พบผลลัพธ์ทั้งหมด 50 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4747/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองเครื่องหมายการค้าที่ไม่จดทะเบียน: การใช้ชื่อเสียงของบุคคลเพื่อประโยชน์ทางการค้าโดยมิชอบ
โจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้องว่า โจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าคำว่า "PELE" ซึ่งเป็นชื่อสมญาของโจทก์ที่ 2 เครื่องหมายการค้าดังกล่าวมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักและนิยมแพร่หลายของสาธารณชน จำเลยนำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวประกอบกับรูปประดิษฐ์ต่าง ๆ ไปจดทะเบียนการค้าเพื่อใช้กับสินค้าลูกฟุตบอลของจำเลยทำให้เครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนคล้ายกับของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า ฟ้องของโจทก์ทั้งสองนับว่าเป็นการใช้สิทธิตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 46 วรรคสอง ในกรณีเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าฟ้องบุคคลอื่นซึ่งเอาสินค้าของตนไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของเจ้าของเครื่องหมายการค้า นอกจากนี้คำฟ้องของโจทก์ทั้งสองยังกล่าวอ้างอีกว่าเครื่องหมายการค้าคำว่า "PELE" แม้จะมิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศไทย แต่ก็เป็นเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปในความหมายของ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 8 (10) ห้ามมิให้จดทะเบียน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
เมื่อจำเลยยอมรับว่า จำเลยรู้จักโจทก์ที่สองในฐานะนักฟุตบอลที่มีชื่อเสียง การที่จำเลยนำชื่อสมญาของโจทก์ที่ 2 มาใช้กับสินค้าอุปกรณ์การกีฬาของจำเลยย่อมจะเป็นที่เล็งเห็นได้ว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการใช้ชื่อสมญาของโจทก์ที่ 2 ในหมู่คนที่รู้จักชื่อสมญาดังกล่าวอย่างแพร่หลาย และทำให้จำเลยได้รับประโยชน์จากเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 1 และชื่อเสียงเกียรติคุณของโจทก์ที่ 2 โดยมิชอบ
เมื่อจำเลยยอมรับว่า จำเลยรู้จักโจทก์ที่สองในฐานะนักฟุตบอลที่มีชื่อเสียง การที่จำเลยนำชื่อสมญาของโจทก์ที่ 2 มาใช้กับสินค้าอุปกรณ์การกีฬาของจำเลยย่อมจะเป็นที่เล็งเห็นได้ว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการใช้ชื่อสมญาของโจทก์ที่ 2 ในหมู่คนที่รู้จักชื่อสมญาดังกล่าวอย่างแพร่หลาย และทำให้จำเลยได้รับประโยชน์จากเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 1 และชื่อเสียงเกียรติคุณของโจทก์ที่ 2 โดยมิชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5773/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองลูกหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการ ไม่ขยายผลถึงผู้ค้ำประกัน
คำสั่งของศาลล้มละลายกลางที่ให้ฟื้นฟูกิจการของจำเลยที่ 1 นั้นมีผลเป็นการเฉพาะตัวแก่จำเลยที่ 1 ในอันที่จะได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/12 หาได้มีผลต่อบุคคลอื่นซึ่งมิได้เป็นลูกหนี้ที่มีการขอให้ฟื้นฟูกิจการด้วยไม่ ดังนั้น แม้จำเลยที่ 1 จะได้รับความคุ้มครองตามบทบัญญัติดังกล่าวที่ให้ศาลต้องงดการบังคับคดีนั้นไว้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 90/12 (5) ก็ตาม ก็มีผลแต่เฉพาะให้งดการบังคับคดีแก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ที่มีการขอให้ฟื้นฟูกิจการเท่านั้น ไม่มีผลถึงจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันและต้องร่วมรับผิดในหนี้ตามคำพิพากษาคดีนี้ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่อาจยกเหตุเฉพาะตัวของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวขึ้นมาอ้างให้ศาลชั้นต้นงดการบังคับคดีแก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ในคดีนี้เพื่อรอฟังผลในคดีฟื้นฟูกิจการของจำเลยที่ 1 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3318/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟื้นฟูกิจการ: การเห็นชอบแผน, การชำระหนี้, และการคุ้มครองเจ้าหนี้
กฎหมายล้มละลายกำหนดให้แผนฟื้นฟูกิจการซึ่งที่ประชุมเจ้าหนี้ได้มีมติพิเศษยอมรับมาแล้วตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/46 จะต้องได้รับความเห็นชอบจากศาลอีกชั้นหนึ่ง โดยในมาตรา 90/58 ให้ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนเมื่อศาลพิจารณาแล้วเห็นว่าแผนมีรายการครบถ้วนตามมาตรา 90/42 ข้อเสนอในการชำระหนี้ไม่ขัดต่อมาตรา 90/42 ตรี และในกรณีที่มติยอมรับแผนเป็นมติตามมาตรา 90/46(2) ข้อเสนอในการชำระหนี้ตามแผนนั้นจะต้องเป็นไปตามลำดับที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่าด้วยการแบ่งทรัพย์สินในคดีล้มละลาย เว้นแต่เจ้าหนี้นั้นจะให้ความยินยอมและเมื่อการดำเนินการตามแผนสำเร็จจะทำให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่ากรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวเป็นบทกำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาใช้ดุลพินิจในการให้ความเห็นชอบด้วยแผน ศาลจึงมีอำนาจที่จะตรวจสอบในเนื้อหาของแผนฟื้นฟูกิจการแล้วนำมาพิจารณาว่าจะให้ความเห็นชอบด้วยแผนหรือไม่
