พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4834/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีสัญญาจ้างแรงงานและการรับสภาพหนี้: การนับอายุความที่ถูกต้องและการขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 และที่ 3 กระทำละเมิดต่อโจทก์และผิดหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงาน ซึ่งหากถือเอาอายุความเกี่ยวกับการละเมิดมาบังคับใช้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 โจทก์จะต้องใช้สิทธิเรียกร้องภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้พึงจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน ทั้งนี้ต้องไม่เกินสิบปีนับแต่วันทำละเมิด แต่เมื่อโจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องตามสัญญาจ้างแรงงานมาด้วย ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 โดยนับจากวันที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้อง คือวันที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 กระทำผิดสัญญาจ้างแรงงาน หาใช่นับแต่วันที่โจทก์ทราบการกระทำผิดไม่ ซึ่งระยะเวลาทั้ง 2 กรณี เมื่อนับถึงวันฟ้องเกินสิบปีแล้ว คดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 และที่ 3 จึงขาดอายุความ จำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจึงหลุดพ้นจากความรับผิดไปด้วย
จำเลยที่ 2 ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้แก่โจทก์ไว้เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2544 อายุความจึงสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14 (1) เมื่อการรับสภาพหนี้ดังกล่าวเกิดจากสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจ้างแรงงานซึ่งมิได้กำหนดอายุความไว้เป็นการเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30 และต้องเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2544 คิดถึงวันฟ้องยังไม่เกินสิบปี คดีโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 2 ไม่ขาดอายุความ
จำเลยที่ 2 ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้แก่โจทก์ไว้เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2544 อายุความจึงสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14 (1) เมื่อการรับสภาพหนี้ดังกล่าวเกิดจากสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจ้างแรงงานซึ่งมิได้กำหนดอายุความไว้เป็นการเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30 และต้องเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2544 คิดถึงวันฟ้องยังไม่เกินสิบปี คดีโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 2 ไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 97/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีสัญญาจ้างเหมา คำให้การต่อสู้เรื่องอายุความชอบด้วยกฎหมาย การนับอายุความเริ่มจากวันที่จำเลยไม่ชำระเงิน
จำเลยร่วมให้การว่าอายุความตามสัญญาที่ฟ้องมีกำหนด2ปีซึ่งสิ้นสุดลงเมื่อวันที่2ธันวาคม2528โจทก์ไม่ฟ้องจำเลยร่วมภายในเวลาดังกล่าวฟ้องโจทก์ขาดอายุความดังนี้คำให้การของจำเลยร่วมได้แสดงเหตุแห่งการขาดอายุความแล้วไม่จำต้องกล่าวว่าเหตุใดจึงมีอายุความ2ปีและอายุความเริ่มนับแต่เมื่อใดเพราะเป็นเพียงรายละเอียดซึ่งนำสืบในชั้นพิจารณาได้และเป็นหน้าที่ของศาลที่จะปรับบทตามกฎหมายคำให้การของจำเลยร่วมจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา177วรรคสอง โจทก์เรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีหลังจากศาลชั้นต้นชี้สองสถานแล้วเมื่อจำเลยร่วมให้การต่อสู้เรื่องอายุความไว้การที่ศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่ในเรื่องอายุความตามข้อต่อสู้ของจำเลยร่วมและจำเลยร่วมไม่ได้คัดค้านจะถือว่าจำเลยร่วมพอใจในประเด็นข้อพิพาทเพียงเท่าที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้เท่านั้นหาได้ไม่คดีมีประเด็นเรื่องอายุความการที่ศาลอุทธรณ์ยกอายุความขึ้นวินิจฉัยจึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น โจทก์ถมทรายงวดที่4ที่5เสร็จก่อนกำหนดเวลาส่งมอบตามสัญญาโจทก์จึงส่งมอบงานและส่งใบแจ้งหนี้แก่จำเลยร่วมลงวันที่1ธันวาคม2526ซึ่งจำเลยร่วมต้องชำระเงินภายใน3วันนับแต่วันได้รับใบแจ้งหนี้ตามข้อกำหนดในสัญญาแต่วันครบกำหนดคือวันที่4ธันวาคม2526เป็นวันอาทิตย์วันที่5เป็นวันหยุดราชการจำเลยร่วมจึงต้องชำระเงินภายในวันที่6ธันวาคม2526เมื่อจำเลยร่วมไม่ชำระโจทก์ย่อมเกิดสิทธิเรียกร้องบังคับได้อายุความจึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่7ธันวาคม2526เป็นต้นไปเมื่อโจทก์เรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีวันที่17มกราคม2529จึงเกิน2ปีคดีโจทก์ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 619/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการครอบครองปรปักษ์ในที่ดินมีข้อห้ามโอนสิทธิ การนับระยะเวลาครอบครองต้องพ้นระยะห้ามโอน
