ยอมรับจดทะเบียนพรรคปฏิวัติเป็นไปโดยมิชอบกรณีไม่เป็นร้องซ้ำเพราะคดีก่อนศาลยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาดว่าภาพเครื่องหมายพรรคปฏิวัติมีลักษณะประดิษฐ์ภาพลงบนแถบธงชาติหรือไม่ ทั้งเหตุที่ผู้ร้องกล่าวในคำร้องคดีหลังเป็นเหตุที่เกิดขึ้นใหม่
เครื่องหมายพรรคการเมืองของผู้ร้อง เป็นรูปวงกลม 2 วงซ้อนกันโดยวงกลมเล็กอยู่ภายในวงกลมใหญ่ พื้นระหว่างเส้นรอบวงกลมใหญ่กับวงกลมเล็กเป็นสีขาว มีชื่อพรรคปฏิวัติกับข้อความอุดมการณ์ของพรรคลงไว้ ส่วนภายในวงกลมเล็กพื้นส่วนใหญ่ตอนบนเป็นสีฟ้าพื้นตอนล่างเป็นสีเขียวแสดงเป็นผืนนา มีรูปธรรมจักรทับด้วยพานรัฐธรรมนูญอยู่กลางวงกลมเล็กมีแถบสีธงชาติลอยอยู่ข้างรูปธรรมจักรข้างละอันแถบสีธงชาติแต่ละชิ้นโค้งขนานกับวงล้อของธรรมจักรและขนานกับเส้นรอบวงของวงกลมเล็ก ส่วนบนของแถบสีธงชาติแต่ละชิ้นสูงกว่ารูปธรรมจักรเล็กน้อยและส่วนล่างก็ต่ำลงไปกว่ารูปธรรมจักรเล็กน้อยรูปธรรมจักรและแถบสีธงชาติอยู่ในส่วนที่พื้นเป็นสีฟ้า พานรัฐธรรมนูญและซี่ธรรมจักรเป็นสีเหลือง พื้นระหว่างซี่ธรรมจักรเป็นสีขาว ลักษณะเครื่องหมายดังกล่าวของพรรคการเมืองผู้ร้องเป็นการประดิษฐ์รูปธรรมจักรทับด้วยพานรัฐธรรมนูญอยู่ในกรอบสีฟ้าในแถบสีธงชาติต้องห้ามตามพระราชบัญญัติธง พ.ศ. 2522

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3091/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าสถานที่เพื่อประกอบธุรกิจ: การขัดขวางการใช้สถานที่ไม่ใช่การบุกรุก
โจทก์ทำสัญญาเช่าสถานที่ตั้งโต๊ะในโรงแรม จากบริษัท ข. ซึ่งจำเลยที่ 1 เป็นรองผู้จัดการฝ่ายปกครอง จำเลยที่ 2 เป็นประธานกรรมการ เพื่อโจทก์จะได้ติดต่อให้บริการรถยนต์รับจ้างแก่แขกผู้มาพักในโรงแรม เห็นว่าเจตนาของคู่สัญญาเป็นการให้สิทธิโจทก์ที่จะนำรถยนต์รับจ้างมาบริการแก่แขกผู้มาพักในโรงแรม การให้ใช้สถานที่ตั้งโต๊ะเป็นแต่เพียงให้ความสะดวกแก่โจทก์จะได้ใช้เป็นที่ติดต่อกับแขกผู้มาพักเกี่ยวกับการใช้รถยนต์รับจ้างของโจทก์เท่านั้น ส่วนการครอบครองสถานที่ยังอยู่กับจำเลย หากจะมีการขัดขวางไม่ยอมให้โจทก์มาใช้สถานที่และให้บริการรถยนต์รับจ้างในโรงแรมดังกล่าว ก็เป็นกรณีทางแพ่ง ไม่เป็นการรบกวนครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์โดยปกติสุขอันจะเป็นความผิดอาญาฐานบุกรุก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1618/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในลำเหมืองเมื่อฟ้องไม่ชัดเจน: เจ้าของที่ดินมีสิทธิใช้ประโยชน์และขัดขวางการสอดเข้าเกี่ยวข้อง
โจทก์ฟ้องตั้งรูปคดีกล่าวหาว่าจำเลยกระทำละเมิดเอาดินถมปิดลำเหมืองของโจทก์ ซึ่งตั้งอยู่ในป่าไม่มีเจ้าของ.มิได้ฟ้องว่าลำเหมืองอยู่ในที่ดินของจำเลย.และจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของภารยทรัพย์ กระทำการกลบลำเหมืองอันเป็นภารจำยอม. เป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก. ศาลจะวินิจฉัยว่าโจทก์ได้ทรัพย์สิทธิภารจำยอมในลำเหมืองโดยอายุความหาได้ไม่. เพราะนอกประเด็นในคำฟ้อง.
