คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
การควบคุมตัว

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4239-4240/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนนอกสถานที่และการชันสูตรพลิกศพ: ผู้ต้องหามีสิทธิขอชันสูตรซ้ำหรือไม่
ตามคำร้องขอฝากขังของพนักงานสอบสวน นอกจากจะขอรับตัวผู้ต้องหาไปควบคุมไว้ยังที่ทำการของกองปราบปรามเพื่อให้พยานชี้ตัวแล้วพนักงานสอบสวนได้อ้างเหตุด้วยว่า การสอบสวนยังไม่เสร็จสิ้น ต้องสอบสวนพยานเพิ่มเติมอีก 15 ปาก พนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจกระทำการอื่นใดอันจำเป็นเพื่อให้การสอบสวนเสร็จสิ้นได้ มิได้จำกัดเพียงให้พยานชี้ตัวผู้ต้องหาเพียงอย่างเดียวเท่านั้น พนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจนำตัวผู้ต้องหาออกนอกพื้นที่ที่ทำการของกองปราบปรามเพื่อตรวจค้นตามหมายค้นได้
คำร้องของผู้ต้องหาที่ขอให้หน่วยนิติเวช ภาควิชาพยาธิวิทยาคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาล ร. และให้ พ. ตรวจพิสูจน์ศพผู้ตายเพื่ออ้างเป็นพยานหลักฐานของผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 15 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 101 นั้น ก็คือการชันสูตรพลิกศพนั่นเอง ซึ่งตามบทบัญญัติ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาถือว่าการชันสูตรพลิกศพเป็นการสอบสวนความผิดอาญาอย่างหนึ่ง และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาได้บัญญัติผู้มีหน้าที่ทำการชันสูตรพลิกศพและได้ให้อำนาจผู้ทำการชันสูตรพลิกศพทำการผ่าศพแล้วแยกธาตุส่วนใดหรือจะให้ส่งทั้งศพ หรือบางส่วน ไปยังแพทย์หรือพนักงานแยกธาตุของรัฐบาลก็ได้ และยังให้อำนาจผู้ชันสูตรพลิกศพจัดให้ขุดศพขึ้นเพื่อตรวจดูได้กำหนดวิธีการที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาบัญญัติไว้โดยเฉพาะในภาค 2 ลักษณะ 2 หมวด 2 แล้วตามมาตรา 150,151 และ 153 จึงนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 101 มาอนุโลมบังคับไม่ได้ เมื่อพนักงานสอบสวนได้ทำการชันสูตรพลิกศพผู้ตายเสร็จแล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะดำเนินการตามคำร้องของผู้ต้องหาที่ขอให้ชันสูตรพลิกศพผู้ตายได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1750/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาหลังชันสูตรพลิกศพ: กรณีผู้ตายไม่ได้อยู่ในการควบคุมของเจ้าพนักงานขณะถูกทำร้าย
ขณะที่ผู้ตายถูกทำร้าย ผู้ตายมิได้เป็นผู้ต้องหาและอยู่ในความควบคุมตัวของเจ้าพนักงาน แม้ผู้ตายจะถึง แก่ความตายในระหว่างที่เจ้าพนักงานตำรวจนำตัวส่งโรงพยาบาลก็ไม่ใช่กรณีที่มีความตายเกิดขึ้นโดยการกระทำของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่หรือตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ จึงไม่ใช่กรณีที่ต้องดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 150 วรรคสาม เมื่อพนักงานสอบสวนและแพทย์ทำการชันสูตรพลิกศพเสร็จแล้ว พนักงานอัยการโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1978/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลทหารในการพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งฝากขัง และผลของการสิ้นสุดการควบคุมตัวก่อนการพิจารณาคดี
พนักงานสอบสวนขอฝากขังผู้ร้องต่อศาลมณฑลทหารบกที่ 3(ศาลจังหวัดชัยภูมิ) ผู้ร้องยื่นคำร้องคัดค้านว่าพนักงานสอบสวนควบคุมผู้ร้องเกินอำนาจ เป็นการขังโดยผิดกฎหมายศาลมณฑลทหารบกที่ 3 (ศาลจังหวัดชัยภูมิ) ไต่สวนแล้วมีคำสั่งว่าการควบคุมของพนักงานสอบสวนชอบแล้ว จึงอนุญาตให้ฝากขังผู้ร้องได้ ผู้ร้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวศาลมณฑลทหารบกที่ 3 (ศาลจังหวัดชัยภูมิ) สั่งรับอุทธรณ์และส่งสำนวนมายังศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกคำร้องโดยวินิจฉัยว่า ผู้ร้องไม่ได้ถูกควบคุมหรือขังในระหว่างสอบสวนแล้วจึงไม่มีประโยชน์ที่จะวินิจฉัยต่อไปว่าพนักงานสอบสวนควบคุมผู้ร้องไว้ชอบหรือไม่ ดังนี้ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ย่อมไม่ชอบ เพราะคดีนี้ผู้ร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลทหารในเวลาไม่ปกติ จึงอยู่ในเขตอำนาจของศาลทหาร และเมื่อผู้ร้องฎีกาต่อมาขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยตามคำร้องของผู้ร้องศาลฎีกาจึงพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และยกฎีกาของผู้ร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 519/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลบหนีจากการควบคุมตัวโดยการหักโซ่ ไม่ถือเป็นการหลบหนีจากที่คุมขังตามกฎหมาย
การล่ามโซ่ไม่ใช่ที่คุมขังตาม มาตรา 164
จำเลยหักโซ่หลบหนีไปจากการควบคุมระหว่างผู้ใหญ่บ้านควบคุมตัวไปส่งพนักงานสอบสวน ดังนี้จำเลยมีความผิดตามมาตรา 163 เท่านั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1141/2481

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำตามคำสั่งชอบด้วยกฎหมายของผู้ต้องหา ไม่ถือเป็นความผิดฐานละเมิดอิศรภาพ
พฤตติการณ์ที่ถือว่าจำเลยกระทำการตามคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายไม่มีความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1368/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปล่อยตัวชั่วคราว, การสิ้นสุดการควบคุมตัว, และขอบเขตอำนาจศาลในการพิจารณาคำร้อง
พนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องผู้ร้องทั้งสอง แม้จะเนื่องมาจากเป็นคดีอยู่ในอำนาจศาลแขวง การคุมขังในขั้นตอนของการฝากขังตามคำร้องของพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลก็ได้สิ้นสุดไปแล้ว จึงเป็นกรณีที่ศาลฎีกาไม่สามารถที่จะสั่งตามคำร้องของผู้ร้องที่ 1 ที่ขอให้ศาลมีคำสั่งปล่อยตัวผู้ร้องที่ 1 ตามหมายปล่อยชั่วคราวในระหว่างการสอบสวนของศาลชั้นต้น ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 90
สิทธิในการยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งปล่อยตัวจากการควบคุมหรือขังโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 90 มีอยู่เพียงชั่วระยะเวลาที่ผู้ถูกคุมขังอยู่ถูกควบคุมหรือขังไว้โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เท่านั้น เมื่อผู้ร้องที่ 1 ได้รับการปล่อยตัวแล้ว ปัญหาการควบคุมตัวหรือขังผู้ร้องที่ 1 ไว้ในสถานกักตัวของสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองชอบด้วยกฎหมายหรือไม่จึงไม่มีความจำเป็นที่จะได้รับการวินิจฉัยจากศาลฎีกาอีกต่อไป ศาลฎีกาให้จำหน่ายคดีจากสารบบความ