พบผลลัพธ์ทั้งหมด 86 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 996/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดสิทธิจำเลยร่วม: เมื่อจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การ จำเลยร่วมย่อมไม่มีสิทธิยื่นคำให้การของตน
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระค่าจ้างก่อสร้างแก่โจทก์ จำเลยที่ 1 และที่ 4 ขาดนัดยื่นคำให้การ ต่อมาโจทก์ได้ถอนฟ้องจำเลยที่ 2 หลังจากนั้นจำเลยที่ 2 ได้ยื่นคำร้องสอดเข้ามาเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยที่ 1 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (2) จึงต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิอย่างอื่นนอกจากสิทธิที่มีอยู่ของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่ความฝ่ายที่ตนเข้าเป็นจำเลยร่วมตามมาตรา 58 วรรคสอง ฉะนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ยื่นคำให้การจนศาลสั่งว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การ จำเลยที่ 2 ย่อมไม่มีสิทธิยื่นคำให้การของตนเข้ามาอันเป็นการใช้สิทธินอกเหนือจากที่จำเลยที่ 1 มีอยู่ได้ การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับคำให้การของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการผิดหลง ศาลชั้นต้นชอบที่จะเพิกถอนคำสั่งรับคำให้การของจำเลยที่ 2 แล้วสั่งไม่รับคำให้การของจำเลยที่ 2 ให้ถูกต้องได้ ตามมาตรา 27 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดร่วมกับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการชำระหนี้ค่าก่อสร้างให้โจทก์ การที่จำเลยที่ 2 จะเป็นคู่ความในคดีด้วยหรือไม่ ไม่ทำให้สิทธิในการต่อสู้คดีของจำเลยที่ 1 เปลี่ยนแปลงไป จำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ย่อมเป็นผู้มีสิทธิกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ได้ตามกฎหมาย การที่โจทก์ขอถอนฟ้องจำเลยที่ 2 จึงไม่กระทบต่อสิทธิของจำเลยที่ 1 ในการต่อสู้คดีรวมทั้งไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ศาลจึงอนุญาตให้ถอนฟ้องได้
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดร่วมกับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการชำระหนี้ค่าก่อสร้างให้โจทก์ การที่จำเลยที่ 2 จะเป็นคู่ความในคดีด้วยหรือไม่ ไม่ทำให้สิทธิในการต่อสู้คดีของจำเลยที่ 1 เปลี่ยนแปลงไป จำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ย่อมเป็นผู้มีสิทธิกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ได้ตามกฎหมาย การที่โจทก์ขอถอนฟ้องจำเลยที่ 2 จึงไม่กระทบต่อสิทธิของจำเลยที่ 1 ในการต่อสู้คดีรวมทั้งไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ศาลจึงอนุญาตให้ถอนฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 344/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจำเลยในการมีทนาย – กระบวนการพิจารณาคดีที่ไม่ชอบ – ผลกระทบต่อการต่อสู้คดี
โจทก์ฟ้องคดีที่มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่ในการพิจารณาคดีก่อนถามคำให้การจำเลย ศาลชั้นต้นมิได้สอบถามจำเลยเรื่องทนายความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 173 วรรคสอง จึงเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามบทบัญญัติดังกล่าวอันเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ และทำให้จำเลยเสียเปรียบ แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 8 มีคำสั่งในรายงานกระบวนพิจารณา ให้ศาลชั้นต้นสอบถามจำเลยเรื่องทนายความแล้วให้ส่งสำนวนคืนศาลอุทธรณ์ภาค 8 เพื่อพิจารณาพิพากษา ก็ไม่อาจแก้ไขกระบวนการพิจารณาที่เสียไปแล้วตั้งแต่ต้นให้กลับมาเป็นชอบด้วยกฎหมายได้ ศาลฎีกาให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1587/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาล จำเป็นต้องมีพฤติการณ์พิเศษตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 การอ้างเหตุค่าธรรมเนียมสูง ไม่ถือเป็นเหตุพิเศษ
ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องของโจทก์ที่ขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ และกำหนดให้โจทก์นำเงิน ค่าธรรมเนียมศาลมาชำระภายใน 15 วัน แม้โจทก์จะยื่นขอขยายระยะเวลาวางเงินก่อนสิ้นระยะเวลาตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดแต่โจทก์คงอ้างแต่เพียงว่าค่าธรรมเนียมศาลที่จะต้องนำมาวางศาลมีจำนวนสูงและการไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาเป็นการปิดโอกาสในการต่อสู้คดีเท่านั้น ยังถือไม่ได้ว่ากรณีมีพฤติการณ์พิเศษที่จะอนุญาตให้ขยายระยะเวลา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1010/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ฟ้องคดีอาญา: เหตุอันควร, รายละเอียดในฟ้อง, และผลกระทบต่อการต่อสู้คดีของจำเลย
โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ฟ้องคดีอาญาภายหลังสืบพยานจำเลยไปบ้างแล้วโดยอ้างเหตุผลว่าคำฟ้องของโจทก์บกพร่องเกี่ยวกับวันที่เกิดเหตุเนื่องจากพิมพ์ผิดพลาดก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา เหตุที่โจทก์อ้างถือได้ว่าเป็นเหตุอันควร ประกอบกับเป็นการแก้รายละเอียดซึ่งต้องแถลงในฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 164 ทั้งจำเลยให้การและเบิกความก็เป็นเพียงการปฏิเสธลอย ๆ ไม่ได้ให้รายละเอียดว่าวันที่โจทก์ขอแก้จำเลยทำอะไรอยู่ที่ไหน นอกจากนี้ยังปรากฏข้อเท็จจริงว่า วันที่ระบุในคำฟ้องฉบับเดิมจำเลยก็ถูกขังในเรือนจำตามหมายขังระหว่างสอบสวนในคดีนี้ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีที่จำเลยหลงต่อสู้ คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2141/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเล และการยกเว้นความรับผิดจากภยันตรายทางทะเล จำเป็นต้องมีการต่อสู้คดีตั้งแต่แรก
จำเลยทั้งสองไม่ได้ให้การต่อสู้ว่าจำเลยทั้งสองไม่ต้องรับผิดเพราะเหตุยกเว้นความรับผิดตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 52 (2) ดังนั้น ข้อเท็จจริงที่ว่าความเสียหายและสูญหายของสินค้าเกิดจากภยันตรายหรืออุบัติเหตุแห่งท้องทะเลหรือน่านน้ำที่ใช้เดินเรือ จึงเป็นข้อเท็จจริงนอกประเด็นข้อพิพาท คู่ความย่อมไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 185 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 แม้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจะเห็นว่าข้อเท็จจริงดังกล่าวทั้งโจทก์และจำเลยทั้งสองได้นำสืบต่อสู้กันอย่างเต็มที่แล้ว ไม่มีฝ่ายใดเสียเปรียบได้เปรียบกัน ก็ไม่มีบทบัญญัติใดให้อำนาจศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางรับฟังข้อเท็จจริงนอกประเด็นข้อพิพาทมาวินิจฉัยได้
เมื่อข้อเท็จฟังได้ว่าสินค้าที่เสียหายเป็นแผ่นเหล็กรีดเย็นมีลักษณะเป็นม้วนวงกลมทบกันหลายชั้น และในใบตราส่งก็มีการระบุจำนวนสินค้าเป็นม้วนที่บรรจุในตู้สินค้าแต่ละตู้ไว้ชัดเจน ดังนั้น แผ่นเหล็กรีดเย็น 1 ม้วน ย่อมถือเป็น 1 หน่วยการขนส่ง เมื่อความเสียหายของสินค้าที่เกิดขึ้นมิใช่กรณี ตามมาตรา 60 แห่ง พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 และสินค้าดังกล่าวแต่ละม้วนมีน้ำหนักมาก ไม่ต่ำกว่า 2,000 กิโลกรัม การจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งจึงต้องคำนวณเป็นจำนวนเงินตามน้ำหนักสุทธิในอัตรากิโลกรัมละ 30 บาท แต่หากปรากฏว่าราคาของนั้นต่ำกว่าที่จำกัดความรับผิดไว้ ให้ถือเอาตามราคาที่คำนวณได้ โดยคำนวณตามหลักเกณฑ์ มาตรา 61 กล่าวคือ ในกรณีของสูญหายหรือเสียหายทั้งหมด ให้คำนวณเท่ากับราคาที่ของนั้นจะพึงมีในเวลาที่พึงส่งมอบ ณ ท่าปลายทาง ถ้าของสูญหายหรือเสียหายบางส่วนให้คำนวณตามส่วนโดยเทียบกับราคาของอย่างเดียวกันและคุณภาพเท่าเทียมกันที่ยังเหลืออยู่ในเวลาส่งมอบ ณ ท่าปลายทาง
เมื่อข้อเท็จฟังได้ว่าสินค้าที่เสียหายเป็นแผ่นเหล็กรีดเย็นมีลักษณะเป็นม้วนวงกลมทบกันหลายชั้น และในใบตราส่งก็มีการระบุจำนวนสินค้าเป็นม้วนที่บรรจุในตู้สินค้าแต่ละตู้ไว้ชัดเจน ดังนั้น แผ่นเหล็กรีดเย็น 1 ม้วน ย่อมถือเป็น 1 หน่วยการขนส่ง เมื่อความเสียหายของสินค้าที่เกิดขึ้นมิใช่กรณี ตามมาตรา 60 แห่ง พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 และสินค้าดังกล่าวแต่ละม้วนมีน้ำหนักมาก ไม่ต่ำกว่า 2,000 กิโลกรัม การจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งจึงต้องคำนวณเป็นจำนวนเงินตามน้ำหนักสุทธิในอัตรากิโลกรัมละ 30 บาท แต่หากปรากฏว่าราคาของนั้นต่ำกว่าที่จำกัดความรับผิดไว้ ให้ถือเอาตามราคาที่คำนวณได้ โดยคำนวณตามหลักเกณฑ์ มาตรา 61 กล่าวคือ ในกรณีของสูญหายหรือเสียหายทั้งหมด ให้คำนวณเท่ากับราคาที่ของนั้นจะพึงมีในเวลาที่พึงส่งมอบ ณ ท่าปลายทาง ถ้าของสูญหายหรือเสียหายบางส่วนให้คำนวณตามส่วนโดยเทียบกับราคาของอย่างเดียวกันและคุณภาพเท่าเทียมกันที่ยังเหลืออยู่ในเวลาส่งมอบ ณ ท่าปลายทาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3936/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังสำเนาเอกสารเป็นหลักฐาน การไม่โต้แย้งถือเป็นการยอมรับ และการต่อสู้คดีที่ไม่สุจริต
