พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 875/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกหมายเรียกตรวจสอบภาษีครั้งที่ 2 ไม่ชอบเมื่อการตรวจสอบครั้งแรกครอบคลุมทุกประเด็นแล้ว
ตามประมวลรัษฎากรมาตรา19และมาตรา20บัญญัติให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินที่จะดำเนินการแก้ไขการประเมินที่ผิดพลาดให้ถูกต้องได้แต่ก็ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้โดยจะต้องปรากฏข้อเท็จจริงว่าการตรวจสอบครั้งแรกผิดพลาดบกพร่องหรือไม่ถูกต้องการออกหมายเรียกตรวจสอบใหม่จึงจะเป็นการออกหมายเรียกที่ชอบด้วยกฎหมายประกอบกับตามระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการตรวจสอบภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรพ.ศ.2525ข้อ7.3ที่ว่าการออกหมายเรียกผู้เสียภาษีมาตรวจสอบไต่สวนในปีภาษีใดจะต้องไม่เรียกตรวจสอบซ้ำกับปีที่เคยออกหมายเรียกไปแล้วเว้นแต่กรณีมีหลักฐานหรือข้อมูลซึ่งไม่ซ้ำกับที่เคยตรวจสอบไปก่อนแล้วหรือกรณีมีเหตุอันสมควรอื่นก็ให้ขออนุมัติออกหมายเรียกตรวจสอบใหม่ได้เฉพาะรายเมื่อไม่ปรากฏหลักฐานว่าการตรวจสอบครั้งแรกผิดพลาดบกพร่องหรือไม่ถูกต้องประการใดเจ้าพนักงานประเมินจึงไม่มีอำนาจออกหมายเรียกผู้เสียภาษีมาตรวจสอบภาษีใหม่เป็นครั้งที่2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1681/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษี: เหตุผลเพียงพอในการเรียกตรวจสอบ, การเก็บรักษาบัญชี, และการใช้อำนาจของพนักงานอัยการ
เจ้าพนักงานประเมินวิเคราะห์แบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีของโจทก์แล้ว ปรากฏว่ากำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้นทุกปีแต่กำไรสุทธิกลับลดลง เพียงเท่านี้ก็พอมีเหตุสมควรที่จะให้เจ้าพนักงานประเมินเชื่อว่าการยื่นแบบแสดงรายการของโจทก์น่าจะไม่ถูกต้อง เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจหมายเรียกโจทก์มาทำการตรวจสอบไต่สวนดังที่มาตรา 19 ประมวลรัษฎากรบัญญัติไว้ได้ ส่วนโจทก์จะมีรายจ่ายที่จะนำมา หักค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิจริงหรือไม่ เป็นเรื่องในชั้น ไต่สวนตรวจสอบคนละขั้นตอนกับในชั้นหมายเรียกมาทำการไต่สวนตรวจสอบ ตามมาตรา 19 จึงไม่ทำให้อำนาจการออกหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมิน เสียไปแต่ประการใด และการที่เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกใน กรณีนี้ แม้เจ้าพนักงานประเมินได้ระบุมาตรา 19,23 มาด้วยกัน ในหมายเรียกก็หาเป็นเรื่องที่ขัดกันไม่ แต่เป็นการอ้างมาตรา 23 เกินเลยมาเท่านั้น ไม่ทำให้หมายเรียกที่มีเหตุที่จะเรียกได้ตาม มาตรา 19 ตามที่กล่าวแล้วไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ประกอบกิจการนำสินค้าประเภทกระติกน้ำและเครื่องแก้วเข้ามาจำหน่าย อันเป็นธุรกิจที่จะต้องจัดทำบัญชีตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 285 เรื่องการบัญชี โจทก์ผู้มีหน้าที่จัดทำ บัญชีจึงต้องเก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไว้ ณ สถานที่ประกอบธุรกิจนั้นจะเก็บรักษา ณ สถานที่อื่น โจทก์ผู้มีหน้าที่ จัดทำบัญชีจะต้องขออนุญาตต่อสารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชี ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาดังที่กำหนดไว้ในข้อ 13 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนั้น มิฉะนั้นมีความผิดต้องรับโทษตามข้อ 23 ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับเดียวกันการที่อธิบดีกรมการค้ายังมิได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ก็มีผลเท่ากับว่า ในขณะนั้นยังไม่อนุญาตให้เก็บรักษาบัญชีไว้ ณ สถานที่อื่น นอกสถานที่ประกอบธุรกิจ การที่โจทก์นำบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไปเก็บรักษาไว้ ณ สถานที่อื่นจึงเป็นเรื่องที่โจทก์กระทำการฝ่าฝืนข้อห้ามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว เมื่อเกิดเพลิงไหม้เป็นเหตุให้บัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีที่นำไปไว้ถูกไฟไหม้ไปด้วย โจทก์จะอ้างเอาเหตุนั้นอันเนื่องจากการฝ่าฝืนกฎหมายของโจทก์มาเป็นเหตุสุดวิสัยที่ไม่อาจส่งบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบตามหมายเรียกหาได้ไม่ ตามพระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ. 