พบผลลัพธ์ทั้งหมด 18 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4792/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีทุพพลภาพ เริ่มนับจากวันที่ประสบอุบัติเหตุ ไม่ใช่วันที่แพทย์ประเมิน
ตามพระราชบัญญัติประกันสังคมฯ โจทก์ผู้ประกันตนจะมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีทุพพลภาพในเรื่องเงินทดแทนการขาดรายได้นั้นเป็นไปตามมาตรา 71ส่วนกรณีใดจะเป็นกรณีทุพพลภาพนั้นเป็นไปตามมาตรา 5
โจทก์สูญเสียสมรรถภาพในการทำงานตลอดมาตั้งแต่วันที่ประสบอุบัติเหตุ เมื่อแพทย์ประเมินการสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานของร่างกายโจทก์เช่นนั้น โจทก์ย่อมตกเป็นผู้ประกันตนที่มีสิทธิได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ตามพระราชบัญญัติประกันสังคมฯ มาตรา 71 และประกาศสำนักงานประกันสังคม เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์ในกรณีทุพพลภาพฯ ตั้งแต่วันที่โจทก์ประสบอุบัติเหตุถูกรถยนต์เฉี่ยวชนแล้ว มิใช่ตั้งแต่วันที่แพทย์ประเมินการสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานของร่างกายโจทก์
แนวปฏิบัติที่ผู้อำนวยการกองประสานการแพทย์และฟื้นฟูสมรถภาพออกไว้สำหรับกรณีผู้ประกันตนได้รับการกระทบกระเทือนทางสมองอย่างรุนแรงว่า การวินิจฉัยผู้ประกันตนที่บาดเจ็บควรเป็นผู้ที่ได้รับการรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพมาแล้วอย่างน้อย 1 ปี จึงจะพิจารณาว่าทุพพลภาพหรือไม่นั้น เป็นเพียงการกำหนดแนวทางปฏิบัติเพื่อให้การวินิจฉัยกรณีทุพพลภาพเนื่องจากบาดเจ็บของสมองได้ถูกต้องตามประกาศสำนักงานประกันสังคมเท่านั้น มิใช่บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่กำหนดวันเริ่มต้นแห่งสิทธิที่จะได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีทุพพลภาพแต่ประการใด เมื่อโจทก์เป็นผู้ประกันตนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีทุพพลภาพตั้งแต่วันที่โจทก์ประสบอุบัติเหตุ การคำนวณเงินทดแทนการขาดรายได้กรณีของโจทก์จึงต้องคำนวณจากค่าจ้างที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบตามพระราชบัญญัติประกันสังคมฯ มาตรา 57 วรรคหนึ่ง มิใช่คำนวณจากค่าจ้างที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบตามมาตรา 57 วรรคสอง
โจทก์สูญเสียสมรรถภาพในการทำงานตลอดมาตั้งแต่วันที่ประสบอุบัติเหตุ เมื่อแพทย์ประเมินการสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานของร่างกายโจทก์เช่นนั้น โจทก์ย่อมตกเป็นผู้ประกันตนที่มีสิทธิได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ตามพระราชบัญญัติประกันสังคมฯ มาตรา 71 และประกาศสำนักงานประกันสังคม เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์ในกรณีทุพพลภาพฯ ตั้งแต่วันที่โจทก์ประสบอุบัติเหตุถูกรถยนต์เฉี่ยวชนแล้ว มิใช่ตั้งแต่วันที่แพทย์ประเมินการสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานของร่างกายโจทก์
