คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
การฆ่า

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6591/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาในการสนับสนุนการฆ่า: การกระทำเกินกว่าผู้สนับสนุน กลายเป็นตัวการ
ก่อนเกิดเหตุจำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมดื่มสุราด้วยกันตั้งแต่ก่อนหนึ่งทุ่มครึ่งจนกระทั่งเวลาเลยเที่ยงคืนแล้ว จำเลยที่ 1 เล่าเรื่องที่ผู้ตายด่าว่าเกี่ยวกับการไม่เคร่งครัดต่อการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 2 ฟัง ในภาวะเช่นนั้นจำเลยที่ 2 ย่อมทราบอยู่แก่ใจดีว่าจำเลยที่ 1 มีความเคียดแค้นต่อผู้ตาย แทนที่จำเลยที่ 2 จะห้ามปรามหรือปลอบประโลมใจจำเลยที่ 1 เพื่อคลายความโกรธแต่กลับไปหยิบขวานขนาดใหญ่ที่พอจะทำร้ายผู้ตายให้ถึงแก่ความตายได้มาส่งให้ และเมื่อจำเลยที่ 1 รับขวานมาแล้วได้ลุกเดินตรงไปยังที่ที่ผู้ตายนอนอยู่ จำเลยที่ 2 ย่อมรู้อยู่แก่ใจดีว่าจำเลยที่ 1 จะต้องไปทำร้ายผู้ตายแน่ แต่จำเลยที่ 2 ก็ยังได้เดินตามจำเลยที่ 1 ไป หลังจากจำเลยที่ 1 ได้ใช้ขวานฟันทำร้ายผู้ตายจนถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 2 ก็ยังยืนให้คำปรึกษาแก่จำเลยที่ 1 ถึงการที่จะดำเนินการเกี่ยวกับศพผู้ตายต่อไป เมื่อตกลงกันได้ว่าจะต้องทำการซ่อนเร้นศพโดยการนำไปทิ้งบ่อน้ำที่ใกล้เคียง ขณะที่จำเลยที่ 1 แบกศพผู้ตายไปยังบ่อ ศพได้หล่นจากบ่า จำเลยที่ 2 ยังได้นำเสื้อกันฝนมาคลุมศพช่วยจำเลยที่ 1 ในการนำศพไปซ่อนในบ่อน้ำ พร้อมกับนำขวานที่ใช้เป็นอาวุธไปทิ้งลงบ่อด้วย ดังนี้ แม้จะได้ความว่าจำเลยที่ 2 จะมิใช่ผู้ลงมือฟันทำร้ายผู้ตายโดยตรง แต่พฤติการณ์ส่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 ก็มีความประสงค์ต่อความตายของผู้ตายด้วย ประกอบกับทุกขั้นตอนของการกระทำของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จะอยู่ร่วมด้วยในลักษณะที่จะช่วยเหลือจำเลยที่ 1 ได้ทุกเมื่อหากมีเหตุขัดข้องเกิดขึ้น การกระทำเช่นนี้จึงเป็นการเกินเลยของการเป็นผู้สนับสนุนและถึงขั้นเป็นตัวการในการกระทำความผิดแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3434/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาค่าทดแทนกรณีลูกจ้างถูกฆ่าตายก่อนเริ่มทำงาน และความเชื่อมโยงกับการทำงานหรือป้องกันประโยชน์ให้นายจ้าง
ผู้ตายเป็นพนักงานของการรถไฟแห่งประเทศไทย มีหน้าที่เป็นพนักงานกำกับการเดินรถ เริ่มปฏิบัติงานตั้งแต่เวลา 00.00นาฬิกา ถึง 8.00 นาฬิกา ในวันรุ่งขึ้น วันเกิดเหตุผู้ตาย ไปถึงย่านปล่อยรถเวลา 21 นาฬิกาเศษ เพื่อรอโดยสารรถยนต์ของเพื่อนร่วมงานไปยังหอควบคุมการเดินรถซึ่งอยู่ห่างไปประมาณ 600 เมตร รออยู่จนกระทั่ง 22 นาฬิกาก็ยังไม่มาผู้ตายจึงเดินไปเอง หลังจากนั้นประมาณ 5 นาทีผู้ตายถูกยิงถึงแก่ความตาย ดังนี้ ถือว่าผู้ตายถูกยิงตายก่อนเริ่มลงมือทำงาน ถือไม่ได้ว่าผู้ตายถูกฆ่าตายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างหรือป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่นายจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1960/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฆ่าผู้อื่นโดยไม่ได้ไตร่ตรองไว้ก่อนและไม่มีเจตนาทารุณโหดร้าย
ผู้ตายกับจำเลยเป็นเพื่อกันมาแต่เด็ก จำเลยเมาสุราหยอกล้อชกต่อยกับผู้ตาย จำเลยถูกต่อล้มลง จึงใช้ปืนยิงผู้ตายถูกที่ขา แล้ววิ่งตามไปยิงซ้ำถูกที่คำในเวลาอันกระชั้นชิด แม้จะฟังว่าบิดาผู้ตายได้ขอร้องมิให้จำเลยยิงซ้ำ ก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน และมิใช่เป็นการกระทำโดยทรมารหรือทารุณโหดร้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 314/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความชัดเจนของวันเวลาทำผิดและการพิจารณาความทารุณโหดร้ายในการฆ่า