เมื่อฟ้องของโจทก์มิได้อ้างสิทธิ.ว่าโจทก์ได้ทรัพย์สิทธิภารจำยอมในลำเหมืองพิพาท. ก็ต้องถือว่าโจทก์มิได้เป็นผู้ทรงทรัพย์สิทธิภารจำยอมในลำเหมืองพิพาท. จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่ลำเหมืองพิพาทตั้งอยู่ย่อมมีสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 กลบลำเหมืองพิพาทเพื่อใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้. บทบัญญัติมาตรา 1337 หาลบล้างสิทธิของเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ในอันที่จะใช้สิทธิของตนตามมาตรา 1336 ไม่.
กรณีที่จะเป็นละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา421 นั้น. จะต้องเป็นการแกล้งโดยผู้กระทำมุ่งต่อผลคือความเสียหายแก่ผู้อื่นถ่ายเดียว. แต่ถ้าเป็นการกระทำโดยประสงค์ต่อผลอันเป็นธรรมดาแห่งสิทธินั้น. แม้ผู้กระทำจะเห็นว่าผู้อื่นจะได้รับความเสียหายบ้างก็ไม่เป็นละเมิด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1519/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าต่อเนื่อง การขัดขวางการใช้ประโยชน์ และละเมิดจากผู้เช่าหลังสัญญาหมดอายุ
สัญญาเช่าข้อ 2 มีความว่า สัญญาเช่ามีกำหนด 15เดือน นับตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม 2504 และแทนการชำระค่าเช่าในระหว่างการเช่าดังกล่าวนี้ ผู้เช่าตกลงซ่อมแซมโรงและหน้าโรงในส่วนที่จำเป็นเพราะทรุดโทรมไม่อยู่ในสภาพที่ใช้การได้ ประมาณเงิน 200,000 บาท เป็นการตอบแทนแทนค่าเช่า ฯลฯ สัญญาข้อ 10 มีความว่าถ้าหมดสัญญาเช่า ผู้เช่า ไม่อาจจะดำเนินกิจการต่อไปได้ เพราะกิจการไม่เจริญตามความคาดหมาย แต่เพื่อมิต้องขนย้ายทรัพย์สินที่ซื้อมาจากบริษัท ค. ผู้ให้เช่ายินยอมให้ผู้เช่าต่อสัญญาโดยไม่คิดมูลค่าใดๆ แต่ให้คิดหักเป็นรายเดือนออกจากเงิน 170,000 บาท เป็นจำนวนเดือนละ 5,000 บาท จนครบจำนวนเงินดังกล่าวแล้ว เมื่ออยู่ต่อไปจนครบจำนวนเงิน 170,000 บาทที่จ่ายไปแล้ว ผู้เช่ายินยอมโอนทรัพย์สมบัติรายนี้ให้แก่ผู้ให้เช่าทั้งนี้ต้องแล้วแต่ความสมัครใจของผู้เช่าว่าจะอยู่ต่อไปหรือไม่ ฯลฯ ดังนี้ เมื่อพิจารณาข้อความในสัญญาเช่าข้อ 2 ข้อ 10 ประกอบกันแล้ว ย่อมเห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยในขณะที่ทำสัญญาได้ว่า ทั้งสองฝ่ายประสงค์จะให้การเช่าระยะแรกกับระยะหลังติดต่อกันไป คำว่า'ต่อสัญญา' ในข้อ 10 นั้น ในที่นี้ไม่มีทางแปลเป็นอย่างอื่นนอกจากต่อจากกำหนดเวลาเช่าระยะแรก ข้อความในสัญญาข้ออื่นก็ไม่มีตอนใดที่แสดงให้เห็นว่าคู่สัญญามีความประสงค์ที่จะเว้นระยะการเช่าสองระยะนั้นให้ห่างจากกันในกรณีใด ฉะนั้นเมื่อการเช่าระยะแรกครบกำหนด 15 เดือนในวันที่ 15 มิถุนายน 2505. การเริ่มต้นนับกำหนดเวลาเช่าระยะที่ 2 จึงต้องเริ่มตั้งแต่วันที่ 16มิถุนายน 2505 ตามสัญญา และเมื่อคำนวณจำนวนเงินค่าเช่าเดือนละ 5,000 บาท หักกับจำนวนเงิน 170,000 บาท ตามสัญญาข้อ 10 แล้ว การเช่าระยะที่ 2 มีกำหนด 34 เดือน และครบกำหนดในวันที่ 15 เมษายน 2508