ผู้คัดค้านได้สละการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้องตั้งแต่วันทำหนังสือสัญญาซื้อขาย แต่ที่พิพาทมีข้อบังคับห้ามโอนภายใน 10 ปี นับแต่วันที่ผู้คัดค้านได้รับโฉนดที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 31 แสดงว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่ทางราชการจัดให้ราษฎรทำกินบทบัญญัติดังกล่าวมีเจตนาจะปกป้องราษฎรให้มีที่ทำกินเป็นเวลาอย่างน้อย 10 ปี และภายในระยะเวลาดังกล่าวทางราชการได้ควบคุมที่ดินนี้อยู่ ยังไม่ปล่อยให้เป็นสิทธิเด็ดขาดแก่ผู้คัดค้านจึงไม่อาจสละหรือโอนการครอบครองที่ดินตามหนังสือสัญญาซื้อขายให้แก่ผู้ร้องได้ ทั้งผู้ร้องจะเอาระยะเวลาการครอบครองซึ่งอยู่ภายในข้อบังคับห้ามโอนกรรมสิทธิ์มารวมคำนวณเป็นระยะเวลาครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382 หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2002/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความเรียกค่าภาษีอากร: เจตนาหลีกเลี่ยง vs. เหตุสุดวิสัย และการนับอายุความที่ถูกต้อง
อายุความในการเรียกค่าภาษีอากรตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469 เป็นเรื่องอายุความเฉพาะกรณีที่กรมศุลกากรเรียกเงินอากรขาดเพราะเหตุตาม มาตรา 10 วรรคสาม แต่กรณีที่จำเลยเจตนาหลีกเลี่ยงค่าภาษีอากร ซึ่งพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469 มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ ต้องใช้อายุความทั่วไปเกี่ยวกับการเรียกค่าภาษีอากร ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 167 เดิม คือสิบปี นับเริ่มแต่ขณะที่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 169 เดิม ค่าภาษีการค้าและค่าภาษีบำรุงเทศบาลซึ่งเป็นภาษีการค้าด้วยนั้น ประมวลรัษฎากร มิได้บัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ ต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167เดิม และ 169 เดิม มีอายุความสิบปี นับเริ่มแต่ขณะที่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้ จำเลยชำระค่าภาษีและวางเงินประกันค่าภาษีวันที่ 24 ธันวาคม 2518 อายุความจริงเริ่มนับแต่วันนี้เป็นต้นไป ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 78 เบญจ (1)และประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยภาษีการค้า (ฉบับที่ 7) การกระทำผิดในทางอาญา หาได้ก่อให้เกิดหนี้ค่าภาษีอากรในทางแพ่งในขณะเดียวกับการกระทำผิดทางอาญาโดยตรงไม่ แต่หนี้เกิดเพราะการนำเข้าสำเร็จและกฎหมายให้ถือว่าได้ขายสินค้านั้น ๆ คดีนี้จึงมิใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา อายุความคดีอาญาถึงที่สุดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 822/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีอาญา: การผ่อนผันหนี้โดยโจทก์ไม่ทำให้การนับอายุความเริ่มต้นใหม่
ผู้เสียหายทราบถึงการกระทำผิดฐานยักยอกของจำเลยแล้วตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม 2530 ส่วนที่ผู้เสียหายให้จำเลยนำเงินที่ขาดมาส่งมอบให้ผู้เสียหายภายใน 30 วัน นับจากวันดังกล่าว เป็นเรื่องที่ผู้เสียหายผ่อนผันให้โอกาสจำเลยนำเงินมาคืนผู้เสียหายเพื่อผู้เสียหายจะไม่ดำเนินคดีแก่จำเลย ไม่มีผลที่จะทำให้ถือว่าผู้เสียหายเพิ่งทราบถึงการกระทำผิดของจำเลยเมื่อพ้นกำหนด 30 วันนับจากวันที่ผู้เสียหายผ่อนผันให้จำเลยนำเงินมาคืน เมื่อผู้เสียหายไปร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยเมื่อพ้นกำหนด 3 เดือนนับจากวันที่ 31 สิงหาคม 2530 ซึ่งเป็นวันที่ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด คดีจึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1871/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความตั๋วสัญญาใช้เงิน ผลกระทบจากการทวงหนี้ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และการนับอายุความตามกฎหมาย
