พบผลลัพธ์ทั้งหมด 29 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7972/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์ชั่วคราวกับการบังคับคดี: เจ้าหนี้อื่นต้องดำเนินการยึดทรัพย์จากศาลที่ออกหมายยึดชั่วคราว
การยึดทรัพย์สินของจำเลยไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254 (1) ซึ่งเป็นวิธีการคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา มิใช่เป็นส่วนหนึ่งของการบังคับคดีตามคำพิพากษา จึงไม่ต้องห้ามที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอื่นจะยึดทรัพย์สินนั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอื่นจึงต้องไปดำเนินการยึดทรัพย์ที่ถูกยึดไว้ชั่วคราวนั้นจะมายื่นคำร้องต่อศาลที่ออกหมายยึดทรัพย์นั้นชั่วคราวเพื่อขอเฉลี่ยทรัพย์ไม่ได้ คำสั่งของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางที่อนุญาตให้ผู้ร้องเข้าเฉลี่ยทรัพย์ของจำเลยได้ก่อนศาลมีคำพิพากษาคดีนี้ จึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 290
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8219/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นัดหมายโอนที่ดิน: การพิจารณาเจตนาคู่สัญญาและความสำคัญของเวลาเริ่มต้นดำเนินการ
โจทก์มาถึงสำนักงานที่ดินล่าช้าไปจากเวลานัดโอนที่ดินเพียง 25 นาที โดยฝ่ายจำเลยก็ยังพร้อมอยู่ที่สำนักงานที่ดินและยังคงเหลือเวลาดำเนินการอีกหลายชั่วโมง ย่อมไม่อาจถือได้ว่าคู่สัญญาในคดีนี้ถือเวลาที่แตกต่างกันดังกล่าวเป็นสาระสำคัญถึงขนาดทำให้อีกฝ่ายหนึ่งบอกเลิกสัญญาโดยไม่มีการผ่อนผันกันก่อนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8023/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิค่าทดแทนตามรัฐธรรมนูญต้องเป็นไปตามกฎหมายเฉพาะ การดำเนินการใดๆ ต้องรอการตรากฎหมายรองรับ
ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยในส่วนที่เกี่ยวกับการขอรับเงินค่าทดแทน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง จำเลยมิได้อุทธรณ์ คำสั่งศาลชั้นต้นถึงที่สุด จำเลยจึงยกขึ้นฎีกาไม่ได้ ทั้งไม่อาจถือว่าการยื่นฎีกาเป็นการยื่นคำร้องโดยตรงต่อศาลฎีกาเพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยในเรื่องดังกล่าวอีกด้วย ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาข้อนี้ของจำเลย
สิทธิของบุคคลที่จะได้รับค่าทดแทนตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 246 ย่อมต้องเป็นไปตามเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ เมื่อยังไม่มีการตรากฎหมายเกี่ยวกับเรื่องนี้ออกบังคับใช้ สิทธิดังกล่าวจะต้องด้วยเงื่อนไขของกฎหมายหรือไม่ และจะมีวิธีการดำเนินการอย่างไร ย่อมไม่อาจมีผู้ใดกำหนดขึ้นได้จนกว่าจะมีบทบัญญัติแห่งกฎหมายรองรับ ทั้งกรณีนี้มิใช่คดีแพ่ง จึงไม่อาจนำกฎหมายอื่นมาใช้ในลักษณะของกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งได้
สิทธิของบุคคลที่จะได้รับค่าทดแทนตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 246 ย่อมต้องเป็นไปตามเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ เมื่อยังไม่มีการตรากฎหมายเกี่ยวกับเรื่องนี้ออกบังคับใช้ สิทธิดังกล่าวจะต้องด้วยเงื่อนไขของกฎหมายหรือไม่ และจะมีวิธีการดำเนินการอย่างไร ย่อมไม่อาจมีผู้ใดกำหนดขึ้นได้จนกว่าจะมีบทบัญญัติแห่งกฎหมายรองรับ ทั้งกรณีนี้มิใช่คดีแพ่ง จึงไม่อาจนำกฎหมายอื่นมาใช้ในลักษณะของกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 33/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนที่ดินหลังศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด การดำเนินการของศาลชั้นต้นต้องเป็นไปตามคำพิพากษาเท่านั้น
