พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 598/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง, การโอนเช็ค, การฉ้อฉล, การสืบพยาน: ศาลฎีกาย้อนสำนวนให้สืบพยานเพิ่มเติมเพื่อพิสูจน์การฉ้อฉล
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ให้การต่อสู้ไว้แล้วว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 มิได้ออกเช็คพิพาททั้ง 4 ฉบับ เพื่อชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 ต้องคืนเช็คพิพาททั้ง 4 ฉบับ ให้แก่จำเลยที่ 1 เนื่องจากไม่มีหนี้สินต่อกัน ซึ่งโจทก์ก็ทราบดีอยู่แล้ว จำเลยที่ 3 นำเช็คพิพาททั้ง 4 ฉบับ ไปฝากไว้กับโจทก์ โดยจำเลยที่ 3 กับโจทก์มีความสัมพันธ์อย่างลึกซึ้ง โจทก์ครอบครองเช็คพิพาทแทนจำเลยที่ 3 จึงไม่ใช่ผู้เสียหายไม่มีอำนาจฟ้อง จำเลยที่ 3 เคยทำหนังสือยอมรับว่าเช็คพิพาท 3 ฉบับ ไม่มี
หนี้สินต่อกันตามสำเนาเอกสารท้ายคำให้การ ตามคำให้การดังกล่าวเห็นได้ว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ให้การไว้โดยชัดแจ้งแล้วว่าจำเลยที่ 3 โอนเช็คพิพาททั้ง 4 ฉบับ ให้แก่โจทก์โดยคบคิดกันฉ้อฉลจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 916 เป็นคำให้การที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง ทำให้มีประเด็นข้อพิพาทที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 สามารถนำสืบว่าโจทก์กับจำเลยที่ 3 ร่วมกันโอนเช็คพิพาททั้ง 4 ฉบับ โดยคบคิดกันฉ้อฉลหรือไม่ ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นสั่งในรายงานกระบวนพิจารณาฉบับลงวันที่ 19 มิถุนายน 2541 ให้งดสืบพยานจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในประเด็นดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ
ประเด็นตามข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ดังกล่าวเป็นการยกข้อต่อสู้ว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นประเด็นในเรื่องที่โต้แย้งว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ยกขึ้นต่อสู้ตลอดมาทั้งในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกา แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะมิได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นให้งดสืบพยานจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาและจำเลยไม่อาจยกประเด็นดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์ได้ก็ตาม แต่ศาลฎีกาก็มีอำนาจที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นสืบพยานจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในประเด็นที่ได้ให้การต่อสู้ไว้เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญแห่งคดีจนสิ้นกระแสความ และพิพากษาให้ตรงตามประเด็นข้อพิพาทได้ ทั้งนี้อาศัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243(2) ประกอบมาตรา 247
หนี้สินต่อกันตามสำเนาเอกสารท้ายคำให้การ ตามคำให้การดังกล่าวเห็นได้ว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ให้การไว้โดยชัดแจ้งแล้วว่าจำเลยที่ 3 โอนเช็คพิพาททั้ง 4 ฉบับ ให้แก่โจทก์โดยคบคิดกันฉ้อฉลจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 916 เป็นคำให้การที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง ทำให้มีประเด็นข้อพิพาทที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 สามารถนำสืบว่าโจทก์กับจำเลยที่ 3 ร่วมกันโอนเช็คพิพาททั้ง 4 ฉบับ โดยคบคิดกันฉ้อฉลหรือไม่ ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นสั่งในรายงานกระบวนพิจารณาฉบับลงวันที่ 19 มิถุนายน 2541 ให้งดสืบพยานจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในประเด็นดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ
ประเด็นตามข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ดังกล่าวเป็นการยกข้อต่อสู้ว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นประเด็นในเรื่องที่โต้แย้งว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ยกขึ้นต่อสู้ตลอดมาทั้งในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกา แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะมิได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นให้งดสืบพยานจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาและจำเลยไม่อาจยกประเด็นดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์ได้ก็ตาม แต่ศาลฎีกาก็มีอำนาจที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นสืบพยานจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในประเด็นที่ได้ให้การต่อสู้ไว้เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญแห่งคดีจนสิ้นกระแสความ และพิพากษาให้ตรงตามประเด็นข้อพิพาทได้ ทั้งนี้อาศัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243(2) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6078/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฉ้อฉลสะดุดหยุดเมื่อยึดทรัพย์ แม้ยังไม่ฟ้องคดี
ว.ผู้แทนโจทก์ทราบเมื่อประมาณเดือนกันยายน 2534 ว่าที่ดินพิพาทมีชื่อผู้ร้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ซึ่งถือได้ว่าโจทก์รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนการฉ้อฉลแล้ว แต่โจทก์ก็ได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดีทำการยึดที่ดินพิพาทเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2535 ซึ่งเป็นการกระทำการอื่นใดอันมีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดีขอให้เพิกถอนการฉ้อฉล และยังอยู่ภายในกำหนดเวลา 1 ปี นับแต่เวลาที่โจทก์ได้รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนดังกล่าว อายุความย่อมสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (5) และตราบใดที่ที่ดินพิพาทยังถูกยึดอยู่ เหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงก็ยังไม่สิ้นสุด อายุความไม่เริ่มนับใหม่ตามมาตรา193/15 วรรคสอง ดังนั้นเมื่อผู้ร้องร้องขัดทรัพย์ว่า ที่ดินพิพาทที่โจทก์นำยึดเป็นของผู้ร้อง โจทก์ต่อสู้ว่ายังเป็นของ จ.โดยการโอนที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้องเป็นการคบคิดกันฉ้อฉล คดีจึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6078/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฉ้อฉลและการยึดทรัพย์: การยึดทรัพย์เป็นการกระทำที่ทำให้สะดุดหยุดอายุความ
ผู้ร้องยื่นคำร้องขัดทรัพย์ที่พิพาทที่โจทก์นำยึดทรัพย์ของจำเลย โจทก์ให้การว่าผู้ร้องรับโอนที่พิพาทจากจำเลยโดยคบคิดกันฉ้อฉล ดังนี้ หากโจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่พิพาทภายใน 1 ปี นับแต่โจทก์ได้รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอน หรือภายใน 10 ปี นับแต่จำเลยโอนที่พิพาทให้ผู้ร้อง ก็ถือว่าการยึดทรัพย์เป็นการกระทำการอื่นใดอันมีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดีขอให้เพิกถอนการฉ้อฉล ซึ่งทำให้อายุความเกี่ยวกับการเพิกถอนการฉ้อฉลสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/14(5) และตราบใดที่พิพาทยังถูกยึดอยู่เหตุที่จะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงก็ยังไม่สิ้นสุด อายุความจึงยังไม่เริ่มนับ คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 240
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2745/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการฉ้อฉลไม่เชื่อมโยงคดีอาญา ไม่ต้องใช้ประมวลวิธีพิจารณาความอาญา
