คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
การตาย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 48 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3544/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีชำระหนี้: การรู้ถึงการตายของลูกหนี้เป็นจุดเริ่มต้นนับอายุความ และผลกระทบต่อทายาทผู้รับผิดชอบ
โจทก์ได้รู้ถึงการตายของ จ. เจ้ามรดก ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2540 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2541 ล่วงพ้นกำหนด 1 ปีแล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความ จำเลยที่ 1 ทายาทของ จ. ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 แม้จะไม่ได้ให้การต่อสู้ว่าคดีโจทก์ขาดอายุความ แต่มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งไม่อาจแบ่งแยกได้ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ย่อมได้รับประโยชน์จากข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 1 ด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59 (1) จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6472/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าสิทธิการเช่าพื้นที่ศูนย์การค้า: การคืนเงินเมื่อสัญญาเช่าระงับเนื่องจากการตายของผู้เช่า
สัญญาเช่าพื้นที่ในอาคารศูนย์การค้าระหว่างจำเลยกับ ส. ผู้เช่ามีกำหนดเวลา 20 ปี โดยจำเลยคิดค่าเช่าในอัตราเดือนละ 1,235 บาท เมื่อการเช่าพื้นที่ในศูนย์การค้าเป็นเวลานานถึง 20 ปี อัตราค่าเช่าดังกล่าวนับว่าเป็นจำนวนน้อยมากและไม่น่าจะเป็นค่าเช่าตามปกติธรรมดาทั่วไป ดังนั้นเงินค่าสิทธิการเช่าจำนวน 2,790,550 บาท จึงมีลักษณะเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าที่จำเลยเรียกล่วงหน้าจาก ส. ทั้งตามสัญญาเช่าข้อ 10 ระบุเพียงว่า ผู้เช่าไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าสิทธิการเช่าคืนจากผู้ให้เช่าเฉพาะกรณีที่ผู้เช่ากระทำผิดสัญญา โดยผู้เช่าผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าหรือกระทำผิด หรือไม่กระทำตามสัญญานี้ หรือสัญญาบริการข้อหนึ่งข้อใด หรือผู้เช่ามีหนี้สินล้นพ้นตัวถูกฟ้องในคดีล้มละลายหรือถูกยึดหรืออายัดทรัพย์ตามคำสั่งศาลเท่านั้น หาได้รวมถึงกรณีที่สัญญาเช่าระงับเพราะเหตุการตายของผู้เช่าแต่อย่างใดไม่ ดังนั้น เมื่อสัญญาเช่าระงับเพราะเหตุการตายของ ส. ผู้เช่า จำเลยผู้ให้เช่าจึงต้องคืนเงินค่าสิทธิการเช่าอันเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าที่ชำระล่วงหน้าตามส่วนที่มิได้ใช้ประโยชน์ให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6472/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเช่าล่วงหน้าและสิทธิการคืนเงินเมื่อสัญญาเช่าระงับเนื่องจากการตายของผู้เช่า
สัญญาเช่าระหว่างจำเลยกับ ส. ผู้เช่านั้น จำเลยคิดค่าเช่าในอัตราเดือนละ 1,235 บาท ซึ่งเมื่อคำนึงถึงว่าเป็นการเช่าพื้นที่ในศูนย์การค้าเป็นเวลานานถึง 20 ปี แล้ว อัตราค่าเช่าดังกล่าวนับว่าเป็นจำนวนน้อยมากและไม่น่าจะเป็นค่าเช่าตามปกติธรรมดาทั่วไป ดังนั้นเงินค่าสิทธิการเช่าจำนวน 2,790,550 บาท จึงมีลักษณะเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าที่จำเลยเรียกล่วงหน้าจาก ส. นั่นเอง ทั้งตามสัญญาเช่าระบุให้ผู้เช่าไม่มีสิทธิรับเงินค่าสิทธิการเช่าคืนเฉพาะกรณีอื่น หาได้รวมถึงกรณีสัญญาเช่าระงับเพราะเหตุการตายของผู้เช่าแต่อย่างใด เมื่อสัญญาเช่าระงับเพราะเหตุการตายของ ส. ผู้เช่า จำเลยผู้ให้เช่าจึงต้องคืนเงินค่าสิทธิการเช่าอันเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าที่ชำระล่วงหน้าตามส่วนที่มิได้ใช้ประโยชน์แก่โจทก์ซึ่งเป็นทายาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3715-3716/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรสหลังการสมรสสิ้นสุดด้วยการตาย สิทธิในทรัพย์สินที่เคยเป็นสินส่วนตัวแต่ภายหลังกลับเป็นสินสมรส
โจทก์ฟ้องขอให้ลงชื่อโจทก์เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดินโฉนดเลขที่ 454 ซึ่งเป็นสินสมรส เป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นสามีร้องขอให้ลงชื่อโจทก์เป็นเจ้าของรวมในเอกสารตาม ป.พ.พ. มาตรา 1475 ซึ่งสิทธิดังกล่าวเป็นสิทธิเฉพาะตัวของสามีหรือภริยาแล้วแต่กรณี เมื่อโจทก์ถึงแก่กรรมไปแล้ว จึงไม่อาจใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของรวมได้ คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้ใส่ชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย อย่างไรก็ตาม คำขอของโจทก์ดังกล่าวพอจะถือได้ว่าขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์มีกรรมสิทธิ์รวมครึ่งหนึ่งในฐานะสินสมรสซึ่งโจทก์มีสิทธิกึ่งหนึ่งเฉพาะทรัพย์สินที่คงเหลืออยู่ เมื่อโจทก์ถึงแก่ความตายจึงย่อมเป็นมรดกตกได้แก่ทายาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1475/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของนิติบุคคล และการนับอายุความเมื่อทราบถึงการตายของลูกหนี้
