พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6184/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาเรื่องสัญชาติไทยของบุคคลที่มีมารดาเป็นคนต่างด้าวและการถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ
การที่โจทก์ทั้งสิบสามไปรายงานตัวต่อสำนักงานกิจการญวนอพยพจังหวัดอุบลราชธานีว่าเป็นคนญวนอพยพ ตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศให้คนญวนอพยพที่มีอายุ 12 ปี ขึ้นไปมารายงานตัวต่อสำนักงานกิจการญวนอพยพก็เพราะกลัวว่าจะถูกจับกุม และก่อนฟ้องคดีนี้บิดาของโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 8 และเป็นตา ของโจทก์ที่ 12 ถึงที่ 13ได้มีหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดว่าโจทก์ทั้งสิบสามเป็นคนสัญชาติไทย ขอให้เพิกถอนชื่อโจทก์ทั้งสิบสามออกจากทะเบียนบ้านญวนอพยพ แต่ได้รับการปฏิเสธ แสดงว่าจำเลยทั้งสองยืนยันว่าโจทก์ดังกล่าวยังเป็นคนสัญชาติญวนอยู่ จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 แล้ว
โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 8 เป็นบุตรของนาง จ. โจทก์ที่ 9 ถึงที่ 11เป็นบุตรของโจทก์ที่ 1 ซึ่งนาง จ. และโจทก์ที่ 1 เป็นคนต่างด้าวเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรโดยมิได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองและไม่ปรากฏบิดา ที่ชอบด้วยกฎหมาย แม้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 8จะได้สัญชาติไทยโดยการเกิด สัญชาติไทยของโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 8 ก็ต้องถูกถอนตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ข้อ 1 โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 8 จึงมิใช่ผู้ที่มีสัญชาติไทย
โจทก์ที่ 12 และที่ 13 เกิดในราชอาณาจักรโดยมีโจทก์ที่ 5 และที่ 6 เป็นมารดาโจทก์ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ที่ 12 และที่ 13 จึงได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508 มาตรา 7(3) ถึงแม้โจทก์ที่ 5 และที่ 6 ซึ่งเป็นมารดาจะได้ถูกถอนสัญชาติไทย แต่มารดาโจทก์ก็เกิดในราชอาณาจักรมิใช่คนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง โจทก์ที่ 12 และที่ 13 จึงมิใช่บุคคลที่จะต้องถูกถอนสัญชาติไทยตามที่กำหนดไว้ในประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515.
โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 8 เป็นบุตรของนาง จ. โจทก์ที่ 9 ถึงที่ 11เป็นบุตรของโจทก์ที่ 1 ซึ่งนาง จ. และโจทก์ที่ 1 เป็นคนต่างด้าวเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรโดยมิได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองและไม่ปรากฏบิดา ที่ชอบด้วยกฎหมาย แม้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 8จะได้สัญชาติไทยโดยการเกิด สัญชาติไทยของโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 8 ก็ต้องถูกถอนตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ข้อ 1 โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 8 จึงมิใช่ผู้ที่มีสัญชาติไทย
โจทก์ที่ 12 และที่ 13 เกิดในราชอาณาจักรโดยมีโจทก์ที่ 5 และที่ 6 เป็นมารดาโจทก์ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ที่ 12 และที่ 13 จึงได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508 มาตรา 7(3) ถึงแม้โจทก์ที่ 5 และที่ 6 ซึ่งเป็นมารดาจะได้ถูกถอนสัญชาติไทย แต่มารดาโจทก์ก็เกิดในราชอาณาจักรมิใช่คนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง โจทก์ที่ 12 และที่ 13 จึงมิใช่บุคคลที่จะต้องถูกถอนสัญชาติไทยตามที่กำหนดไว้ในประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1223/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญชาติไทยโดยการเกิดและผลของการถอนสัญชาติที่ผิดหลักเกณฑ์ การฟ้องเพื่อระงับการละเมิดสิทธิ
ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ข้อ 1บัญญัติไว้ว่าให้ถอนสัญชาติไทยของบรรดาบุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรไทยโดยบิดาเป็นคนต่างด้าวหรือมารดาเป็นคนต่างด้าวแต่ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายและขณะที่เกิดบิดาหรือมารดานั้นเป็น (3) ผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ปรากฏว่าโจทก์เกิดในประเทศไทยและเป็นบุตรของนาง ต.คนสัญชาติไทยกับนายค. คนสัญชาติญวนบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย เช่นนี้โจทก์ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตาม พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7(3) และเป็นผู้ไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวที่จะถูกถอนสัญชาติไทยเนื่องจากบิดาโจทก์ซึ่งเป็นคนต่างด้าวนั้นเป็นบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และคำว่า 'บิดาเป็นคนต่างด้าว' ตามประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวหมายความถึงบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้นหาหมายความรวมถึงบิดาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วยไม่
