คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
การดำเนินงาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7168/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีต้องเป็นไปตามเสียงข้างมากของคณะกรรมการมัสยิดตาม พ.ร.บ. มัสยิดอิสลาม พ.ศ. 2490
พ.ร.บ. มัสยิดอิสลาม พ.ศ. 2490 มาตรา 9 บัญญัติว่า ในการดำเนินงานของคณะกรรมการมัสยิดให้เป็นไปตามเสียงข้างมากของคณะกรรมการมัสยิด และมีระเบียบการแต่งตั้งถอดถอนกรรมการอิสลามประจำมัสยิด (สุเหร่า) และวิธีดำเนินการอันเกี่ยวแก่ศาสนกิจของมัสยิด (สุเหร่า) พ.ศ. 2492 ข้อ 4 ระบุว่า คณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิดจะพึงมีได้แห่งละไม่เกิน 15 คน กอร์ปด้วยอิหม่าม คอเต็บ บิหลั่น เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง อิหม่ามเป็นประธานกรรมการ คอเต็บเป็นรองประธานกรรมการ คณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิดโจทก์มีทั้งหมดรวม 15 คน การดำเนินงานของคณะกรรมการมัสยิดโจทก์จึงต้องกระทำโดยเสียงข้างมากคือตั้งแต่ 8 คน ขึ้นไป แต่ปรากฏว่าหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ให้ฟ้องคดีนี้มีคณะกรรมการมัสยิดโจทก์ลงชื่อในฐานะผู้มอบอำนาจให้ฟ้องคดีนี้เพียง 7 คน ถึงแม้ว่ากรรมการมัสยิดโจทก์อีก 1 คน จะลงชื่อในหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวด้วย แต่ก็เป็นเพียงการลงชื่อในฐานะเป็นผู้รับมอบอำนาจ หาได้ลงชื่อในฐานะเป็นผู้มอบอำนาจไม่ หนังสือมอบอำนาจของโจทก์จึงเป็นการดำเนินงานที่มิได้เป็นไปตามเสียงข้างมากของคณะกรรมการมัสยิดโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาย่อมยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3411/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดสัญญาจากการไม่สามารถดำเนินงานตามกำหนด และผลของการบอกเลิกสัญญาที่ไม่มีผล
พฤติการณ์ของโจทก์ที่เป็นฝ่ายผิดสัญญา และจำเลยที่มีหนังสือเร่งให้โจทก์ดำเนินการต่อไปพร้อมทั้งเสียค่าปรับตามสัญญาแต่แล้วจำเลยกลับมีหนังสือบอกเลิกสัญญาหาได้มีผลทำให้โจทก์กลับกลางเป็นผู้ไม่ผิดสัญญา และจำเลยเป็นผู้ผิดสัญญาไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2584/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขัดขวางการดำเนินงานของกรรมการควบคุมบริษัทเงินทุน และความผิดฐานขัดขวางเจ้าพนักงาน
จำเลยซึ่งเป็นประธานกรรมการบริษัทเงินทุนที่ถูกควบคุมตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนฯ ได้ขัดขวางแย่งทำหน้าที่ประธานที่ประชุมใหญ่แทนประธานกรรมการควบคุมบริษัทโดยมิได้รับมอบหมาย เป็นการฝ่าฝืนเข้ากระทำกิจการของบริษัทจึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 60,73
ประธานกรรมการบริษัทมีฐานะเป็นกรรมการบริษัทคนหนึ่ง
พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนฯมิได้ระบุให้คณะกรรมการควบคุมบริษัทมีฐานะเป็นเจ้าพนักงาน คณะกรรมการดังกล่าวจึงมิใช่เจ้าพนักงานตามความหมายของประมวลกฎหมายอาญาทั้งถือไม่ได้ว่าเป็นผู้ซึ่งต้องช่วยเจ้าพนักงานตามกฎหมายในการปฏิบัติการตามหน้าที่ จำเลยซึ่งแย่งทำหน้าที่ประธานที่ประชุมใหญ่ จึงไม่มีความผิดฐานขัดขวางเจ้าพนักงาน ในการปฏิบัติการตามหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 138