โจทก์เป็นนิติบุคคล ตามข้อบังคับของโจทก์ระบุให้คณะกรรมการดำเนินการของโจทก์มีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการทั้งปวงให้เป็นไปตามข้อบังคับและตามมติของที่ประชุมใหญ่ ซึ่งรวมทั้งให้ฟ้องต่อสู้คดีหรือดำเนินคดีเกี่ยวกับกิจการของโจทก์ เมื่อคณะกรรมการดำเนินการมีมติที่ประชุมให้ ณ รองประธานกรรมการเป็นผู้แทนของโจทก์ในการดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสาม ซึ่งเป็นไปตามข้อบังคับของโจทก์ เท่ากับว่าโจทก์เป็นผู้ฟ้องคดีเอง กรณีไม่ต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 801 (5) โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสาม โดยไม่จำต้องมีหนังสือมอบอำนาจให้ ณ ดำเนินการแต่อย่างใด
บ. เป็นเพียงกรรมการคนหนึ่งของโจทก์ โดยไม่ปรากฏว่ามีมติที่ประชุมใหญ่ของโจทก์แต่งตั้ง บ. เป็นผู้แทนโจทก์ในกิจการใด ๆ แม้ บ. จะรู้ถึงการตายของ ว. สามีจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2541 ก็หาใช้เป็นการรับรู้ของโจทก์ไม่ เมื่อคณะกรรมการดำเนินการของโจทก์ประชุมกันเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2541 โดยมีวาระการประชุมเกี่ยวกับการตายของ ว. ด้วย ถือได้ว่าโจทก์เพิ่งรู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของ ว. ในวันดังกล่าว การที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2542 จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1564/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลกระทบการตายของลูกหนี้ระหว่างพิจารณาคดีล้มละลาย และการสันนิษฐานเรื่องหนี้สินล้นพ้นตัว
จำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตายก่อนที่ศาลอุทธรณ์จะมีคำพิพากษาให้พิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 เด็ดขาด ถือว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ถึงแก่ความตายในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์จึงไม่อาจมีคำพิพากษาให้พิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 เด็ดขาดตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14 ได้ กรณีเช่นว่านี้โจทก์อาจขอให้จัดการทรัพย์มรดกของจำเลยที่ 1 โดยโจทก์จะต้องขอให้เรียกทายาทหรือผู้จัดการมรดกหรือผู้ปกครองทรัพย์เข้ามาแก้คดีแทนลูกหนี้ที่ตายนั้นตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 83 และ 87 ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ก่อน การที่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้พิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1เด็ดขาดจึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ศาลฎีกาให้ศาลอุทธรณ์ดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ใหม่
การที่ศาลออกหมายบังคับคดี แต่จำเลยที่ 2 ไม่มีทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้นั้น เข้าข้อสันนิษฐานว่าจำเลยที่ 2 มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามมาตรา 8 (5) แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 จำเลยที่ 2 จึงมีหน้าที่ต้องนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าว แต่พยานหลักฐานของจำเลยที่ 2 คงมีเพียงคำเบิกความของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นการเบิกความกล่าวอ้างลอย ๆ หามีน้ำหนักไม่เมื่อข้อนำสืบของจำเลยที่ 2 ไม่อาจหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายดังกล่าว คดีจึงฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 มีหนี้สินล้นพ้นตัว และไม่อาจชำระหนี้โจทก์ได้ทั้งหมด ทั้งไม่มีเหตุที่ไม่ควรให้จำเลยที่ 2 ล้มละลาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1750/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับอายุความคดี การตายของบุคคล และฐานะโจทก์เป็นนิติบุคคล