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 537 โจทก์ผู้ให้เช่ามีหน้าที่ต้องให้จำเลยผู้เช่าได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินที่เช่าตลอดเวลาของการเช่า หากโจทก์ขัดขวางมิให้จำเลยใช้สถานที่เช่า ก็เป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เป็นไปตามสัญญา ชอบที่จำเลยจะดำเนินการตามสิทธิของตนในฐานที่โจทก์ผิดสัญญาเป็นอีกส่วนหนึ่ง กรณีดังกล่าวนั้น การที่โจทก์ขัดขวางไม่ให้จำเลยใช้สถานที่เช่า นับตั้งแต่สัญญาเช่าระยะแรกครบกำหนด เพิ่งยอมให้ใช้เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2506.หาเป็นเหตุให้กำหนดเวลาเช่าระยะหลังมาเริ่มต้นนับตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคม 2506 ไม่ เพราะคู่กรณีมิได้ตกลงกันเช่นนั้น การเช่าระยะหลังจึงครบกำหนดในวันที่ 15เมษายน 2508 ก่อนโจทก์ฟ้องคดีโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยเช่าต่อไป ได้บอกกล่าวให้จำเลยรู้ตัวก่อนแล้วสัญญาเช่าย่อมระงับ จำเลยไม่มีสิทธิจะใช้สถานที่เช่าได้อีก การที่จำเลยยังใช้สถานที่เช่าของโจทก์อยู่ หากโจทก์ได้รับความเสียหาย ย่อมเป็นละเมิด
ในกรณีละเมิด ถ้าเห็นได้ว่าการกระทำของจำเลยก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์อยู่ในตัว แม้โจทก์นำสืบถึงจำนวนความเสียหายไม่ได้แน่นอน ศาลก็มีอำนาจกำหนดค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ได้ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 438
จำเลยเช่าโรงภาพยนต์ของโจทก์มาทำการฉายภาพยนต์หาประโยชน์ เมื่อสัญญาเช่าระงับแล้ว จำเลยยังคงใช้สถานที่เช่าต่อมา จึงเห็นได้อยู่ในตัวว่าโจทก์ย่อมเสียหายขาดประโยชน์ที่จะพึงได้จากโรงภาพยนต์นั้น อย่างน้อยก็เท่ากับค่าเช่าที่เคยได้จากจำเลยตามสัญญา การกระทำของจำเลยจึงเป็นละเมิด อันจะต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ ตามฟ้องของโจทก์ได้บรรยายความเสียหายที่โจทก์ได้รับไว้ 2 ประการ คือ ถ้าจำเลยส่งมอบสถานที่เช่าคืนแก่โจทก์ โจทก์จะนำไปขายชำระหนี้จำนองให้ธนาคาร การที่จำเลยไม่ส่งคืน ทำให้โจทก์ขายไม่ได้ ต้องเสียดอกเบี้ยทบต้นแก่ธนาคารตามฟ้องซึ่งจำเลยจะต้องรับผิด ประการหนึ่ง หรือถ้าไม่ขายโจทก์อาจจัดการใช้ทรัพย์สินรายนี้หาประโยชน์ จะมีรายได้สุทธิไม่ต่ำกว่าเดือนละ 70,000 บาท การที่จำเลยไม่ส่งคืน จึงทำให้โจทก์เสียหายขาดรายได้ดังกล่าวอีกประการหนึ่ง โจทก์มิได้ฟ้องเรียกค่าเสียหายประเภทที่ต้องเสียดอกเบี้ยแก่ธนาคารแต่ประการเดียว ฉะนั้น การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์เดือนละ 5,000 บาท จึงเป็นการใช้ค่าสินไหมทดแทน เนื่องจากโจทก์ต้องขาดรายได้ในการที่จะนำทรัพย์สินที่เช่ามาหาประโยชน์ดังที่โจทก์กล่าวในฟ้องนั้นเอง หาเป็นการนอกประเด็นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 271/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ทางสาธารณะและการลงโทษจำเลยในคดีอาญา: โจทก์ต้องพิสูจน์การขัดขวางทางสัญจร
คดีอาญาที่โจทก์หาว่าจำเลยตัดฟันต้นไม้ปิดทางหลวง เมื่อจำเลยปฏิเสธและต่อสู้ว่าทางที่ตัดฟันไม้ทับ มิใช่ทางสาธารณะไม่เป็นการขัดขวางทางสัญจร กับจะขอสืบว่าทางที่โจทก์ฟ้องไม่ใช่ทางประจำ เป็นทางที่ใช้กันมานานแล้ว ดังนี้หากโจทก์ไม่สืบพะยาน ก็ลงโทษจำเลยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 676/2485

