พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2038-2041/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานยุยงปลุกระดม ทำให้เกิดความปั่นป่วนในบ้านเมือง และความเสียหายต่อทรัพย์สินของราชการ
ป. และ จ. จำเลยทั้งสองเป็นผู้มีส่วนริเริ่มชักชวนนักศึกษา นักเรียน และประชาชนให้มาชุมนุมกัน ณ สนามหน้าเมืองที่เกิดเหตุมาแต่ต้นและร่วมกล่าวโจมตีขับไล่ผู้ว่าราชการจังหวัดตลอดจนมีส่วนในการจัดตั้งหน่วยฟันเฟืองขึ้นจากผู้มาร่วมชุมนุม จนคนเหล่านี้รวมตัวกันเป็นจำนวนหลายพันคน ก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง และขว้างปาและวางเพลิงเผาจวนผู้ว่าราชการจังหวัด ดังนี้ การกระทำของจำเลยทั้งสองตลอดจนนักศึกษา นักเรียน และประชาชนดังกล่าวเป็นการกระทำเพื่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่จะก่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่จะก่อให้เกิดความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักรอีกสถานหนึ่งด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 970/2504
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชุมนุมเพื่อยื่นคำร้องไม่ถือเป็นการประชุมทางการเมืองตามประกาศคณะปฏิวัติ
การที่จำเลยกับพวกประชุมกันเพื่อเขียนคำร้องทุกข์ยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าพวกญวนที่ถูกเจ้าพนักงานจับไปในข้อหาคอมมูนิสต์ไม่ได้กระทำผิดอะไรนั้น ไม่ใช่เป็นการประชุมในทางการเมืองตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 13 จำเลยจึงไม่ผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2071/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ เมื่อประกาศที่ฟ้องเพิกถอนหมดอายุ และการชุมนุมยุติแล้ว
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนประกาศของจำเลยที่ 1 และประกาศของจำเลยที่ 3 กับห้ามจำเลยที่ 1 และที่ 3 พร้อมบริวารรบกวนการชุมนุมของโจทก์ทั้งสองกับพวก โดยกล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 1 และที่ 3 ออกประกาศตามคำฟ้องไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งนี้ ก็เพื่อที่โจทก์ทั้งสองกับพวกจะสามารถดำเนินกิจกรรมทางการเมืองต่อไปได้โดยไม่ถูกพนักงานเจ้าหน้าที่ขัดขวางการชุมนุมทางการเมืองที่กำลังดำเนินอยู่ในขณะเกิดเหตุ แต่เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า ประกาศของจำเลยที่ 1 และประกาศของจำเลยที่ 3 ที่โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้เพิกถอนนั้นได้สิ้นผลไปตามกำหนดระยะเวลาที่ประกาศมีผลใช้บังคับ และโจทก์ทั้งสองกับพวกได้ยุติการชุมนุมทางการเมืองแล้ว หากโจทก์ทั้งสองหรือบุคคลใดที่เข้าร่วมชุมนุมทางการเมืองกับโจทก์ทั้งสองถูกดำเนินคดีอาญา ก็ยังคงยกข้อต่อสู้ในคดีอาญาว่าประกาศของจำเลยที่ 1 และที่ 3 ไม่ชอบด้วยกฎหมายได้ และศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาในคดีอาญานั้นก็ต้องวินิจฉัยชี้ขาดการกระทำของจำเลยในคดีอาญาว่าเป็นความผิดหรือไม่ โดยโจทก์ในคดีอาญามีหน้าที่ต้องนำสืบให้ได้ความว่าประกาศตามคำฟ้องชอบด้วยกฎหมายและจำเลยในคดีอาญาเป็นผู้กระทำความผิดด้วย ประกอบกับคดีนี้โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้เพิกถอนประกาศของจำเลยที่ 1 และประกาศของจำเลยที่ 3 กับห้ามมิให้รบกวนการชุมนุมของโจทก์ทั้งสองกับพวกโดยมิได้มีคำขอให้บังคับแก่จำเลยที่ 1 และที่ 3 ให้กระทำการหรือไม่กระทำการอื่นใดอีก การที่ศาลจะดำเนินกระบวนพิจารณาคดีนี้ต่อไปย่อมไม่เป็นประโยชน์แก่คำขอในส่วนแพ่งของโจทก์ทั้งสองในคดีนี้ ศาลจึงชอบที่จะใช้ดุลพินิจสั่งจำหน่ายคดีนี้ออกจากสารบบความเสียได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3115-3126/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชุมนุมประท้วงในพื้นที่ส่วนบุคคลและการละเมิดสิทธิของนายจ้างต่อกรรมการลูกจ้าง
จำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 กับพวกนัดหยุดงานโดยชอบตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 34 แต่โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่ที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 กับพวกเข้าไปใช้พื้นที่ดังกล่าวในการนัดหยุดงานนั้น ย่อมมีสิทธิใช้สอยพื้นที่ของตน รวมทั้งมีสิทธิติดตามและเอาคืนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ และมีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับพื้นที่นั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 เมื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 เข้าไปร่วมชุมนุมนัดหยุดงานในพื้นที่ของโจทก์ที่ 1 แม้ว่าจะมีสาเหตุสืบเนื่องมาจากการนัดหยุดงานโดยชอบก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 ไม่ได้รับอนุญาตหรือได้รับความยินยอมจากโจทก์ที่ 1 หรือมีกฎหมายบัญญัติให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 กระทำได้ การกระทำของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 จึงเป็นการละเมิดสิทธิในทรัพย์สินของโจทก์ที่ 1 นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2556 ศาลแรงงานภาค 2 มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวตามคำร้องของโจทก์ทั้งสอง โดยให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 ออกจากที่ดินของโจทก์ที่ 1 รวมทั้งรื้อถอนเต็นท์ เคลื่อนย้ายรถยนต์ สุขาเคลื่อนที่ พร้อมสิ่งกีดขวางอื่น ๆ ออกไป แสดงว่าโจทก์ที่ 1 ได้แสดงออกอย่างชัดเจนว่าไม่ยินยอมให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 ใช้พื้นที่ของโจทก์ที่ 1 การกระทำของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 จึงเป็นการจงใจทำให้โจทก์ที่ 1 ได้รับความเสียหาย เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ที่ 1การที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 เข้าไปชุมนุมนัดหยุดงานในพื้นที่ของโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นทางเข้าโรงงานของโจทก์ที่ 2 โดยนำเต็นท์ขนาดใหญ่ เครื่องขยายเสียงและรถยนต์สุขาเคลื่อนที่เข้าไปในพื้นที่ดังกล่าว จากนั้นทำการชุมนุมปราศรัยห่างจากโรงงานของโจทก์ที่ 2 ประมาณ 100 เมตร ซึ่งเป็นระยะที่ใกล้ชิดกับโรงงานของโจทก์ที่ 2 ย่อมทำให้โจทก์ที่ 2 และลูกจ้างที่ทำงานอยู่ในโรงงานได้รับความเดือดร้อนรำคาญจากการใช้เครื่องขยายเสียงดังกล่าว การกระทำของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ที่ 2การพิจารณาว่ากรณีมีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้เลิกจ้างกรรมการลูกจ้างหรือไม่ เป็นคนละกรณีกับการพิจารณาว่าการเลิกจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม และเงินอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการเลิกจ้างหรือไม่ ประกอบกับโจทก์ทั้งสองยังไม่ได้เลิกจ้างจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ที่ 8 ที่ 9 และที่ 11 ถึงที่ 13 ศาลแรงงานภาค 2 จึงไม่จำต้องพิพากษาถึงค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม และเงินอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการเลิกจ้างในการพิจารณาคำร้องขออนุญาตเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างนั้น ต้องพิจารณาตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 52 ว่ากรณีมีเหตุสมควรที่นายจ้างจะเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างหรือไม่ คดีนี้ศาลแรงงานภาค 2 รับฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 3 กล่าวปราศรัยด่า ด. ส. และ พ. ว่า "ไอ้เหี้ย ไอ้สัตว์ ไอ้ผู้หญิงขายตัว ไอ้พวกขายตัว" และจำเลยที่ 8 แต่งภาพของ ส. ซึ่งเป็นผู้บริหารโดยใส่จมูกเป็นจมูกสุนัข มีการแต่งหน้าใส่รูปจมูกสุนัข ดังนี้ เมื่อพิจารณาคำกล่าวปราศรัยของจำเลยที่ 3 และการกระทำของจำเลยที่ 8 แล้ว เป็นการดูหมิ่นผู้บริหารของโจทก์ทั้งสองโดยเปรียบเทียบว่าเป็นสัตว์เลื้อยคลานชั้นต่ำ เป็นคนขายตัว เป็นคนไม่มีคุณค่า และเปรียบเทียบ ส. ว่าเป็นสัตว์ประเภทสุนัข การกระทำของจำเลยที่ 3 และที่ 8 เป็นการก้าวร้าวไม่เคารพยำเกรงผู้บังคับบัญชา มิใช่เป็นเพียงวาจาไม่สุภาพ และเมื่อศาลฎีกาได้วินิจฉัยแล้วว่า การชุมนุมนัดหยุดงานของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 เป็นการเข้าไปในพื้นที่ของโจทก์ที่ 1 โดยโจทก์ที่ 1 ไม่ยินยอม