การที่จำเลยถอนชื่อโจทก์ออกจากทะเบียนบ้านของโจทก์โดยอ้างว่าเป็นคนสัญชาติญวน ย่อมทำให้โจทก์เสียสิทธิต่าง ๆในฐานะเป็นคนสัญชาติไทย เป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ตามกฎหมายแพ่ง โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55
อายุความตามที่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 บัญญัติไว้หมายถึงการฟ้องเรียกเอาค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดเท่านั้น คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์เป็นบุคคลมีสัญชาติไทย และให้จำเลยเพิ่มชื่อโจทก์ลงในทะเบียนบ้านของโจทก์เป็นการฟ้องขอให้ระงับการกระทำละเมิดที่ยังมีอยู่ มิใช่เป็นการเรียกเอาค่าเสียหาย จึงหาอยู่ในบังคับต้องฟ้องคดีภายในกำหนด 1 ปี ตามบทมาตราดังกล่าวไม่.(ที่มา-ส่งเสริม)
การที่จำเลยถอนชื่อโจทก์ออกจากทะเบียนบ้านของโจทก์โดยอ้างว่าเป็นคนสัญชาติญวน ย่อมทำให้โจทก์เสียสิทธิต่าง ๆในฐานะเป็นคนสัญชาติไทย เป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ตามกฎหมายแพ่ง โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55
อายุความตามที่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 บัญญัติไว้หมายถึงการฟ้องเรียกเอาค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดเท่านั้น คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์เป็นบุคคลมีสัญชาติไทย และให้จำเลยเพิ่มชื่อโจทก์ลงในทะเบียนบ้านของโจทก์เป็นการฟ้องขอให้ระงับการกระทำละเมิดที่ยังมีอยู่ มิใช่เป็นการเรียกเอาค่าเสียหาย จึงหาอยู่ในบังคับต้องฟ้องคดีภายในกำหนด 1 ปี ตามบทมาตราดังกล่าวไม่.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 822/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนสัญชาติไทยตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 และการพิสูจน์สถานะการเข้ามาในราชอาณาจักรโดยชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยได้มีคำสั่งให้นายทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลเมืองนครพนมแก้ไขสัญชาติของโจทก์ทั้งสองในทะเบียนบ้านและสำเนาทะเบียนบ้านของโจทก์ทั้งสองจากสัญชาติไทยเป็นสัญชาติญวนและนายทะเบียนท้องถิ่นได้ปฏิบัติตามคำสั่งแล้วแม้การออกคำสั่งนั้นจะเป็นการปฏิบัติไปตามอำนาจหน้าที่และระเบียบแบบแผนของทางราชการก็ถือเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งสองแล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง บิดามารดาของโจทก์ทั้งสองเข้ามาในราชอาณาจักรไทยเมื่อเดือนพฤศจิกายน2483แต่มิได้ไปขอรับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวภายใน30วันตามความในมาตรา5แห่งพ.ร.บ.การทะเบียนคนต่างด้าวพุทธศักราช2479จนกระทั่งวันที่22สิงหาคม2488จึงได้ขอใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวเช่นนี้ในระหว่างที่ยังไม่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวนั้นพ.ร.บ.คนเข้าเมืองพุทธศักราช2480มาตรา29ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบิดามารดาของโจทก์ทั้งสองเข้ามาในราชอาณาจักรไทยโดยมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองที่ใช้อยู่ในขณะนั้นเมื่อโจทก์นำสืบไม่ได้ว่าบิดามารดาของโจทก์ได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองจึงต้องถือว่าในช่วงเวลาดังกล่าวนั้นบิดามารดาของโจทก์เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่337ข้อ1(3) โจทก์ที่1เกิดในประเทศไทยในระหว่างที่บิดามารดายังมิได้ไปขอรับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวจึงถือได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่บิดามารดาของโจทก์เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยมิได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองโจทก์ที่1จึงต้องถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่337ส่วนโจทก์ที่2เกิดหลังจากที่บิดามารดาได้รับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวแล้วกรณีจึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่โจทก์ที่2จะถูกถอนสัญชาติตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่337.