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำผิดฐานขัดขวางทางน้ำสาธารณประโยชน์ต้องพิสูจน์การขัดขวางจริง
ที่จะเป็นผิดฐานทำให้ขัดขวางแก่ทางน้ำไหลอันเป็นของสาธารณประโยชน์นั้น. การที่ได้กระทำลงเป็นการขัดขวางอย่างไรเป็นข้อสำคัญที่ประกอบเป็นองค์ความผิด. ฟ้องขอให้ลงโทษฐานทำให้ขัดขวางทางน้ำไหล. โจทก์มีหน้าที่ต้องนำสืบข้อสำคัญว่าการกระทำเป็นการขัดขวางแก่การที่ได้อาศัยใช้ทางน้ำอันเป็นสาธารณประโยชน์อย่างไรด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11233/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเครื่องหมายการค้าและการขัดขวางการใช้เครื่องหมาย การฟ้องร้องต้องอาศัยเหตุแห่งการละเมิดที่ชัดเจน
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนเครื่องหมายการค้าคำว่า "เทวินทร์" และ "TAYWIN" ระหว่างจำเลยทั้งสองและถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าว ขอให้จำเลยที่ 2 ถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "เทวินทร์" และ "TAYWIN" ของจำเลยที่ 2 และขอให้ห้ามจำเลยทั้งสองขัดขวางหรือกระทำการใด ๆ อันเป็นการรบกวนโจทก์และธุรกิจของโจทก์ในการใช้เครื่องหมายการค้า "TAYWIN ORIGINAL STYLE" อ้างว่าจำเลยที่ 1 ทำผิดข้อตกลงตามสัญญาให้ใช้สิทธิ โดยมิได้อ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า "เทวินทร์" และ "TAYWIN" ดีกว่าจำเลยทั้งสองตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 67 แต่อย่างใด ทั้งจำเลยทั้งสองมิได้ฟ้องแย้งว่าจำเลยทั้งสองมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าโจทก์ คดีนี้จึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยทั้งสองมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าโจทก์หรือไม่
การที่จำเลยที่ 2 แจ้งต่อโจทก์ให้โจทก์และผู้เกี่ยวข้องระงับการใช้ แสดง จำหน่าย สั่งเข้า มีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า "เทวินทร์" และ "TAYWIN" ภายในระยะเวลาที่กำหนด หากเพิกเฉยจะดำเนินการตามกฎหมายแก่ผู้ใช้ ผู้ละเมิดสิทธิ ผู้เลียน ผู้ปลอม ผู้ลวงขายสินค้าดังกล่าวโดยมิชอบจนถึงที่สุด โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้ดำเนินคดีอาญาต่อโจทก์ หรือโจทก์ได้รับความเสียหายอย่างใด ข้ออ้างของโจทก์จึงเป็นเหตุการณ์ในอนาคตซึ่งไม่แน่ว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่ ในขณะฟ้องโจทก์จึงยังไม่ถูกโต้แย้งสิทธิ และไม่อาจขอบังคับให้ห้ามกระทำการใดที่ยังไม่เกิดขึ้นได้
การที่จำเลยที่ 1 คัดค้านการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และอุทธรณ์คำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เป็นการใช้สิทธิในฐานะเจ้าของเครื่องหมายการค้า ไม่อาจถือเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตหรือขัดขวางหรือกระทำการอันเป็นการรบกวนโจทก์และธุรกิจของโจทก์ในการใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "TAYWIN ORIGINAL STYLE" แต่อย่างใด โจทก์จึงไม่อาจขอบังคับให้ห้ามจำเลยทั้งสองขัดขวางหรือกระทำการใด ๆ อันเป็นการรบกวนโจทก์และธุรกิจของโจทก์ในการใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "TAYWIN ORIGINAL STYLE"