แนวปฏิบัติที่ผู้อำนวยการกองประสานการแพทย์และฟื้นฟูสมรถภาพออกไว้สำหรับกรณีผู้ประกันตนได้รับการกระทบกระเทือนทางสมองอย่างรุนแรงว่า การวินิจฉัยผู้ประกันตนที่บาดเจ็บควรเป็นผู้ที่ได้รับการรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพมาแล้วอย่างน้อย 1 ปี จึงจะพิจารณาว่าทุพพลภาพหรือไม่นั้น เป็นเพียงการกำหนดแนวทางปฏิบัติเพื่อให้การวินิจฉัยกรณีทุพพลภาพเนื่องจากบาดเจ็บของสมองได้ถูกต้องตามประกาศสำนักงานประกันสังคมเท่านั้น มิใช่บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่กำหนดวันเริ่มต้นแห่งสิทธิที่จะได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีทุพพลภาพแต่ประการใด เมื่อโจทก์เป็นผู้ประกันตนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีทุพพลภาพตั้งแต่วันที่โจทก์ประสบอุบัติเหตุ การคำนวณเงินทดแทนการขาดรายได้กรณีของโจทก์จึงต้องคำนวณจากค่าจ้างที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบตามพระราชบัญญัติประกันสังคมฯ มาตรา 57 วรรคหนึ่ง มิใช่คำนวณจากค่าจ้างที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบตามมาตรา 57 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8249/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้าง การจ่ายค่าชดเชย และการตีความวันสุดท้ายของการทำงาน เพื่อคำนวณค่าชดเชย
จำเลยกำหนดจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์ทั้งหมดและลูกจ้างอื่นก่อนวันสิ้นเดือน 1 วัน เมื่อจำเลยบอกเลิกจ้างโจทก์ทั้งหมดในวันที่ 30 มิถุนายน 2541 โดยการปิดประกาศให้พนักงานทุกคนทราบที่โรงงานของจำเลย และให้โจทก์ทั้งหมดลงชื่อรับทราบการบอกเลิกจ้างโจทก์แต่ละคนระหว่างวันที่ 1 ถึง 9 กรกฎาคม 2541 เช่นนี้การเลิกจ้างย่อมมีผลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 เมื่อถึงกำหนดจ่ายสินจ้างหรือค่าจ้างคราวถัดไป คือ วันที่ 30 สิงหาคม 2541 ก่อนวันสิ้นเดือน 1 วัน จึงต้องถือว่าวันดังกล่าวเป็นกำหนดจ่ายสินจ้างตามกฎหมาย ไม่อาจถือหรืออนุมานว่าวันครบกำหนดจ่ายเงินเดือนหรือกำหนดจ่ายสินจ้างเป็นวันสิ้นเดือนของทุกเดือน เมื่อปรากฏว่าจำเลยจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ทั้งหมดในเดือนกรกฎาคม 2541 แล้ว จำเลยจึงต้องรับผิดจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าในเดือนสิงหาคม 2541 อีก 30 วัน คือตั้งแต่วันที่ 1 ถึง 30 สิงหาคม 2541 ก่อนวันสิ้นเดือนสิงหาคม 2541 จำนวน 1 วัน แก่โจทก์ทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของจำนวนเงินของโจทก์แต่ละคนดังกล่าว นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1465/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณเงินเพิ่มอากรขาเข้า: เศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือนตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 112 จัตวาซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 329ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ข้อ 15 บัญญัติว่า เมื่อผู้นำเข้าหรือผู้ส่งของออกนำเงินมาชำระค่าอากรที่ต้องเสียหรือเสียเพิ่มให้เรียกเก็บเงินเพิ่มในอัตราร้อยละหนึ่งต่อเดือนของค่าอากรที่นำมาชำระโดยไม่คิดทบต้น นับแต่วันที่ได้ส่งมอบหรือส่งของออกจนถึงวันที่นำเงินมาชำระ ฯลฯ และวรรคสามของมาตราดังกล่าวระบุไว้อย่างชัดแจ้งว่าในการคำนวณเงินเพิ่มตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง เศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือนและเงินเพิ่มนั้นให้ถือเป็นเงินอากร ดังนั้นในการคำนวณเงินเพิ่มนั้นเศษของเดือนจึงต้องนับเป็นหนึ่งเดือนด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1448/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงสภาพการจ้างและผลของการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบ: การคำนวณเงินโบนัส