ในประเด็นแห่งคดีมีเพียงว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อายัดที่ดินพิพาทไว้โดยชอบหรือไม่ ซึ่งต่อมาศาลฎีกามีคำวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวเป็นที่สุดว่าการอายัดที่ดินพิพาทของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ชอบด้วยกฎหมายแล้ว ดังนี้มีผลเท่ากับว่าที่ดินพิพาทต้องถูกอายัดต่อไปเท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นมีหนังสือแจ้งไปยังเจ้าพนักงานที่ดินให้ดำเนินการออกใบแทน น.ส.3 ก. สำหรับที่ดินพิพาท แล้วจดทะเบียนแก้ไขเปลี่ยนชื่อเจ้าของที่ดินจากผู้ร้องเป็นจำเลยที่ 3 ทั้ง ๆที่ผู้ร้องยังโต้แย้งว่าจำเลยที่ 3 มิได้เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท โดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้ดำเนินการยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทระหว่างผู้ร้องกับ ส. ย่อมไม่อาจกระทำได้ เนื่องจากการเพิกถอนการโอนต้องเป็นไปโดยผลของคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาล ตราบใดที่ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้เพิกถอนการโอนก็ยังคงต้องถือว่าการโอนที่ดินพิพาทระหว่างผู้ร้องกับ ส. เป็นไปโดยชอบผู้ร้องซึ่งเป็นผู้มีชื่ออยู่ใน น.ส.3 ก. ของที่ดินพิพาทจึงยังมีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินแก้ไขเปลี่ยนแปลงทะเบียนน.ส.3 ก. ของที่ดินพิพาทเป็นชื่อของจำเลยที่ 3 เป็นการไม่ถูกต้อง ทั้งยังไม่มีอำนาจสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการออกใบแทน น.ส.3 ก. สำหรับที่ดินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4127/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำพิพากษาศาลล่างที่มีข้อผิดหลงเล็กน้อย และการดำเนินการตามขั้นตอนกฎหมายที่ถูกต้อง
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ฟ้องให้โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันรับผิดในค่าซ่อมรถให้แก่จำเลยที่ 2 จำนวน 100,000 บาท และรับผิดในค่าเสื่อมราคาและในค่าไม่มีรถใช้ในการประกอบกิจการค้าให้แก่จำเลยที่ 1 รวมจำนวน 121,500 บาท และศาลชั้นต้นวินิจฉัยกำหนดให้โจทก์ที่ 2 รับผิดในค่าซ่อมรถจำนวน 100,000 บาท ค่าเสื่อมราคาและค่าไม่มีรถใช้ในการประกอบกิจการค้ารวมจำนวน 30,000 บาท แล้ว แต่ในคำพิพากษากลับระบุให้โจทก์ที่ 2 ชำระเงินจำนวน 100,000 บาท แก่จำเลยที่ 1 และชำระเงินจำนวน 30,000 บาท แก่จำเลยที่ 2 เช่นนี้ ย่อมเป็นการผิดหลงไปเล็กน้อยชอบที่ศาลชั้นต้นจะแก้ไขข้อผิดหลงเล็กน้อยนั้นได้
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นแก้ไขข้อผิดหลงเล็กน้อยในคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 มิได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว กลับอุทธรณ์เฉพาะคำพิพากษาศาลชั้นต้นขอให้โจทก์ที่ 1 ร่วมรับผิดด้วยเท่านั้น ดังนี้ แม้ต่อมาเมื่อศาลอุทธรณ์ได้พิพากษาแก้เป็นว่าให้โจทก์ที่ 1ร่วมรับผิด และมิได้แก้ไขข้อผิดหลงเล็กน้อยดังกล่าว จำเลยทั้งสองก็มิได้ยื่นคำร้องต่อศาลอุทธรณ์ เพื่อให้แก้ไขข้อผิดหลงเล็กน้อยอีก เช่นนี้ การที่จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่อให้แก้ไขข้อผิดหลงเล็กน้อยดังกล่าวของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ย่อมไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 ชอบที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยทั้งสองเสีย แต่เมื่อคดีนี้ขึ้นมาสู่ศาลฎีกา (ชั้นขอแก้ไขคำพิพากษา) และปรากฏว่าคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองดังกล่าวมีข้อผิดหลงเล็กน้อยศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ผิดหลงเล็กน้อยดังกล่าวเสียให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นแก้ไขข้อผิดหลงเล็กน้อยในคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 