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/42 ตรี บัญญัติว่า "สิทธิของเจ้าหนี้ที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันต้องได้รับการปฏิบัติเท่าเทียมกัน" การที่จะพิจารณาว่า เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้อย่างเท่าเทียมกันหรือไม่ จึงต้องพิจารณาเฉพาะบรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายที่ถูกจัดไว้ในกลุ่มเดียวกัน
ตามแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ได้จัดกลุ่มเจ้าหนี้เป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 เจ้าหนี้มีประกัน กลุ่มที่ 2 เจ้าหนี้ไม่มีประกันประเภทสถาบันการเงิน และกลุ่มที่ 3 เจ้าหนี้ไม่มีประกันที่มิใช่สถาบันการเงินการที่แผนฟื้นฟูกิจการระบุว่า ธนาคาร ก. เจ้าหนี้กลุ่มที่ 1 และเป็นเจ้าหนี้มีประกันเพียงรายเดียวได้รับการเสนอชำระหนี้ด้วยการโอนหุ้นบริษัท ส. จำนวน 10,000,000 หุ้น ที่จำนำไว้เป็นหลักประกันในราคาหุ้นละ 5 บาท เพื่อชำระหนี้กับได้รับชำระเป็นเงินสดอีก 2,179,510.55 บาท ส่วนเจ้าหนี้ผู้คัดค้านเป็นเจ้าหนี้กลุ่มที่ 2 เจ้าหนี้ไม่มีประกันประเภทสถาบันการเงิน ซึ่งมีธนาคาร น. รวมอยู่ด้วยได้รับการแปลงหนี้เป็นทุน โดยการแปลงหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยเป็นหุ้นสามัญของลูกหนี้ในราคาหุ้นละ 40 บาท แม้ในแผนฟื้นฟูกิจการจะเสนอชำระหนี้แก่เจ้าหนี้กลุ่มที่ 1 ต่างกับเจ้าหนี้กลุ่มที่ 2 ก็เป็นกรณีที่ผู้ทำแผนสามารถกำหนดได้เพราะเป็นเจ้าหนี้ต่างกลุ่มกันเมื่อแผนฟื้นฟูกิจการได้กำหนดให้สิทธิของเจ้าหนี้ที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันได้รับการปฏิบัติเท่าเทียมกันแล้ว จึงถือว่าแผนฟื้นฟูกิจการได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการชำระหนี้เป็นไปตามมาตรา 90/58(2) ประกอบด้วยมาตรา 90/42 ตรี แล้ว
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/42 วรรคท้าย มิให้นำมาตรา 1119 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาใช้บังคับแก่แผนตามมาตรานี้โดยมาตรา 1119 วรรคสอง บัญญัติว่า "ในการใช้เงินเป็นค่าหุ้นนั้น ผู้ถือหุ้นจะหักหนี้กับบริษัทหาได้ไม่" ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวห้ามหักหนี้กับค่าหุ้นของบริษัทจึงไม่สามารถแปลงหนี้เป็นทุนได้ ดังนั้น เมื่อในการจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการมีบทบัญญัติยกเว้นบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในส่วนนี้ ผู้ทำแผนจึงสามารถทำแผนเพิ่มทุนโดยการแปลงหนี้มาเป็นทุน ซึ่งทำให้ทุนจดทะเบียนของลูกหนี้เพิ่มมากขึ้นโดยเจ้าหนี้ที่แปลงหนี้เป็นทุนจะเป็นผู้ถือหุ้นที่เพิ่มขึ้นในสัดส่วนหนี้ของตน สถานะของเจ้าหนี้ย่อมเปลี่ยนจากเจ้าหนี้มาเป็นผู้ร่วมลงทุนกับผู้ถือหุ้นเดิม การที่ผู้ทำแผนจัดทำแผนกำหนดวิธีการชำระหนี้โดยการแปลงหนี้เป็นทุน จึงเป็นวิธีการที่สามารถกระทำได้
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/60 วรรคสอง คำสั่งเห็นชอบด้วยแผนมีผลเฉพาะตัวลูกหนี้เท่านั้นที่จะหลุดพ้นจากหนี้ที่มีอยู่ก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน แล้วมาผูกพันตามหนี้ที่กำหนดไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการ ส่วนบุคคลอื่นซึ่งต้องร่วมรับผิดกับลูกหนี้จะต้องรับผิดอีกเช่นไร ต้องเป็นไปตามกฎหมายต่าง ๆ ซึ่งว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง
ตามแผนฟื้นฟูกิจการระบุว่า ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว และปรากฏว่า ในการดำเนินการเพื่อแปลงหนี้เป็นทุนตามข้อตกลงเจ้าหนี้ส่วนใหญ่ ทำให้ราคาตลาดที่แท้จริงของหุ้นของลูกหนี้จากการเพิ่มทุนมีราคาน้อยกว่าราคาที่ตีไว้เพื่อการแปลงหนี้เป็นทุนตามอัตราส่วนหนี้ของเจ้าหนี้ที่ค้าง จำนวนหนี้ที่เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้อันจะมีผลให้หนี้ระงับย่อมมีจำนวนเท่ากับราคาตลาดที่แท้จริงของหุ้นอันเจ้าหนี้ได้รับโอนไว้ตามแผนฟื้นฟูกิจการ จากเหตุดังกล่าวย่อมมีผลเท่ากับมีการชำระหนี้บางส่วนด้วยหุ้นแล้วให้เจ้าหนี้ไม่ติดใจเรียกร้องหนี้ส่วนที่เหลือจากลูกหนี้อีก ในส่วนตัวลูกหนี้ย่อมได้รับการปลดเปลื้องความรับผิดในหนี้ส่วนที่ขาดโดยผลของกฎหมายฟื้นฟูกิจการ แต่ในส่วนผู้ค้ำประกันจะหลุดพ้นความรับผิดก็ต่อเมื่อหนี้นั้นได้ระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 698 เมื่อหนี้ส่วนของผู้ค้ำประกันระงับเพียงบางส่วน การที่แผนฟื้นฟูกิจการกำหนดให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิดไปเสียทีเดียวย่อมเป็นการขัดต่อพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 90/60 วรรคสอง อันเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 แต่เมื่อรายการดังกล่าวมิใช่รายการสำคัญและพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ได้บัญญัติเรื่องนี้ไว้แล้วตามมาตรา 90/60 วรรคสอง จึงไม่กระทบถึงความสมบูรณ์ของแผนย่อมถือว่าแผนมีรายการครบถ้วนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/42 ประกอบมาตรา 90/58 วรรคสอง