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ว่า กระทำความผิดฐานโกงเจ้าหนี้และศาลพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 คดีถึงที่สุดแล้ว ส่วนคดีแพ่งโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลอันเป็นสิทธิเรียกร้องที่ไม่ต้องอาศัยมูลความผิดทางอาญาในความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ จึงไม่ใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา จะนำบทบัญญัติแห่งประมวล-กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 มาใช้บังคับไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4582/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เพิกถอนจำนองในคดีล้มละลาย: การกระทำอันไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทน
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องอ้างว่าจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินแต่ใส่ชื่อ น. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทน ต่อมามีการจดทะเบียนจำนองแก่ผู้คัดค้านในระหว่างระยะเวลา 3 ปี ก่อนมีการขอให้ล้มละลาย โดยไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทน ขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการจำนอง เป็นการกล่าวอ้างว่าการที่มีชื่อ น.ในโฉนดเป็นเพียงการถือกรรมสิทธิ์แทนจำเลยเท่านั้น มิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยได้โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้แก่ น. โดยรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบอันผู้ร้องจะต้องร้องขอเพิกถอนการฉ้อฉลระหว่างจำเลยกับ น. ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 113 ผู้ร้องจึงร้องขอให้เพิกถอนการจำนองได้โดยตรง
แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องจะเคยมีความเห็นว่าผู้คัดค้านรับจำนองที่ดินไว้โดยสุจริตและมีค่าตอบแทนจึงไม่เพิกถอนการจำนองก็ตาม แต่เมื่อได้มีการสั่งให้สอบสวนถึงข้อเท็จจริงในเรื่องนี้อีกครั้งแล้ว ผู้ร้องจึงยื่นคำร้องขอเพิกถอนการจำนองต่อศาลได้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 114เพราะอำนาจในการร้องขอให้เพิกถอนไม่อาจสละได้
ผู้คัดค้านรับจำนองที่ดินพิพาทไว้โดยไม่มีค่าตอบแทน จึงฟังได้ว่า ผู้คัดค้านรับจำนองไว้โดยไม่สุจริตไปด้วย แม้ผู้คัดค้านได้ฟ้องบังคับจำนองในระหว่างที่คดีล้มละลายอยู่ในชั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องสอบสวนเพื่อพิจารณาร้องขอเพิกถอนการจำนองที่ดินพิพาท และผู้คัดค้านเป็นผู้ซื้อได้จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลก็ตาม ก็ไม่ทำให้ผู้คัดค้านกลายเป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดไปโดยสุจริต เมื่อผู้คัดค้านเพิ่งฟ้องบังคับจำนองหลังจากที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาด จึงถือไม่ได้ว่าการบังคับคดีที่ผู้คัดค้านฟ้องบังคับจำนองนั้นได้สำเร็จบริบูรณ์แล้วก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ การบังคับคดีและการที่ผู้คัดค้านเป็นผู้ซื้อทรัพย์ได้ จึงใช้ยันแก่ผู้ร้องไม่ได้
แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องจะเคยมีความเห็นว่าผู้คัดค้านรับจำนองที่ดินไว้โดยสุจริตและมีค่าตอบแทนจึงไม่เพิกถอนการจำนองก็ตาม แต่เมื่อได้มีการสั่งให้สอบสวนถึงข้อเท็จจริงในเรื่องนี้อีกครั้งแล้ว ผู้ร้องจึงยื่นคำร้องขอเพิกถอนการจำนองต่อศาลได้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 114เพราะอำนาจในการร้องขอให้เพิกถอนไม่อาจสละได้