เดิมจำเลยกับลูกจ้างมีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างใช้บังคับกำหนดให้จำเลยจ่ายเงินโบนัสให้ลูกจ้างเป็นจำนวน 100 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ในหนึ่งเดือน ไม่รวมเงินเปอร์เซ็นต์ ซึ่งเงินโบนัสตามข้อตกลงดังกล่าวจำเลยต้องคำนวณจากรายได้ของลูกจ้าง ยกเว้นเฉพาะเงินเปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่จำเลยมิได้คำนวณเงินโบนัสจากเงินเดือนเพียงอย่างเดียว การที่ต่อมาจำเลยได้นำกฎระเบียบข้อบังคับการทำงาน มาใช้บังคับแทนข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่มีอยู่เดิมแม้ตามกฎระเบียบข้อบังคับการทำงานของจำเลยฉบับนี้ ในเรื่องสวัสดิการพนักงานว่าด้วยเงินโบนัสประจำปีจะระบุไว้ว่า จำนวนเงินโบนัสที่จำเลยจ่ายให้แก่ลูกจ้างอย่างน้อยเท่ากับ 100 เปอร์เซ็นต์ของอัตราเงินเดือน โดยไม่รวมเงินเปอร์เซ็นต์แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยจ่ายเงินโบนัสให้ลูกจ้างโดยนำค่าครองชีพมารวมกับเงินเดือนเป็นฐานการคำนวณ และหลังจากจำเลยนำกฎระเบียบข้อบังคับการทำงานมาใช้แล้วจำเลยก็ยังคงจ่ายเงินโบนัสให้ลูกจ้างโดยนำค่าครองชีพมารวมกับเงินเดือนเป็นฐานคำนวณตลอดมา เช่นนี้ ซึ่งแสดงว่าการคำนวณเงินโบนัสที่จำเลยจ่ายให้ลูกจ้างนั้นจำเลยมิได้ยึดถือว่าต้องนำเฉพาะเงินเดือนตามกฎระเบียบข้อบังคับการทำงานดังกล่าวมาใช้บังคับ การที่จำเลยจ่ายเงินโบนัสให้ลูกจ้างโดยนำค่าครองชีพมารวมคำนวณด้วยตลอดมาจึงเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง การที่จำเลยจ่ายเงินโบนัสโดยมิได้นำค่าครองชีพมารวมคำนวณ จึงฝ่าฝืนต่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2662/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล: การคำนวณกำไรสุทธิและอำนาจการประเมินของเจ้าพนักงาน
ไม่ว่าพ. ตัวแทนของโจทก์จะมีสิทธิยื่นเสียภาษีในอัตราร้อยละ5ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใดๆตามประมวลรัษฎากรมาตรา76ทวิวรรคสองประกอบมาตรา71(1)หรือไม่ก็ตามแต่สำหรับโจทก์ซึ่งเป็นตัวการที่ต้องรับผิดในการเสียภาษีโดยตรงนั้นต้องอยู่ในบังคับของมาตรา66และมาตรา67แห่งประมวลรัษฎากรกล่าวคือต้องเสียภาษีในกำไรสุทธิตามอัตราที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราภาษีเงินได้หากจะเสียภาษีในอัตราร้อยละ5ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใดๆตามประมวลรัษฎากรมาตรา66วรรคสองประกอบมาตรา71(1)ต้องเป็นกรณีที่โจทก์ไม่สามารถจะคำนวณกำไรสุทธิได้ที่โจทก์อ้างว่าบัญชีงบดุลบัญชีกำไรขาดทุนและหลักฐานทางบัญชีต่างๆของโจทก์ได้จัดทำกันที่สำนักงานใหญ่ของโจทก์ในประเทศสวิซเซอร์แลนด์ ลูกจ้างหรือผู้ทำการแทนโจทก์ในประเทศไทยไม่อาจทราบรายการต่างๆตามสมุดบัญชีงบดุลและงบกำไรขาดทุนของโจทก์โดยถูกต้องได้และโจทก์ยังให้บริการแก่บริษัทต่างๆในต่างประเทศอีกหลายประเทศนั้นไม่เพียงพอให้รับฟังว่าโจทก์ไม่สามารถจะคำนวณกำไรสุทธิได้ฉะนั้นการที่พ. ตัวแทนของโจทก์ยื่นรายการและเสียภาษีดังกล่าวแทนโจทก์จึงไม่ชอบด้วยประมวลรัษฎากรมาตรา66และมาตรา67เจ้าพนักงานประเมินชอบที่จะประเมินให้โจทก์เสียภาษีให้ถูกต้องได้ โจทก์ฟ้องคดีโดยมิได้กล่าวอ้างว่าเจ้าพนักงานประเมินคำนวณกำไรสุทธิของโจทก์ไม่ถูกต้องเพราะหักรายจ่ายแก่โจทก์ไม่ครบถ้วนเนื่องจากโจทก์ยังมีรายจ่ายอื่นอยู่การที่โจทก์อุทธรณ์ว่าการประเมินไม่ชอบเพราะการคำนวณกำไรสุทธิไม่ถูกต้องเนื่องจากโจทก์ยังมีรายจ่ายอื่นอยู่อีกแต่เจ้าพนักงานประเมินไม่ได้นำมาหักออกให้จึงเป็นข้ออุทธรณ์ที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลางศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2605/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผิดนัดชำระหนี้ตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ การคำนวณดอกเบี้ย และผลของการผิดนัด
การที่ผู้ร้องปฏิบัติการชำระหนี้ตามที่ได้รับการผ่อนผันตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่2และที่6โดยตามหลักฐานการชำระหนี้มิได้เป็นไปอย่างสม่ำเสมอทุกเดือนตามกำหนดระยะเวลาแต่ผู้คัดค้านก็ยอมรับชำระหนี้ในลักษณะนี้มาโดยตลอดโดยมิได้ทักท้วงย่อมถือได้ว่าผู้คัดค้านได้สละสิทธิที่จะถือเอาประโยชน์จากเงื่อนเวลาแล้วประกอบกับเมื่อผู้ร้องนำเงินมาชำระครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่22เมษายน2534ยังเหลือหนี้ที่ต้องชำระอีก95,460.45บาทแต่ผู้คัดค้านยังไม่ถือว่าผู้ร้องผิดนัดโดยขยายเวลาให้ผู้ร้องนำเงินส่วนที่เหลือมาชำระภายในวันที่5มิถุนายน2534หากไม่นำมาชำระภายในกำหนดจึงจะถือว่าผิดนัดเมื่อผู้ร้องไม่ได้นำเงินไปชำระหนี้ที่เหลือภายในวันดังกล่าวเช่นนี้ถือว่าผู้ร้องผิดนัดตั้งแต่วันที่5มิถุนายน2534ตามที่กำหนดไว้หาใช่ผิดนัดเมื่อครบ3ปีตามกำหนดระยะเวลาเดิมตามที่ผู้คัดค้านอนุมัติตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่2ไม่ มติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่12ให้ยกเลิกมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่6ได้ระบุไว้ไม่ให้กระทบถึงลูกหนี้ซึ่งได้รับอนุญาตให้ผ่อนชำระหนี้ตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่6และอยู่ในระหว่างผ่อนชำระอยู่แต่เมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามที่ตกลงไว้ลูกหนี้ก็ไม่อาจได้รับประโยชน์ในการผ่อนชำระหนี้นั้นตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่6อยู่อีกต่อไปจึงต้องปฏิบัติตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่12ข้อ1.3วรรคสองตอนท้ายโดยจะต้องชำระเงินต้นเต็มจำนวนพร้อมดอกเบี้ยทันทีนับแต่วันที่ยื่นคำร้องขอชำระหนี้นั้นเมื่อผู้ร้องเป็นผู้ที่ได้รับสิทธิในการผ่อนผันชำระหนี้โดยไม่เสียดอกเบี้ยตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่6จนผ่อนชำระเงินต้นไปรวมทั้งสิ้น149,600บาทยังคงค้างชำระอยู่อีก95,460.45บาทจึงตกเป็นผู้ผิดนัดเมื่อวันที่5มิถุนายน2534ฉะนั้นเงินต้นที่ค้างชำระที่ผู้ร้องจะต้องชำระทันทีตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่12ดังกล่าวจึงต้องคิดณวันที่มติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่12มีผลบังคับคือวันที่21กุมภาพันธ์2534มติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่12ดังกล่าวไม่ได้กำหนดให้มีผลย้อนหลังไปลบล้างหรือยกเลิกผลการปฏิบัติการชำระหนี้ที่ผู้ร้องได้ปฏิบัติมาแล้วตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่2และที่6ก่อนที่จะผิดนัดแต่อย่างใดผู้ร้องจะต้องชำระหนี้เฉพาะเงินต้นที่ยังคงค้างอยู่จำนวน95,460.45บาทพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ19ต่อปีนับแต่วันที่ผู้ร้องผิดนัดอันเป็นเวลาที่ผู้ร้องไม่ได้รับการผ่อนผันอีกต่อไปคือตั้งแต่วันที่5มิถุนายน2534 ผู้ร้องผิดนัดไม่ชำระหนี้ตั้งแต่วันที่5มิถุนายน2534แต่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าผู้ร้องผิดนัดตั้งแต่วันที่23เมษายน2534เมื่อผู้ร้องไม่ได้อุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ก็มิได้แก้ไขจึงต้องบังคับไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยถือว่าผู้ร้องผิดนัดตั้งแต่วันที่23เมษายน2534
