คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
การคุ้มครองสิทธิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2451/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในทรัพย์สินรวมที่ถูกบังคับคดี: การคุ้มครองสิทธิของผู้มีส่วนได้เสีย
เมื่อผู้ร้องและจำเลยได้ตกลงแบ่งแยกการครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์รวมของจำเลยกับผู้ร้องก่อนมีการบังคับคดีแล้ว ข้อตกลงดังกล่าวย่อมผูกพันจำเลยและผู้ร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1364 โจทก์ซึ่งเป็นเพียงเจ้าหนี้สามัญจึงมีสิทธิบังคับคดีได้เท่าที่จำเลยมีสิทธิในที่ดินพิพาทเท่านั้น ไม่มีสิทธิเอาที่ดินส่วนของผู้ร้องมาขายทอดตลาดได้ ถือได้ว่าผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมีสิทธิอื่น ๆ อันอาจร้องขอให้บังคับเหนือที่ดินนั้นได้ตามกฎหมาย ซึ่งการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้น ย่อมไม่กระทบกระทั่งถึงสิทธิของผู้ร้อง ผู้ร้องย่อมมีสิทธิขอให้กันที่ดินส่วนที่ผู้ร้องครอบครองก่อนนำที่ดินพิพาททั้งแปลงออกขายทอดตลาดได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5209/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพ้นตำแหน่งกรรมการลูกจ้างและการคุ้มครองสิทธิลูกจ้างตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ กรณีข้อเรียกร้องยังไม่สิ้นสุด
เหตุของการพ้นจากตำแหน่งของกรรมการลูกจ้างตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 48 นั้น ใช้บังคับทั้งกรรมการลูกจ้างที่สหภาพแรงงานแต่งตั้งตามมาตรา 45 วรรคสอง และเป็นกรรมการลูกจ้างที่ได้รับเลือกตั้งจากลูกจ้างในสถานประกอบกิจการนั้นตามมาตรา 46 วรรคสองด้วย พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 31 ห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องในระหว่างที่ได้มีการแจ้งข้อเรียกร้องแล้วและข้อเรียกร้องนั้นยังอยู่ในระหว่างการเจรจา การไกล่เกลี่ย หรือการชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานตามมาตรา 13 ถึงมาตรา 29 เท่านั้น เมื่อสหภาพแรงงาน ท.ได้แจ้งข้อเรียกร้องต่อจำเลย แล้วมีการเจรจากัน แต่ตกลงกันไม่ได้สหภาพแรงงาน ท.จึงแจ้งให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานทราบตามมาตรา 21 และพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานได้ดำเนินการไกล่เกลี่ยตามมาตรา 22 จนครบ 5 วันนับแต่วันที่พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานได้รับหนังสือแจ้งจนตกเป็นข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้แล้ว สหภาพแรงงาน ท. และจำเลยอาจดำเนินการต่อไปโดยตั้งผู้ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน หรือจำเลยจะปิดงานหรือลูกจ้างของจำเลยจะนัดหยุดงานก็ได้ ซึ่งจำเลยและสหภาพแรงงานหาได้ปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ ดังนี้ ข้อเรียกร้องดังกล่าวจึงไม่ได้อยู่ในขั้นตอนการเจรจาและการไกล่เกลี่ยอีกต่อไป ลูกจ้างจึงไม่ได้รับการคุ้มครองตามมาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2528/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงสภาพการจ้างและการสอบสวนทุจริต: การติดต่อผู้กล่าวหาเป็นเงื่อนไขสำคัญในการคุ้มครองสิทธิลูกจ้าง