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกระทำผิดเมื่อวันเวลาใดไม่ปรากฏชัด ระหว่างวันที่ 27 ตุลาคม 2508 เวลากลางคืนหลังเที่ยงติดต่อกับวันที่ 28 ตุลาคม 2508 เวลากลางคืนก่อนเที่ยง ซึ่งหมายถึงเวลากลางคืนของวันที่ 27 ตุลาคม 2508 ตลอดคืน และจำเลยก็นำสืบต่อสู้คดีว่า ในวันที่ 27 ตุลาคม 2508 ตั้งแต่เวลา 17 นาฬิกา จำเลยไปเยี่ยมญาติซึ่งป่วยจนถึงเที่ยงคืนจึงกลับไปอยู่บ้าน แสดงว่าจำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีว่ากล่าวหาจำเลยกระทำผิดในวันเวลาใด ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
จำเลยขึ้นไปบนเรือนและใช้ขวานฟันผู้ตายที่คอ ผู้ตายยังไม่ตายทันที เมื่อจำเลยลงจากเรือนผู้ตายไปแล้ว ผู้ตายร้องครางขึ้น จำเลยจึงย้อนขึ้นไปพันที่คอผู้ตายอีกครั้งหนึ่ง เป็นการฟันซ้ำที่แผลเดิมเพื่อจะให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย ยังไม่เข้าลักษณะที่เป็นการฆ่าโดยทารุณโหดร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1271/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจับกุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและการป้องกันสิทธิโดยชอบธรรม กรณีฆ่าเจ้าพนักงาน
พลตำรวจเข้าไปจับหญิงนครโสเภณี เห็นผู้หญิงกับผู้ชายคู่หนึ่งนั่งคุยกันในห้องซึ่งเปิดประตูอยู่ เช่นนี้ ยังเรียกไม่ได้ว่า หญิงคนนั้นกำลังกระทำผิดหรือพยายามกระทำผิด หรือพบโดยมีพฤติการณ์อันควรสงสัยว่าผู้นั้นจะกระทำผิดโดยมีเครื่องมืออาวุธหรือวัตถุอย่างอื่นอันสามารถอาจใช้ในการกระทำความผิด หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าได้กระทำความผิดมาแล้ว และจะหลบหนีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78 พลตำรวจจึงไม่มีอำนาจจับหญิงนั้นโดยไม่มีหมายจับ กรณีเช่นนี้ ต้องให้เจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่จับด้วยตนเองได้ โดยไม่ต้องมีหมายจับ เมื่อการจับกุมของพลตำรวจเช่นนี้ไม่มีกฎหมายสนับสนุนแล้ว การที่จำเลยฆ่าพลตำรวจผู้จับจึงไม่เรียกว่าฆ่าเจ้าพนักงานเพราะเหตุที่กระทำการตามหน้าที่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1970/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฆ่าโดยทรมานต้องมีพฤติการณ์พิเศษนอกเหนือจากการฆ่าธรรมดา
การที่จำเลยจะผิดฐานฆ่าคนตายโดยวิธีทรมาน จำเลยจะต้องแสดงการกระทำเป็นพิเศษ นอกเหนือจากการฆ่าอย่างธรรมดา อันจะทำให้ผู้ตายได้รับความลำบากอย่างสาหัส.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1533/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแทงข้างหลังขณะคู่ต่อสู้ผละหนี ไม่เป็นเหตุป้องกันตัวตามกฎหมาย
ผู้ตายได้โต้เถียงและทำร้ายบิดาจำเลย บิดาจำเลยได้วิ่งเข้ามา ผู้ตายได้ใช้ไม้ตีจำเลย จำเลยจึงใช้มีดแทงผู้ตายไป 1 ที และผู้ตายได้ตีจำเลยอีก 1 ที แล้วเอี้ยวตัวจะผละหนี จำเลยก็แทงผู้ตายที่หลังอีก 1 ทีดังนี้ การที่จำเลยแทงครั้งหลังนั้น ไม่เป็นการป้องกันตาม กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 50 เพราะจำเลยแทงข้างหลัง ไม่มีความจำเป็นที่จำเลยจะต้องแทงผู้ตายเพื่อให้บิดาหรือตัวจำเลยพ้นภยันตรายจากการกระทำของผู้ตาย การกระทำของจำเลยจึงมีผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา แต่กระทำลงโดยบันดาลโทสะ