2498 มาตรา 11(2)พนักงานอัยการมีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินคดีแพ่งแทนรัฐบาลในศาลทั้งปวง กรณีเช่นนี้พนักงานอัยการจึงมีฐานะอย่างเดียวกับทนายความตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 ที่มีอำนาจดำเนินคดีในศาลให้แก่ผู้อื่น จึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งในคำพิพากษาให้โจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดีชดใช้ค่าทนายความแทนจำเลยตามที่เห็นสมควรดังที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 บัญญัติไว้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1282/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษต่อในคดีอาญา จำเป็นต้องมีการตรวจสอบและยืนยันตัวตนจำเลยให้ชัดเจน
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยและขอให้นับโทษจำเลยต่อจากโทษคดีอาญาอื่น จำเลยให้การปฏิเสธ และมิได้มีการสอบถามในเรื่องที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ ทั้งไม่ปรากฏในสำนวนว่าจำเลยเป็นคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ ดังนี้ จึงไม่อาจนับโทษจำเลยต่อจากโทษของจำเลยในคดีอาญาที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อนั้นได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1821/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงตรวจสอบที่ดินมรดกก่อนโอน การปฏิบัติตามข้อตกลงและผลกระทบต่อการฟ้องร้อง
คู่ความตกลงกันว่า จำเลยยินดีโอนห้องแถวพร้อมกับที่ดิน 2 ห้องที่เหลือตามพินัยกรรมดังโจทก์ฟ้องให้โจทก์ ในเมื่อโจทก์นำเจ้าพนักงานที่ดินไปสำรวจแล้วให้เจ้าพนักงานที่ดินแยกออกมาว่าห้องทั้งสองอยู่ที่ใด ถ้าหากเจ้าพนักงานที่ดินตรวจแล้วว่าที่ดินและห้องแถวตามพินัยกรรมไม่มีอยู่เลย โจทก์ก็ยินดีถอนฟ้องแต่ถ้าปรากฏว่ามีเหลืออยู่เป็นจำนวนมากกว่า 2 ห้อง โจทก์ยอมรับเพียง 2 ห้อง จำเลยยินดีโอนให้โจทก์ การตรวจสอบนี้ให้ถือเอาพินัยกรรมตามฟ้องและตราจองเลขที่ 5 เป็นหลัก ดังนี้เมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานที่ดินได้ตรวจสอบแล้วได้ความว่าห้องแถวดังกล่าวอยู่ในตราจองเลขที่ 2172 โดยเจ้าพนักงานที่ดินได้ตรวจสอบรูปแผนที่ในพินัยกรรมแล้ว แสดงว่าที่ดินพร้อมด้วยห้องแถวที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามพินัยกรรม คือ ที่ดินตราจองเลขที่ดังกล่าว จำเลยต้องโอนให้โจทก์ตามข้อตกลง และเมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานที่ดินตรวจพบแล้วก็ไม่มีความจำเป็นจะต้องตรวจสอบที่ดินมรดกรายนี้ทั้งหมดต่อไปอีก
ข้อตกลงของโจทก์จำเลยเช่นว่านี้ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 และไม่เป็นการที่ศาลพิพากษานอกฟ้องนอกประเด็นตามมาตรา 142 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งด้วย
ปัญหาเรื่องข้อตกลงขัดต่อ มาตรา 138 หรือไม่ และศาลพิพากษานอกฟ้องนอกประเด็นหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
วันนัดสืบพยานประเด็นโจทก์ จำเลยที่ 2 และทนายจำเลยที่ 2 มิได้ไปศาลตามนัด แต่ศาลได้สืบพยานไปโดยมิได้มี การสั่งว่าจำเลยที่ 2 ขาดนัดพิจารณานั้น เมื่อจำเลยที่ 2 มิได้อุทธรณ์ฎีกาจำเลยที่ 1 จะฎีกาแทนไม่ได้
ข้อตกลงของโจทก์จำเลยเช่นว่านี้ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 และไม่เป็นการที่ศาลพิพากษานอกฟ้องนอกประเด็นตามมาตรา 142 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งด้วย