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งความเป็นหนังสือไปยังผู้ร้องให้ชำระหนี้ตามตั๋ว สัญญาใช้เงินแก่ลูกหนี้ซึ่งถูกพิทักษ์ทรัพย์ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 119 วรรคแรก เป็นการบังคับตามสิทธิเรียกร้องลูกหนี้ ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจทำได้โดยไม่ต้องฟ้องคดีต่อศาล ถือว่าเป็นการทำการอื่นใดอันนับว่ามีผลเป็นอย่างเดียวกับการฟ้องคดี อันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 173 โดยไม่ต้องรอให้มีการออกหนังสือแจ้งยืนยันหนี้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 119 วรรคสอง เสียก่อน อายุความเป็นระยะเวลาอย่างหนึ่ง การนับอายุความจึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 158 ประกอบด้วย มาตรา 159 วรรคสองกล่าวคือ กรณีที่นับเป็นปี มิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลารวมคำนวณเข้าด้วย เมื่อระยะเวลามิได้เริ่มนับจากวันแรกของปี ระยะเวลาที่นับนั้นจึงสิ้นสุดลงในวันก่อนหน้าจะถึงวันแห่งปีสุดท้ายอันเป็นวันตรงกับเริ่มระยะเวลา อายุความตามตั๋ว สัญญาใช้เงินพิพาทมีกำหนด 3 ปี นับแต่วันทวงถาม คือ วันที่ 2 กันยายน 2526 วันสุดท้ายของอายุความจึงได้แก่วันที่ 2 กันยายน 2529เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหนังสือทวงหนี้ไปยังผู้ร้องตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 119 วรรคแรก เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2529 จึงยังไม่ขาดอายุความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 114/2482
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความมรดก: การปกครองทรัพย์สินแทนบุตร, การสิ้นสุดการปกครองเมื่อบรรลุนิติภาวะ และการนับอายุความ
พฤติการณ์ที่ถือว่ามารดามิได้ปกครองทรัพย์แทนบุตร์บิดาตายมา 20 ปีกว่าแล้วแต่ในขณะบิดาตายบุตร์ยังเป็นผู้เยาว์อยู่ แต่ก็ได้บรรลุนิติภาวะมาก่อน+ถึง 10 ปีกว่าแล้ว ในระหว่างนั้นมารดาปกครองทรัพย์นั้นมาร สิทธิเรียกร้องของบุตร์ในทรัพย์มฤดกของบิดาย่อมขาดอายุความเมื่อไม่ได้ความว่ามารดาได้ปกครองทรัพย์นี้นแทนบุตร์ การที่มารดาใช้อำนาจปกครองบุตร์ผู้เยาว์มานั้นน+ถือว่ามารดาได้ปกครองทรัพย์ของบุตร์ด้วย แต่เมื่อบุรต์บรรลุนิติภาวะแล้วการปกครองทรัพย์แทนบุตร์โดยอำนาจกฏหมายย่อมสิ้นสุดลง ต่อไปต้องถือตามความจริง +ความมฤดกอย่างยาว +0 ปีต้องเริ่มนับแต่วันที่มีสิทธิรับมฤดกมีสิทธิเรียกร้องขึ้นหาใช่นับแต่วันผู้มีสิทธิรับมฤดกรู้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10588/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีบุกรุก และการนับอายุความคดีอาญาที่ผิดพลาดเรื่องเลขที่โฉนด
โจทก์ร่วมเป็นผู้รับมรดกตามพินัยกรรม เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตายที่ดินพิพาทย่อมตกเป็นมรดกของโจทก์ร่วม จำเลยบุกรุกที่ดินพิพาทภายหลังเจ้ามรดกตาย โจทก์ร่วมย่อมเป็นผู้เสียหายมีอำนาจร้องทุกข์ดำเนินคดีได้ แม้โจทก์ร่วมจะจดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินพิพาทภายหลังเกิดเหตุคดีนี้แล้วก็ตาม โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์ร่วมร้องทุกข์ว่าจำเลยบุกรุกที่ดินพิพาทภายใน 3 เดือนนับแต่โจทก์ร่วมรู้เรื่องการกระทำความผิดของจำเลยแล้ว การที่โจทก์ร่วมแจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเลขที่โฉนดที่ดินพิพาทผิดพลาดเป็นเพียงรายละเอียด แม้ต่อมาจะมีการให้การเพิ่มเติมและส่งเอกสารเกี่ยวกับที่ดินพิพาทในภายหลังโดยมีการแก้ไขเลขที่โฉนดให้ถูกต้องหลังจากพ้นกำหนดเวลา 3 เดือนนับแต่โจทก์ร่วมรู้ถึงการกระทำความผิด ก็ถือว่าการร้องทุกข์สมบูรณ์ตั้งแต่วันที่โจทก์ร่วมแจ้งความร้องทุกข์ครั้งแรกแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์ร่วมร้องทุกข์ว่าจำเลยบุกรุกที่ดินพิพาทภายใน 3 เดือนนับแต่โจทก์ร่วมรู้เรื่องการกระทำความผิดของจำเลยแล้ว การที่โจทก์ร่วมแจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเลขที่โฉนดที่ดินพิพาทผิดพลาดเป็นเพียงรายละเอียด แม้ต่อมาจะมีการให้การเพิ่มเติมและส่งเอกสารเกี่ยวกับที่ดินพิพาทในภายหลังโดยมีการแก้ไขเลขที่โฉนดให้ถูกต้องหลังจากพ้นกำหนดเวลา 3 เดือนนับแต่โจทก์ร่วมรู้ถึงการกระทำความผิด ก็ถือว่าการร้องทุกข์สมบูรณ์ตั้งแต่วันที่โจทก์ร่วมแจ้งความร้องทุกข์ครั้งแรกแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