คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
การครอบครองปรปักษ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8676/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในโฉนดที่ดินมรดก: การส่งมอบโฉนดคืนผู้จัดการมรดก แม้มีการทำประโยชน์ในที่ดิน แต่ไม่ถือเป็นการได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์
โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายฟ้องเรียกต้นฉบับโฉนดที่ดินพิพาท ซึ่งมีชื่อผู้ตายเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์จากจำเลย หาใช่ฟ้องเรียกที่ดินคืนจากจำเลยไม่ แม้จำเลยจะให้การต่อสู้ว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทก็ถือว่าจำเลยต่อสู้ว่าจำเลยไม่ต้องคืนต้นฉบับโฉนดเท่านั้น จึงเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์ชอบแล้ว
เดิมที่ดินเป็นที่ดินมือเปล่าที่เจ้ามรดกมอบให้จำเลยเข้าทำนาจำเลยเป็นผู้ดูแลแทนผู้ตายซึ่งป่วยเป็นอัมพาต และผู้ตายมอบให้จำเลยดำเนินการออกโฉนดที่ดินแสดงให้เห็นว่าจำเลยยอมรับในกรรมสิทธิ์ของผู้ตายว่ามีเหนือที่ดินโดยสมบูรณ์ จำเลยมิได้ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อแสดงว่าตนครอบครองปรปักษ์หรือเมื่อโจทก์ขอออกใบแทนโฉนดที่ดินจำเลยก็ไม่ได้โต้แย้งสิทธิต่อเจ้าพนักงานที่ดิน พยานหลักฐานของจำเลยไม่อาจหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1373 ที่ว่า ถ้าทรัพย์สินเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ได้จดไว้ในทะเบียนที่ดิน ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้มีชื่อในทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2647/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอมต้องเกิดจากการใช้สิทธิอย่างเปิดเผยและต่อเนื่องในนามเจ้าของที่ดิน ไม่ใช่การใช้ของผู้อยู่อาศัย
++ เรื่อง ภาระจำยอม ++
++ ทดสอบทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++
++ +++++++++++++++++++++++++ ++
++
++ พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงรับฟังได้ในเบื้องต้นว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 3596 และ 4855 ตำบลบางอ้ออำเภอบางซื่อ กรุงเทพมหานคร ซึ่งอยู่ติดต่อกัน และทางด้านทิศเหนือของที่ดินโฉนดเลขที่ 3596 ติดต่อกับที่ดินโฉนดเลขที่ 3597 ของจำเลยซึ่งในที่ดินของจำเลยด้านที่ติดกับที่ดินของโจทก์ จำเลยได้สร้างทางกว้าง 5 เมตร ยาวตลอดแนวเขตที่ดินประมาณ 50 เมตร ไปเชื่อมต่อกับซอยโรจน์นิมิตรเพื่อออกสู่ถนนสาธารณะ บุคคลที่อยู่อาศัยในที่ดินทั้งสองแปลงของโจทก์ได้ใช้ทางในเขตที่ดินของจำเลยเพื่อออกสู่ถนนสาธารณะเมื่อประมาณเดือนกันยายน 2535 จำเลยและบริวารได้ตัดต้นไม้ที่อยู่ชิดแนวเขตระหว่างที่ดินของโจทก์กับที่ดินของจำเลยแล้วสร้างรั้วคอนกรีตเป็นกำแพงตลอดแนวเขตที่ดินของจำเลยปิดกั้นทางเข้าออกจากที่ดินของโจทก์ ทำให้โจทก์และบุคคลที่อยู่ในที่ดินของโจทก์ไม่สามารถใช้ทางของจำเลยออกสู่ทางสาธารณะได้ มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า