คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
การท่าเรือ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 122/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยไม่ใช่ผู้ร่วมขนส่งสินค้า แม้ติดต่อการท่าเรือและศุลกากร เนื่องจากไม่ได้เกี่ยวข้องกับการขนถ่ายสินค้าโดยตรง
เมื่อเรือเทียบท่าแล้วบริษัท ส.เป็นผู้ขนถ่ายสินค้าโดยบริษัท ฟ.เป็นผู้ว่าจ้าง จำเลยไม่ได้เกี่ยวข้องในการขนถ่ายสินค้า ส่วนใบสั่งปล่อยสินค้านั้นเรือจะออกใบสั่งปล่อยสินค้าให้ จำเลยเพียงแต่เป็นผู้ส่งใบปล่อยสินค้าให้แก่ผู้รับและเป็นผู้ออกใบสั่งปล่อยสินค้า ดังนี้ จำเลยเป็นผู้ติดต่อการท่าเรือแห่งประเทศไทยเพื่อขอนำเรือเทียบท่าและติดต่อกรมศุลกากรเท่านั้น จำเลยจึงไม่ใช่ผู้ร่วมขนส่งสินค้าพิพาทกับบริษัท ฟ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2719-2720/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานการท่าเรือจ่ายทรัพย์เกินกว่าที่ควร และราษฎรสนับสนุนการกระทำผิด
จำเลยเป็นพนักงานการท่าเรือแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายโดยเป็นเสมียนตรวจปล่อยสินค้าประจำโรงพักสินค้าของการท่าเรือแห่งประเทศไทยเป็นผู้ตรวจสอบสินค้าในรถยนต์บรรทุกและเขียนใบกำกับสินค้าตามที่เจ้าหน้าที่ศุลกากรสั่งปล่อย ย่อมเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่จ่ายทรัพย์หรือสินค้าตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 153

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2719-2720/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานการท่าเรือจ่ายทรัพย์เกินกว่าที่ควรจ่าย และราษฎรสนับสนุนการกระทำผิด
จำเลยเป็นพนักงานการท่าเรือแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายโดยเป็นเสมียนตรวจปล่อยสินค้าประจำโรงพักสินค้าของการท่าเรือแห่งประเทศไทย เป็นผู้ตรวจสอบสินค้าในรถยนต์บรรทุกและเขียนใบกำกับสินค้าตามที่เจ้าหน้าที่ศุลกากรสั่งปล่อย ย่อมเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่จ่ายทรัพย์หรือสินค้าตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 153

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 982/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกเว้นค่าภาระการขนถ่ายสินค้าเคมีเหลวที่เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงตามประกาศการท่าเรือและกฎหมายว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมัน
การท่าเรือแห่งประเทศไทยจำเลยได้กำหนดให้สินค้าน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นสินค้าประเภทหนึ่งที่อนุญาตให้ผู้นำเข้านำเรือไปจอดขนถ่ายสินค้านอกเขตท่าของจำเลยได้และยกเว้นให้ผู้นำเข้าไม่ต้องเสียค่าภาระหรือค่าธรรมเนียมขนขึ้นท่า ดังนั้นเมื่อปรากฏว่าสินค้าเคมีเหลวที่โจทก์นำเข้าเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงตามความหมายของคำวิเคราะห์ศัพย์คำว่า น้ำมันเชื้อเพลิง ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง พุทธศักราช 2474มาตรา 3 และสินค้าเคมีเหลวดังกล่าวก็มีชื่อตรงกันกับที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดชนิดของเหลวต่าง ๆ ที่เป็นน้ำมันเชื้อเพลิง ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2474 สินค้าเคมีเหลวของโจทก์จึงเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงและได้รับยกเว้นการเรียกเก็บค่าภาระหรือค่าธรรมเนียมขนขึ้นท่าตามที่จำเลยได้กำหนดไว้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2410/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดอาณาบริเวณการท่าเรือต้องชัดเจนตามกฎหมาย หากฟ้องไม่ระบุชัดเจน ศาลไม่สามารถลงโทษตามกฎหมายนั้นได้
ตาม พระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทย อาณาบริเวณที่เป็นเขตควบคุมบำรุงรักษาของการท่าเรือ ต้องกำหนดโดยพระราชกฤษฎีกามีแผนที่แสดงไว้โดยชัดแจ้ง ฟ้องบรรยายเพียงว่าเหตุเกิดรถชนกันบนถนนการท่าเรือ ไม่ชัดพอว่าอยู่ภายในบริเวณการท่าเรือ จึงลงโทษตาม พระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทยไม่ได้ ปัญหาข้อนี้แม้จำเลยไม่อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็ยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8457/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษีโรงเรือนและที่ดิน: กรณีสัญญาเช่าทรัพย์สินและผลกระทบต่อการยกเว้นภาษี