ผู้คัดค้านรับจำนองที่ดินพิพาทไว้โดยไม่มีค่าตอบแทน จึงฟังได้ว่า ผู้คัดค้านรับจำนองไว้โดยไม่สุจริตไปด้วย แม้ผู้คัดค้านได้ฟ้องบังคับจำนองในระหว่างที่คดีล้มละลายอยู่ในชั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องสอบสวนเพื่อพิจารณาร้องขอเพิกถอนการจำนองที่ดินพิพาท และผู้คัดค้านเป็นผู้ซื้อได้จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลก็ตาม ก็ไม่ทำให้ผู้คัดค้านกลายเป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดไปโดยสุจริต เมื่อผู้คัดค้านเพิ่งฟ้องบังคับจำนองหลังจากที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาด จึงถือไม่ได้ว่าการบังคับคดีที่ผู้คัดค้านฟ้องบังคับจำนองนั้นได้สำเร็จบริบูรณ์แล้วก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ การบังคับคดีและการที่ผู้คัดค้านเป็นผู้ซื้อทรัพย์ได้ จึงใช้ยันแก่ผู้ร้องไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2054/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินล้มละลาย: การจดทะเบียนชื่อไม่ถือเป็นการโอนกรรมสิทธิ์จริง
การใส่ชื่อผู้คัดค้านที่ 1 เป็นเจ้าของรถยนต์ของจำเลยที่ 1เป็นการใส่ชื่อไว้เฉย ๆ โดยไม่มีการซื้อขายและส่งมอบรถยนต์ให้แก่กัน จำเลยที่ 2 ยังคงครอบครองและใช้ประโยชน์จากรถยนต์นั้นอยู่ การมีชื่อในทะเบียนรถยนต์มิใช่ข้อชี้ว่า ผู้มีชื่อเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์นั้นหรือเป็นผู้ได้รับโอนรถยนต์มาเป็นของตนแล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้โอนรถยนต์ตามคำร้องให้ผู้คัดค้านที่ 1 ผู้คัดค้านที่ 1 เพียงมีชื่อเป็นผู้รับโอน และผู้โอนในเอกสารแบบเรื่องราวขอโอนและรับโอนเท่านั้น กรณียังถือไม่ได้ว่าผู้คัดค้านที่ 1 รับโอนรถยนต์มาจากจำเลยที่ 1 แล้ว จึงไม่มีการโอนทรัพย์สินระหว่างจำเลยที่ 1 กับผู้คัดค้านที่ 1 ที่จะเพิกถอนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 114
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2380/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการขายทอดตลาด: สิทธิของผู้ซื้อและผลกระทบต่อการฟ้องเพิกถอนการฉ้อฉล
การขายทอดตลาดฝ่าฝืน ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสองนั้นถ้าศาลสั่งเพิกถอนการขาย มีผลเสมือนไม่มีการขาย แม้มีการโอนทรัพย์นั้นให้ผู้ซื้อ แล้วก็จะต้องเพิกถอนการโอนไม่ว่าผู้รับโอนจะสุจริตหรือเสียค่าตอบแทนหรือไม่ แต่ตราบใดที่ยังไม่มีการเพิกถอนการขายทอดตลาด ผู้ซื้อมีสิทธิรับโอนทั้งมีสิทธิโอนให้ผู้อื่นโจทก์จะฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉล ตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 ยังไม่ได้การรับโอนและการโอนไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ดังนี้โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องผู้ซื้อและผู้รับโอนต่อ ๆ มาซึ่งทรัพย์นั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1042/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกชำระหนี้ตั๋วสัญญาใช้เงินและเช็คพิพาท: การปฏิบัติตามวิธีการใช้เงินตามกฎหมายและการพิสูจน์การฉ้อฉล
เมื่อตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนดโจทก์ผู้ทรงมิได้นำตั๋วสัญญาใช้เงินไปยื่นต่อจำเลยณ ภูมิลำเนาของจำเลยเพื่อให้ใช้เงินตามตั๋ว เพียงแต่มีหนังสือทวงถามไปยังจำเลยผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินถือว่าโจทก์มิได้ปฏิบัติตามวิธีการตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 985 ประกอบด้วยมาตรา 941 บังคับไว้ จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยผิดคำมั่นไม่ชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินแก่โจทก์แม้ภายหลังจะปรากฏว่าโจทก์ทวงถามจำเลยและจำเลยยังไม่ได้ชำระเงินตามตั๋ว ก็เป็นเรื่องโจทก์ปฏิบัติการทวงถามแบบหนี้ทั่วไป โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
จำเลยที่ 5 ต่อสู้ว่า จำเลยที่ 5 ไม่ต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาทต่อโจทก์เพราะโจทก์รับโอนเช็คพิพาทไว้โดยคบคิดกันฉ้อฉลนั้น ภาระการพิสูจน์ตกอยู่แก่จำเลยที่ 5 ที่จะต้องนำสืบให้รับฟังได้ดังที่จำเลยที่ 5 กล่าวอ้าง