ทางกว้าง 5 เมตร ในเขตที่ดินโฉนดเลขที่ 3597 ตำบลบางอ้ออำเภอบางซื่อ กรุงเทพมหานคร ของจำเลยตกเป็นภาระจำยอมแก่โฉนดที่ดินเลขที่ 3596 และ 4855 ของโจทก์หรือไม่ โจทก์เบิกความว่าโจทก์ซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 3596 และ 4855 ทั้งสองแปลงมาจากบริษัทเมืองไทยประกันชีวิต จำกัด ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2523 โดยซื้อในนามของบริษัทโลเจย์เอนเทอไพรซ จำกัด ซึ่งโจทก์เป็นกรรมการอยู่ แล้วต่อมาในวันที่ 2 ตุลาคม 2534 จึงได้โอนกรรมสิทธิ์มาเป็นชื่อของโจทก์ ขณะซื้อมีทางเข้าออกจากที่ดินของโจทก์สู่ถนนในที่ดินของจำเลยอยู่แล้ว และขณะที่โจทก์ซื้อที่ดินดังกล่าวมานั้น ในที่ดินของโจทก์มีผู้พักอาศัยอยู่ประมาณ 40 คน โจทก์ไม่เคยเข้าไปพักอาศัยในบ้านซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินที่ซื้อมาเลย แต่โจทก์จะเข้าไปดูที่ดินของโจทก์ปีละหลายครั้งเห็นได้ว่าตั้งแต่โจทก์ซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 3596 และ 4855 มาตั้งแต่ในนามของบริษัทโลเจย์เอนเทอไพรซ จำกัด โจทก์หรือบริษัทดังกล่าวไม่เคยเข้าไปพักอาศัยหรือทำประโยชน์ในที่ดินของโจทก์เลย โจทก์มีนางชูศรีช้างต่อ มาเบิกความเป็นพยานว่า นางชูศรีพักอาศัยอยู่ที่บ้านเลขที่ 205/ขซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินของโจทก์มาตั้งแต่นางชูศรีเกิดเป็นเวลา 48 ปี แล้วและได้ใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกมาประมาณ 10 ปี แล้ว ในที่ดินของโจทก์มีบ้านปลูกอยู่ 5 หลัง แต่ได้รื้อไปแล้ว 1 หลัง และนางชูศรีไม่ทราบว่าบิดามารดานางชูศรีเข้ามาอยู่ในที่ดินของโจทก์นี้ได้อย่างไรเห็นว่า นางชูศรีหรือบุคคลที่พักอาศัยอยู่ในที่ดินของโจทก์ได้พักอาศัยอยู่ในบ้านซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินของโจทก์มาก่อนที่โจทก์จะเข้ามาเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ไม่ปรากฏว่านางชูศรีหรือบุคคลอื่นที่พักอาศัยในที่ดินของโจทก์ดังกล่าวได้อยู่อาศัยโดยได้รับมอบหมายจากเจ้าของที่ดินเดิมอย่างไรหรือไม่โจทก์เองก็เบิกความรับว่าบุคคลผู้ที่พักอาศัยอยู่ในที่ดินของโจทก์นั้นมิได้เป็นผู้เช่าบ้าน และมิใช่ญาติพี่น้องของโจทก์ ทุกคนอยู่มาก่อนที่โจทก์จะซื้อที่ดินดังกล่าว เพียงแต่โจทก์ยินยอมให้พักอาศัยอยู่ในที่ดินของโจทก์ต่อไปเท่านั้น แสดงว่านางชูศรีหรือบุคคลที่พักอาศัยอยู่ในที่ดินของโจทก์ไม่ใช่บริวารของโจทก์หรือของเจ้าของที่ดินคนก่อน การใช้ทางเข้าออกจากที่ดินของโจทก์ผ่านที่ดินของจำเลยเป็นการใช้ของบุคคลผู้พักอาศัยอยู่ในที่ดินของโจทก์เพื่อประโยชน์ของตนเท่านั้น มิใช่เพื่อประโยชน์ของเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 3596 และ 4855 แต่อย่างใด การที่บุคคลเหล่านี้ใช้ทางในที่ดินของจำเลยดังกล่าวจึงมิใช่การใช้แทนหรือในนามหรือเพื่อประโยชน์ของเจ้าของที่ดินเดิมหรือของโจทก์ผู้เป็นเจ้าของที่ดินทั้งสองแปลงโดยมีเจตนาเพื่อให้ได้มาซึ่งภาระจำยอม แม้บุคคลดังกล่าวจะได้ใช้ทางนั้นมาเกินกว่า 