จำเลยมิได้โต้แย้งความถูกต้องของสำเนาเอกสารก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาตามขั้นตอนที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 125 วรรคสามและวรรคสี่ กำหนดไว้ ถือได้ว่าเป็นการตกลงรับรองความถูกต้องแห่งสำเนาเอกสารดังกล่าว และผู้อ้างไม่จำต้องส่งต้นฉบับเอกสารอีกตามมาตรา 93(1) สำเนาเอกสารนั้นย่อมรับฟังได้เสมอกับต้นฉบับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1442/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อสู้คดีเรื่องการครอบครองที่ดิน: ประเด็นความขัดแย้งกับการให้การ
ที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ฟ้องเพื่อปลดเปลื้องการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์เกิน 1 ปี โจทก์ย่อมเสียสิทธิตาม ป.พ.พ.มาตรา 1374นั้น คดีนี้จำเลยให้การต่อสู้และนำสืบแต่เพียงว่า จำเลยไม่ได้บุกรุกที่ดินโจทก์ที่พิพาทไม่ใช่ของโจทก์ แต่เป็นของจำเลย จึงไม่มีประเด็นเรื่องการรบกวนการครอบครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1374 เพราะการรบกวนการครอบครองจะเกิดมีขึ้นได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น ฎีกาของจำเลยจึงขัดกับประเด็นที่จำเลยต่อสู้ไว้ในคำให้การที่ว่าที่พิพาทเป็นของจำเลย แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับฎีกาข้อกฎหมายดังกล่าวมาก็เป็นการสั่งรับมาโดยไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1442/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาเรื่องการต่อสู้คดีที่ขัดแย้งกับข้ออ้างเดิม: ประเด็นการรบกวนการครอบครองและการอ้างสิทธิในที่ดิน
ที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ฟ้องเพื่อปลดเปลื้องการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์เกิน 1 ปี โจทก์ย่อมเสียสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1374 นั้น คดีนี้จำเลยให้การต่อสู้และนำสืบแต่เพียงว่า จำเลยไม่ได้บุกรุกที่ดินโจทก์ที่พิพาทไม่ใช่ของโจทก์ แต่เป็นของจำเลย จึงไม่มีประเด็นเรื่องการรบกวนการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1374 เพราะการรบกวนการครอบครองจะเกิดมีขึ้นได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น ฎีกาของจำเลยจึงขัดกับประเด็นที่จำเลยต่อสู้ไว้ในคำให้การที่ว่าที่พิพาทเป็นของจำเลย แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับฎีกาข้อกฎหมายดังกล่าวมาก็เป็นการสั่งรับมาโดยไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7003/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกล้างนิติกรรมโมฆียะเนื่องจากถูกข่มขู่ การให้การต่อสู้คดีถือเป็นการบอกล้างได้
การบอกล้างนิติกรรมที่เป็นโมฆียะ กฎหมายไม่ได้กำหนดแบบไว้ การที่จำเลยให้การต่อสู้คดีปฏิเสธความรับผิดตามสัญญาอ้างว่าถูกข่มขู่ จึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญาถือได้ว่าเป็นการบอกล้างโมฆียะกรรมแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2006/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับข้อเท็จจริงโดยการไม่ต่อสู้คดี ทำให้ไม่ต้องนำหลักฐานการมอบอำนาจมาแสดง
จำเลยให้การว่า สัญญาจำนองเป็นโมฆะเพราะมิได้ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อโจทก์ผู้รับจำนอง จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าการมอบอำนาจของโจทก์ในการทำสัญญาจำนองไม่ถูกต้องหรือผู้รับมอบอำนาจลงลายมือชื่อในสัญญาจำนองแทนโจทก์โดยมิได้มีการมอบอำนาจตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้อง จึงมีผลเท่ากับจำเลยยอมรับตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้องว่าการทำสัญญาจำนองโจทก์มอบอำนาจให้ผู้มีชื่อไปจดทะเบียนในฐานะผู้รับจำนองแทนโจทก์โดยถูกต้องแล้ว โจทก์จึงไม่ต้องนำหนังสือมอบอำนาจมาแสดงต่อศาล และในการสืบพยานของโจทก์โจทก์ก็นำผู้รับมอบอำนาจให้ไปจดทะเบียนในฐานะผู้รับจำนองแทนโจทก์มาเบิกความว่าได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ในการทำสัญญาจำนองกับจำเลยด้วยแล้ว ทางนำสืบของโจทก์จึงไม่ได้ขัด ต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94