กองกฎหมายและคดีได้ทำบันทึกให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครรับทราบถึงการตายของ ย. เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2541 และ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครลงลายมือชื่อรับทราบการตายของ ย.ในวันนั้นโดยจำเลยมิได้นำสืบโต้แย้งให้เห็นเป็นอย่างอื่น ถือได้ว่าผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเพิ่งทราบการตายของ ย.ในวันดังกล่าว โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2541 จึงยังไม่พ้นกำหนด1 ปี นับแต่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้รู้ถึงความตายของ ย. ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์มีฐานะเป็นนิติบุคคล มีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร การนับอายุความจึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครรู้ถึงการตายของ ย.มิใช่นับแต่วันที่สำนักงานเขตบางกอกน้อยรับแจ้งการตายของ ย. แม้สำนักงานเขตดังกล่าวเป็นหน่วยงานของโจทก์ก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2848/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีหลังเจ้ามรดกเสียชีวิต: ต้องมีหลักฐานยืนยันการตายที่แน่นอน
ตามที่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม ได้ระบุห้ามเจ้าหนี้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดกนั้นต้องเป็นการรู้โดยแน่นอน มีหลักฐานยืนยัน แม้จะได้ความจากพันตำรวจโทพ.พยานโจทก์ตอบทนายจำเลยทั้งสองถามค้านว่า เมื่อกลางปี 2532 ผู้ใต้บังคับบัญชารายงาน ให้ทราบว่า ส.ถึงแก่ความตายแล้ว ไม่ได้ทำหนังสือถึงทายาทให้จัดการเกี่ยวกับเรื่องสัญญาประกัน และ เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2533 กรมตำรวจได้ ขอความร่วมมือจากอธิบดีกรมอัยการให้จัดพนักงานอัยการ เป็นทนายว่าต่างดำเนินการฟ้อง ส. ให้รับผิดชดใช้เงินค่าปรับกองคดีแพ่งกรมอัยการ รับดำเนินการให้เมื่อ วันที่ 29 มกราคม 2533 ก็ตาม แต่กรณีดังกล่าวเป็นเพียง ข้อมูลเบื้องต้นที่ทราบถึงการตายของ ส. ยังฟังเป็นแน่นอนหาข้อยุติไม่ได้ว่า ส.ถึงแก่ความตายจริงหรือไม่ต่อมาเมื่อเจ้าพนักงานตำรวจผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงทำบันทึกลงวันที่ 22 มิถุนายน 2535 รายงานพันตำรวจโทพ.ว่าส.ได้ถึงแก่ความตายแล้ว พร้อมทั้งแสดงมรณบัตร พันตำรวจโทพ. รับทราบในวันเดียวกันย่อมต้องถือว่าโจทก์รู้ถึงการตายของส.แล้วนับแต่นั้นโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2535 ยังไม่พ้นกำหนด1 ปี นับแต่ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงการตายของส.เจ้ามรดกฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ ส.เป็นผู้ประกันตัวว. ผู้ต้องหาแล้วผิดสัญญาประกันต้องใช้เงินจำนวน 500,000 บาท จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกและจำเลยที่ 2 ในฐานะทายาทผู้รับ ทรัพย์ตามพินัยกรรมของส.จึงต้องรับผิดต่อโจทก์พร้อมทั้งดอกเบี้ยตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1683/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลักษณะงานที่ก่อให้เกิดความเครียดและการตายจากโรคความดันโลหิตสูง ถือเป็นการประสบอันตรายจากการทำงาน
ลักษณะงานของผู้ตายซึ่งเป็นหัวหน้างานทั่วไปมีหน้าที่ดูแลการก่อสร้างทั้งให้คำปรึกษาแก่คนงานเมื่อมีเหตุขัดข้องในการทำงานย่อมก่อให้เกิดความเครียดได้อันเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เป็นโรคความดันโลหิตสูง การที่ผู้ตายกำลังนั่งทำงานเกี่ยวกับแบบก่อสร้างอยู่แล้ว บ. มาตามไปดูการติดตั้งประตูม้วนที่มีปัญหาต้องเดินทางไกลประมาณ200เมตรท่ามกลางแดดร้อนจัดย่อมก่อให้เกิดความเครียดเพิ่มขึ้นในทันทีทันใดได้อันเป็นเหตุให้มีความดันโลหิตสูงมากขึ้นซึ่งเป็นเหตุให้เส้นโลหิตที่ก้านสมองแตกและผู้ตายถึงแก่ความตายถือว่าผู้ตายถึงแก่ความตายด้วยโรคที่เกิดขึ้นจากการทำงานโจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นทายาทของผู้ตายจึงมีสิทธิได้รับเงินทดแทนจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1842/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนผู้จัดการมรดกเมื่ออ้างว่าทรัพย์มรดกถูกยกให้ไปก่อนตายแล้ว
คำร้องขอถอนผู้จัดการมรดกของผู้คัดค้านอ้างว่าทรัพย์มรดกของผู้ตายซึ่งได้แก่ที่ดิน2แปลงผู้ตายได้ยกให้ผู้คัดค้านทั้งสองก่อนผู้ตายถึงแก่ความตายจึงไม่มีทรัพย์มรดกเหลืออีกและผู้ร้องไม่มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกรายนี้ซึ่งถ้าได้ความตามคำร้องขอของผู้คัดค้านกรณีย่อมถือได้ว่าคดีมีเหตุสมควรที่ศาลจะสั่งถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1727
of 5