10 ปี แล้วก็ไม่ทำให้ทางกว้าง 5 เมตร ในที่ดินโฉนดเลขที่ 3597 ของจำเลยตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 3596 และ 4855 ของโจทก์พยานหลักฐานของโจทก์ที่นำสืบมายังไม่เพียงพอให้รับฟังได้ว่า ทางกว้าง5 เมตร ในที่ดินโฉนดเลขที่ 3597 ตำบลบางอ้อ อำเภอบางซื่อกรุงเทพมหานคร ของจำเลยตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่3596 และ 4855 ของโจทก์ คดีไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ในข้อที่ว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินของโจทก์มาเกิน 10 ปี แล้วหรือไม่ เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์มานั้นชอบแล้ว ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน ให้โจทก์ใช้ค่าทนายความชั้นฎีกา 1,500 บาทแทนจำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7169/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินพิพาท: สิทธิครอบครองเดิม, การครอบครองปรปักษ์, และหลักฐานการครอบครอง
ที่จำเลยฎีกาว่า ตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ยอมรับว่าต.ครอบครองที่ดินพิพาทเมื่อประมาณ 20 ปีมาแล้วต้องฟังว่า ต.ครอบครองที่ดินพิพาทเกินกว่า 1 ปีแล้วนั้นตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ได้ความเพียงแต่ว่าเมื่อ 20 ปีมาแล้ว ต.เคยมาขออนุญาตมารดาโจทก์ปลูกตะไคร้กล้วยเท่านั้นซึ่งเท่ากับว่าต.เคยครอบครองที่ดินพิพาทในนามของมารดาโจทก์เท่านั้น ไม่ใช่ครอบครองเพื่อตนเองเกินกว่า 1 ปี ที่จำเลยฎีกาว่าควรนำข้อเท็จจริงที่โจทก์ยอมรับว่าจำเลยเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทมาเป็นเวลา 10 กว่าปีแล้วตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีที่จำเลยขอให้ศาลมีคำสั่งเรียกมาวินิจฉัยด้วยนั้น แม้จะมีการส่งเอกสารดังกล่าวเข้าสู่สำนวนแล้ว แต่จำเลยก็มิได้นำสืบอ้างถึงเพื่อให้เข้าสู้กระบวนการพิจารณาของศาล อีกทั้งจำเลยมิได้เสียค่าอ้างเอกสารดังกล่าวด้วย จึงไม่อาจนำข้อความในเอกสารดังกล่าวมาประกอบการวินิจฉัยได้ จำเลยให้การว่าเดิมที่ดินพิพาทเป็นของบิดามารดาจำเลยเมื่อบิดามารดาตาย จำเลยก็ได้ครอบครองต่อมาโดยมิได้ให้การต่อสู้ว่าจำเลยแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์ จึงไม่มีประเด็นเรื่องเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1381 จำเลยไม่อาจอ้างสิทธิตามมาตรา 1375ได้แม้ศาลชั้นต้นจะวินิจฉัยให้ก็ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5279/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องไม่เคลือบคลุม, การครอบครองปรปักษ์, สิทธิติดตามทรัพย์สิน, อายุความ, ที่ดินมีโฉนด
