พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9212/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินและการจำนองก่อนล้มละลาย: สิทธิของเจ้าหนี้บุริมสิทธิและการกระทำที่ไม่สุจริต
แม้ผู้คัดค้านที่1จดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างไว้แก่ธนาคารก.ก่อนมีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลายแต่เมื่อผู้คัดค้านที่1ได้ไถ่ถอนจำนองโดยชำระหนี้ให้แก่ธนาคารก.ผู้รับจำนองเดิมถูกต้องครบถ้วนแล้วบุริมสิทธิจำนองของธนาคารก.ที่มีอยู่เหนือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างย่อมระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา744(4)การที่ผู้คัดค้านที่1ได้จดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างไว้แก่ผู้คัดค้านที่2ในวันเดียวกันกับที่ไถ่ถอนจำนองดังกล่าวย่อมถือว่าเป็นการจำนองรายใหม่หาใช่เป็นการโอนสิทธิจำนองหรือรับช่วงสิทธิจากการจำนองรายเดิมแต่อย่างใดไม่ดังนั้นแม้การที่ผู้คัดค้านที่2ได้รับจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนเพียงใดก็ตามแต่เมื่อการโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างระหว่างลูกหนี้กับผู้คัดค้านที่1กระทำโดยไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทนภายในระยะเวลาสามปีก่อนขอให้ลูกหนี้ล้มละลายซึ่งศาลเพิกถอนได้แล้วและการจำนองดังกล่าวได้กระทำภายหลังจากที่มีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลายผู้คัดค้านที่2จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา116 ตราบใดที่ศาลยังมิได้มีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้เพิกถอนการโอนก็ยังถือว่าเป็นการโอนที่ชอบอยู่กรณีถือไม่ได้ว่าเป็นการผิดนัดนับแต่วันยื่นคำร้องอันเป็นเหตุให้ผู้คัดค้านที่1ต้องรับผิดเรื่องดอกเบี้ยผู้ร้องคงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนการโอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 79/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับการจำนองของผู้อื่นโดยปริยาย แม้เป็นเจ้าของร่วม ไม่สามารถเรียกร้องภายหลังได้
จำเลยกับผู้ร้องอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา โดยมิได้จดทะเบียนสมรส ระหว่างนั้นได้ออกเงินช่วยกันซื้อที่ดินและร่วมกันครอบครองมา เมื่อจำเลยผู้เป็นสามีนำรังวัดที่ดินนี้เพื่อออกโฉนดและใบไต่สวนผู้ร้องก็ทราบ แต่ก็ยอมให้ลงชื่อจำเลยเป็นเจ้าของแต่ผู้เดียว ภายหลังจำเลยนำที่ดินนี้ไปจำนองไว้กับโจทก์ เมื่อโจทก์บอกกล่าวการบังคับจำนองผู้ร้องก็ติดต่อขอผ่อนผันกับโจทก์โดยได้รับมอบอำนาจจากจำเลย ต่อมาผู้ร้องปลูกป้องแถวลงในที่ดินนี้ ผุ้ร้องก็ขออนุญาตโจทก์ และยังยอมให้สิ่งปลูกสร้างตกอยู่ในสัญญาจำนองด้วย เมื่อจำเลยถูกโจทก์ฟ้องบังคับจำนองตลอดจนกระทั่งโจทก์ชนะคดีแล้วนำยึดที่ดินจำนองขายทอดตลาด ผู้ร้องก็ไม่เคยโต้แย้งเลย ดังนี้ ผู้ร้องจะเพิ่งมาโต้แย้งภายหลังที่ขายทอดตลาดแล้วว่าทรัพย์รายนี้เป็นของผู้ร้องร่วมอยู่ด้วย และว่าจำเลยไม่มีอำนาจจำนองทรัพย์ส่วนของผู้ร้อง ผู้ร้องจึงขอแบ่งเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดเช่นนี้หาได้ไม่ เพราะตามพฤติการณ์ของผู้ร้องแสดงชัดแจ้งแล้วว่าผู้ร้องรับรองต่อโจทก์ว่าที่จำเลยจำนองที่ดินนี้แก่โจทก์นั้นเป็นการสมบูรณ์และโดยมีอำนาจ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 743/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพรางสัญญาขายฝากเป็นการจำนอง สัญญาขายฝากอสังหาริมทรัพย์อื่นที่ไม่ใช่ที่ดิน
โจทก์ขอให้บังคับตามสัญญาฝากขายเรือนและห้องพิพาทจำเลยต่อสู้ว่าเจตนาแท้นั้นตกลงกันทำจำนองสัญญาขายฝากเป็นนิติกรรมอำพรางจึงเป็นโมฆะบังคับไม่ได้
เมื่อพยานหลักฐานฟังว่าได้พูดตกลงขายฝากกันตั้งแต่ต้นตลอดมาจนได้ทำสัญญาขายฝากกัน เมื่อคู่สัญญาตกลงกันเช่นนี้ แม้ภายหลังแทนที่โจทก์จะเข้าครอบครองทรัพย์ที่รับซื้อผากแต่กลับมอบให้จำเลยเป็นผู้ครอบครองโดยจำเลยเป็นผู้เสียดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ขายฝากก็ตาม ก็หากลายเป็นการจำนองหรือนิติกรรมอำพรามการจำนองไปไม่
การขยายเวลาให้ไถ่ถอนคืนต่อไปอีก 3 เดือนนั้นทำขึ้นอีกฉบับหนึ่งต่างหากไม่ทำให้สัญญาขายฝากเดิมเสียไป
สัญญาขายฝากเรือนและห้องพิพาทเป็นอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่นไม่ใช่ที่ดินนายอำเภอหรือผู้แทนเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่จัดทำสัญญาให้ได้ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยพนักงานเจ้าหน้าที่จดทะเบียนสิทธิ และนิติกรรม พ.ศ.2486 แก้ไขฉบับที่ 2 พ.ศ.2492.