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1240/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเข้าจับกุมและการต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน การกระทำที่เข้าข่ายต่อสู้หรือไม่
สิบตำรวจเอก ป. แจ้งข้อหาจำเลยว่า เล่นการพนันจับยี่กีโดยเป็นคนเดินโพยฝ่ายเจ้ามือ จำเลยปฏิเสธ สิบตำรวจเอก ป. กับพวกรวม 5 คน จะเข้าจับกุม จำเลยไม่ยินยอมโดยสิบตำรวจเอก ป. มีรูปร่างใหญ่กว่าจำเลยมาก การที่จำเลยเดินหนีออกนอกร้านก๋วยเตี๋ยวจนสิบตำรวจเอก ป. กับพวกต้องใช้กำลังล็อกแขน กดหน้าจำเลยกับพื้นระเบียงเพื่อใส่กุญแจมือจำเลยในลักษณะไขว้หลัง ขณะจำเลยดิ้นรนขัดขืนเพื่อให้พ้นจากการถูกควบคุมตัวเพราะเห็นว่าตัวเองไม่ได้กระทำผิด ซึ่งแม้ในการดิ้นรนของจำเลยจะเป็นเหตุให้มือของจำเลยไปโดนหน้าอกของสิบตำรวจ ป. เกิดเป็นรอยถลอกขนาดเล็กก็ตาม แต่การกระทำดังกล่าว ก็ยังไม่ถึงขั้นที่จะเป็นการต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ตาม ป.อ. มาตรา 138

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8201/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการคุ้มครองสิทธิผู้ซื้อทรัพย์จากการถูกขัดขวางการเข้าใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน
บทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 309 ตรี มีเจตนารมณ์ที่จะให้การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลเป็นไปด้วยความรวดเร็วและเพื่อคุ้มครองสิทธิของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการบังคับคดีให้ได้รับสิทธิและสามารถใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินอันตกอยู่ในการบังคับคดีโดยไม่ถูกลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบริวารขัดขวางหรือโต้แย้งการใช้สิทธิของผู้ซื้อทรัพย์โดยมิชอบ ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.พ. (ฉบับที่ 22)ฯ โดยมาตรา 2 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าวบัญญัติให้ พ.ร.บ. นี้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป คือมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 28 กรกฎาคม 2548 เป็นต้นไป โดยไม่มีบทเฉพาะกาลกำหนดว่าบทบัญญัติที่แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. นี้ มิให้ใช้บังคับแก่คดีที่ฟ้องก่อนวันที่ พ.ร.บ. นี้มีผลใช้บังคับแต่อย่างใด ดังนั้น ป.วิ.พ. มาตรา 309 ตรี ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. ดังกล่าว จึงผูกพันใช้บังคับแก่คู่ความและบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการบังคับคดีทันที ดังนั้น เมื่อผู้ซื้อทรัพย์ได้ซื้อทรัพย์มาจากการขายทอดตลาดและมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์พิพาท แม้จะเป็นการได้กรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์พิพาทก่อนวันที่ พ.ร.บ. ดังกล่าวมีผลใช้บังคับก็ตาม แต่ผู้ซื้อทรัพย์ได้ยื่นคำขอให้ศาลออกคำบังคับให้จำเลยและบริวารออกไปจากอสังหาริมทรัพย์พิพาท เมื่อ พ.ร.บ. ดังกล่าวมีผลใช้บังคับแล้ว จึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 309 ตรี มาใช้บังคับแก่กรณีตามคำขอของผู้ซื้อทรัพย์