พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6200/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ก่อน พ.ร.ฎ.ฉบับใหม่ แม้ไม่คัดค้านผลวิเคราะห์ เจ้าพนักงานประเมินก็ต้องปฏิบัติตาม
ขณะโจทก์ทำสัญญารับจ้างเหมาก่อสร้าง โจทก์มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 ตามมาตรา 3 แห่ง พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 236) พ.ศ. 2534 พ.ศ. 2534 ต่อมามี พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 309) พ.ศ. 2540 กำหนดให้ผู้ประกอบการต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 9 เมื่อรวมกับภาษีท้องถิ่นแล้วเสียภาษีในอัตราร้อยละ 10 แต่มาตรา 4 ของ พ.ร.ฎ. ฉบับที่ออกภายหลังดังกล่าวกำหนดให้ มาตรา 3 แห่ง พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 236) พ.ศ. 2534 ยังคงใช้บังคับต่อไปสำหรับการขายสินค้าหรือบริการที่กระทำไปก่อนวันที่ พ.ร.ฎ. ฉบับหลังใช้บังคับ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด เมื่อสัญญาจ้างเหมาระหว่างโจทก์กับผู้ว่าจ้างทำขึ้นก่อน พ.ร.ฎ (ฉบับที่ 309) ใช้บังคับ มีการชำระค่าบริการตามส่วนของบริการที่ทำและได้มีการชำระค่าบริการบางส่วนแล้วก่อนวันที่ 16 สิงหาคม 2540 ทั้งโจทก์ได้ยื่นคำขอสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 ต่อไป ภายในกำหนดเวลาที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ประกอบกิจการภายใต้เงื่อนไขตามข้อ 1 (3) และข้อ 2 แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และ เงื่อนไขการขายสินค้าหรือการให้บริการที่จะได้รับสิทธิภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 ตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 309) แม้โจทก์จะไม่ได้ยื่นคำคัดค้านผลการวิเคราะห์แบบคำขอรับสิทธิและหน้าที่ของโจทก์ตามกฎหมายต้องเปลี่ยนแปลงไปไม่
จำเลยอุทธรณ์ว่า คำสั่งของอธิบดีกรมสรรพากรให้ถือเป็นที่สุด ตามข้อ 4 แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฉบับดังกล่าว แต่จำเลยมิได้ยกประเด็นขึ้นต่อสู้ในคำให้การจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลภาษีอากรกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 29 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยอุทธรณ์ว่า คำสั่งของอธิบดีกรมสรรพากรให้ถือเป็นที่สุด ตามข้อ 4 แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฉบับดังกล่าว แต่จำเลยมิได้ยกประเด็นขึ้นต่อสู้ในคำให้การจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลภาษีอากรกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 29 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6494/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระภาษีบำรุงท้องที่หลังถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และสิทธิในการไล่เบี้ยจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
เมื่อจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้ชำระหนี้ภาษีบำรุงท้องที่ที่จำเลยต้องรับผิดให้แก่โจทก์นั้นหากจำเลยจะมีสิทธิไล่เบี้ยจากเจ้าพนักงานพิทักษ์อย่างใด ก็มิใช่เป็นหนี้เกี่ยวกับภาษีอากร หรือคดีที่มีกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจศาลภาษีอากร ศาลภาษีอากรไม่มีอำนาจพิจารณาคดีเกี่ยวกับสิทธิต่าง ๆ ของจำเลยที่มีต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้จำเลยจึงไม่มีสิทธิจะเรียกเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าเป็นจำเลยร่วมพระราชบัญญัติ ญญัติภาษีบำรุงท้องที่ฯ มาตรา 45(4) กำหนดไว้ว่า ถ้าไม่ชำระภาษีบำรุงท้องที่ภายในเวลาที่กำหนดให้เสียเงินเพิ่ม ฯลฯมิได้กำหนดข้อยกเว้นที่ไม่ต้องชำระเงินเพิ่ม ทั้งไม่มีกฎหมายใดกำหนดว่าในระหว่างที่จำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจะได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียเงินเพิ่มสำหรับภาษีบำรุงท้องที่ ดังนั้น ตราบใดที่จำเลยยังมิได้ชำระภาษีบำรุงท้องที่ก็ต้องรับผิดเงินเพิ่มอยู่จนกว่าจะชำระจะอ้างว่าถูกพิทักษ์ทรัพย์แล้วไม่ต้องรับผิดเงินเพิ่มหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4604/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องขอคืนเงินภาษีอากรต้องรอการเพิกถอนการประเมินก่อน โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องหากมิได้อุทธรณ์การประเมิน
คำขอของโจทก์ที่ให้จำเลยทั้งสองคืนเงินค่าภาษีอากรที่ได้ชำระไปแล้วตามหนังสือแจ้งการประเมินนั้น ศาลจะพิพากษาคืนให้โจทก์ได้ก็ต่อเมื่อการประเมินนั้นได้ถูกเพิกถอนไปแล้วเท่านั้น ตราบใดที่การประเมินของเจ้าพนักงานยังมีผลอยู่โจทก์ก็มีหน้าที่ต้องชำระเงินค่าอากรตามหนังสือแจ้งการประเมินการที่โจทก์ฟ้องขอให้คืนเงินค่าภาษีอากรที่ชำระไปตามหนังสือแจ้งการประเมินนั้นเป็นคำฟ้องที่ขอให้เพิกถอนการประเมินเป็นเบื้องต้นเพื่อนำไปสู่ผลตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินได้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 30 แห่งประมวลรัษฎากรและเมื่อการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินยังมีผลอยู่ เงินค่าภาษีอากรที่โจทก์ชำระไปตามหนังสือแจ้งการประเมินจึงเป็นการชำระหนี้ภาษีอากรที่ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดโจทก์ไม่มีสิทธิตามกฎหมายที่จะกล่าวอ้างขึ้นเป็นข้อเรียกร้องขอคืนได้ที่จำเลยทั้งสองไม่คืนเงินค่าภาษีอากรให้โจทก์จึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ตามที่กฎหมายกำหนดไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2088/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติมจากสินค้าที่ผ่านการชำระภาษีแล้ว โจทก์ต้องพิสูจน์การวิเคราะห์สินค้าที่ถูกต้อง
จำเลยนำสินค้าคาร์บอลสตีลราวน์บาร์ล โลหะเหล็กกล้าชนิดแอลลอยประเภทพิกัดที่73.15ง. เข้ามาในราชอาณาจักรเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2517 เจ้าหน้าที่ของโจทก์ได้ผ่านใบขนสินค้าและรับชำระอากรขาเข้า ภาษีการค้ากับภาษีบำรุงเทศบาลแล้ว ต่อมาในปี พ.ศ. 2518 จำเลยนำสินค้าโลหะเหล็กกล้าชนิดแอลลอยที่มีชื่ออย่างเดียวกันเข้ามาในราชอาณาจักรอีก เจ้าหน้าที่โจทก์ได้ตรวจสอบวิเคราะห์สินค้าดังกล่าว แล้วเรียกเก็บอากรขาเข้าในประเภทพิกัด73.10 โจทก์จะเอาผลการวิเคราะห์สินค้าที่จำเลยนำเข้าในปี พ.ศ. 2518 ไปเรียกให้จำเลยชำระอากรเพิ่มเติมในพิกัดที่ 73.10 สำหรับสินค้าที่จำเลยนำเข้าเมื่อวันที่ 1ธันวาคม 2517 หาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2470/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ภาษีป้ายต้องยื่นภายใน 30 วันนับจากวันที่ได้รับแจ้งการประเมิน การแจ้งให้ชำระภาษีไม่ใช่การแจ้งการประเมิน
โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายแต่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1ตรวจสอบแล้วเห็นว่าไม่ถูกต้องจึงทำการประเมินใหม่แล้วแจ้งไปยังโจทก์ตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีป้ายลงวันที่1มีนาคม2526โจทก์ได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อวันที่3เดือนเดียวกันแต่มิได้อุทธรณ์กลับโต้แย้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1จำเลยที่1มีหนังสือหารือผู้ว่าราชการจังหวัดจำเลยที่3จำเลยที่3ตอบมายังจำเลยที่1ว่าจำเลยที่1คำนวณภาษีป้ายถูกต้องแล้วต่อมาวันที่24พฤษภาคม2526จำเลยที่1มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบผลการหารือจำเลยที่3กับให้โจทก์นำค่าภาษีป้ายพร้อมเงินเพิ่มไปชำระภายใน7วันนับแต่วันรับหนังสือครั้นวันที่1มิถุนายน2526โจทก์จึงอุทธรณ์การประเมินภาษีป้ายต่อผู้ว่าราชการจังหวัดจำเลยที่3ดังนี้หนังสือลงวันที่24พฤษภาคม2526เป็นการแจ้งให้โจทก์นำภาษีป้ายพร้อมเงินเพิ่มตามที่ได้แจ้งการประเมินไว้แล้วตามหนังสือของจำเลยที่1ลงวันที่1มีนาคม2526ไปชำระแก่จำเลยที่1เท่านั้นหาใช่หนังสือแจ้งการประเมินไม่อุทธรณ์ของโจทก์จึงยื่นเกินกว่า30วันนับแต่วันที่โจทก์ได้รับแจ้งการประเมินการที่จำเลยที่1มีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์จึงชอบแล้ว เมื่อหนังสือฉบับลงวันที่24พฤษภาคม2526มิใช่การแจ้งการประเมินย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นการที่เจ้าหนี้ได้ทำการอื่นใดเป็นอย่างเดียวกับการฟ้องคดีตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา173ทั้งกำหนดเวลาอุทธรณ์การประเมินก็มิใช่อายุความจะนำบทบัญญัติเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงมาปรับหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 641/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำภาษีชำระเกินยกมาหักลดหย่อนภาษีที่ต้องชำระ การประเมินภาษีที่ไม่ถูกต้อง
เดือนภาษีมกราคม 2540 โจทก์มีภาษีชำระเกินยกมา 3,009,253.77 บาท ซึ่งตาม ป.รัษฎากร มาตรา 82/3 วรรคสาม ให้สิทธิโจทก์นำไปชำระภาษีในเดือนถัด ๆ ไปได้จนกว่าจะหมด การที่เจ้าพนักงานประเมินนำภาษีที่ต้องชำระเดือนนี้ 511,661.12 บาท หักออกจากภาษีชำระเกินยกมา แล้วคงเหลือภาษีชำระเกินยกมา 2,497,492.65 บาท เป็นการนำภาษีที่โจทก์ต้องชำระเพิ่มมาหักออกจากภาษีที่ชำระเกินยกมาแล้วยังมีภาษีชำระเกินยกไปใช้ในเดือนถัดไป ดังนั้น โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดชำระภาษีเพิ่มเติมและเงินเพิ่ม คงต้องรับผิดชำระเบี้ยปรับตามการประเมินเท่านั้น