เมื่อเช็คพิพาทได้มาโดยมีมูลหนี้ จำเลยที่ 5 มีหน้าที่ต้องนำสืบว่า จำเลยที่ 2ผิดสัญญาต่อ ย. จน ย.ได้บอกเลิกสัญญาขายหุ้นและโจทก์ได้รับโอนเช็คพิพาทโดยทราบดีว่าสัญญาซื้อขายหุ้นระหว่างจำเลยที่ 2 กับ ย.ได้เลิกกัน เมื่อจำเลยที่ 5ไม่สามารถสืบข้อเท็จจริงดังกล่าวได้จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์รับโอนเช็คพิพาทไว้โดยคบคิดกันฉ้อฉลจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 5 จึงต้องรับผิดตามเช็คพิพาทในฐานะผู้สั่งจ่าย
จำเลยที่ 5 ต่อสู้ว่า จำเลยที่ 5 ไม่ต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาทต่อโจทก์เพราะโจทก์รับโอนเช็คพิพาทไว้โดยคบคิดกันฉ้อฉลนั้น ภาระการพิสูจน์ตกอยู่แก่จำเลยที่ 5 ที่จะต้องนำสืบให้รับฟังได้ดังที่จำเลยที่ 5 กล่าวอ้าง
เมื่อเช็คพิพาทได้มาโดยมีมูลหนี้ จำเลยที่ 5 มีหน้าที่ต้องนำสืบว่า จำเลยที่ 2ผิดสัญญาต่อ ย. จน ย.ได้บอกเลิกสัญญาขายหุ้นและโจทก์ได้รับโอนเช็คพิพาทโดยทราบดีว่าสัญญาซื้อขายหุ้นระหว่างจำเลยที่ 2 กับ ย.ได้เลิกกัน เมื่อจำเลยที่ 5ไม่สามารถสืบข้อเท็จจริงดังกล่าวได้จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์รับโอนเช็คพิพาทไว้โดยคบคิดกันฉ้อฉลจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 5 จึงต้องรับผิดตามเช็คพิพาทในฐานะผู้สั่งจ่าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3349/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยักย้ายทรัพย์มรดก: การเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินที่ออกทับที่ดินผู้อื่น ไม่ถือเป็นการฉ้อฉล
จำเลยซึ่งเป็นทายาทได้ขอเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่มีชื่อเจ้ามรดกโดยอ้างต่อเจ้าพนักงานว่าจำเลยมีสิทธิในที่ดินนั้นและหนังสือรับรองการทำประโยชน์ออกทับที่ดินของบุคคลอื่นดังนี้ถือไม่ได้ว่าจำเลยยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกเพราะแม้ไม่มีจำเลยหรือผู้ใดร้องขอให้เพิกถอนทางราชการก็ต้องเพิกถอนอยู่แล้วทั้งนี้เนื่องจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาทออกทับที่ของบุคคลอื่นจึงไม่ถือว่าจำเลยกระทำการโดยฉ้อฉลอันเป็นการยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดก โจทก์ฟ้องเรียกที่ดินพิพาทและค่าขาดประโยชน์ทำนาในที่ดินพิพาททั้งหมดศาลฟังว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์และเจ้ามรดกซึ่งเป็นบุตรจำเลยทั้งสองเมื่อเจ้ามรดกถึงแก่กรรมจำเลยทั้งสองย่อมมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งในทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกบางส่วนศาลย่อมพิพากษาให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งตามส่วนของตนได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 811/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์เพื่อหลีกเลี่ยงหนี้สิน แม้ผู้รับโอนไม่รู้ตัว
การที่จำเลยโอนทรัพย์ให้ผู้ร้องโดยเสน่หาเพื่อหลีกเลี่ยงการชำระหนี้ ทำให้โจทก์เสียเปรียบนั้น แม้จะฟังว่าผู้ร้องไม่รู้ถึงข้อความจริงที่ทำให้เจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบก็ดี โจทก์ก็ขอให้เพิกถอนการโอนนั้นเสียได้
ในชั้นบังคับคดีร้องขัดทรัพย์นั้น หากโจทก์อ้างว่าผู้ร้องได้ทรัพย์นั้นมาโดยไม่สุจริต เป็นการหลีกเลี่ยงการชำระหนี้โจทก์แล้ว ศาลก็มีอำนาจชี้ขาดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 237 ได้โดยไม่ต้องให้โจทก์ไปดำเนินคดีฟ้องร้อง ขอให้ทำลายการโอนหรือเพิกถอนการฉ้อฉลเสียก่อนแต่ประการใด.
ในชั้นบังคับคดีร้องขัดทรัพย์นั้น หากโจทก์อ้างว่าผู้ร้องได้ทรัพย์นั้นมาโดยไม่สุจริต เป็นการหลีกเลี่ยงการชำระหนี้โจทก์แล้ว ศาลก็มีอำนาจชี้ขาดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 237 ได้โดยไม่ต้องให้โจทก์ไปดำเนินคดีฟ้องร้อง ขอให้ทำลายการโอนหรือเพิกถอนการฉ้อฉลเสียก่อนแต่ประการใด.