คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
การขายที่ดิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6287/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีส่วนท้องถิ่นจากการขายที่ดิน: การบังคับชำระหนี้ในคดีล้มละลายตามลำดับความสำคัญของกฎหมาย
ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครฯ(มาตรา 112(1) และเทศบัญญัติของเทศบาลนครกรุงเทพ เรื่องการจัดเก็บอากร และค่าธรรมเนียมบางประเภท (ฉบับที่ 2)ฯ ข้อ 3บัญญัติว่า การค้า ซึ่งสถานการค้าอยู่ในเขตเทศบาล ให้ผู้ประกอบการค้ามีหน้าที่เสียภาษีเพิ่มเพื่อเทศบาลอีกในอัตราร้อยละ 10ของอัตราตามประมวลรัษฎากรฯ ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวมุ่งหมายให้สถานการค้าในเขตเทศบาลนครกรุงเทพหรือกรุงเทพมหานครมีหน้าที่ต้องชำระภาษีเพิ่มเพื่อเทศบาลเมื่อลูกหนี้ทั้งสองขายที่ดินไป 1 แปลงโดยไม่ปรากฏว่าลูกหนี้ทั้งสองมีสถานการค้าจึงต้องถือว่าบ้านที่อยู่อาศัยของลูกหนี้ทั้งสองเป็นสถานการค้าตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 77(เดิม) เมื่อสถานการค้าดังกล่าวอยู่ในเขตเทศบาลกรุงเทพมหานครลูกหนี้ทั้งสองจึงมีหน้าที่ต้องชำระภาษีส่วนท้องถิ่น
ภาษีท้องถิ่นดังกล่าวเป็นภาษีที่คำนวณมาจากเงินเพิ่มภาษีการค้าจำนวน 80,052.50 บาท ในอัตราร้อยละ 10 เมื่อเงินเพิ่มจำนวน 35,145 บาท ถึงกำหนดชำระภายใน 6 เดือนก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ภาษีส่วนท้องถิ่นจำนวน 3,514.50 บาท จึงอยู่ในลำดับที่จะได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 130(6) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายฯ ส่วนเงินเพิ่มที่เหลือจำนวน 44,907.50 บาท ถึงกำหนดชำระเกินกว่า 6 เดือนก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ภาษีส่วนท้องถิ่นจำนวน 4,490.75 บาท จึงอยู่ในลำดับที่จะต้องได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 130(8)(เดิม) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2231/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตีความสัญญาประนีประนอมยอมความ: การขายที่ดินถือเป็นการได้รับประโยชน์ตามสัญญา แม้ผู้ขายมิได้เป็นผู้ก่อสร้างเอง
การตีความสัญญาต้องตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 368 สาเหตุที่จำเลยจำต้องปิดถนนอันเป็นมูลเหตุให้โจทก์ทั้งสี่ฟ้องร้องเป็นคดีนี้เกิดจากการที่โจทก์ทั้งสี่ขนวัสดุก่อสร้างเข้าไปปลูกสร้างบ้านและอาคารในที่ดินของโจทก์ทั้งสี่ตามแผนที่ท้ายฟ้องผ่านถนนของจำเลยโดยไม่ได้จ่ายค่าตอบแทนให้แก่จำเลยและทำให้ถนนของจำเลยได้รับความเสียหาย เมื่อโจทก์ทั้งสี่เสนอจะซ่อมแซมถนนและจ่ายเงินเป็นค่าตอบแทนในการใช้ถนนให้ จำเลยจึงยอมทำสัญญาประนีประนอมยอมความ และเปิดถนนให้โจทก์ทั้งสี่ใช้ประโยชน์ตามเดิม ดังนั้น วัตถุประสงค์ของการทำสัญญาประนีประนอมยอมความก็เพื่อให้จำเลยได้รับค่าตอบแทนจากการขนวัสดุก่อสร้างผ่านถนนของจำเลยเข้าไปปลูกสร้างในที่ดินตามแผนที่ท้ายฟ้อง ไม่ว่าโจทก์ทั้งสี่จะดำเนินการเองหรือให้บุคคลอื่นทำก็ตาม เมื่อโจทก์ทั้งสี่ได้รับประโยชน์ก็ต้องจ่ายเงินค่าตอบแทนจากการใช้ถนนให้แก่จำเลยทั้งนั้น และการที่โจทก์ทั้งสี่ขายที่ดินตามแผนที่ท้ายฟ้องให้บุคคลอื่นปลูกบ้านนั้น ย่อมถือเสมือนว่าโจทก์ทั้งสี่จัดให้มีการปลูกสร้างในที่ดินตามแผนที่ท้ายฟ้อง และโจทก์ทั้งสี่ก็ได้รับผลประโยชน์จากการขายที่ดิน ถือว่าโจทก์ทั้งสี่ได้รับประโยชน์ตามเงื่อนไขในสัญญาประนีประนอมยอมความแล้วจึงต้องจ่ายเงินค่าตอบแทนให้แก่จำเลยตามสัญญาประนีประนอมยอมความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 753/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้เช่าที่ดินเกษตรกรรมในการซื้อที่ดินก่อน กรณีเจ้าของที่ดินจะขาย
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อที่ดินนาจากจำเลยและวางเงินมัดจำไว้โดยโจทก์ทราบอยู่แล้วว่ามีผู้เช่าที่ดินพิพาททำนาในขณะทำสัญญาจะซื้อจะขายเมื่อผู้เช่านาทราบว่าจำเลยจะขายที่ดินพิพาทจึงแสดงความจำนงจะซื้อที่ดินพิพาทเป็นหนังสือยื่นต่อประธานคชก.ตำบลและทำเรื่องคัดค้านขอเช่าและซื้อที่ดินต่อทางอำเภอจำเลยเพียงแต่แจ้งแก่ผู้เช่านาว่าจะขายที่ดินพิพาทมิได้ทำเป็นหนังสือดังนี้ผู้เช่านาย่อมได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524มาตรา53โดยมีสิทธิจะซื้อที่ดินพิพาทก่อนโจทก์การที่จำเลยไม่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทตามกำหนดเวลาให้โจทก์ก็เนื่องจากผู้เช่านาจะขอซื้อที่ดินพิพาทโดยดำเนินการถูกต้องตามบทบัญญัติมาตรา53ทุกประการและโจทก์รู้ดีว่าที่ดินพิพาทมีผู้เช่าทำนาหากจำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ไปเพราะเหตุมิได้ปฏิบัติตามมาตรา53ผู้เช่านาก็มีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทจากโจทก์ได้ตามมาตรา54และในกรณีกลับกันหากจำเลยแจ้งให้ผู้เช่านาทราบโดยทำเป็นหนังสือถูกต้องตามบทบัญญัติมาตรา53ผู้เช่านาก็มีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทก่อนโจทก์เช่นกันการกระทำของจำเลยจึงไม่ผิดสัญญาต่อโจทก์โจทก์ก็มิได้ปฏิบัติผิดสัญญาแต่อย่างใดจำเลยจึงต้องคืนมัดจำแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2562/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้เช่าที่ดินเกษตรกรรมหลังการขายที่ดิน ผู้รับโอนต้องเคารพสิทธิเดิมของผู้เช่า การเก็บเกี่ยวข้าวไม่ถือเป็นลักทรัพย์
จำเลยเช่านาพิพาทจากผ. ต่อมาผ. ขายนาพิพาทให้ผู้เสียหายผู้เสียหายต้องรับโอนไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของผ. ตามพ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524คือต้องให้จำเลยใช้นาแปลงพิพาทต่อไปผู้เสียหายจึงไม่มีสิทธิที่จะไถทับที่นาซึ่งจำเลยปลูกข้าวไว้การที่จำเลยเก็บเกี่ยวข้าวในที่นาแปลงพิพาทจึงแสดงว่าจำเลยมีเจตนาที่จะเก็บเกี่ยวข้าวที่จำเลยได้หว่านไว้แม้จะปรากฏว่าผู้เสียหายได้ไถทับที่นาและปลูกต้นข้าวไว้ในนาพิพาทก็ตามแต่โดยสภาพของต้นข้าวที่ขึ้นมาจำเลยไม่น่าจะแยกได้ว่าเป็นต้นข้าวที่ตนหว่านไว้หรือเป็นต้นข้าวที่ผู้เสียหายปลูกไว้จำเลยจึงไม่มีเจตนาทุจริตที่จะลักต้นข้าวของผู้เสียหายจึงไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1580/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้เช่านาเมื่อผู้ให้เช่าขายที่ดิน - การแจ้งการขายตาม พ.ร.บ.ควบคุมการเช่านา
พระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ.2517 มาตรา 41 วรรคแรกบัญญัติว่า "ผู้ให้เช่านาจะขายนาได้ต่อเมื่อได้แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้เช่านาซึ่งเช่านาแปลงนั้นทราบ พร้อมทั้งราคาที่จะขายและวิธีการชำระเงิน...." เช่นนี้ ที่โจทก์เถียงว่าไม่จำเป็นจะต้องแจ้งเป็นหนังสือให้จำเลยที่ 1 ผู้เช่านาทราบ จึงฟังไม่ขึ้น
ต. เจ้าของที่ดินพิพาททำหนังสือสัญญาจะขายให้แก่โจทก์แต่เมื่อยังไม่ได้ปฏิบัติต่อจำเลยที่ 1 ผู้เช่านาให้ถูกต้องตามวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้ และจำเลยที่1ก็ยังไม่ได้ปฏิเสธเป็นหนังสือว่าจะไม่ซื้อที่ดินพิพาทตามมาตรา 41 วรรคสามจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เช่าจึงมีสิทธิดีกว่าโจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 ได้ซื้อและจดทะเบียนรับโอนที่ดินพิพาทมาจาก ต. ผู้ให้เช่าไว้โดยชอบด้วยกฎหมายแล้วเช่นนี้โจทก์จึงหามีอำนาจที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 1 กับ ต. ได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 856/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: การตีความข้อตกลงการขายที่ดิน และขอบเขตการฟ้องเรียกคืน
สัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำไว้ต่อศาลมีว่า โจทก์ให้ที่พิพาทแก่จำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 1 จะนำไปขายโดยไม่แจ้งให้โจทก์ทราบก่อนไม่ได้ดังนี้ แม้ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้ขายที่พิพาทให้จำเลยที่ 2 โดยไม่แจ้งให้โจทก์ทราบ ก็ไม่มีข้อสัญญาว่าจะต้องคืนที่ดินให้โจทก์ตามเดิม โจทก์จึงฟ้องเรียกคืนที่พิพาทกลับมาเป็นของตนอันเป็นข้อนอกเหนือไปจากสัญญาประนีประนอมยอมความหาได้ไม่