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4550/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณรายจ่ายเพื่อกิจการในประเทศไทย และการจำหน่ายกำไรออกนอกประเทศเพื่อเสียภาษี
สำนักงานใหญ่ของโจทก์คำนวณเฉลี่ยรายจ่ายต่าง ๆ ซึ่งประกอบด้วยเงินเดือน เบี้ยเลี้ยง เงินที่จ่ายในการหยุดพักร้อน เงินบำนาญพนักงานชาวต่างประเทศ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางและตรวจสำนักงานสาขาค่าโฆษณาทั่วไป ค่าเครื่องเขียนและแบบพิมพ์ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ค่าใช้จ่ายอาคารสำนักงานใหญ่ ค่าตอบแทนกรรมการค่าตรวจสอบบัญชี เป็นค่าใช้จ่ายเพื่อกิจการในประเทศไทยเพราะคิดว่าเป็นรายจ่ายที่เกิดประโยชน์แก่กิจการสาขาในประเทศไทยด้วยแต่เมื่อโจทก์เพียงแต่ใช้หลักเกณฑ์เฉลี่ยที่กำหนดขึ้นเองโดยไม่มีหลักฐานแสดงให้เห็นว่าค่าใช้จ่ายดังกล่าวเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่กิจการของสาขาในประเทศไทยโดยเฉพาะอย่างไรและเป็นจำนวนเท่าใดกรณีเช่นนี้โจทก์จะนำค่าใช้จ่ายนั้นมาหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิมิได้ และต้องนำไปรวมเป็นรายได้ในการคำนวณภาษี โจทก์ได้ส่งเงินค่าใช้จ่ายตามจำนวนที่ได้รับเฉลี่ยไปยังสำนักงานใหญ่ในต่างประเทศ จึงเป็นการจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย อันต้องเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70 ทวิอีกส่วนหนึ่งด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4459/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเรียกคืนภาษีโรงเรือนและที่ดินหลังการประเมินใหม่ และการคำนวณค่ารายปีที่เหมาะสม
โจทก์เป็นผู้เช่าโรงเรือนพิพาท สัญญาเช่า กำหนดให้โจทก์เป็นผู้ชำระภาษีโรงเรือนและที่ดินแทนผู้ให้เช่า เมื่อโจทก์ได้ชำระค่าภาษีแก่จำเลยที่ 1 เกินไปตามที่โจทก์อ้างในฟ้อง โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอคืนเงินภาษีส่วนที่เกินได้ แม้สัญญาเช่าจะกำหนดอัตราค่าเช่าไว้ แต่ตามสัญญาเช่าดังกล่าวโจทก์ต้องให้ผลประโยชน์แก่ผู้ให้เช่าเพื่อตอบแทนการให้เช่าอีกหลายประการ มีเหตุทำให้เห็นว่า อัตราค่าเช่าตามสัญญาเช่ามิใช่ค่าเช่าอันครบถ้วนแท้จริง ถือไม่ได้ว่าเป็นจำนวนเงินอันสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ พนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมมีอำนาจแก้หรือคำนวณค่ารายปีเสียใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2947/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีอากรและการคำนวณเงินเพิ่มเกินจำนวนภาษีที่ต้องเสีย
