คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
การทำลาย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5112/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สาธารณสมบัติของแผ่นดิน: การอุทิศที่ดินเป็นถนนสาธารณะ แม้ไม่มีผู้ใช้หรือมีการตัดถนนใหม่ ก็ยังคงสภาพเป็นสาธารณสมบัติ
ถนนพิพาทตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1304(2)ทันทีที่มีผู้แสดงเจตนาอุทิศให้แม้ไม่มีประชาชนใช้ถนนพิพาทอีกหรือแม้ผู้อุทิศให้จะได้แสดงเจตนาโดยมีเงื่อนไขว่าหากทางราชการได้ตัดถนนสายใหม่ให้ยกเลิกถนนพิพาทก็หาทำให้ถนนพิพาทสิ้นสภาพความเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินไปไม่หรือแม้จะได้ครอบครองถนนพิพาทเป็นเวลานานเท่าใดก็ไม่มีสิทธิยึดถือเอาถนนพิพาทกลับมาเป็นกรรมสิทธิ์ของตนได้อีกตามมาตรา1306

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3038/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำลายทรัพย์สินที่ยังไม่ได้ยึดเป็นพยานหลักฐาน และการมีไม้หวงห้ามในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต
จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของไม้สักแปรรูป 166 แผ่น อันเป็นไม้หวงห้ามไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ในวันเกิดเหตุ เจ้าพนักงานได้ยึดไม้สักแปรรูปดังกล่าวของจำเลยที่ 2 เป็นของกลาง 108 แผ่นนำกลับไปที่หน่วยแล้วตีตรายึดไว้ทุกแผ่น จำเลยทั้งสี่ร่วมกันจุดไปเผาไม้สักแปรรูป 6 แผ่น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่เหลือจากการยึด ในวันรุ่งขึ้นพนักงานสอบสวนจึงยึดไม้ที่เหลือจากการถูกเผาอีก 52 แผ่น เช่นนี้ ไม้สักแปรรูป 6 แผ่นที่จำเลยทั้งสี่กับพวกร่วมกันเผายังไม่ใช่เป็นไม้ที่เจ้าพนักงานได้ยึดไว้เพื่อเป็นพยานหลักฐาน จำเลยทั้งสี่ไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 142 ประกอบด้วยมาตรา 80.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11850/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดการทำลายบัตรเลือกตั้ง แม้การเลือกตั้งถูกเพิกถอยภายหลัง การกระทำยังคงเป็นความผิดตามกฎหมาย
พ.ร.ฎ.ยุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2549 มาตรา 4 กำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปในวันที่ 2 เมษายน 2549 การที่จำเลยรับบัตรเลือกตั้งแบบแบ่งเขตและบัตรเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่ออย่างละ 1 ใบ จากคณะกรรมการการเลือกตั้ง จากนั้นจำเลยชูบัตรเลือกตั้งสองใบ พร้อมกับพูดว่า "ผมขอใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 65" แล้วฉีกบัตรเลือกตั้งทั้งสองใบทันทีในวันดังกล่าว ซึ่งเป็นวันเลือกตั้งทั่วไปตาม พ.ร.ฎ.ยุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2549 โดยขณะนั้นการเลือกตั้งยังมีผลในทางปฏิบัติอยู่ เมื่อจำเลยจงใจฉีกบัตรเลือกตั้งอันเป็นการกระทำด้วยประการใดๆ ให้บัตรเลือกตั้งชำรุดหรือเสียหายหรือให้เป็นบัตรเสีย การกระทำของจำเลยจึงครบองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 มาตรา 108 ที่บังคับใช้อยู่ในขณะเกิดเหตุแล้ว แม้ต่อมาศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัยว่าการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549 เป็นการเลือกตั้งไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มีผลเป็นการเพิกถอนการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามประกาศผลการเลือกตั้งของคณะกรรมการการเลือกตั้งดังกล่าว ตามคำวินิจฉัยที่ 9/2549 ของศาลรัฐธรรมนูญ แต่ขณะเกิดเหตุ ในวันเกิดเหตุเป็นวันเลือกตั้งตามกฎหมายและกระบวนการเลือกตั้งที่ดำเนินการให้มีการลงคะแนนโดยผู้มีสิทธิเลือกตั้งของกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งก็เป็นไปโดยอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายเช่นเดียวกับการไปใช้สิทธิเลือกตั้งของจำเลย คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญหาได้มีผลเป็นการลบล้างว่าไม่มีการกระทำของจำเลยเกิดขึ้นในวันดังกล่าว หรือการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามกฎหมายแต่ประการใดไม่ กรณีไม่ต้องด้วย ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง
แม้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 หมวด 3 ว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย มาตรา 65 บัญญัติว่า "บุคคลย่อมมีสิทธิต่อต้านโดยสันติวิธีซึ่งการกระทำใดๆ ที่เป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้" แต่บทบัญญัติมาตรา 28 วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติในหมวดเดียวกันได้บัญญัติไว้ด้วยว่า "บุคคลย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หรือใช้สิทธิและเสรีภาพของตนได้เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ หรือไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน" ดังนั้นการใช้สิทธิต่อต้านโดยสันติวิธีดังกล่าวต้องเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายด้วย