พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3233/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายเลิกกันหรือไม่: การชำระหนี้ล่าช้าไม่ใช่เหตุเลิกสัญญาหากไม่ถือเป็นสาระสำคัญ
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินและอาคารของโจทก์ ซึ่งตามคำฟ้องและคำให้การได้ความว่า จำเลยครอบครองที่ดินและอาคารโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์และจำเลย ทั้งโจทก์และจำเลยยังโต้แย้งกันด้วยว่าสัญญาดังกล่าวเลิกกันแล้วหรือไม่ หากสัญญาดังกล่าวเลิกกันโดยชอบย่อมเป็นเหตุให้โจทก์มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้ ดังนั้น ปัญหาว่าสัญญาดังกล่าวเลิกกันแล้วโดยชอบหรือไม่ จึงเป็นประเด็นแห่งคดีซึ่งปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลจึงมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
จำเลยชำระราคาให้แก่โจทก์ล่าช้าไม่ตรงตามกำหนดระยะเวลาในสัญญาจะซื้อจะขายแต่โจทก์ก็รับชำระ แสดงว่าคู่สัญญาไม่ได้ถือเอากำหนดระยะเวลาชำระหนี้ตามสัญญาเป็นข้อสาระสำคัญ ถือได้ว่าสัญญาจะซื้อจะขายเป็นสัญญาที่ไม่ได้กำหนดระยะเวลาชำระราคาไว้ การที่จำเลยไม่ชำระราคาในงวดถัดไปภายในกำหนดระยะเวลาตามสัญญาจึงไม่เป็นเหตุให้สัญญาเลิกกันตามข้อตกลงในสัญญา โจทก์ต้องบอกกล่าวกำหนดระยะเวลาพอสมควรให้จำเลยชำระหนี้เสียก่อน ถ้าจำเลยไม่ชำระหนี้จึงมีสิทธิเลิกสัญญาได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 387
จำเลยชำระราคาให้แก่โจทก์ล่าช้าไม่ตรงตามกำหนดระยะเวลาในสัญญาจะซื้อจะขายแต่โจทก์ก็รับชำระ แสดงว่าคู่สัญญาไม่ได้ถือเอากำหนดระยะเวลาชำระหนี้ตามสัญญาเป็นข้อสาระสำคัญ ถือได้ว่าสัญญาจะซื้อจะขายเป็นสัญญาที่ไม่ได้กำหนดระยะเวลาชำระราคาไว้ การที่จำเลยไม่ชำระราคาในงวดถัดไปภายในกำหนดระยะเวลาตามสัญญาจึงไม่เป็นเหตุให้สัญญาเลิกกันตามข้อตกลงในสัญญา โจทก์ต้องบอกกล่าวกำหนดระยะเวลาพอสมควรให้จำเลยชำระหนี้เสียก่อน ถ้าจำเลยไม่ชำระหนี้จึงมีสิทธิเลิกสัญญาได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 387
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2575/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างต้องพิจารณาจากการกระทำของนายจ้าง ไม่ใช่แค่การบอกกล่าว การเรียกคืนทรัพย์สินและสั่งหยุดงานถือเป็นการเลิกจ้าง
พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 118 วรรคสอง บัญญัติว่า "การเลิกจ้างตามมาตรานี้หมายความว่า การกระทำใดที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้ ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเพราะเหตุอื่นใด และหมายความรวมถึงกรณีที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่ดำเนินกิจการต่อไป" ดังนั้น การจะวินิจฉัยว่ามีการเลิกจ้างแล้วหรือไม่จึงต้องพิจารณาถึงการกระทำของนายจ้างประกอบด้วย จะพิจารณาเพียงว่ามีการบอกกล่าวเลิกจ้างด้วยวาจาหรือเลิกจ้างเป็นหนังสือแล้วหรือไม่ ย่อมไม่ได้