การที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ในคดีนี้เนื่องจากจำเลยที่ 1โดยจำเลยที่ 2 ผู้ชำระบัญชีแบ่งคืนทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 ผู้ถือหุ้นโดยไม่ชอบด้วย ป.พ.พ.มาตรา 1269 โดยโจทก์ขอให้จำเลยที่ 1เรียกทรัพย์สินคืนจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 แล้ว แต่จำเลยที่ 1 เพิกเฉยเสียไม่ใช้สิทธิเรียกร้อง เป็นเหตุให้โจทก์ต้องเสียประโยชน์ โจทก์จึงใช้สิทธิเรียกร้องในนามของตนเองแทนลูกหนี้เพื่อป้องกันสิทธิของตนตาม ป.พ.พ.มาตรา 233 ดังนี้ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแม้จะเป็นคดีแพ่ง แต่มิใช่คดีแพ่งที่พิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากรที่ศาลภาษีอากรจะมีอำนาจพิจารณาพิพากษาตามมาตรา 7 (2) แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ.2528 เพราะเป็นเรื่องที่พิพาทกันว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 จะต้องคืนทรัพย์สินให้แก่จำเลยที่ 1 เพื่อที่โจทก์จะได้บังคับชำระหนี้ภาษีอากรที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระหรือไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 ต่อศาลภาษีอากร
การที่ศาลภาษีอากรพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลและเงินเพิ่ม 448,954.74 บาท พร้อมเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 1.5ต่อเดือนของเงินภาษี 326,616.50 บาท นับแต่วันถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์เช่นนี้ อาจมีผลทำให้เงินเพิ่มที่คำนวณได้เกินจำนวนภาษีที่ต้องเสียอันจะมีผลทำให้จำเลยที่ 1 รับผิดเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ได้ เพราะ ป.รัษฎากรมาตรา 27 วรรคสาม ให้คำนวณเงินเพิ่มได้ แต่มิให้เกินจำนวนภาษีที่ต้องเสียปัญหาข้อนี้เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้างศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้
การที่ศาลภาษีอากรพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลและเงินเพิ่ม 448,954.74 บาท พร้อมเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 1.5ต่อเดือนของเงินภาษี 326,616.50 บาท นับแต่วันถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์เช่นนี้ อาจมีผลทำให้เงินเพิ่มที่คำนวณได้เกินจำนวนภาษีที่ต้องเสียอันจะมีผลทำให้จำเลยที่ 1 รับผิดเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ได้ เพราะ ป.รัษฎากรมาตรา 27 วรรคสาม ให้คำนวณเงินเพิ่มได้ แต่มิให้เกินจำนวนภาษีที่ต้องเสียปัญหาข้อนี้เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้างศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 792/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าสำหรับลูกจ้างรายวัน โดยหักวันหยุดประจำสัปดาห์
โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลย ได้รับค่าจ้างเป็นรายวัน กำหนดจ่ายค่าจ้างในวันที่ 1 และ 16 ของเดือน วันทำงานตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันเสาร์ วันอาทิตย์เป็นวันหยุดประจำสัปดาห์ จำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2529 แม้วันที่ 16 พฤศจิกายน 2529จะเป็นวันหยุดประจำสัปดาห์และมีการจ่ายสินจ้างในวันที่ 17 ก็ตามการเลิกจ้างก็ย่อมมีผลในวันที่ 16 ธันวาคม 2529 ซึ่งเป็นวันถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไปและต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าถึงงวดวันที่ 16 ธันวาคม 2529 รวมเป็น 29 วัน แต่โดยที่ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว มีวันหยุดประจำสัปดาห์ 4 วัน จำเลยจึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ 25 วัน