กรณีที่การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) ไม่พอใจคำชี้ขาดเนื่องจากเห็นว่าไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน ไม่ใช่กรณีที่ กทท. ไม่พอใจคำชี้ขาดเนื่องจากเห็นว่าจำนวนพื้นที่ประเมินไว้สูงเกินสมควร ซึ่งต้องนำเรื่องเสนอ ครม. เพื่อพิจารณาตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 31 วรรคท้าย โจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียในฐานะเป็นผู้ชำระค่าภาษีแทน กทท. ย่อมมีอำนาจฟ้องในประเด็นนี้ได้
สัญญาเช่านอกจากจะอนุญาตให้โจทก์เข้าบริหารประกอบการท่าเทียบเรือแล้ว ยังให้สิทธิโจทก์ใช้ทรัพย์สินของ กทท. โดย กทท. มีหน้าที่ต้องส่งมอบทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับท่าเทียบเรือบี 1 ให้แก่โจทก์ใช้ประโยชน์และพัฒนาท่าเทียบเรือ โดยโจทก์ต้องจ่ายค่าตอบแทน ซึ่งมีวัตถุประสงค์เป็นการเช่าทรัพย์สินด้วย กทท. จึงไม่ได้รับการยกเว้นภาษีตามมาตรา 17 แห่ง พ.ร.บ.การท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 และมีหน้าที่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน และหาก กทท. ไม่พอใจคำชี้ขาดของจำเลยที่ 2 เนื่องจากเห็นว่าจำนวนเงินซึ่งประเมินไว้สูงเกินสมควร กทท. จะต้องนำเรื่องเสนอ ครม. เพื่อพิจารณาภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำชี้ขาดตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 31 วรรคท้าย เมื่อ กทท. ได้นำคำชี้ขาดเสนอ ครม. ภายในสามสิบวันแล้ว แต่ ครม. ยังไม่มีมติ กทท. จึงไม่มีอำนาจฟ้อง โจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียจึงต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติของ มาตรา 31 วรรคท้าย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5430/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน: การประเมินค่ารายปีต้องเป็นไปตามกฎหมาย และการท่าเรือฯ ต้องดำเนินการตามขั้นตอนก่อนฟ้อง
โจทก์ฟ้องขอคืนเงินค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินโดยอ้างว่า ท่าเทียบเรือบี 3 เป็นทรัพย์สินของ กทท. ที่ใช้ในกิจการสาธารณะโดยตรง ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินตามมาตรา 9 (2) ซึ่งเป็นบทบัญญัติในภาค 1 ของ พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ จึงเป็นหน้าที่ของ กทท. ในฐานะผู้รับประเมินที่จะต้องจัดทำคำขอยกเว้นภาษีตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อที่พนักงานเจ้าหน้าที่สอบสวนให้แน่นอนก่อนว่าทรัพย์สินที่พิพาทควรได้รับยกเว้นภาษีหรือไม่ หากพนักงานเจ้าหน้าที่มีคำสั่งยกคำขอ กทท. ก็มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้จำเลยที่ 2 พิจารณาชี้ขาดและฟ้องคดีต่อศาลตามลำดับตามมาตรา 34 ประกอบมาตรา 25 และมาตรา 31 เมื่อไม่ปรากฏว่า กทท. ได้ยื่นคำร้องขอยกเว้นภาษี พนักงานเจ้าหน้าที่จึงยังมิได้สอบสวนว่าทรัพย์สินนั้นควรจะได้รับยกเว้นหรือไม่ และการที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ในคดีนี้ก็เป็นการโต้แย้งการประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 24 มิใช่การยื่นคำร้องขอให้จำเลยที่ 2 พิจารณาคำชี้ขาดของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 34 ประกอบมาตรา 25 และมาตรา 26 ที่สืบเนื่องมาจากการขอยกเว้นค่าภาษีตามมาตรา 33 โจทก์จึงไม่มีสิทธิยกปัญหานี้ขึ้นสู่การพิจารณาของศาลภาษีอากรกลางเพื่อโต้แย้งว่าทรัพย์สินที่พิพาทได้รับยกเว้นภาษีตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 33 และมาตรา 34 กรณีเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 29 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) และมาตรา 246
ปัญหาว่าค่ารายปีควรเป็นเท่าใดนั้น เป็นกรณีที่โจทก์เห็นว่า จำนวนเงินที่พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งการประเมินและจำเลยที่ 2 มีคำชี้ขาดยืนตามการประเมินนั้นมีจำนวนสูงเกินสมควร กทท. จึงต้องนำเรื่องเสนอต่อคณะรัฐมนตรีภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับแจ้งคำชี้ขาดตามมาตรา 31 วรรคท้าย แต่ไม่ปรากฏว่า กทท. นำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี ดังนั้น เมื่อ กทท. ยังไม่ดำเนินการตามมาตรา 31 วรรคท้าย กทท.และโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง