พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7395/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณภาษีจากการขายอสังหาริมทรัพย์มรดก: การจำแนกประเภททรัพย์สินและระยะเวลาการถือครอง
เงินได้จากการขายที่ดินทั้งห้าแปลงตามฟ้อง เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร ของกองมรดกของผู้ตายที่ยังมิได้แบ่ง จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายจึงมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในชื่อกองมรดกของผู้ตายตามมาตรา 57 ทวิ วรรคสอง เมื่อกองมรดกมีเงินได้ตามมาตรา 40(8) จากการขายอสังหาริมทรัพย์ ผู้จ่ายเงินได้จึงมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50(5)(ก) โดยคำนวณตามมาตรา 48(4)(ก) สำหรับอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกหรืออสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับจากการให้โดยเสน่หา หรือหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50(5)(ข) โดยคำนวณตามมาตรา 48(4)(ข) สำหรับอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยทางอื่นแล้วแต่กรณี แล้วนำส่งต่อเจ้าพนักงานที่ดินผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในขณะที่มีการจดทะเบียน
สำหรับที่ดินพิพาทที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายจดทะเบียนรับโอนมาจาก อ. ตามคำพิพากษา โดยประเภทของการจดทะเบียนระบุว่าเป็นการขายเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2539 แล้วจดทะเบียนโอนขายให้แก่ บริษัท ค. ในวันเดียวกันนั้นเอง ที่ดินทั้งสามแปลงดังกล่าวจึงเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่กองมรดกซึ่งยังมิได้แบ่งปันกันระหว่างทายาทได้มาหลังการตายของเจ้ามรดก เมื่อจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกขายที่ดินที่กองมรดกได้มาดังกล่าวไป เงินได้จากการขายที่ดินมิใช่เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกตามที่ระบุในมาตรา 48(4)(ก) ซึ่งต้องเป็นเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้มีเงินได้อันเป็นมรดกหรือได้รับการให้โดยเสน่หา แต่เป็นเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่กองมรดกได้มาโดยทางอื่นตามมาตรา 48(4)(ข) ส่วนจำนวนปีที่ถือครองตามมาตรา 48(4) วรรคท้าย ระบุว่าหมายถึงจำนวนปีนับตั้งแต่ปีที่ได้กรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ถึงปีที่โอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์นั้น เมื่อจำเลยที่ 1 จดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งสามแปลงดังกล่าวมาเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2539 จึงต้องนับจำนวนปีที่ถือครองตั้งแต่ปี 2539 หาใช่นับตั้งแต่ปี 2534 ซึ่งเป็นปีที่ผู้ตายถึงแก่ความตายไม่ การที่เจ้าพนักงานที่ดินคำนวณหักภาษี ณ ที่จ่ายสำหรับเงินได้จากการขายที่ดินทั้งสามแปลงดังกล่าวตามมาตรา 50(5)(ข) ประกอบมาตรา 48(4)(ข) และนับจำนวนปีที่ถือครองเพียง 1 ปี จึงถูกต้องแล้ว
ส่วนที่ดินที่ผู้ตายซึ่งเป็นเจ้ามรดกมีอยู่แล้วก่อนตาย เมื่อผู้จัดการมรดกขายที่ดินดังกล่าวไป เงินได้จากการขายที่ดินดังกล่าวจึงเป็นเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกซึ่งต้องคำนวณหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50(5)(ก) ประกอบมาตรา 48(4)(ก) ปรากฏว่าเจ้าพนักงานที่ดินหักภาษี ณ ที่จ่าย โดยนำเงินได้จากการขายที่ดินมาคำนวณหักค่าใช้จ่ายตามมาตรา 48(4)(ก) และคิดจำนวนปีที่ถือครองนับตั้งแต่ปีที่ผู้ตายถึงแก่ความตายอันเป็นการคำนวณตรงตามที่โจทก์ฟ้องแล้ว โจทก์จึงมิได้ถูกโต้แย้งสิทธิที่เกี่ยวกับภาษีในส่วนนี้จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
สำหรับที่ดินพิพาทที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายจดทะเบียนรับโอนมาจาก อ. ตามคำพิพากษา โดยประเภทของการจดทะเบียนระบุว่าเป็นการขายเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2539 แล้วจดทะเบียนโอนขายให้แก่ บริษัท ค. ในวันเดียวกันนั้นเอง ที่ดินทั้งสามแปลงดังกล่าวจึงเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่กองมรดกซึ่งยังมิได้แบ่งปันกันระหว่างทายาทได้มาหลังการตายของเจ้ามรดก เมื่อจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกขายที่ดินที่กองมรดกได้มาดังกล่าวไป เงินได้จากการขายที่ดินมิใช่เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกตามที่ระบุในมาตรา 48(4)(ก) ซึ่งต้องเป็นเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้มีเงินได้อันเป็นมรดกหรือได้รับการให้โดยเสน่หา แต่เป็นเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่กองมรดกได้มาโดยทางอื่นตามมาตรา 48(4)(ข) ส่วนจำนวนปีที่ถือครองตามมาตรา 48(4) วรรคท้าย ระบุว่าหมายถึงจำนวนปีนับตั้งแต่ปีที่ได้กรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ถึงปีที่โอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์นั้น เมื่อจำเลยที่ 1 จดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งสามแปลงดังกล่าวมาเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2539 จึงต้องนับจำนวนปีที่ถือครองตั้งแต่ปี 2539 หาใช่นับตั้งแต่ปี 2534 ซึ่งเป็นปีที่ผู้ตายถึงแก่ความตายไม่ การที่เจ้าพนักงานที่ดินคำนวณหักภาษี ณ ที่จ่ายสำหรับเงินได้จากการขายที่ดินทั้งสามแปลงดังกล่าวตามมาตรา 50(5)(ข) ประกอบมาตรา 48(4)(ข) และนับจำนวนปีที่ถือครองเพียง 1 ปี จึงถูกต้องแล้ว
ส่วนที่ดินที่ผู้ตายซึ่งเป็นเจ้ามรดกมีอยู่แล้วก่อนตาย เมื่อผู้จัดการมรดกขายที่ดินดังกล่าวไป เงินได้จากการขายที่ดินดังกล่าวจึงเป็นเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกซึ่งต้องคำนวณหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50(5)(ก) ประกอบมาตรา 48(4)(ก) ปรากฏว่าเจ้าพนักงานที่ดินหักภาษี ณ ที่จ่าย โดยนำเงินได้จากการขายที่ดินมาคำนวณหักค่าใช้จ่ายตามมาตรา 48(4)(ก) และคิดจำนวนปีที่ถือครองนับตั้งแต่ปีที่ผู้ตายถึงแก่ความตายอันเป็นการคำนวณตรงตามที่โจทก์ฟ้องแล้ว โจทก์จึงมิได้ถูกโต้แย้งสิทธิที่เกี่ยวกับภาษีในส่วนนี้จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7129/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินค่าประกันบริการถือเป็นค่าบริการตามประมวลรัษฎากร ต้องนำไปคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้
เงินค่าประกันการใช้บริการซึ่งโจทก์จัดเก็บจากผู้ใช้บริการนั้นแม้โจทก์จะต้องเรียกเก็บเนื่องจากมีข้อผูกพันที่โจทก์ได้ให้ไว้แก่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยตามสัญญาอนุญาตให้ดำเนินกิจการบริการโทรศัพท์ติดตามตัวระบบ DIGITALDISPLAY PAGING ก็ตาม แต่การเรียกเก็บเงินดังกล่าวจากผู้ใช้บริการก็เรียกเก็บในฐานะเป็นคู่สัญญากับโจทก์ หากผู้ใช้บริการไม่ชำระเงินค่าประกันการใช้บริการให้แก่โจทก์ โจทก์ก็จะไม่ให้บริการและหากผู้ใช้บริการยังค้างชำระค่าบริการอยู่ เมื่อเลิกสัญญาการให้บริการโจทก์ก็สามารถหักจากเงินค่าประกันการใช้บริการดังกล่าว และถ้ามีเงินเหลือจึงจะคืนให้แก่ผู้ใช้บริการหรือหากผู้ใช้บริการไม่ค้างชำระค่าบริการก็จะคืนเงินทั้งจำนวนให้แก่ผู้ใช้บริการ ดังนั้น เงินจำนวนดังกล่าวจึงเป็นเงินที่จัดเก็บเพื่อประโยชน์ของโจทก์และจัดเก็บในขณะที่ผู้ใช้บริการเริ่มขอใช้บริการและหากไม่ชำระโจทก์ก็จะไม่ให้บริการการเรียกเก็บเงินจำนวนดังกล่าวจึงเป็นเงินที่โจทก์ได้รับประโยชน์จากการที่โจทก์ให้บริการ เงินจำนวนดังกล่าวจึงถือเป็นเงินค่าบริการตามความหมายของคำว่า "บริการ"ตามมาตรา 77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากร
เมื่อเงินค่าประกันการใช้บริการดังกล่าวถือว่าเป็นค่าบริการส่วนหนึ่งและโจทก์ได้เรียกเก็บจากผู้ใช้บริการขณะเมื่อเริ่มขอใช้บริการ โจทก์จึงต้องนำเงินจำนวนที่เรียกเก็บดังกล่าวเป็นฐานภาษีในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร และความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดจากการให้บริการดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อโจทก์ได้รับค่าบริการ ดังนั้น โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มในส่วนของเงินค่าประกันการใช้บริการในขณะที่มีการจัดเก็บเงินจำนวนดังกล่าวจากผู้ใช้บริการตามมาตรา 78/1(1) แห่ง ประมวลรัษฎากรและภาษีมูลค่าเพิ่มที่โจทก์ต้องคำนวณและเรียกเก็บดังกล่าวถือเป็นภาษีขายของโจทก์ซึ่งโจทก์ต้องนำไปคำนวณเพื่อชำระภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร ยิ่งกว่านั้นเมื่อเลิกสัญญาการใช้บริการโจทก์มีหน้าที่ต้องคืนเงินค่าประกันการใช้บริการให้แก่ผู้ใช้บริการทั้งจำนวนหรือส่วนที่เหลือหลังจากหักค่าใช้บริการที่ค้างชำระแล้วโจทก์สามารถออกใบลดหนี้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 86/10 และ 82/10 แห่งประมวลรัษฎากรและนำใบลดหนี้ซึ่งปรากฏภาษีขายที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้าหรือค่าบริการที่ลดลงนั้นมาหักออกจากภาษีขายของโจทก์ในเดือนภาษีที่ได้ออกใบลดหนี้ดังกล่าว ขณะเดียวกันผู้ใช้บริการที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนสามารถนำภาษีมูลค่าเพิ่มที่ปรากฏตามใบลดหนี้มาหักออกจากภาษีซื้อของตนในเดือนภาษีที่ได้รับใบลดหนี้นั้น ดังนั้น เงินค่าประกันการใช้บริการซึ่งลูกค้าจ่ายให้แก่โจทก์จึงถือเป็นเงินค่าบริการตามมาตรา 77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากร
เมื่อเงินค่าประกันการใช้บริการดังกล่าวถือว่าเป็นค่าบริการส่วนหนึ่งและโจทก์ได้เรียกเก็บจากผู้ใช้บริการขณะเมื่อเริ่มขอใช้บริการ โจทก์จึงต้องนำเงินจำนวนที่เรียกเก็บดังกล่าวเป็นฐานภาษีในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร และความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดจากการให้บริการดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อโจทก์ได้รับค่าบริการ ดังนั้น โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มในส่วนของเงินค่าประกันการใช้บริการในขณะที่มีการจัดเก็บเงินจำนวนดังกล่าวจากผู้ใช้บริการตามมาตรา 78/1(1) แห่ง ประมวลรัษฎากรและภาษีมูลค่าเพิ่มที่โจทก์ต้องคำนวณและเรียกเก็บดังกล่าวถือเป็นภาษีขายของโจทก์ซึ่งโจทก์ต้องนำไปคำนวณเพื่อชำระภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร ยิ่งกว่านั้นเมื่อเลิกสัญญาการใช้บริการโจทก์มีหน้าที่ต้องคืนเงินค่าประกันการใช้บริการให้แก่ผู้ใช้บริการทั้งจำนวนหรือส่วนที่เหลือหลังจากหักค่าใช้บริการที่ค้างชำระแล้วโจทก์สามารถออกใบลดหนี้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 86/10 และ 82/10 แห่งประมวลรัษฎากรและนำใบลดหนี้ซึ่งปรากฏภาษีขายที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้าหรือค่าบริการที่ลดลงนั้นมาหักออกจากภาษีขายของโจทก์ในเดือนภาษีที่ได้ออกใบลดหนี้ดังกล่าว ขณะเดียวกันผู้ใช้บริการที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนสามารถนำภาษีมูลค่าเพิ่มที่ปรากฏตามใบลดหนี้มาหักออกจากภาษีซื้อของตนในเดือนภาษีที่ได้รับใบลดหนี้นั้น ดังนั้น เงินค่าประกันการใช้บริการซึ่งลูกค้าจ่ายให้แก่โจทก์จึงถือเป็นเงินค่าบริการตามมาตรา 77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3057/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณรายได้ภาษีเงินได้นิติบุคคลต้องใช้เกณฑ์เงินสดก่อนปี 2527 แม้จะมีสิทธิเรียกร้องยังไม่ได้รับเงิน
ในการคำนวณรายได้ของนิติบุคคลเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในปี 2515 ถึง 2517 หรือก่อนมีการแก้ไขเพิ่มเติม ป.รัษฎากรในปี 2527 นั้น ต้องใช้เกณฑ์เงินสดไม่ใช่เกณฑ์สิทธิ์ ทั้งนี้ เพราะป.รัษฎากร มาตรา 65 กำหนดให้เก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีและเงินได้พึงประเมินนั้นมาตรา 39 ให้หมายถึง เงิน ทรัพย์สินหรือผลประโยชน์อื่นที่ได้รับมาแล้วในรอบระยะเวลาบัญชี มิใช่เป็นแต่เพียงสิทธิเรียกร้องที่จะได้รับเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อย่างอื่นในรอบระยะเวลาบัญชี ฉะนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ถือเอาค่าเช่าที่โจทก์ยังไม่ได้รับมาคำนวณเป็นรายได้ให้โจทก์เสียภาษีเงินได้จึงเป็นการมิชอบ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 269/2496