คดีจะมีประเด็นข้อพิพาทว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ จะต้องเกิดจากคำให้การของจำเลย ว่าจำเลยจะให้การว่าฟ้องโจทก์เป็นฟ้องเคลือบคลุมศาลย่อมมีอำนาจที่จะนำคำให้การของจำเลยมาวินิจฉัยประกอบคำฟ้องของโจทก์ว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ ส่วนที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณาหมายถึงรายละเอียดปลีกย่อยมิใช่สภาพแห่งข้อหา คดีนี้จำเลยทราบและเข้าใจฟ้องโจทก์โดยยื่นคำให้การต่อสู้คดีได้ถูกต้อง แสดงว่าโจทก์ได้บรรยายฟ้องโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาแล้ว ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
นับแต่วันที่มีการออกโฉนดสำหรับที่พิพาทถึงวันฟ้องยังไม่ถึง10 ปี แม้จำเลยครอบครองที่พิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของจำเลยจะนับระยะเวลาที่ครอบครองก่อนที่พิพาทออกโฉนดรวมเข้าด้วยหาได้ไม่ เพราะการครอบครองปรปักษ์ใช้ได้เฉพาะที่ดินมีกรรมสิทธิ์แล้วเท่านั้น
โจทก์ใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนเป็นคดีไม่มีอายุความฟ้องร้องโจทก์ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์มีสิทธิติดตามทรัพย์สินนั้นได้เสมอเว้นแต่กรณีจะต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382, 1383,โจทก์จึงจะหมดสิทธิติดตามเอาคืนที่พิพาทคดีนี้เป็นที่ดินที่มีโฉนด จะนำเรื่องการฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1375 มาปรับใช้แก่คดีไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3395/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองหุ้นโดยไม่สุจริตและการได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองเมื่อผ่านเวลา 5 ปี
การโอนหุ้นชนิดระบุชื่อของบริษัทจำกัด แม้จะกระทำโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย แต่เมื่อผู้ร้องรู้เห็นมิได้โต้แย้งปฏิเสธการโอนหุ้นนั้นจึงถือได้ว่าผู้ร้องรับหุ้นนั้นไว้โดยเจตนายึดถือเพื่อตน ย่อมได้สิทธิครอบครองเมื่อครอบครองเป็นเวลาเกินกว่า5 ปี หากการโอนหุ้นเป็นโมฆะผู้ร้องก็ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองแล้ว จึงต้องรับผิดในมูลค่าหุ้นส่วนที่ยังชำระไม่ครบตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทวงถาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2693/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินโดยไม่เป็นเจ้าของและไม่สามารถอ้างการครอบครองปรปักษ์ได้เมื่อทราบว่าที่ดินจะตกเป็นของผู้อื่นตามพินัยกรรม
โจทก์ทราบเรื่องที่ ป.ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินรวมทั้งที่ดินพิพาทให้แก่ตน และรู้ด้วยว่าที่ดินพิพาทจะตกเป็นของตนเมื่อ ป.ตายแล้ว การเข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวโจทก์ก็ต้องมีเจตนามุ่งหวังว่าจะได้ที่ดินนั้นเมื่อ ป. ตายแล้วเช่นกัน ดังนี้ขณะ ป.ยังไม่ตาย จะถือว่าโจทก์ครอบครองอย่างเป็นเจ้าของหรือครอบครองปรปักษ์เพื่อแย่งเอากรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทไม่ได้ ต้องฟังเป็นเรื่องครอบครองแทน ป.เท่านั้น และในกรณีเช่นนี้โจทก์จะครอบครองเป็นเวลานานเท่าใด ก็ไม่ทำให้โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นโดยการครอบครองตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 322/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความขัดแย้งของคำสั่งศาล: คำพิพากษาฎีกาต้องเหนือกว่าคำสั่งศาลชั้นต้นในประเด็นกรรมสิทธิ์ที่ดินเดียวกัน