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกำหนดว่า หากมีผู้ร้องเรียน เกี่ยวกับการปฏิบัติงานของพนักงานจำเลย ให้จำเลยสืบสวน เบื้องต้นว่ากรณีมีมูลความจริงหรือไม่ถ้ามีมูลให้ตั้ง คณะกรรมการสอบสวนผู้ถูกกล่าวหา และถ้าผู้ถูกกล่าวหาปฏิเสธก็ ต้องติดต่อให้ผู้กล่าวหามาให้การสอบสวนเพิ่มเติมหากมิได้ ดำเนินการดั่งกล่าวให้ยกประโยชน์ให้ผู้ถูกกล่าวหา โจทก์ถูก กล่าวหาว่ากระทำการทุจริตในการจำหน่ายตั๋วโดยสาร จำเลยจึงมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นสอบสวนโจทก์คณะกรรมการได้ปฏิบัติตามข้อตกลงโดยติดต่อผู้กล่าวหาแล้ว โจทก์ ผู้ถูกกล่าวหาจะได้รับประโยชน์จากข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการค้าดังกล่าวต้องเป็นกรณีที่คณะกรรมการสอบสวนมิได้ดำเนินการให้ผู้กล่าวหามาให้การเลยส่วนการที่ผู้กล่าวหาไม่ยินยอมมา ให้การนั้น คณะกรรมการก็ต้องพิจารณาข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐาน อื่นเท่าที่ปรากฏอยู่ต่อไปว่าโจทก์ได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหานั้นหรือไม่ โจทก์จึงไม่ได้รับประโยชน์ตาม ข้อตกลงดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3472/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการถอนฟ้องของโจทก์ที่อ้างว่าเป็นบุคคลวิกลจริต: การคุ้มครองสิทธิและการไต่สวนเพื่อพิสูจน์สภาพจิต
โจทก์ฟ้องคดีโดยผู้ร้องซึ่งร้องขอเป็นผู้แทนเฉพาะคดีของโจทก์โดยอ้างว่าโจทก์เป็นคนวิกลจริต ก่อนวันนัดไต่สวนคำร้องขอเป็นผู้แทนเฉพาะคดี โจทก์แต่งทนายความมายื่นคำร้องขอถอนฟ้อง ดังนี้โจทก์ซึ่งถูกอ้างว่าเป็นบุคคลวิกลจริตและกฎหมายจะต้องให้ความคุ้มครอง ไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอถอนฟ้องที่ผู้ร้องกำลังขอเป็นผู้แทนเฉพาะคดีดำเนินการอยู่ ชอบที่ศาลจะต้องทำการไต่สวนว่าโจทก์เป็นบุคคลวิกลจริตหรือไม่แล้วมีคำสั่งต่อไป และเมื่อศาลชั้นต้นยังไม่ได้รับคำฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณา จึงยังไม่มีคำฟ้องที่จะอนุญาตให้โจทก์ถอนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1779/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์และการคุ้มครองสิทธิผู้รับจำนองโดยสุจริต
จำเลยยกกรรมสิทธิ์ที่ดินให้ผู้ร้องโดยมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แม้จะได้ความตามคำร้องว่าผู้ร้องได้เข้าครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้นโดยความสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว แต่ผู้ร้องหาได้จดทะเบียนการได้กรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวไม่โจทก์รับจำนองและมีการจดทะเบียนจำนองถูกต้องตามกฎหมายย่อมได้รับการสันนิษฐานว่ากระทำการโดยสุจริต ผู้ร้องไม่อาจยกเรื่องการได้กรรมสิทธิ์ดังกล่าวขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ จึงไม่จำเป็นต้องสืบพยานในเรื่องการได้กรรมสิทธิ์ของผู้ร้องต่อไปอีก
ผู้ร้องฎีกาว่า ผู้ร้องมิได้รับรองหรือมีข้อเท็จจริงว่าโจทก์ได้สิทธิมาโดยสุจริตแม้จะมีข้อสันนิษฐานไว้ในกฎหมายผู้ร้องก็สืบคัดค้านได้นั้น ประเด็นข้อนี้ผู้ร้องหาได้ยกขึ้นกล่าวในชั้นอุทธรณ์ไม่ จึงต้องห้ามมิให้ฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาจึงไม่วินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 365-367/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงการใช้ถนนส่วนบุคคลเป็นสาธารณะ: สิทธิในการสัญจรและการคุ้มครองข้อตกลง
ฟ้องโจทก์อ้างว่าจำเลยทั้งสองได้ติดต่อขอทำถนนผ่านที่ดินของโจทก์ เพื่อทำเป็นถนนสาธารณะ และเมื่อได้ทำถนนแล้วก็ยอมให้บุคคลทั่วไปใช้ถนนในลักษณะถนนสาธารณะได้ แต่ต่อมาจำเลยได้ขุดถนนกั้นปิดถนนนั้นเสียฟ้องของโจทก์ดังนี้แสดงอยู่ในตัวว่าสิทธิของโจทก์ที่เกิดขึ้นจากข้อตกลงกับจำเลยได้ถูกจำเลยโต้แย้ง คือไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงนั้นโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