มิได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว กลับอุทธรณ์เฉพาะคำพิพากษาศาลชั้นต้นขอให้โจทก์ที่ 1 ร่วมรับผิดด้วยเท่านั้น ดังนี้ แม้ต่อมาเมื่อศาลอุทธรณ์ได้พิพากษาแก้เป็นว่าให้โจทก์ที่ 1ร่วมรับผิด และมิได้แก้ไขข้อผิดหลงเล็กน้อยดังกล่าว จำเลยทั้งสองก็มิได้ยื่นคำร้องต่อศาลอุทธรณ์ เพื่อให้แก้ไขข้อผิดหลงเล็กน้อยอีก เช่นนี้ การที่จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่อให้แก้ไขข้อผิดหลงเล็กน้อยดังกล่าวของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ย่อมไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 ชอบที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยทั้งสองเสีย แต่เมื่อคดีนี้ขึ้นมาสู่ศาลฎีกา (ชั้นขอแก้ไขคำพิพากษา) และปรากฏว่าคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองดังกล่าวมีข้อผิดหลงเล็กน้อยศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ผิดหลงเล็กน้อยดังกล่าวเสียให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1163/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินการบังคับคดีและการไม่มีอำนาจฟ้อง คดีนี้เป็นการโต้แย้งการบังคับคดีต้องว่ากล่าวในชั้นบังคับคดี
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการยึดที่ดินของโจทก์ เพิกถอนหรือยกเลิกการขายทอดตลาดกับเพิกถอนคำสั่งและหมายเรียกของศาลชั้นต้นในคดีแพ่งซึ่งถึงที่สุดแล้ว โดยโจทก์บรรยายฟ้องว่า ในคดีดังกล่าวศาลพิพากษาให้โจทก์แบ่งแยกที่ดินของโจทก์ให้จำเลยตามส่วนที่ได้รับตามคำพิพากษา แต่มิได้มีคำพิพากษาให้เพิกถอนการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวของโจทก์การที่จำเลยนำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดที่ดินมาขายทอดตลาดจึงเป็นการละเมิดต่อสิทธิของโจทก์ เป็นคำฟ้องที่โต้แย้งเกี่ยวกับการดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาซึ่งเป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันในชั้นบังคับคดีในคดีดังกล่าวโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1163/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินการบังคับคดีและการไม่มีอำนาจฟ้อง หากเป็นการโต้แย้งการบังคับคดีต้องว่ากล่าวในชั้นบังคับคดี
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการยึดที่ดินของโจทก์เพิกถอนหรือยกเลิกการขายทอดตลาดกับเพิกถอนคำสั่งและหมายเรียกของศาลชั้นต้นในคดีแพ่งซึ่งถึงที่สุดแล้วโดยโจทก์บรรยายฟ้องว่าในคดีดังกล่าวศาลพิพากษาให้โจทก์แบ่งแยกที่ดินของโจทก์ให้จำเลยตามส่วนที่ได้รับตามคำพิพากษาแต่มิได้มีคำพิพากษาให้เพิกถอนการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวของโจทก์การที่จำเลยนำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดที่ดินมาขายทอดตลาดจึงเป็นการละเมิดต่อสิทธิของโจทก์เป็นคำฟ้องที่โต้แย้งเกี่ยวกับการดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาซึ่งเป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันในชั้นบังคับคดีในคดีดังกล่าวโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5440/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินการคดีอานาถาที่ไม่ถูกต้อง และผลกระทบต่อการรับอุทธรณ์