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีโรงแรมภัตตาคาร: การคำนวณจากค่าเช่าที่พัก และข้อยกเว้นการเก็บภาษีกรณีไม่คิดค่าเช่า
การจัดเก็บภาษีโรงแรมภัตตาคารและการชำระภาษีตาม พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2489 นั้น ท่านให้เรียกเก็บหรือชำระจากค่าเช่าที่พักในอัตราร้อยละ 20 ของเงินที่โรงแรมภัตตาคารเรียกเก็บเป็นค่าเช่าที่พักแล้วปิดอากรแสตมป์เท่าจำนวนภาษีฉะนั้นการพักโดยมิได้เสียค่าเช่าที่พักก็ย่อมไม่มีจำนวนเงินที่จะออกใบรับและคำนวณค่าภาษีที่จะปิดอากรแสตมป์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2153/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยพิกัดอัตราศุลกากรที่ถูกต้อง ส่งผลต่อการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกต้อง
สินค้าพิพาทเป็นท่อพลาสติกที่มีเส้นลวดเหล็กพันรอบและมีพลาสติกอยู่ชั้นนอกสุด จึงถือเป็นหลอดหรือท่อที่อ่อนงอได้ทำด้วยโลหะสามัญ ตามประเภทพิกัด 83.07 โดยเข้าประเภทพิกัดย่อย 8307.10.00 ทำด้วยเหล็กหรือเหล็กกล้า และเป็นกรณีที่ประเภทพิกัดศุลกากรได้ระบุลักษณะของของไว้โดยเฉพาะแล้วตามหลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากรในภาค 1 ข้อ 3 (ก)
เนื่องจากคดีนี้เป็นกรณีที่ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรได้วินิจฉัยให้โจทก์เสียอากรขาเข้าลดลง ย่อมส่งผลให้ฐานในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มลดลง แม้ ป.รัษฎากร มาตรา 30 จะบัญญัติถึงหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาในการอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก็ตาม แต่ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 79/2 การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มต้องอาศัยมูลค่าของฐานภาษีคือราคาสินค้าบวกด้วยอากรขาเข้าที่โต้แย้งกันในคดีนี้ว่าเป็นอากรเท่าใดเพื่อใช้เป็นฐานภาษี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาศัยอำนาจตาม ป.รัษฎากร มาตรา 4 ประกาศแต่งตั้งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไป สังกัดจำเลยเป็นเจ้าพนักงานประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 16 และจำเลยใช้อำนาจตาม ป.รัษฎากร เป็นผลกระทบต่อสถานภาพ สิทธิ และหน้าที่ของโจทก์ และ ป.รัษฎากร มาตรา 83/10 บัญญัติว่า "ในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (1) สำหรับสินค้าที่นำเข้า ให้กรมศุลกากรเรียกเก็บเพื่อกรมสรรพากร..." ดังนั้น เมื่อศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรมีคำวินิจฉัยในเรื่องพิกัดอัตราศุลกากรอันมีผลให้อากรขาเข้าลดลง ภาษีมูลค่าเพิ่มที่โจทก์มีความรับผิดตามการประเมินของจำเลยก็ย่อมลดลงไปโดยผลของกฎหมายด้วย เมื่อโจทก์ใช้สิทธิอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลย โต้แย้งเกี่ยวกับพิกัดอัตราอากรศุลกากรซึ่งเป็นผลให้กระทบจำนวนเงินที่ต่อเนื่องกันส่งผลถึงจำนวนเงินอันเป็นฐานภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว กรณีนี้จึงไม่จำต้องอุทธรณ์การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตาม ป.รัษฎากร อีก ฐานภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการนำเข้าตามการประเมินได้รวมอากรขาเข้าที่ไม่ถูกต้องและโจทก์ได้อุทธรณ์การประเมินอากรขาเข้าแล้ว ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรจึงมีอำนาจพิพากษาไปถึงฐานภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการนำเข้าที่โจทก์มีหน้าที่ต้องเสียภาษีตามกฎหมาย ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ฎีกาแต่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 26 แต่ในส่วนใบขนสินค้าขาเข้าจำนวน 15 ฉบับ ที่โจทก์ยอมชำระภาษีมูลค่าเพิ่มตามอากรขาเข้าประเภทพิกัด 7326.20.90 และขอวางประกันอากรขาเข้าในประเภทพิกัดดังกล่าว