ในรายการสรุปและวิเคราะห์แผนฟื้นฟูกิจการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ระบุว่าในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายเจ้าหนี้ไม่มีประกันจะไม่ได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้เลย ในขณะที่ในการฟื้นฟูกิจการนั้นเจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้โดยการแปลงหนี้เป็นทุน ทำให้เจ้าหนี้เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทลูกหนี้ ถือว่าเจ้าหนี้ได้รับหุ้นอันเป็นสังหาริมทรัพย์อันสามารถหาราคาที่แท้จริงได้ และเมื่อมีการฟื้นฟูกิจการทำให้กิจการของลูกหนี้ดำเนินการต่อไป เจ้าหนี้จึงน่าจะมีโอกาสให้รับเงินปันผลจากการเป็นผู้ถือหุ้นดังกล่าวด้วยส่วนหนี้ในส่วนที่ขาดภายหลังจากการหักด้วยราคาหุ้นที่แท้จริงแล้ว เจ้าหนี้ก็ย่อมมีสิทธิเรียกจากผู้ค้ำประกันได้ตามสิทธิที่มีอยู่ หากดำเนินการตามแผนสำเร็จจะทำให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่ากรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายชอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/58(3) แล้ว
ในการขอฟื้นฟูกิจการนั้นกฎหมายได้กำหนดลำดับขั้นตอนการดำเนินกระบวนพิจารณาในแต่ละช่วงไว้อย่างชัดเจน ปัญหาตามอุทธรณ์ของเจ้าหนี้ที่ว่ามีเหตุอันสมควรและไม่มีช่องทางให้ฟื้นฟูกิจการเป็นปัญหาในชั้นพิจารณาคำร้องขอฟื้นฟูกิจการตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/10 อันเป็นกระบวนพิจารณาก่อนศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการแต่เมื่อศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้และคำสั่งดังกล่าวถึงที่สุดแล้ว จนกระทั่งมีการทำแผนและแผนนั้นได้รับการยอมรับจากที่ประชุมเจ้าหนี้ถึงชั้นพิจารณาให้ความเห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการของศาล กรณีจึงเป็นการล่วงเลยขั้นตอนที่จะยกเหตุดังกล่าวขึ้นคัดค้านแล้ว ศาลฎีกาจึงไม่วินิจฉัยให้
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/42 ตรี บัญญัติว่า "สิทธิของเจ้าหนี้ที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันต้องได้รับการปฏิบัติเท่าเทียมกัน" การที่จะพิจารณาว่า เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้อย่างเท่าเทียมกันหรือไม่ จึงต้องพิจารณาเฉพาะบรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายที่ถูกจัดไว้ในกลุ่มเดียวกัน
ตามแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ได้จัดกลุ่มเจ้าหนี้เป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 เจ้าหนี้มีประกัน กลุ่มที่ 2 เจ้าหนี้ไม่มีประกันประเภทสถาบันการเงิน และกลุ่มที่ 3 เจ้าหนี้ไม่มีประกันที่มิใช่สถาบันการเงินการที่แผนฟื้นฟูกิจการระบุว่า ธนาคาร ก. เจ้าหนี้กลุ่มที่ 1 และเป็นเจ้าหนี้มีประกันเพียงรายเดียวได้รับการเสนอชำระหนี้ด้วยการโอนหุ้นบริษัท ส. จำนวน 10,000,000 หุ้น ที่จำนำไว้เป็นหลักประกันในราคาหุ้นละ 5 บาท เพื่อชำระหนี้กับได้รับชำระเป็นเงินสดอีก 2,179,510.55 บาท ส่วนเจ้าหนี้ผู้คัดค้านเป็นเจ้าหนี้กลุ่มที่ 2 เจ้าหนี้ไม่มีประกันประเภทสถาบันการเงิน ซึ่งมีธนาคาร น. รวมอยู่ด้วยได้รับการแปลงหนี้เป็นทุน โดยการแปลงหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยเป็นหุ้นสามัญของลูกหนี้ในราคาหุ้นละ 40 บาท แม้ในแผนฟื้นฟูกิจการจะเสนอชำระหนี้แก่เจ้าหนี้กลุ่มที่ 1 ต่างกับเจ้าหนี้กลุ่มที่ 2 ก็เป็นกรณีที่ผู้ทำแผนสามารถกำหนดได้เพราะเป็นเจ้าหนี้ต่างกลุ่มกันเมื่อแผนฟื้นฟูกิจการได้กำหนดให้สิทธิของเจ้าหนี้ที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันได้รับการปฏิบัติเท่าเทียมกันแล้ว จึงถือว่าแผนฟื้นฟูกิจการได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการชำระหนี้เป็นไปตามมาตรา 90/58(2) ประกอบด้วยมาตรา 90/42 ตรี แล้ว