ในคดีก่อนศาลฎีกาพิพากษาว่า ผู้ร้องได้โอนขายที่ดินพิพาทนี้ให้ผู้คัดค้านไปแล้ว และที่ผู้ร้องอ้างว่าครอบครองปรปักษ์โดยไม่ได้ขายให้ผู้คัดค้านก็เท่ากับเป็นการครอบครองที่ดินของตนเอง ไม่ใช่การครอบครองปรปักษ์ในคดีหลังศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ผู้ร้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ โดยผู้ร้องปกปิดไม่ให้ศาลทราบถึงข้อเท็จจริงที่เคยฟ้องผู้คัดค้านไว้ตามคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อน คำสั่งของศาลชั้นต้นในคดีหลังนี้และคำพิพากษาของศาลฎีกาในคดีก่อนนั้นขัดกัน และต่างก็เป็นคำสั่งหรือคำพิพากษาที่มีผลเกี่ยวกับการโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทรายเดียวกัน อันถือว่าเป็นการปฏิบัติชำระหนี้อันแบ่งแยกจากกันมิได้ จึงต้องถือตามคำพิพากษาของศาลฎีกาซึ่งเป็นศาลสูงกว่า ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 146
ข้อวินิจฉัยของศาลฎีกาในคดีก่อนดังกล่าวข้างต้น เป็นคำวินิจฉัยในประเด็นเรื่องครอบครองปรปักษ์แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1876/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์และการบุกรุกที่ดิน: การครอบครองต่อเนื่องแม้มีข้อพิพาท ไม่ถือเป็นการบุกรุกใหม่
จำเลยฟ้องคดีแพ่งว่า ม.บุกรุกที่ดินของจำเลย ศาลพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของจำเลย แต่ม.แย่งการครอบครองไปแล้ว คงเป็นของจำเลย 15 ไร่ ระหว่างฎีกาจำเลยจ้างคนเข้าหยอดปอในที่ดินส่วนที่ศาลพิพากษาว่าเป็นของม. และพนักงานอัยการได้ฟ้องจำเลยข้อหาบุกรุก ศาลพิพากษายกฟ้องโดยเห็นว่าที่ดินที่กล่าวหายังพิพาทเป็นคดีแพ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ฟังไม่ได้ว่าใครเป็นเจ้าของผู้มีสิทธิโดยแน่แท้ ยังไม่มีมูลความผิดทางอาญาคดีถึงที่สุด ต่อมาเมื่อคดีแพ่งยุติลงว่าที่ดินเป็นของจำเลย 15 ไร่แล้ว จำเลยได้จ้างคนเข้าไถที่ดินที่เป็นส่วนของม.อีก ดังนี้ จำเลยเข้าครอบครองที่พิพาทตั้งแต่เข้าหยอดปอ ซึ่งศาลพิพากษายกฟ้องฐานบุกรุกไปแล้ว เป็นเรื่องที่จำเลยยังไม่ยอมสละการครอบครอง มิใช่เข้าไปไถที่พิพาทเป็นการแย่งการครอบครองใหม่ จึงไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1647/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์โดยการครอบครอง และการใช้สำเนาเอกสารมหาชนเป็นหลักฐาน
บัญชีบันทึกคำร้องทุกข์ของประชาชนและคำเปรียบเทียบของพนักงานผู้มีหน้าที่เป็นหลักฐานเก็บไว้ที่อำเภอ เป็นเอกสารมหาชน เมื่ออำเภอได้ส่งสำเนาเอกสารซึ่งมีพนักงานเจ้าหน้าที่รับรองถูกต้องไปยังศาลตามที่ถูกอ้าง ก็ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าสำเนาเอกสารที่ส่งไปนั้นเป็นของแท้จริงและถูกต้อง ไม่จำเป็นต้องอ้างเจ้าหน้าที่ที่รับรองสำเนานั้นมาเป็นพยานเบิกความรับรองอีก