โดยไม่ได้โต้แย้งหรือสงวนสิทธิ์ในการโต้แย้งการชำระภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลย จึงออกแบบแจ้งการประเมินเรียกเก็บเฉพาะอากรขาเข้าโดยไม่มีการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับใบขนสินค้าขาเข้าดังกล่าว และใบขนสินค้าขาเข้าอีก 1 ฉบับ ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยออกแบบแจ้งการประเมินเรียกเก็บเฉพาะอากรขาเข้าโดยไม่มีการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงไม่มีประเด็นเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มที่ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรจะพิพากษาเพิกถอนได้ในส่วนนี้
เนื่องจากคดีนี้เป็นกรณีที่ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรได้วินิจฉัยให้โจทก์เสียอากรขาเข้าลดลง ย่อมส่งผลให้ฐานในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มลดลง แม้ ป.รัษฎากร มาตรา 30 จะบัญญัติถึงหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาในการอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก็ตาม แต่ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 79/2 การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มต้องอาศัยมูลค่าของฐานภาษีคือราคาสินค้าบวกด้วยอากรขาเข้าที่โต้แย้งกันในคดีนี้ว่าเป็นอากรเท่าใดเพื่อใช้เป็นฐานภาษี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาศัยอำนาจตาม ป.รัษฎากร มาตรา 4 ประกาศแต่งตั้งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไป สังกัดจำเลยเป็นเจ้าพนักงานประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 16 และจำเลยใช้อำนาจตาม ป.รัษฎากร เป็นผลกระทบต่อสถานภาพ สิทธิ และหน้าที่ของโจทก์ และ ป.รัษฎากร มาตรา 83/10 บัญญัติว่า "ในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (1) สำหรับสินค้าที่นำเข้า ให้กรมศุลกากรเรียกเก็บเพื่อกรมสรรพากร..." ดังนั้น เมื่อศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรมีคำวินิจฉัยในเรื่องพิกัดอัตราศุลกากรอันมีผลให้อากรขาเข้าลดลง ภาษีมูลค่าเพิ่มที่โจทก์มีความรับผิดตามการประเมินของจำเลยก็ย่อมลดลงไปโดยผลของกฎหมายด้วย เมื่อโจทก์ใช้สิทธิอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลย โต้แย้งเกี่ยวกับพิกัดอัตราอากรศุลกากรซึ่งเป็นผลให้กระทบจำนวนเงินที่ต่อเนื่องกันส่งผลถึงจำนวนเงินอันเป็นฐานภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว กรณีนี้จึงไม่จำต้องอุทธรณ์การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตาม ป.รัษฎากร อีก ฐานภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการนำเข้าตามการประเมินได้รวมอากรขาเข้าที่ไม่ถูกต้องและโจทก์ได้อุทธรณ์การประเมินอากรขาเข้าแล้ว ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรจึงมีอำนาจพิพากษาไปถึงฐานภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการนำเข้าที่โจทก์มีหน้าที่ต้องเสียภาษีตามกฎหมาย ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ฎีกาแต่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 26 แต่ในส่วนใบขนสินค้าขาเข้าจำนวน 15 ฉบับ ที่โจทก์ยอมชำระภาษีมูลค่าเพิ่มตามอากรขาเข้าประเภทพิกัด 7326.20.90 และขอวางประกันอากรขาเข้าในประเภทพิกัดดังกล่าว โดยไม่ได้โต้แย้งหรือสงวนสิทธิ์ในการโต้แย้งการชำระภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลย จึงออกแบบแจ้งการประเมินเรียกเก็บเฉพาะอากรขาเข้าโดยไม่มีการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับใบขนสินค้าขาเข้าดังกล่าว และใบขนสินค้าขาเข้าอีก 1 ฉบับ ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยออกแบบแจ้งการประเมินเรียกเก็บเฉพาะอากรขาเข้าโดยไม่มีการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงไม่มีประเด็นเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มที่ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรจะพิพากษาเพิกถอนได้ในส่วนนี้