ธ. ประธานกรรมการบริหารของจำเลยแจ้งในที่ประชุมว่าขอให้โจทก์ลาออกโดยจะให้ค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้าง 3 เดือน และให้เวลาโจทก์ปรึกษากับครอบครัวก่อน 3 วัน แต่ในวันเดียวกันนั้นเอง ธ. ขอรถยนต์ประจำตำแหน่งที่โจทก์ใช้อยู่คืน โดยในช่วงระยะเวลา 3 วันนี้โจทก์ไม่ต้องไปทำงาน ซึ่งหาก ธ. ยังให้โอกาสโจทก์ตัดสินใจเสียก่อนดังที่แจ้งต่อโจทก์ ก็ไม่มีเหตุผลใดที่ต้องเรียกเอารถประจำตำแหน่งคืนเสียตั้งแต่วันนั้น และไม่มีเหตุผลใดที่จะให้โจทก์หยุดทำงาน การกระทำของ ธ. มีลักษณะไม่ยอมให้โจทก์ทำงานให้จำเลยอีก ถือได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ตั้งแต่วันที่เรียกเอารถประจำตำแหน่งคืนจากโจทก์แล้ว หาใช่วันที่จำเลยคัดชื่อโจทก์ออกจากการเป็นพนักงานของจำเลยอันเป็นระยะเวลาหลังจากนั้นไม่
ธ. ประธานกรรมการบริหารของจำเลยแจ้งในที่ประชุมว่าขอให้โจทก์ลาออกโดยจะให้ค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้าง 3 เดือน และให้เวลาโจทก์ปรึกษากับครอบครัวก่อน 3 วัน แต่ในวันเดียวกันนั้นเอง ธ. ขอรถยนต์ประจำตำแหน่งที่โจทก์ใช้อยู่คืน โดยในช่วงระยะเวลา 3 วันนี้โจทก์ไม่ต้องไปทำงาน ซึ่งหาก ธ. ยังให้โอกาสโจทก์ตัดสินใจเสียก่อนดังที่แจ้งต่อโจทก์ ก็ไม่มีเหตุผลใดที่ต้องเรียกเอารถประจำตำแหน่งคืนเสียตั้งแต่วันนั้น และไม่มีเหตุผลใดที่จะให้โจทก์หยุดทำงาน การกระทำของ ธ. มีลักษณะไม่ยอมให้โจทก์ทำงานให้จำเลยอีก ถือได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ตั้งแต่วันที่เรียกเอารถประจำตำแหน่งคืนจากโจทก์แล้ว หาใช่วันที่จำเลยคัดชื่อโจทก์ออกจากการเป็นพนักงานของจำเลยอันเป็นระยะเวลาหลังจากนั้นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2575/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างต้องพิจารณาจากการกระทำของนายจ้าง ไม่ใช่แค่การบอกกล่าว การเรียกคืนรถและให้หยุดงานถือเป็นการเลิกจ้าง
การที่จะวินิจฉัยว่ามีการเลิกจ้างแล้วหรือไม่ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118 ต้องพิจารณาถึงการกระทำของนายจ้างประกอบด้วย จะพิจารณาเพียงว่ามีการบอกกล่าวเลิกจ้างด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือแล้วหรือไม่ ย่อมไม่ได้ แม้ในที่ประชุม ธ. ซึ่งเป็นประธานกรรมการบริหารของบริษัทจำเลยจะขอให้โจทก์ลาออกโดยจะให้ค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้าง 3 เดือน และให้เวลาโจทก์ปรึกษากับครอบครัวก่อน 3 วัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่ายังให้โอกาสโจทก์ตัดสินใจว่าจะยอมลาออกหรือไม่ ก่อนที่ ธ. จะมีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดต่อไป แต่กลับปรากฏว่าในวันนั้นเอง ธ. ขอรถยนต์ประจำตำแหน่งที่โจทก์ใช้อยู่คืน โดยในช่วงระยะเวลา 3 วันนี้ โจทก์ไม่ต้องไปทำงาน การกระทำของ ธ. มีลักษณะไม่ยอมให้โจทก์ทำงานให้จำเลยอีกมิได้ให้โอกาสโจทก์ดังที่กล่าวในที่ประชุม ถือได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ตั้งแต่วันที่เรียกเอารถประจำตำแหน่งคืนแล้วมิใช่เพิ่งเลิกจ้างนับแต่วันที่จำเลยคัดชื่อโจทก์ออกจากการเป็นพนักงานของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5510/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกกล่าวการประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และผลกระทบต่อมติที่ประชุม