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/42 วรรคท้าย มิให้นำมาตรา 1119 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาใช้บังคับแก่แผนตามมาตรานี้โดยมาตรา 1119 วรรคสอง บัญญัติว่า "ในการใช้เงินเป็นค่าหุ้นนั้น ผู้ถือหุ้นจะหักหนี้กับบริษัทหาได้ไม่" ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวห้ามหักหนี้กับค่าหุ้นของบริษัทจึงไม่สามารถแปลงหนี้เป็นทุนได้ ดังนั้น เมื่อในการจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการมีบทบัญญัติยกเว้นบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในส่วนนี้ ผู้ทำแผนจึงสามารถทำแผนเพิ่มทุนโดยการแปลงหนี้มาเป็นทุน ซึ่งทำให้ทุนจดทะเบียนของลูกหนี้เพิ่มมากขึ้นโดยเจ้าหนี้ที่แปลงหนี้เป็นทุนจะเป็นผู้ถือหุ้นที่เพิ่มขึ้นในสัดส่วนหนี้ของตน สถานะของเจ้าหนี้ย่อมเปลี่ยนจากเจ้าหนี้มาเป็นผู้ร่วมลงทุนกับผู้ถือหุ้นเดิม การที่ผู้ทำแผนจัดทำแผนกำหนดวิธีการชำระหนี้โดยการแปลงหนี้เป็นทุน จึงเป็นวิธีการที่สามารถกระทำได้
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/60 วรรคสอง คำสั่งเห็นชอบด้วยแผนมีผลเฉพาะตัวลูกหนี้เท่านั้นที่จะหลุดพ้นจากหนี้ที่มีอยู่ก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน แล้วมาผูกพันตามหนี้ที่กำหนดไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการ ส่วนบุคคลอื่นซึ่งต้องร่วมรับผิดกับลูกหนี้จะต้องรับผิดอีกเช่นไร ต้องเป็นไปตามกฎหมายต่าง ๆ ซึ่งว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง
ตามแผนฟื้นฟูกิจการระบุว่า ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว และปรากฏว่า ในการดำเนินการเพื่อแปลงหนี้เป็นทุนตามข้อตกลงเจ้าหนี้ส่วนใหญ่ ทำให้ราคาตลาดที่แท้จริงของหุ้นของลูกหนี้จากการเพิ่มทุนมีราคาน้อยกว่าราคาที่ตีไว้เพื่อการแปลงหนี้เป็นทุนตามอัตราส่วนหนี้ของเจ้าหนี้ที่ค้าง จำนวนหนี้ที่เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้อันจะมีผลให้หนี้ระงับย่อมมีจำนวนเท่ากับราคาตลาดที่แท้จริงของหุ้นอันเจ้าหนี้ได้รับโอนไว้ตามแผนฟื้นฟูกิจการ จากเหตุดังกล่าวย่อมมีผลเท่ากับมีการชำระหนี้บางส่วนด้วยหุ้นแล้วให้เจ้าหนี้ไม่ติดใจเรียกร้องหนี้ส่วนที่เหลือจากลูกหนี้อีก ในส่วนตัวลูกหนี้ย่อมได้รับการปลดเปลื้องความรับผิดในหนี้ส่วนที่ขาดโดยผลของกฎหมายฟื้นฟูกิจการ แต่ในส่วนผู้ค้ำประกันจะหลุดพ้นความรับผิดก็ต่อเมื่อหนี้นั้นได้ระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 698 เมื่อหนี้ส่วนของผู้ค้ำประกันระงับเพียงบางส่วน การที่แผนฟื้นฟูกิจการกำหนดให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิดไปเสียทีเดียวย่อมเป็นการขัดต่อพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 90/60 วรรคสอง อันเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 แต่เมื่อรายการดังกล่าวมิใช่รายการสำคัญและพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ได้บัญญัติเรื่องนี้ไว้แล้วตามมาตรา 90/60 วรรคสอง จึงไม่กระทบถึงความสมบูรณ์ของแผนย่อมถือว่าแผนมีรายการครบถ้วนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/42 ประกอบมาตรา 90/58 วรรคสอง
ในรายการสรุปและวิเคราะห์แผนฟื้นฟูกิจการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ระบุว่าในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายเจ้าหนี้ไม่มีประกันจะไม่ได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้เลย ในขณะที่ในการฟื้นฟูกิจการนั้นเจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้โดยการแปลงหนี้เป็นทุน ทำให้เจ้าหนี้เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทลูกหนี้ ถือว่าเจ้าหนี้ได้รับหุ้นอันเป็นสังหาริมทรัพย์อันสามารถหาราคาที่แท้จริงได้ และเมื่อมีการฟื้นฟูกิจการทำให้กิจการของลูกหนี้ดำเนินการต่อไป เจ้าหนี้จึงน่าจะมีโอกาสให้รับเงินปันผลจากการเป็นผู้ถือหุ้นดังกล่าวด้วยส่วนหนี้ในส่วนที่ขาดภายหลังจากการหักด้วยราคาหุ้นที่แท้จริงแล้ว เจ้าหนี้ก็ย่อมมีสิทธิเรียกจากผู้ค้ำประกันได้ตามสิทธิที่มีอยู่ หากดำเนินการตามแผนสำเร็จจะทำให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่ากรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายชอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/58(3) แล้ว
ในการขอฟื้นฟูกิจการนั้นกฎหมายได้กำหนดลำดับขั้นตอนการดำเนินกระบวนพิจารณาในแต่ละช่วงไว้อย่างชัดเจน ปัญหาตามอุทธรณ์ของเจ้าหนี้ที่ว่ามีเหตุอันสมควรและไม่มีช่องทางให้ฟื้นฟูกิจการเป็นปัญหาในชั้นพิจารณาคำร้องขอฟื้นฟูกิจการตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/10 อันเป็นกระบวนพิจารณาก่อนศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการแต่เมื่อศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้และคำสั่งดังกล่าวถึงที่สุดแล้ว จนกระทั่งมีการทำแผนและแผนนั้นได้รับการยอมรับจากที่ประชุมเจ้าหนี้ถึงชั้นพิจารณาให้ความเห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการของศาล กรณีจึงเป็นการล่วงเลยขั้นตอนที่จะยกเหตุดังกล่าวขึ้นคัดค้านแล้ว ศาลฎีกาจึงไม่วินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2817/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำเข้าสินค้ามีเครื่องหมายการค้า การละเมิดสิทธิ และการคุ้มครองเครื่องหมายการค้า
