คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
การขับไล่

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าไม่มีหลักฐาน การขับไล่ผู้เช่า และข้อยกเว้นการบอกเลิกสัญญา
เช่าบ้านไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ ผู้ให้เช่าขับไล่ผู้เช่าได้โดยไม่ต้องบอกเลิกตาม มาตรา 566 ซึ่งใช้ในกรณีมีหนังสือเช่าเป็นหลักฐานใบเสร็จรับเงินค่าเช่าเป็นหลักฐานการเช่าได้หรือไม่ไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน มิใช่จะยกขึ้นอ้างเมื่อใดก็ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 419/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความยินยอมในการออกจากเคหะหลังหมดสัญญาเช่า: การต่ออายุสัญญาและการตกลงยินยอมออกไป ถือเป็นความยินยอมตาม พ.ร.บ.ควบคุมการเช่าเคหะ
การที่ผู้เช่าทำสัญญาเช่าเคหะไว้โดยมีกำหนดระยะเวลาหนึ่ง เมื่อครบกำหนดแล้วผู้ให้เช่ากับผู้เช่าได้มีการต่ออายุสัญญาออกไปอีกโดยตกลงกันว่า เมื่อครบกำหนดระยะเวลาที่ต่อออกไปนี้แล้ว ผู้เช่ายินยอมจะออกไปจากที่เช่านั้น ถือได้ว่าได้รับความยินยอมจากผู้เช่าตามความหมายของมาตรา 17(5) แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ. 2504 แล้ว ผู้ให้เช่าจึงฟ้องขับไล่ผู้เช่าได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1770/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายฝากและการรับซื้อฝากแทนกัน ผู้รับซื้อฝากมีสิทธิฟ้องขับไล่ได้ แม้ตัวการจะยังไม่เปิดเผยชื่อ
โจทก์เป็นกรรมการอำนาวยการบริษัท ท. และบริษัท ทปด.โจทก์ให้ ส.ลงชื่อเป็นผู้ซื้อฝากทรัพย์รายพิพาทจากจำเลย แต่ความจริงปรากฎว่าบริษัท ทปด.เป็นผู้ซื้อฝากที่แท้จริง จำเลยมิได้ไถ่ทรัพย์คืนจนพ้นกำหนด ส.ถึงแก่กรรม ทายาทของ ส. โอนทรัพย์รายพิพาทให้แก่โจทก์เมื่อตัวการที่ไม่เปิดเผยชื่อ คือ บริษัท ทปด.ยังมิได้แสดงตนเข้ารับเอาสัญญาที่โจทก์ได้ทรัพย์รายพิพาท โจทก์ก็คงมีสิทธิตามสัญญานั้นอยู่ มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยและให้จำเลยส่งทรัพย์รายพิพาทให้ เมื่อโจทก์ฟ้องแล้วบริษัท ทปด.ร้องสอดขอเข้ามาในคดีเข้าแทนที่โจทก์รับเอาสัญญาจากโจทก์ โจทก์ก็ยินยอม ดังนี้ บริษัท ทปด.ก็ได้อำนาจจากโจทก์โดยตัวแทนยอมคืนทรัพย์สินให้ตัวการ จำเลยจะคัดค้านว่าโจทก์กับบริษัท ทปอ.ไม่มีอำนาจฟ้องย่อมฟังไม่ได้
และเมื่อพ้นกำหนดการไถ่แล้ว ทรัพย์รายพิพาทไม่ใช่เป็นของจำเลยแล้ว จำเลยก็ไม่มีสิทธิที่จะอยู่และใช้ทรัพย์นี้ได้ต่อไป ดังนั้น โจทก์จะเป็นผู้รับซื้อฝากเองหรือผู้ใดจะอ้างว่าเป็นตัวการเข้ารับเอาสัญญาที่โจทก์รับซื้อฝากแทน ผลก็เท่ากัน ไม่ทำให้เสื่อมสิทธิของจำเลยในการขายฝากนี้แต่อย่างใด เพราะเมื่อจำเลยไม่มีสิทธิในทรัพย์รายพิพาทแล้ว ทรัพย์นั้นจะเป็นของบริษัท ทปด.ผู้ร้องสอดดังที่ผู้ร้องสอดกล่าวอ้างหรือว่าเป็นของบริษัท ท. โดย ส.รับซื้อแทนดังที่จำเลยอ้าง ก็เป็นเรื่องของโจทก์ที่จะยอมรับความเป็นจริง จำเลยไม่อาจอ้างเรื่องสิทธิฟ้องร้องขึ้นต่อสู้ว่าทรัพย์นั้นเป็นของบริษัท ท.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1645/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องขับไล่ขึ้นอยู่กับการนำสืบเรื่องการบอกกล่าวให้จำเลยออกจากห้องเช่า การฟังข้อเท็จจริงนอกพยานหลักฐานเป็นเหตุให้ศาลต้องยกฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าห้องพิพาทโจทก์ซื้อมาจากเจ้าของเดิม โจทก์ได้บอกเลิกสัญญาเช่ากับจำเลยแล้ว ขอให้ขับไล่จำเลยและบริวาร จำเลยต่อสู้ว่าโจทก์ยังไม่ได้บอกกล่าว จำเลยได้รับความคุ้มครองตาม พระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯ
ก่อนพิจารณาโจทก์จำเลยรับกันว่าโจทก์เป็นเจ้าของห้องพิพาทจำเลยไม่ได้ทำสัญญาเช่าจากโจทก์ จำเลยขายข้าวสารน้ำปลาและของเบ็ดเตล็ดและอาศัยอยู่ในห้องพิพาท ได้จดทะเบียนการค้าตามโจทก์อ้างจริง แล้วโจทก์จำเลยไม่สืบพยาน
ดังนี้แม้ในฟ้องของโจทก์ได้กล่าวว่าได้บอกกล่าวจำเลยแล้วจำเลยก็มิได้รับตามฟ้อง จึงเป็นหน้าที่โจทก์ต้องนำสืบให้ได้ความในเรื่องบอกกล่าวจึงจะมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย เมื่อไม่สืบก็ต้องยกฟ้อง แต่ศาลชั้นต้นกลับฟังว่าโจทก์ได้บอกกล่าวแล้วจึงเป็นการฟังข้อเท็จจริงเรื่องบอกกล่าวนอกพยานหลักฐานในสำนวน และปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายไม่ใช่ข้อเท็จจริงไม่ต้องห้ามฎีกา
อนึ่งโจทก์ก็มิได้คัดค้านในชั้นอุทธรณ์ว่าจำเลยไม่มีสิทธิอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ไว้(เรื่องบอกกล่าว) จึงให้ยกฎีกาของโจทก์เสีย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 788/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการครอบครองบนที่ดินเช่า: การขับไล่จำเลยที่ 1 และสิทธิการอยู่อาศัยของผู้เช่าเรือน
จำเลยที่ 1 เช่าที่ดินของโจทก์ซึ่งมีเรือนปลูกอยู่ แต่ปรากฎว่าเรือนที่ปลูกไม่ใช่ของจำเลยที่ 1 เป็นของผู้มีชื่อ และจำ เลยที่ 2 - 3 เป็นผู้เช่าเรือนพิพาทอยู่จากเจ้าของเรือน ครั้นหมดสัญญาเช่าที่ดินแล้ว โจทก์บอกเลิกการเช่ากับจำเลย ที่ 1 ให้จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 - 3 ออกจากที่ และรื้อเรือนพิพาทไป ดังนี้ ศาลย่อมพิพากษาขับไล่ตัวจำเลยที่ 1 ออก จากที่พิพาทไปได้ แต่จะรื้อเรือนพิพาทออกไปด้วยย่อมไม่ได้ เพราะเป็นเรือนของผู้อื่น ซึ่งโจทก์มิได้ฟ้องผู้นั้นด้วย จึงยังไม่มีใครชี้ว่าเจ้าของเรือนพิพาทมีอนาจที่จะคงปลูกเรือนพิพาทอยู่ในที่ของโจทก์หรือไม่ และจะบังคับให้จำเลย ที่ 2 - 3 ซึ่งเป็นผู้เช่าเรือนพิพาทจากเจ้าของเรือนให้ออกไปจากเรือน ก็ไม่ได้ด้วย./

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8600/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินจากการจัดสรรของรัฐ การครอบครองปรปักษ์ และการชดใช้ค่าเสียหาย
ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินป่าผืนใหญ่จอมทองที่คณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยอาศัยอำนาจตาม ป.ที่ดิน มาตรา 14 อนุมัติให้หน่วยงานราชการนำมาจัดให้แก่ประชาชนได้อยู่อาศัยและประกอบการทำมาหาเลี้ยงชีพ เมื่อเป็นการจัดที่ดินโดยรัฐ การพิจารณาเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินพิพาทจึงต้องพิจารณาจาก ป.ที่ดิน และระเบียบว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อประชาชน ฉบับลงวันที่ 24 สิงหาคม 2498 ที่ออกโดยอาศัยอำนาจตาม ป.