เจ้าของที่ดินเดิมกับพวกได้ครอบครองที่พิพาทซึ่งเป็นที่ข้างเคียงมาโดยความสงบและเปิดเผยอย่างเป็นเจ้าของติดต่อกันมาเกินกว่า 10 ปี จึงได้กรรมสิทธิ์โดยทางครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 จำเลยได้รับโอนที่ดินมารวมทั้งที่พิพาทจากผู้ครอบครองโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน และได้ครอบครองที่พิพาทสืบต่อมาจากผู้ครอบครอง จึงยกอายุความครอบครองขึ้นยันโจทก์ผู้เป็นเจ้าของที่พิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 746/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน: การแจ้งครอบครองแทนกัน, การครอบครองปรปักษ์, และการกำหนดค่าทนายความที่เหมาะสม
จำเลยให้การปฏิเสธว่า ล. ได้ให้ ข. กับ ป. และ ห. บรรพบุรุษของโจทก์และบริวารซึ่งเป็นญาติเข้าไปอยู่ในที่ดินพิพาท โดยอาศัยปลูกบ้านอยู่และปลูกพืชผักสวนครัว อันเป็นการยึดที่ดินพิพาทแทน ล. เมื่อ ล. ตายที่ดินพิพาทจึงเป็นของจำเลยจำเลยก็อนุญาตให้ ป. กับ ห. และบริวารอาศัยอยู่ต่อมา เมื่อ ป. เป็นผู้นำที่ดินของ ล. ที่ตนอาศัยไปแจ้งการครอบครอง จึงถือว่าเป็นการแจ้งการครอบครองแทน ล. ไม่ก่อให้เกิดสิทธิในที่ดินที่พิพาท คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้เพียงว่า โจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทหรือไม่ โดยจำเลยได้ยกข้อต่อสู้เป็นประเด็นว่า ป. แจ้งสิทธิครอบครอง ตาม ส.ค.1 ในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นของ ล. มารดาจำเลยแทน ล. มารดาจำเลยเท่านั้น การที่จำเลยฎีกาปัญหาอื่นนอกจากนี้ แม้จำเลยจะได้นำสืบด้วย ก็ถือว่าเป็นการนำสืบนอกคำให้การและนอกประเด็นข้อพิพาทและเป็นข้อเท็จจริงที่เพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา ถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่าง
ตามตาราง 6 อัตราค่าทนายความ ท้าย ป.วิ.พ. ให้ศาลกำหนดค่าทนายความให้แก่ผู้ชนะคดีโดยพิจารณาตามความยากง่ายแห่งคดี กับเทียบเวลาและงานที่ทนายความต้องปฏิบัติในการว่าคดีเรื่องนั้น โดยศาลต้องกำหนดค่าทนายความระหว่างอัตราขั้นต่ำและอัตราขั้นสูง เมื่อปรากฏว่าทนายโจทก์ก็ได้เรียงพิมพ์คำแก้อุทธรณ์และยื่นคำแก้อุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้นแล้ว ถือว่าทนายโจทก์ได้ว่าคดีในชั้นอุทธรณ์แล้ว โดยจำเลยได้อุทธรณ์มาทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายซึ่งฟังไม่ขึ้นแม้แต่ข้อเดียว จนศาลอุทธรณ์ภาค 2 ได้พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นสมดังที่ทนายโจทก์ได้แก้อุทธรณ์ไว้ ศาลอุทธรณ์ภาค 2 จึงมีอำนาจกำหนดให้จำเลยใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แก่โจทก์ได้ เมื่อทุนทรัพย์ในคดีมีจำนวน 960,000 บาท ส่วนค่าทนายความที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 กำหนดให้จำเลยใช้แทนโจทก์นั้นมีจำนวน 25,000 บาท คิดเป็นเพียงร้อยละ 2.6 ของจำนวนทุนทรัพย์ ทั้ง ๆ ที่อาจกำหนดค่าทนายความให้ในอัตราขั้นสูงได้ถึงร้อยละ 3 ของจำนวนทุนทรัพย์ ค่าทนายความดังกล่าวไม่สูงเกินส่วน