โจทก์ที่ 1 ซึ่งจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นผู้ผลิตสินค้าปัตตะเลี่ยนโดยใช้เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศไทย คำว่า "WAHL" โจทก์ที่ 1 ย่อมเป็นผู้มีสิทธิแต่ผู้เดียวในอันที่จะใช้เครื่องหมายการค้านั้นสำหรับสินค้าปัตตะเลี่ยน ทำให้โจทก์ที่ 1 มีสิทธิหวงกันไม่ให้ผู้อื่นนำเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 1 ไปใช้โดยมิชอบ วัตถุประสงค์ของการใช้เครื่องหมายการค้ากับสินค้าก็เพื่อแยกความแตกต่างระหว่างสินค้าของเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นกับสินค้าของผู้อื่นและเพื่อระบุว่าสินค้านั้นเป็นของเจ้าของเครื่องหมายการค้าดังกล่าว ซึ่งเป็นประโยชน์ในการจำหน่ายสินค้าของตนการที่มีผู้ซื้อสินค้าของเจ้าของเครื่องหมายการค้าเพื่อนำไปจำหน่ายต่อไป ก็เป็นเรื่องปกติธรรมดาในการประกอบการค้า เมื่อผู้ผลิตสินค้าที่เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าได้จำหน่ายสินค้าของตนในครั้งแรก ซึ่งได้รับประโยชน์จากการใช้เครื่องหมายการค้านั้นจากราคาสินค้าที่จำหน่ายไปเสร็จสิ้นแล้ว จึงไม่มีสิทธิหวงกันไม่ให้ผู้ซื้อสินค้าซึ่งประกอบการค้าปกตินำสินค้านั้นออกจำหน่ายอีกต่อไป โจทก์ที่ 1 ไม่มีสิทธิหวงกันไม่ให้จำเลยนำเข้าซึ่งสินค้าปัตตะเลี่ยนที่มีเครื่องหมายการค้าที่แท้จริงที่จำเลยซื้อจากตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์ที่ 1 ในประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์มาจำหน่ายในประเทศไทยได้
แม้กล่องบรรจุสินค้าปัตตะเลี่ยนซึ่งมีเครื่องหมายการค้าคำว่า "WAHL" จะมีซองกระดาษที่มีเครื่องหมายการค้าเดียวกันห่อหุ้มกล่องและมีใบรับประกันที่มีเครื่องหมายการค้าเดียวกันระบุชื่อที่อยู่ของจำเลยว่าเป็นศูนย์บริการ ก็เป็นเครื่องหมายการค้าที่แสดงว่าสินค้าปัตตะเลี่ยนในกล่องหรือหีบห่อนั้นเป็นสินค้าของโจทก์ที่ 1 จำเลยเพียงแต่เป็นผู้ให้บริการรับซ่อมปัตตะเลี่ยนให้เท่านั้น มิใช่แสดงว่าจำเลยเป็นเจ้าของหรือผู้มีสิทธิใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 1 การกระทำของจำเลยไม่เป็นการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า "WAHL"ของโจทก์ที่ 1
โจทก์ที่ 2 เป็นผู้นำเข้าซึ่งสินค้าปัตตะเลี่ยนที่มีเครื่องหมายการค้าคำว่า"WAHL" ของโจทก์ที่ 1 จากประเทศสหรัฐอเมริกามาจำหน่ายในประเทศไทยโจทก์ที่ 1 ไม่ได้ตั้งให้โจทก์ที่ 2 เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของโจทก์ที่ 1 ในประเทศไทยแต่เพียงผู้เดียว โจทก์ที่ 2 จึงเป็นเพียงผู้นำเข้าซึ่งสินค้าปัตตะเลี่ยนที่มีเครื่องหมายการค้าดังกล่าวจากโจทก์ที่ 1 มาจำหน่ายในประเทศไทยผู้หนึ่งเท่านั้น จึงฟังไม่ได้ว่า การที่จำเลยนำเข้าซึ่งสินค้าปัตตะเลี่ยนที่มีเครื่องหมายการค้าคำว่า "WAHL" เข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ที่ 2 อันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ที่ 2ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 421
แม้กล่องบรรจุสินค้าปัตตะเลี่ยนซึ่งมีเครื่องหมายการค้าคำว่า "WAHL" จะมีซองกระดาษที่มีเครื่องหมายการค้าเดียวกันห่อหุ้มกล่องและมีใบรับประกันที่มีเครื่องหมายการค้าเดียวกันระบุชื่อที่อยู่ของจำเลยว่าเป็นศูนย์บริการ ก็เป็นเครื่องหมายการค้าที่แสดงว่าสินค้าปัตตะเลี่ยนในกล่องหรือหีบห่อนั้นเป็นสินค้าของโจทก์ที่ 1 จำเลยเพียงแต่เป็นผู้ให้บริการรับซ่อมปัตตะเลี่ยนให้เท่านั้น มิใช่แสดงว่าจำเลยเป็นเจ้าของหรือผู้มีสิทธิใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 1 การกระทำของจำเลยไม่เป็นการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า "WAHL"ของโจทก์ที่ 1
โจทก์ที่ 2 เป็นผู้นำเข้าซึ่งสินค้าปัตตะเลี่ยนที่มีเครื่องหมายการค้าคำว่า"WAHL" ของโจทก์ที่ 1 จากประเทศสหรัฐอเมริกามาจำหน่ายในประเทศไทยโจทก์ที่ 1 ไม่ได้ตั้งให้โจทก์ที่ 2 เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของโจทก์ที่ 1 ในประเทศไทยแต่เพียงผู้เดียว โจทก์ที่ 2 จึงเป็นเพียงผู้นำเข้าซึ่งสินค้าปัตตะเลี่ยนที่มีเครื่องหมายการค้าดังกล่าวจากโจทก์ที่ 1 มาจำหน่ายในประเทศไทยผู้หนึ่งเท่านั้น จึงฟังไม่ได้ว่า การที่จำเลยนำเข้าซึ่งสินค้าปัตตะเลี่ยนที่มีเครื่องหมายการค้าคำว่า "WAHL" เข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ที่ 2 อันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ที่ 2ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 421
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6632/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดทรัพย์สินจากการกระทำความผิดทางอาญาของบุคคล และการคุ้มครองประโยชน์ประชาชน