ปัญหาเรื่องข้อตกลงขัดต่อ มาตรา 138 หรือไม่ และศาลพิพากษานอกฟ้องนอกประเด็นหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
วันนัดสืบพยานประเด็นโจทก์ จำเลยที่ 2 และทนายจำเลยที่ 2 มิได้ไปศาลตามนัด แต่ศาลได้สืบพยานไปโดยมิได้มี การสั่งว่าจำเลยที่ 2 ขาดนัดพิจารณานั้น เมื่อจำเลยที่ 2 มิได้อุทธรณ์ฎีกาจำเลยที่ 1 จะฎีกาแทนไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4697/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลือกตั้งสหภาพแรงงานต้องลงคะแนนลับ หากมีช่องทางตรวจสอบได้ว่าใครเลือกใคร ถือไม่ชอบด้วยข้อบังคับ
การเลือกตั้งกรรมการสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการบินไทยต้องลงคะแนนเสียงโดยวิธีลับมีความหมายว่าในการเลือกตั้งต้องใช้วิธีออกเสียงลงคะแนนที่ไม่มีผู้ใดทราบว่าสมาชิกสหภาพแรงงานผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งได้ออกเสียงลงคะแนนเลือกผู้ใดเป็นกรรมการสหภาพแรงงาน เพื่อให้โอกาสแก่ผู้ใช้สิทธิอย่างอิสรเสรี ไม่ต้องตกอยู่ในความเกรงกลัว ความเกรงใจหรืออิทธิพลของใคร ด้วยเหตุนี้หากมีการกระทำใดที่เป็นช่องทางให้ทราบได้ว่าสมาชิกสหภาพแรงงานผู้มาใช้สิทธิเลือกผู้ใดเป็นกรรมการสหภาพแรงงานถือได้ว่าไม่ใช่เป็นการลงคะแนนเสียงโดยวิธีลับ
การที่คู่มือเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการบินไทยประจำปี 2547 กำหนดให้ทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งโดยมีเลขประจำตัวพนักงานและเลขสมาชิกสหภาพแรงงานของพนักงานผู้มีสิทธิเลือกตั้งนั้นปรากฏอยู่ กับทำบัตรเลือกตั้งซึ่งมีเลขที่บัตรปรากฏอยู่ ในวันเลือกตั้งเมื่อสมาชิกสหภาพแรงงานไปแสดงตัวที่หน่วยเลือกตั้ง เจ้าหน้าที่หน่วยเลือกตั้งระบุเลขที่บัตรเลือกตั้งลงในช่องว่างตรงกับชื่อสมาชิกสหภาพแรงงานผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งนั้นในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งแล้วให้สหภาพแรงงานนั้นลงลายมือชื่อ จากนั้นจึงมอบบัตรเลือกตั้งให้ไปลงคะแนนต่อไป การปฏิบัติดังกล่าวเป็นช่องทางให้ตรวจสอบทราบได้ว่าสมาชิกสหภาพแรงงานผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้ลงคะแนนเลือกผู้ใดเป็นกรรมการสหภาพแรงงาน จึงไม่ใช่การลงคะแนนเสียงโดยวิธีลับ ไม่ชอบด้วยข้อบังคับสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการบินไทย พ.ศ.2545 ข้อ 26 ที่กำหนดให้การเลือกตั้งกรรมการต้องลงคะแนนเสียงโดยวิธีลับ ที่จำเลยที่ 1 ไม่รับจดทะเบียนกรรมการสหภาพแรงงานที่ได้มาจากการเลือกตั้งดังกล่าว และจำเลยที่ 2 มีคำวินิจฉัยเห็นด้วยกับจำเลยที่ 1 จึงชอบแล้ว
การที่คู่มือเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการบินไทยประจำปี 2547 กำหนดให้ทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งโดยมีเลขประจำตัวพนักงานและเลขสมาชิกสหภาพแรงงานของพนักงานผู้มีสิทธิเลือกตั้งนั้นปรากฏอยู่ กับทำบัตรเลือกตั้งซึ่งมีเลขที่บัตรปรากฏอยู่ ในวันเลือกตั้งเมื่อสมาชิกสหภาพแรงงานไปแสดงตัวที่หน่วยเลือกตั้ง เจ้าหน้าที่หน่วยเลือกตั้งระบุเลขที่บัตรเลือกตั้งลงในช่องว่างตรงกับชื่อสมาชิกสหภาพแรงงานผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งนั้นในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งแล้วให้สหภาพแรงงานนั้นลงลายมือชื่อ จากนั้นจึงมอบบัตรเลือกตั้งให้ไปลงคะแนนต่อไป การปฏิบัติดังกล่าวเป็นช่องทางให้ตรวจสอบทราบได้ว่าสมาชิกสหภาพแรงงานผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้ลงคะแนนเลือกผู้ใดเป็นกรรมการสหภาพแรงงาน จึงไม่ใช่การลงคะแนนเสียงโดยวิธีลับ ไม่ชอบด้วยข้อบังคับสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการบินไทย พ.ศ.2545 ข้อ 26 ที่กำหนดให้การเลือกตั้งกรรมการต้องลงคะแนนเสียงโดยวิธีลับ ที่จำเลยที่ 1 ไม่รับจดทะเบียนกรรมการสหภาพแรงงานที่ได้มาจากการเลือกตั้งดังกล่าว และจำเลยที่ 2 มีคำวินิจฉัยเห็นด้วยกับจำเลยที่ 1 จึงชอบแล้ว