เมื่อพยานหลักฐานฟังว่าได้พูดตกลงขายฝากกันตั้งแต่ต้นตลอดมาจนได้ทำสัญญาขายฝากกัน เมื่อคู่สัญญาตกลงกันเช่นนี้ แม้ภายหลังแทนที่โจทก์จะเข้าครอบครองทรัพย์ที่รับซื้อผากแต่กลับมอบให้จำเลยเป็นผู้ครอบครองโดยจำเลยเป็นผู้เสียดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ขายฝากก็ตาม ก็หากลายเป็นการจำนองหรือนิติกรรมอำพรามการจำนองไปไม่
การขยายเวลาให้ไถ่ถอนคืนต่อไปอีก 3 เดือนนั้นทำขึ้นอีกฉบับหนึ่งต่างหากไม่ทำให้สัญญาขายฝากเดิมเสียไป
สัญญาขายฝากเรือนและห้องพิพาทเป็นอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่นไม่ใช่ที่ดินนายอำเภอหรือผู้แทนเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่จัดทำสัญญาให้ได้ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยพนักงานเจ้าหน้าที่จดทะเบียนสิทธิ และนิติกรรม พ.ศ.2486 แก้ไขฉบับที่ 2 พ.ศ.2492.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8160/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินโดยไม่จดทะเบียน & สิทธิในการเพิกถอนการจำนองที่ดินจากการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์โดยชอบ
จำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) แก่โจทก์โดยทำเป็นหนังสือ แต่ไม่ได้นำไปจดทะเบียนโอนสิทธิกันต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ป.ที่ดิน มาตรา 4 ทวิ แต่จำเลยที่ 1 ได้แสดงเจตนาสละการครอบครองที่ดินพิพาทและโอนการครอบครองโดยส่งมอบที่ดินพิพาทแก่โจทก์และโจทก์เข้าครอบครองโดยเจตนายึดถือเพื่อตนตั้งแต่วันที่ทำสัญญาซื้อขายแล้วดังนั้น การครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลยที่ 1 จึงสิ้นสุดลง และโจทก์ย่อมได้ซึ่งสิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1367, 1377 และ 1378 โดยไม่จำต้องจดทะเบียนการได้มา เมื่อจำเลยที่ 1 มิใช่เจ้าของที่ดินพิพาทอีกต่อไป จึงไม่มีสิทธินำที่ดินพิพาทไปขอออกโฉนดที่ดินเป็นของตนและไม่มีสิทธินำที่ดินพิพาทไปจดทะเบียนจำนองแก่จำเลยที่ 2 อันเป็นการต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 705 เพราะผู้ที่จะจำนองทรัพย์สินได้ต้องเป็นเจ้าของในขณะนั้น การจำนองจึงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับจำนองสุจริตหรือไม่ เพราะสิทธิของผู้ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ที่ห้ามมิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทน โดยสุจริตและได้จดทะเบียนโดยสุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง นั้นต้องเป็นการได้สิทธิในที่ดินที่ได้จดทะเบียนแล้ว และสิทธิที่ได้นั้นต้องเกิดจากเอกสารสิทธิของที่ดินที่ออกโดยชอบ เมื่อการออกโฉนดที่ดินไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 2 จะอ้างสิทธิที่เกิดจากโฉนดที่ดินที่ออกโดยไม่ชอบดังกล่าวหาได้ไม่ กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 1299 วรรคสอง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการจำนองที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ ส่วนคำขอของโจทก์ที่ว่าให้จำเลยที่ 1 จดเปลี่ยนแปลงแก้ไขชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ทางทะเบียนจากจำเลยที่ 1 มาเป็นชื่อโจทก์นั้น เมื่อฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ขอออกโฉนดโดยไม่ชอบดังที่ได้วินิจฉัยแล้วข้างต้น โจทก์จะขอให้ใส่ชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินที่ออกโดยไม่ชอบหาได้ไม่ เป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะไปดำเนินการออกโฉนดที่ดินเองตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ใน ป. ที่ดิน