ธนาคารแห่งประเทศไทยผู้คัดค้านตรวจสอบพบว่า ร. ขณะเกิดเหตุเป็นที่ปรึกษากรรมการผู้จัดการใหญ่ของธนาคาร ก. ได้ร่วมกับพวกยักยอกทรัพย์ของธนาคารดังกล่าวไปจำนวน 1,657,000,000 บาท เป็นกรณีต้องหาว่ากระทำความผิดอาญาตามที่ระบุไว้ในมาตรา 46 นว (1) แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 ทั้งเมื่อพนักงานอัยการได้มีคำสั่งฟ้อง ร.กับพวกในข้อหาดังกล่าวแล้วร. ได้หลบหนีไปอยู่ต่างประเทศ การที่ผู้คัดค้านเห็นว่าหากปล่อยเนิ่นช้าไปอาจเกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ของประชาชน ผู้คัดค้านจึงมีคำสั่งอายัดตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทที่ ร.เป็นเจ้าของกับหุ้นของบริษัทฟ.ที่มีร. เป็นเจ้าของ โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 46 ทศ แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ฯ คำสั่งของผู้คัดค้านดังกล่าวจึงเป็นมาตรการป้องกันมิให้ ร. ยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินของตนเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกบังคับยึดทรัพย์หรือขายทอดตลาดนำมาชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ หรือโอนทรัพย์สินหรือสิทธิตามเอกสารสิทธิต่างๆของตนเปลี่ยนมือไปให้แก่บุคคลอื่นโดยมิชอบอันอาจส่งผลให้เจ้าหนี้ทั้งปวงกับธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินอื่น ๆ ที่ ร. เป็นหนี้อยู่ได้รับความเสียหายและถูกกระทบกระเทือน เพราะเหตุการกระทำทุจริตของ ร.ดังนั้นการที่ผู้คัดค้านมีคำสั่งอายัดตั๋วสัญญาใช้เงินกับหุ้นพิพาทดังกล่าวย่อมเป็นคำสั่งที่สั่งโดยชอบด้วยกฎหมายอันเป็นการคุ้มครองประโยชน์ของประชาชน ผู้ร้องยังมิได้ฟ้อง ร.เกี่ยวกับหนี้สินแต่อย่างใดจึงไม่อาจฟังเป็นยุติได้ว่าร.เป็นหนี้ผู้ร้องและมีข้อตกลงระหว่างผู้ร้องกับ ร. ดังที่ผู้ร้องอ้าง คดีไม่จำต้องวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับสิทธิของผู้ร้องอีกต่อไป ผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของผู้คัดค้านที่อายัดทรัพย์สินของ ร. ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7085/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการบังคับคดีและการคุ้มครองสิทธิของผู้เช่าหลังคำพิพากษาถึงที่สุด
แม้ผู้ร้องที่ 1 จะมีสิทธิได้รับมรดกในที่ดินพิพาทของโจทก์ที่ 1 และผู้ร้องที่ 2 เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทในส่วนทางด้านทิศตะวันออกโดยผู้ร้องที่ 1มารดายกให้ก็ตาม แต่ในชั้นนี้เป็นชั้นบังคับคดีซึ่งโจทก์ขอให้บังคับแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 กับบริวาร เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 รื้อถอนโรงเรือนออกไปแล้ว คงเหลือเพียงบริวารซึ่งเป็นผู้เช่าที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 และปลูกสร้างโรงงานในที่ดินพิพาทมาแต่เดิมอันเป็นผู้ที่จะต้องถูกบังคับในคดีนี้ มิใช่ผู้ร้องทั้งสอง ส่วนที่ผู้เช่าทั้งสามดังกล่าวทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทจากผู้ร้องทั้งสองภายหลังที่ศาลฎีกาพิพากษาแล้วกรณีจะทำให้ผู้เช่าทั้งสามไม่ต้องรื้อถอนโรงงานออกไปหรือไม่เป็นเรื่องที่ ผู้เช่าทั้งสามจะต้องเป็นผู้มายื่นคำร้องเพื่อแสดงอำนาจพิเศษ ต่อศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296จัตวา (3) ส่วนที่ตามสัญญาเช่าซึ่งผู้ช่าทั้งสามยอมยกสิ่งปลูกสร้างในที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้องทั้งสองผู้ให้เช่านั้น เป็นเรื่องระหว่างผู้ร้องทั้งสองกับผู้เช่าที่จะต้องไปว่ากล่าวกันเอง ผู้ร้องทั้งสองไม่มีสิทธิมายื่นคำร้องขอให้เพิกถอนประกาศของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ให้รื้อถอนโรงเรือนในที่ดินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 234/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การใช้ชื่อที่คล้ายคลึงกันในสินค้าต่างประเภท และขอบเขตการคุ้มครองเครื่องหมายที่ยังไม่ได้จดทะเบียน
อักษรโรมันคำว่า "WELLCOME" เป็นคำที่ไม่มีคำแปลหรือมีความหมายว่าอย่างไร และโจทก์นำสืบข้อเท็จจริงฟังได้ว่าคำว่า "WELLCOME"เป็นนามสกุลของผู้เริ่มก่อตั้งบริษัทโจทก์ในอดีตและบริษัทโจทก์ตั้งขึ้นเมื่อปี 2423นอกจากโจทก์จะใช้คำว่า "WELLCOME" เป็นเครื่องหมายการค้าแล้ว โจทก์ยังใช้คำดังกล่าวเป็นชื่อบริษัทโจทก์ด้วย โจทก์เริ่มจำหน่ายผลิตภัณฑ์โดยใช้เครื่องหมายคำว่า "WELLCOME" มาตั้งแต่ก่อนปี 2444 ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า"WELLCOME" ครั้งแรกที่ประเทศอังกฤษ เมื่อปี 2450 และที่ประเทศไทยเมื่อปี 2490 สำหรับสินค้าจำพวกที่ 3 และได้ส่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าคำว่าWELLCOME ไปจำหน่ายในประเทศต่าง ๆ รวมทั้งประเทศไทย ในขณะที่จำเลยอ้างว่า ว.ผู้ก่อตั้งห้างเวลล์คัม ซุปเปอร์มาร์เก็ต เป็นผู้คิดชื่อ WELLCOME โดยครั้งแรกตั้งชื่อคำว่า "WELCOME" แต่เจ้าหน้าที่ไม่รับจดทะเบียนเพราะเป็นคำสามัญทั่วไป แปลว่า ต้อนรับ จึงต้องเพิ่มอักษร L เข้าไปอีก 1 ตัว แต่จำเลยเพิ่งเริ่มดำเนินกิจการ WELLCOME SUPERMARKET เมื่อปี 2488 อันเป็นเวลาภายหลังที่โจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "WELLCOME" หลายสิบปีด้วยแล้ว ย่อมไม่มีเหตุผลให้เชื่อว่า ว.