คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
การบริหารจัดการ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6960/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหยุดงานชั่วคราวของนายจ้างต้องมีเหตุผลสำคัญกระทบต่อกิจการ มิใช่ปัญหาการบริหารจัดการหรือขาดการวางแผน
ความจำเป็นของนายจ้างที่จะยกขึ้นอ้างเพื่อให้ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 75 วรรคหนึ่ง จะต้องเป็นความจำเป็นที่สำคัญอันจะมีผลกระทบต่อการประกอบกิจการของนายจ้างอย่างมาก ทำให้นายจ้างไม่สามารถประกอบกิจการตามปกติได้ มิใช่เป็นแต่เพียงความจำเป็นทั่ว ๆ ไป เล็ก ๆ น้อย ๆ ซึ่งไม่ส่งผลกระทบต่อกิจการของนายจ้างมากนัก อีกทั้งระยะเวลาในการแก้ไขเหตุแห่งความจำเป็นนั้นจะต้องมีกำหนดเวลาที่แน่นอนติดต่อกันอย่างพอสมควร การที่ในระหว่างวันที่ 1 กันยายน 2545 ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2545 โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างมีคำสั่งให้ลูกจ้างบางส่วนคือ ท. กับพวกรวม 444 คน หยุดงานชั่วคราวเป็นระยะ ๆ จำนวน 17 ครั้ง ครั้งหนึ่งไม่เกิน 2 วัน รวม 31 วัน แม้โจทก์จะอ้างว่ายอดสั่งซื้อสินค้าลดลงก็ตาม ลักษณะการสั่งให้หยุดงานชั่วคราวของโจทก์ดังกล่าวเป็นการหยุดงานตามที่โจทก์คาดหมายว่าจะประสบปัญหาการสั่งซื้อสินค้าของลูกค้าซึ่งไม่มีความแน่นอน ประกอบกับโจทก์มีปัญหาด้านแรงงานกับลูกจ้างและบางครั้งโจทก์ขาดวัตถุดิบเนื่องจากไม่ได้กักตุนวัตถุดิบไว้ ความจำเป็นในการหยุดงานชั่วคราวของโจทก์จึงเป็นผลสืบเนื่องมาจากการบริหารจัดการของโจทก์เองที่ขาดการวางแผนงานที่ดีและมีปัญหาด้านแรงงาน มิใช่เป็นเหตุจำเป็นถึงขนาดต้องหยุดกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราวตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 75 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2846/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลดจากล้มละลาย: พิจารณาจากทรัพย์สิน, การบริหารจัดการ, และความสามารถในการชำระหนี้
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 3 เป็น บุคคล ล้มละลาย เมื่อ นับ ถึง วันที่ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ยื่น คำร้องขอ ปลด จาก ล้มละลาย เป็น เวลา เพียง 2 ปี 7 เดือน เศษ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ รวบรวม ทรัพย์สิน ของ จำเลย ทั้ง สาม และ ทำ บัญชี ส่วนแบ่ง ให้ โจทก์ ได้รับ ชำระหนี้ เพียง ครั้งเดียว เป็น เงิน 729,785.96 บาท หรือ คิด เป็น ร้อยละ 1.54 ของ หนี้ ทั้งหมด โจทก์ ยัง มีสิทธิ ได้รับ ชำระหนี้ อีก 46,568,912.44 บาท และ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ ไม่สามารถ รวบรวม ทรัพย์สิน ของ จำเลย ทั้ง สาม ได้ อีก และ การ ที่ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 มี ทรัพย์สิน เหลือ ไม่ถึง ห้า สิบ ใน ร้อย ของ หนี้ ที่ ไม่มี ประกัน ไม่ใช่ ผล ธรรมดา อัน เนื่องมาจาก การค้า ขาย ขาดทุน และ ไม่ใช่ เป็นเหตุ สุดวิสัย แต่ เป็น เพราะ ความผิด พลาด ใน การ บริหาร งาน ของ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 อันควร จะ ตำหนิ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 นอกจาก นี้ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ไม่อาจ แสดง ให้ เป็น ที่ พอใจ ต่อ ศาล ได้ว่า จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 มีเหตุ ผล ที่ ควร เชื่อ ได้ว่า ตน สามารถ ชำระหนี้ โจทก์ ได้ จึง ได้ ก่อหนี้ ขึ้น เป็น จำนวน มาก ทั้ง มิได้ นำ บัญชี ใน การ ประกอบ ธุรกิจ และ งบดุล ประจำปี ใน ระยะเวลา 3 ปี ก่อน ล้มละลาย มา แสดง ต่อ ศาล เพื่อ ให้ เห็น ฐานะ ของ กิจการ โดย ถูกต้อง ตาม จริง พฤติการณ์ ของ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ต้องด้วย สันนิษฐาน ตาม พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 74 ว่า จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ขืน กระทำการ ค้าขาย ต่อไป อีก โดย รู้ อยู่ แล้ว ว่า ไม่สามารถ จะ ชำระหนี้ ได้ ต้องด้วย ข้อกำหนด มาตรา 73(1) และ (3) ประกอบ กับ โจทก์ คัดค้าน การ ขอ ปลด จาก ล้มละลาย ของ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 จึง นับ ว่า มีเหตุ ที่ ไม่สมควร ปลด จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 จาก ล้มละลาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5847/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของสมาชิกหมู่บ้านจัดสรร: สิทธิในการตรวจสอบการบริหารจัดการนิติบุคคล vs. อำนาจบริหาร
นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร สวนแหลมทอง 2 จำเป็นต้องมีคณะกรรมการนิติบุคคลเพื่อดำเนินการของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรฯ ในกิจการเกี่ยวกับบุคคลภายนอก ตามข้อบังคับของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรฯ ข้อ 8 ซึ่งสอดคล้องกับมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 ดังนั้น แม้คณะกรรมการนิติบุคคลชุดที่ 3 ซึ่งมีจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เป็นกรรมการอยู่ด้วยจะครบวาระแล้วก็ตาม แต่เมื่อยังไม่มีคณะกรรมการชุดใหม่เข้ามาบริหารดำเนินกิจการของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรฯ และดำเนินกิจการเกี่ยวกับบุคคลภายนอก คณะกรรมการชุดนี้จึงยังคงมีอำนาจดำเนินกิจการต่อไปได้ เพราะหากถือว่าคณะกรรมการชุดนี้ไม่มีอำนาจบริหารกิจการของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรฯ ย่อมทำให้เกิดปัญหาขัดข้องในการดำเนินกิจการของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรฯ ได้
ส่วนการที่คณะกรรมการชุดนี้ไม่จัดให้มีการประชุมใหญ่เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการชุดใหม่นั้น โจทก์ทั้งแปดสามารถรวบรวมสมาชิกที่มีสิทธิลงคะแนนให้ได้ไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าเสนอวาระเลือกตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ต่อคณะกรรมการนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรฯ ซึ่งคณะกรรมการนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรฯ จะต้องจัดให้มีการประชุมภายใน 30 วัน นับแต่ได้รับหนังสือ ซึ่งอยู่ในวิสัยที่โจทก์ทั้งแปดจะกระทำได้
โจทก์ทั้งแปดเป็นเพียงสมาชิกของหมู่บ้านจัดสรร สวนแหลมทอง 2 ไม่มีอำนาจบริหารกิจการของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรฯ ไม่มีอำนาจใดที่จะบังคับให้จำเลยทั้งสี่ดำเนินการตามคำขอของโจทก์ทั้งแปดได้ การที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ยังคงปฏิบัติหน้าที่กรรมการในคณะกรรมการนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรฯ ไม่ได้เป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ทั้งแปดแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7819/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารมีสิทธิบริหารจัดการเงินฝาก, ความผิด พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์เป็นความผิดรัฐ เอกชนไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ที่ 1 ฝากเงินไว้กับธนาคารจำเลยที่ 1 เงินจำนวนดังกล่าวจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์และอยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้รับฝากย่อมมีสิทธิที่จะบริหารจัดการเงินฝากนั้นประการใดก็ได้ คงมีหน้าที่เพียงต้องคืนเงินฝากตามจำนวนที่โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นลูกค้านำเข้าฝากไว้เท่านั้น โดยไม่จำต้องส่งคืนเป็นเงินจำนวนอันเดียวกับที่ฝากไว้ การที่จำเลยที่ 1 เบิกถอนเงินออกจากบัญชีเงินฝากของโจทก์ที่ 1 จึงมิใช่เป็นการเอาทรัพย์ของโจทก์ทั้งสองไป ไม่ครบองค์ประกอบความผิดฐานลักทรัพย์
พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 มาตรา 12 (9) บัญญัติขึ้นเพื่อควบคุมและกำกับการประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ กับเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนเป็นส่วนรวม อันเป็นความผิดที่รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นเอกชนไม่ใช่ผู้เสียหายในกรณีธนาคารพาณิชย์กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 มาตรา 12 (9) โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้อง