ที่ดิน มาตรา 20 (6), 27 และ 33 เป็นสำคัญ ซึ่งตามระเบียบว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อประชาชน ข้อ 3 ได้กำหนดลักษณะของที่ดินที่จะนำมาจัดให้แก่ประชาชนไว้ และที่ดินที่จะนำมาจัดสรรตามระเบียบฉบับนี้ก็คือที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่เป็นที่รกร้างว่างเปล่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (1) ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่บุคคลอาจจะได้มาตามกฎหมายที่ดินตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1334 นั้นเอง ส่วนผู้ที่จะเข้าอยู่อาศัยหรือประกอบการทำมาหาเลี้ยงชีพในที่ดินที่รัฐจัดให้นั้น ต้องเป็นบุคคลธรรมดาซึ่งมีคุณสมบัติและอยู่ในลักษณะข้อกำหนดโดยครบถ้วนตามข้อบังคับ ระเบียบ ข้อกำหนดและเงื่อนไขที่คณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติกำหนด ตามระเบียบข้อ 4 ข้อ 10 ข้อ 11 ข้อ 14 และข้อ 21 ตามระเบียบดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ป.ที่ดิน ในหมวดว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อประชาชนมีเจตนารมณ์ที่จะให้ประชาชนที่ไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง หรือมีอยู่แล้วแต่มีจำนวนน้อยไม่พอเลี้ยงชีพได้มีที่ดินไว้เป็นที่อยู่อาศัยและทำมาหาเลี้ยงชีพ โดยได้มอบอำนาจให้คณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาตินำที่ดินซึ่งเป็นของรัฐไปจัดสรรให้แก่ประชาชนกลุ่มดังกล่าว โจทก์ซึ่งได้รับการจัดสรรที่ดินพิพาทให้เป็นที่ทำมาหาเลี้ยงชีพและได้รับใบจองเลขที่ 1557 จากทางราชการแล้วจึงมีสิทธิตามใบจองในอันที่จะเข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท และต้องถือว่าโจทก์เป็นผู้ได้รับสิทธิในที่ดินตาม ป.ที่ดิน โดยชอบ อย่างไรก็ตามเมื่อทางราชการยังไม่ได้ออกเอกสารสิทธิในที่ดินให้แก่โจทก์ ก็ยังถือไม่ได้ว่ารัฐได้มอบสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์แล้ว ที่ดินพิพาทจึงยังเป็นของรัฐ ดังนั้น จำเลยจึงหาอาจอ้างเรื่องการแย่งการครอบครองขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ได้ไม่ อีกทั้งจะยกเรื่องระยะเวลาการฟ้องเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 ขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ผู้มีสิทธิตามใบจองไม่ได้เช่นกัน ส่วนที่โจทก์เข้าครอบครองที่ดินพิพาทแล้ว ต่อมามีกลุ่มคนบุกรุกเข้ามาครอบครองที่ดินพิพาทและขู่ฆ่า โจทก์และชาวบ้านรายอื่น ๆ อีกหลายร้อยรายที่ถูกบุกรุกที่ดินได้รวมตัวกันไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจ และร้องเรียนไปยังหน่วยงานราชการต่าง ๆ และคดีถึงที่สุดโดยศาลปกครองสูงสุดพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลปกครองเชียงใหม่ที่ให้เพิกถอนโฉนดที่ดินเลขที่ 9600 ที่ออกทับที่ดินพิพาท ก็ต้องถือว่าโจทก์ได้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทแล้ว แต่มีเหตุจำเป็นทำให้โจทก์ไม่สามารถทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตามใบจองเลขที่ 1557 ให้แล้วเสร็จได้ภายใน 3 ปี ตามที่กำหนดไว้ในระเบียบข้อ 17 โจทก์จึงยังคงเป็นผู้มีสิทธิตามใบจองเลขที่ 1557 อยู่ จำเลยไม่อาจยกการครอบครองตาม ป.พ.พ. ขึ้นต่อสู้โจทก์ซึ่งได้สิทธิมาโดยชอบตาม ป.ที่ดิน ได้ เมื่อศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษายืนตามคำพิพากษาของศาลปกครองเชียงใหม่ซึ่งเป็นศาลปกครองชั้นต้นที่ให้เพิกถอนโฉนดที่ดิน 9600 ที่ออกทับที่ดินพิพาทตามใบจองเลขที่ 1557 โดยเห็นว่าการออกโฉนดที่ดินเลขที่ 9600 เป็นการออกโดยอาศัยแบบแจ้งการครอบครองที่ดินที่ทำปลอมขึ้น จำเลยก็ย่อมไม่มีสิทธิที่จะอยู่ในที่ดินพิพาทตามใบจองเลขที่ 1557 อีกต่อไป การที่จำเลยยังคงอยู่ในที่ดินพิพาทจึงเป็นการอยู่โดยละเมิด จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์