จะได้คิดค้นคำดังกล่าวขึ้นมาเองและเหมือนกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์โดยบังเอิญเช่นนั้น แต่น่าเชื่อว่าเป็นการนำเอาคำว่า "WELLCOME"มาจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แล้วนำคำว่า SUPERMARKET มาประกอบเพื่อให้มีลักษณะแตกต่างไปจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แม้ว่าจำเลยขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าโดยมีคำว่า "SUPERMARKET" ประกอบกับคำว่า"WELLCOME" และจำเลยขอจดทะเบียนสำหรับสินค้าจำพวกที่ 50 ได้แก่ สินค้าเบ็ดเตล็ด อันเป็นสินค้าต่างจำพวกและไม่มีลักษณะที่เกี่ยวเนื่องหรือสัมพันธ์กันกับสินค้าจำพวกที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 48 ซึ่งเป็นสินค้ายารักษาโรคมนุษย์ เคมีภัณฑ์และเครื่องสำอางของโจทก์ภายใต้เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนคำว่า "WELLCOME"ก็ตาม แต่ก็ปรากฏจากพยานหลักฐานของโจทก์ว่าโจทก์ได้โฆษณาสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า "WELLCOME" หลายชนิดและแจกสินค้าตัวอย่าง เช่นกระเป๋า ถุงพลาสติก สุมดบันทึก และกระเป๋าสตางค์อันเป็นสินค้าเบ็ดเตล็ดในจำพวกที่ 50 ตามวิสัญญีสารและแผ่นปลิวโฆษณาอันถือได้ว่าเป็นการใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้าจำพวกที่ 50 แล้ว การใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "WELLCOME" SUPERMARKET" ของจำเลยกับสินค้าจำพวกที่ 50จึงอาจทำให้ประชาชนทั่วไปที่ไม่พิจารณาให้ละเอียดถี่ถ้วนเมื่อเห็นแต่คำว่า"WELLCOME" ซึ่งเป็นจุดเด่นของเครื่องหมายการค้าสับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ได้ การขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า"WELLCOME SUPERMARKET" ของจำเลยมีลักษณะคล้ายคลึงหรือเหมือนกับเครื่องหมายการค้าคำว่า "WELLCOME" ของโจทก์ เมื่อคำว่า "WELLCOME"เป็นนามสกุลของผู้เริ่มก่อตั้งบริษัทโจทก์ โจทก์เป็นเจ้าของและได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้าของโจทก์มาก่อนจำเลยหลายสิบปี โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายคำว่า "WELLCOME" และคำว่า "WELLCOME SUPERMARKET"ตามคำขอจดทะเบียนเลขที่ 206656 สำหรับสินค้าจำพวกที่ 50 ของจำเลยดีกว่าจำเลย และเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนดังกล่าวได้ตามมาตรา 41(1) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 อันเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาห้ามจำเลยใช้หรือยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าหรือเข้าเกี่ยวข้องใด ๆกับเครื่องหมายการค้าคำว่า "WELLCOME" สำหรับสินค้าทุกจำพวก รวมทั้งเครื่องหมายการค้าอื่นใดที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์ในส่วนนี้นั้นชอบแล้ว เพราะโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนสำหรับสินค้าจำพวกที่ 50จึงไม่อาจฟ้องคดีเพื่อป้องกันการล่วงสิทธิในเครื่องหมายการค้าของตนและห้ามผู้อื่นมิให้ใช้เครื่องหมายการค้านั้นกับสินค้าจำพวกดังกล่าวได้ดังเช่นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้รับการจดทะเบียนแล้ว ทั้งนี้ตามนัยมาตรา 27 และ 29 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1516/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าของนามทางการค้า: การคุ้มครองชื่อ 'โตราย่า' จากการใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตและการแสวงหาผลประโยชน์
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา18ให้สิทธิแก่บุคคลผู้เป็นเจ้าของนามอันชอบที่จะใช้ได้ที่ต้องเสื่อมเสียประโยชน์เพราะการที่บุคคลอื่นมาใช้นามเดียวกันโดยมิได้รับอนุญาตให้ใช้ในอันที่จะเรียกให้บุคคลอื่นนั้นระงับความเสียหายได้ถ้าและพึงวิตกว่าจะต้องเสียหายอยู่สืบไปจะร้องขอต่อศาลให้สั่งห้ามก็ได้โจทก์ใช้ชื่อ"โตราย่า"มาตั้งแต่ปี2496แม้โจทก์จะเลิกผลิตน้ำผลไม้มานาน4ปีแล้วแต่โจทก์ก็ยังให้คนอื่นผลิตโดยใช้ชื่อโจทก์ฉะนั้นการที่จำเลยทั้งสี่ใช้ชื่อ"โตราย่า"ของโจทก์โดยโจทก์ไม่อนุญาตจึงเป็นเจตนาแสวงหาผลประโยชน์จากชื่อของโจทก์ทำให้ลูกค้าของโจทก์สับสนว่าโจทก์เกี่ยวข้องกับจำเลยที่1หรือจำเลยที่1เป็นสาขาของโจทก์ในประเทศไทยโจทก์จึงมีสิทธิห้ามจำเลยที่1ระงับการใช้ชื่อ"โตราย่า"ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1988/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นความรับผิดประกันภัยค้ำจุน: ใบอนุญาตขับขี่ขาดอายุ และผลกระทบต่อการคุ้มครองความเสียหาย