เมื่อมิได้มีการพิจารณาคดีโดยขาดนัดคำร้องของจำเลยทั้งสองมิใช่เป็นเรื่องขอให้พิจารณาคดีใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา205วรรคสอง การที่จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นดำเนินการไต่สวนคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาใหม่โดยอ้างว่าเสมียนทนายจำเลยทั้งสองจดวันนัดผิดนั้นหากเป็นจริงก็เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองขาดการเอาใจใส่การพิจารณาคดีของศาลไม่ใช่เหตุที่ยกขึ้นมาอ้างเพื่อขอให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนใหม่ คำร้องของจำเลยทั้งสองที่ขอให้พิจารณาคำขอดำเนินคดีในชั้นอุทธรณ์อย่างคนอนาถาอีกโดยขอให้นัดไต่สวนคำร้องใหม่โดยมิได้ดำเนินการสาบานตัวให้คำชี้แจงว่าตนไม่มีทรัพย์สินพอที่จะเสียค่าธรรมเนียมศาลตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา156วรรคหนึ่งจึงมิใช่คำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาใหม่ทั้งกรณีของจำเลยทั้งสองเป็นเรื่องขอดำเนินคดีอนาถาในชั้นอุทธรณ์เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาของจำเลยทั้งสองโดยมิได้มีการสืบพยานจำเลยทั้งสองเลยแม้แต่ปากเดียวกรณีจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา156วรรคสี่จำเลยทั้งสองจะยื่นคำร้องขอต่อศาลชั้นต้นให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่หาได้ไม่ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าหากจำเลยทั้งสองประสงค์จะดำเนินคดีต่อไปให้จำเลยทั้งสองนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์มาวางศาลภายใน7วันนับแต่วันนี้เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ปฎิบัติตามคำสั่งดังกล่าวการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2653/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบต้องคำนึงถึงการดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมและเหตุผลความสมควร
การสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบเป็นดุลพินิจของศาลที่จะสั่งได้ตามที่เห็นสมควรตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา27คดีนี้มีการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่1โดยการปิดหมายเมื่อวันที่22มิถุนายน2534และให้แก่จำเลยที่2โดยน. รับแทนเมื่อวันที่23กรกฎาคม2534แต่ปรากฏว่าวันที่17กรกฎาคม2534จำเลยทั้งสองได้ยื่นคำให้การแสดงว่าจำเลยที่2ทราบว่าตนถูกฟ้องตั้งแต่วันดังกล่าวและต่อมาก็ได้มีการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยการชี้สองสถานสืบพยานโจทก์จำเลยทั้งสองและมีคำพิพากษาจนพ้นอายุอุทธรณ์ไปแล้วจำเลยที่2จึงไม่มีเหตุผลสมควรที่จะเพิกถอนกระบวนพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5703/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคัดค้านการบังคับคดีต้องกระทำก่อนบังคับคดีเสร็จสิ้นและภายในกำหนดเวลาตามกฎหมาย
ในการขายทอดตลาดโจทก์เป็นผู้ซื้อที่ดินได้โดยชำระเงินมัดจำค่าซื้อทรัพย์ในวันขายทอดตลาด ส่วนที่เหลือจะชำระภายใน 15 วันการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีรายงานต่อศาลชั้นต้นว่า ค่าซื้อทรัพย์ส่วนที่เหลือนั้นโจทก์ขอหักชำระหนี้โจทก์และทำบัญชีแสดงการรับ-จ่ายว่า เมื่อนำค่าซื้อทรัพย์ส่วนที่เหลือมาหักชำระหนี้โจทก์แล้วจำเลยยังคงเป็นหนี้โจทก์อยู่อีกจำนวนหนึ่ง ศาลชั้นต้นอนุญาตและมีหนังสือถึงเจ้าพนักงานที่ดินให้จดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่โจทก์ต่อมาเจ้าพนักงานที่ดินมีหนังสือถึงศาลชั้นต้นว่าจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่โจทก์แล้ว ถือได้ว่าการบังคับคดีเกี่ยวกับที่ดินเสร็จลงแล้ว การร้องคัดค้านการขายทอดตลาดนั้น จะต้องร้องคัดค้านก่อนการบังคับคดีได้เสร็จลง แต่ต้องไม่ช้ากว่า 8 วัน นับแต่วันทราบการฝ่าฝืนนั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา296 วรรคสอง ดังนั้น แม้จำเลยจะไม่ทราบการยึดและการประกาศขายทอดตลาดก็ตาม เมื่อจำเลยมิได้ยื่นคำร้องคัดค้านก่อนการบังคับคดีได้เสร็จลง จำเลยย่อมไม่มีสิทธิร้องขอให้ศาลเพิกถอนการขายทอดตลาดได้