จำเลยตกลงกับโจทก์ว่า เมื่อจำเลยทำถนนผ่านที่ดินโจทก์แล้วจะให้เป็นทางสาธารณะเพื่อให้ประชาชนได้ใช้ถนนโดยสะดวกอย่างถนนสาธารณะเช่นนี้ ศาลพิพากษาห้ามจำเลยมิให้ปิดกั้น ขุด หรือขัดขวางในการที่โจทก์และประชาชนในถิ่นนั้นจะใช้ถนนสายนั้นสัญจรไปมาได้อย่างสะดวกตามที่ตกลงไว้กับโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13846/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของผู้ซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดคุ้มครอง แม้ที่ดินมิใช่ของจำเลย/ลูกหนี้ และสิทธิสืบต่อของผู้ซื้อรายถัดไป
ธนาคาร ก. เป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทโดยสุจริตในการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล ย่อมได้รับความคุ้มครองสิทธิมิให้เสียไป แม้ที่ดินพิพาทมิใช่ของจำเลยหรือลูกหนี้โดยคำพิพากษา ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1330 โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทจากธนาคาร ก. อีกทอดหนึ่ง ถือได้ว่าเป็นผู้สืบสิทธิที่ได้รับความคุ้มครองสิทธิที่มีอยู่ตามมาตรา 1330 เช่นเดียวกัน แม้โจทก์ทั้งสองจะมิใช่ผู้ซื้อที่ดินดังกล่าวจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโดยตรง หรือโจทก์ทั้งสองซื้อที่ดินดังกล่าวโดยทราบมาก่อนว่าจำเลยปลูกบ้านและสิ่งปลูกสร้างอื่นในที่ดินพิพาทเป็นเวลานานแล้ว หรือการที่จำเลยครอบครองทำประโยชน์ปลูกบ้านและสิ่งปลูกสร้างอื่นอย่างถาวรในที่ดินพิพาทมาเป็นเวลาเกินกว่า 20 ปี แล้วโดยไม่มีผู้ใดโต้แย้งคัดค้าน และมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) เป็นหลักฐาน ก็ไม่อาจยกสิทธิดังกล่าวขึ้นใช้ยันสิทธิของโจทก์ทั้งสองได้ และเมื่อโจทก์ทั้งสองบอกกล่าวให้จำเลยรื้อถอนบ้านและสิ่งปลูกสร้างอื่นกับให้ออกไปจากที่ดินพิพาทแล้ว จำเลยยังคงเพิกเฉย โจทก์ทั้งสองย่อมมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8201/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการคุ้มครองสิทธิผู้ซื้อทรัพย์จากการถูกขัดขวางการเข้าใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน
บทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 309 ตรี มีเจตนารมณ์ที่จะให้การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลเป็นไปด้วยความรวดเร็วและเพื่อคุ้มครองสิทธิของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการบังคับคดีให้ได้รับสิทธิและสามารถใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินอันตกอยู่ในการบังคับคดีโดยไม่ถูกลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบริวารขัดขวางหรือโต้แย้งการใช้สิทธิของผู้ซื้อทรัพย์โดยมิชอบ ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.พ. (ฉบับที่ 22)ฯ โดยมาตรา 2 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าวบัญญัติให้ พ.ร.บ. นี้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป คือมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 28 กรกฎาคม 2548 เป็นต้นไป โดยไม่มีบทเฉพาะกาลกำหนดว่าบทบัญญัติที่แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. นี้ มิให้ใช้บังคับแก่คดีที่ฟ้องก่อนวันที่ พ.ร.บ. นี้มีผลใช้บังคับแต่อย่างใด ดังนั้น ป.วิ.พ. มาตรา 309 ตรี ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. ดังกล่าว จึงผูกพันใช้บังคับแก่คู่ความและบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการบังคับคดีทันที ดังนั้น เมื่อผู้ซื้อทรัพย์ได้ซื้อทรัพย์มาจากการขายทอดตลาดและมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์พิพาท แม้จะเป็นการได้กรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์พิพาทก่อนวันที่ พ.ร.บ. ดังกล่าวมีผลใช้บังคับก็ตาม แต่ผู้ซื้อทรัพย์ได้ยื่นคำขอให้ศาลออกคำบังคับให้จำเลยและบริวารออกไปจากอสังหาริมทรัพย์พิพาท เมื่อ พ.ร.บ. ดังกล่าวมีผลใช้บังคับแล้ว จึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 309 ตรี มาใช้บังคับแก่กรณีตามคำขอของผู้ซื้อทรัพย์