จำเลยที่ 1 นำรถยนต์ไปประกันภัยค้ำจุนไว้แก่จำเลยที่ 2โดยมีข้อตกลงว่า ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอกถ้าผู้ขับขี่รถยนต์มีใบอนุญาตขับขี่รถยนต์แต่ขาดต่ออายุเกินกว่า 180 วัน ดังนี้เมื่อปรากฏว่าในขณะเกิดอุบัติเหตุและในขณะทำสัญญาประกันภัย ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ของจำเลยที่ 1 ขาดต่ออายุเกินกว่า 180 วัน และหลังจากทำสัญญาประกันภัยแล้วจำเลยที่ 1 ยังใช้ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ที่ขาดต่ออายุดังกล่าวเรื่อยมาจนกระทั่งจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์คันเกิดเหตุโดยประมาททำให้รถยนต์โจทก์เสียหาย กรณีจึงเข้าเงื่อนไขข้อยกเว้นความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย ซึ่งจำเลยที่ 2 ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ปฏิเสธความรับผิดได้
การประกันภัยค้ำจุนตาม ป.พ.พ. มาตรา 887 เป็นการประกันความเสียหายอันเกิดจากรถยนต์ที่เอาประกันภัยที่ไปก่อความเสียหายให้แก่บุคคลอื่นในเมื่อผู้เอาประกันภัยขับขี่หรือยินยอมให้ผู้อื่นขับขี่ การประกันภัยค้ำจุนจึงมุ่งที่ตัวบุคคลผู้ขับขี่รถยนต์ที่เอาประกันภัยในขณะเกิดเหตุเป็นสาระสำคัญยิ่งกว่าตัวบุคคลผู้เอาประกันภัยในขณะทำสัญญาประกันภัย ดังนั้น แม้ขณะทำสัญญาใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ของจำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัยขาดต่ออายุเกินกว่า180 วัน ก็ไม่อาจถือว่าคู่สัญญามิได้เจตนาถือเงื่อนไขยกเว้นความรับผิดตามกรมธรรม์ข้อนี้เป็นสาระสำคัญ เพราะมิฉะนั้นแล้วหากทำสัญญาประกันภัยกำหนดเงื่อนไขไม่ให้ผู้รับประกันภัยต้องรับผิดอย่างกรณีนี้ นิติบุคคลซึ่งเป็นเจ้าของหรือมีส่วนได้เสียในรถยนต์ที่เอาประกันภัยย่อมไม่มีทางจะทำสัญญาประกันได้เลย เพราะนิติบุคคลโดยสภาพย่อมไม่มีทางขอมีใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ได้
การประกันภัยค้ำจุนตาม ป.พ.พ. มาตรา 887 เป็นการประกันความเสียหายอันเกิดจากรถยนต์ที่เอาประกันภัยที่ไปก่อความเสียหายให้แก่บุคคลอื่นในเมื่อผู้เอาประกันภัยขับขี่หรือยินยอมให้ผู้อื่นขับขี่ การประกันภัยค้ำจุนจึงมุ่งที่ตัวบุคคลผู้ขับขี่รถยนต์ที่เอาประกันภัยในขณะเกิดเหตุเป็นสาระสำคัญยิ่งกว่าตัวบุคคลผู้เอาประกันภัยในขณะทำสัญญาประกันภัย ดังนั้น แม้ขณะทำสัญญาใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ของจำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัยขาดต่ออายุเกินกว่า180 วัน ก็ไม่อาจถือว่าคู่สัญญามิได้เจตนาถือเงื่อนไขยกเว้นความรับผิดตามกรมธรรม์ข้อนี้เป็นสาระสำคัญ เพราะมิฉะนั้นแล้วหากทำสัญญาประกันภัยกำหนดเงื่อนไขไม่ให้ผู้รับประกันภัยต้องรับผิดอย่างกรณีนี้ นิติบุคคลซึ่งเป็นเจ้าของหรือมีส่วนได้เสียในรถยนต์ที่เอาประกันภัยย่อมไม่มีทางจะทำสัญญาประกันได้เลย เพราะนิติบุคคลโดยสภาพย่อมไม่มีทางขอมีใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2466/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าที่ดินเพื่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ไม่อยู่ภายใต้การคุ้มครอง พ.ร.บ.เช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หากไม่มีพระราชกฤษฎีกาควบคุม
ผู้ร้องเช่าที่ดินพิพาทเพื่อดำเนินธุรกิจฟาร์มเพาะพันธุ์ปลา มิได้เช่าที่ดินพิพาทเพื่อใช้ทำนา จึงถือไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้เช่านาตามความหมายในพ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 แต่เป็นการเช่าที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมประเภทอื่น จึงต้องนำมาตรา 63 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวมาใช้บังคับซึ่งมีใจความว่ากรณีที่รัฐบาลเห็นสมควรให้มีการควบคุมการเช่าที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมประเภทอื่นนอกจากการเช่านา ให้กระทำโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกาแต่จนบัดนี้ยังไม่มีการตราพระราชกฤษฎีกาให้มีการควบคุมการประกอบเกษตรกรรมประเภทอื่นใดอีก ผู้ร้องจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายดังกล่าว กรณีนี้จึงไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ที่ คชก.ตำบล และ คชก.จังหวัดจะพิจารณาได้ ดังนั้นคำชี้ขาดของ คชก.จังหวัดนครนายกที่ให้ผู้คัดค้านขายที่ดินพิพาทแก่ผู้ร้องจึงเป็นคำชี้ขาดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวข้างต้น ศาลชั้นต้นต้องปฏิเสธไม่รับบังคับตามคำชี้ขาดนั้นตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 58 วรรคหนึ่งประกอบ พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 มาตรา 24 ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาบังคับตามคำชี้ขาดของ คชก.จังหวัดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงเป็นคำพิพากษาที่ฝ่าฝืนต่อบทกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ผู้คัดค้านทั้งสองจึงมีสิทธิอุทธรณ์ได้ตามข้อยกเว้นของมาตรา 26 (2) แห่ง พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการพ.ศ.2530