ป.พ.พ.มาตรา 1175 และ 1195 ได้บัญญัติเรื่องการบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ไว้โดยมุ่งประสงค์ให้มีการแจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้าว่าบริษัทจะได้จัดให้มีการประชุมใหญ่ในกิจการใด ที่ใด เมื่อใด เพื่อผู้ถือหุ้นจะได้มีโอกาสเตรียมตัวสอบถามหรือแสดงความคิดเห็นได้โดยเต็มที่ ไม่ให้ผู้บริหารเอาเปรียบรวบรัดในการประชุม แม้ว่าบทบัญญัติดังกล่าวจะมิได้บังคับโดยเด็ดขาดว่าถ้าไม่ปฏิบัติตามแล้วการแจ้งดังกล่าวจะต้องเป็นโมฆะเสียเปล่าก็ตาม แต่ก็ให้สิทธิกรรมการหรือผู้ถือหุ้นคนหนึ่งคนใดร้องขอให้ศาลเพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่อันผิดระเบียบนั้นเสีย โดยต้องร้องขอภายในกำหนดเดือนหนึ่งนับแต่วันลงมตินั้นถ้าหากไม่มีการร้องขอให้ศาลเพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่อันผิดระเบียบภายในเดือนหนึ่งแล้ว มติของที่ประชุมดังกล่าวก็มีผลสมบูรณ์ใช้บังคับได้ ผู้ใดจะขอให้เพิกถอนไม่ได้ ดังนั้น เมื่อคำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ของผู้คัดค้านที่ส่งไปยังผู้ร้องก่อนวันนัดประชุมน้อยกว่าเจ็ดวัน ทั้งไม่ปรากฏว่ามีการแจ้งให้ผู้ร้องทราบคำบอกกล่าวก่อนกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว เป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา 1175ดังกล่าวข้างต้น การนัดเรียกประชุมใหญ่ในครั้งนี้จึงไม่ชอบและเป็นผลให้มติของที่ประชุมใหญ่ในวันดังกล่าวเป็นมติอันผิดระเบียบตามมาตรา 1195 ซึ่งกรรมการหรือผู้ถือหุ้นคนหนึ่งคนใดสามารถร้องขอให้ศาลเพิกถอนเสียได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5839/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นเนื่องจากไม่ส่งงบดุลก่อนการประชุม
ที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า ในการประชุมใหญ่ประธานที่ประชุมไม่ได้เสนอเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมเพื่อให้โจทก์และผู้ถือหุ้นคนอื่นพิจารณาและไม่มีการลงมติในเรื่องที่ประชุมและไม่มีการอ่านข้อความที่เลขานุการที่ประชุมได้บันทึกไว้คงมีเพียงผู้ถือหุ้นชาวต่างประเทศซึ่งทำหน้าที่ประธานที่ประชุมและเลขานุการที่ประชุมสนทนากันเพียงเบา ๆและบันทึกข้อความเป็นภาษาต่างประเทศซึ่งโจทก์และผู้ถือหุ้นคนอื่นได้โต้แย้งคัดค้านและขอสำเนาบันทึกการประชุม แต่ประธานที่ประชุมปฏิเสธและกล่าวปิดประชุมทันที เท่ากับโจทก์ยอมรับว่ามีการลงมติกัน ไปตามบันทึกการประชุมดังกล่าว เป็นเพียงการบรรยายฟ้องกล่าวถึงวิธีการประชุมที่ไม่ชอบทั้งตอนท้ายของคำฟ้องยังกล่าวยืนยันว่าการประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2533และมติของที่ประชุมฝ่าฝืนต่อกฎหมาย และมีคำขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2533 เสียจึงไม่มีประเด็นว่า การประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2533ที่ประชุมได้มีการลงมติหรือไม่ตามที่ศาลอุทธรณ์กำหนดการกำหนดประเด็นของศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1197 วรรคสองกำหนดให้บริษัทมีหน้าที่ส่งสำเนางบดุลให้แก่ผู้ถือหุ้นทุกคนของบริษัทก่อนรับนัดประชุมไม่น้อยกว่าสามวัน หากบริษัทใดฝ่าฝืนต้องรับโทษตาม พระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิฯ มาตรา 18(2) ฉะนั้นโจทก์กับจำเลย จะตกลงปฏิบัติต่อกันให้แตกต่างไปจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1197 วรรคสองไม่ได้ เมื่อจำเลยมิได้ส่งสำเนางบดุลไปยังผู้ถือหุ้นของบริษัททุกคนรวมทั้งโจทก์ก่อนรับนัดประชุมล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามวัน การลงมติในการประชุมในระเบียบวาระที่ 2 เรื่องรับรองงบการเงินจึงไม่ชอบโจทก์ย่อมขอให้เพิกถอนเสียได้ โจทก์ขอให้เพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่หลายเหตุและได้ยกเหตุดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์ แต่โจทก์ถอนอุทธรณ์ดังกล่าวและศาลอุทธรณ์อนุญาตให้โจทก์ถอนอุทธรณ์นั้นแล้วทั้งโจทก์มิได้ยกเหตุดังกล่าวขึ้นกล่าวไว้ในคำแก้อุทธรณ์เหตุดังกล่าวจึงมิใช่ข้อที่ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7908/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกกล่าวบังคับจำนองและข้อตกลงทบยอดเงินต้นดอกเบี้ยค้างชำระ
การบอกกล่าวบังคับจำนอง กฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือเท่านั้น มิได้กำหนดเป็นแบบไว้แต่อย่างไร การที่นาย ว.บอกกล่าวบังคับจำนองทางไปรษณีย์ตอบรับแต่ส่งไม่ได้ เนื่องจากหาที่อยู่จำเลยไม่พบ จึงได้ประกาศแจ้งบังคับจำนองทางหนังสือพิมพ์ให้จำเลยทราบ แม้การที่โจทก์มอบอำนาจให้นาย ว.บอกกล่าวบังคับจำนองมิได้ทำเป็นหนังสือ แต่การบอกกล่าวบังคับจำนองของนาย ว.ได้กระทำในนามโจทก์ ต่อมาโจทก์ได้มอบอำนาจให้นาง บ. ดำเนินคดีกับจำเลยถือได้ว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบัน การบอกกล่าวบังคับจำนองให้จำเลยทราบตาม ป.พ.พ.มาตรา 823 วรรคหนึ่ง และถือได้ว่าการบอกกล่าวบังคับจำนองของโจทก์ชอบด้วยกฎหมาย
ข้อตกลงที่จำเลยยินยอมให้โจทก์นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระเกิน1 ปี มาทบกับยอดเงินกู้เป็นเงินต้นแล้วคิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ทบเข้ากันนั้นได้เมื่อโจทก์นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระเกิน 1 ปี มาทบรวมกับยอดเงินต้นแล้ว ดอกเบี้ยที่ทบนั้นก็กลายเป็นเงินต้น ไม่เป็นดอกเบี้ยที่ค้างอีกต่อไป ข้อตกลงดังกล่าวมีผลใช้บังคับได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 655 วรรคหนึ่ง ซึ่งไม่อยู่ในบังคับข้อห้ามไม่ให้คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง
ข้อตกลงที่จำเลยยินยอมให้โจทก์นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระเกิน1 ปี มาทบกับยอดเงินกู้เป็นเงินต้นแล้วคิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ทบเข้ากันนั้นได้เมื่อโจทก์นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระเกิน 1 ปี มาทบรวมกับยอดเงินต้นแล้ว ดอกเบี้ยที่ทบนั้นก็กลายเป็นเงินต้น ไม่เป็นดอกเบี้ยที่ค้างอีกต่อไป ข้อตกลงดังกล่าวมีผลใช้บังคับได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 655 วรรคหนึ่ง ซึ่งไม่อยู่ในบังคับข้อห้ามไม่ให้คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1613/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องที่ชอบด้วยกฎหมาย และผลของการชำระค่าอ้างที่ล่าช้า
นอกจากหนังสือบอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องจะมีข้อความแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องแล้ว ยังมีข้อความเรื่องการโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างจำเลยที่ 1 กับผู้ร้องด้วย เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 กับผู้ร้องร่วมกันลงชื่อในหนังสือดังกล่าว จึงฟังได้ว่าวันที่มีการบอกกล่าวการโอนนั้น จำเลยที่ 1 ได้โอนสิทธิเรียกร้องให้ผู้ร้องก่อน แล้วจึงบอกกล่าวการโอนไปยังลูกหนี้โดยทำเป็นหนังสือไว้ในเอกสารฉบับเดียวกัน การโอนสิทธิเรียกร้อง และการบอกกล่าวการโอนดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย แม้จะปรากฏว่าในวันต่อมาจำเลยที่ 1 กับผู้ร้องได้ทำสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวขึ้นอีกฉบับหนึ่งก็ไม่เป็นเหตุให้การบอกกล่าวการโอนนั้นเสียไป กฎหมายเพียงแต่กำหนดให้ผู้อ้างเอกสารมีหน้าที่ชำระค่าอ้างตั้งแต่เมื่อส่งเอกสารเป็นต้นไป มิใช่ว่าหากไม่ชำระทันทีแล้วจะรับฟังเอกสารนั้น ๆ ไม่ได้ การที่ผู้ร้องเพิ่งชำระค่าอ้างขณะยื่นคำแก้อุทธรณ์โดยไม่ปรากฏเหตุว่ามีเจตนาฝ่าฝืนคำสั่งศาล แต่พฤติการณ์น่าเชื่อว่าเป็นเพราะหลงลืมมาทราบภายหลังเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาคดีการชำระค่าอ้างดังกล่าวนับว่าผู้ร้องได้จัดการแก้ไขข้อหลงลืมแล้วไม่ทำให้การรับฟังพยานหลักฐานของผู้ร้องถึงกับเสียไป คดีขอให้ถอนคำสั่งอายัดชั่วคราวเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ การที่โจทก์อุทธรณ์ฎีกาในปัญหาว่าจะอายัดได้หรือไม่ก็เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 604/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อและการส่งหนังสือบอกเลิกโดยชอบตามสัญญา
สัญญาเช่าซื้อที่ดินและอาคารที่โจทก์กับจำเลยตกลงทำกันไว้ระบุว่า การบอกกล่าวหรือบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ เมื่อผู้ให้เช่าซื้อได้ทำเป็นหนังสือส่งถึงผู้เช่าซื้อ ณ ที่อยู่อาศัยของผู้เช่าซื้อตามที่ระบุไว้ในสัญญานี้ หรือ ณ สถานที่ที่ให้เช่าซื้อหรือได้ปิดหนังสือนั้นไว้ในที่เปิดเผยซึ่งเห็นได้ง่าย ณสถานที่ที่ให้เช่าซื้อแล้ว เป็นที่ตกลงกันว่าผู้เช่าซื้อได้รับหนังสือนั้นแล้ว เมื่อโจทก์เลือกส่งหนังสือบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยไปยังสถานที่ที่ให้เช่าซื้อและการปิดหนังสือบอกเลิกสัญญาของโจทก์ได้กระทำโดยเปิดเผยที่ประตูรั้วบ้านซึ่งเป็นอาคารที่เช่าซื้อแล้ว จึงเป็นการส่งหนังสือบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยโดยชอบสัญญาเช่าซื้อเป็นอันเลิกกัน แม้ภายหลังจำเลยจะได้ครอบครองอาคารพิพาทต่อมาทั้งนำค่าเช่าซื้อบางงวดไปชำระให้แก่โจทก์และโจทก์รับไว้ ก็ถือได้ว่าโจทก์กระทำเพื่อบรรเทาความเสียหายที่โจทก์ได้รับเพราะจำเลยยังไม่ส่งมอบอาคารพิพาทที่เช่าซื้อกลับคืนให้แก่โจทก์หลังจากเลิกสัญญากันแล้วเท่านั้นหาใช่เป็นการทำสัญญาเช่าซื้อกันใหม่ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2988/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: การตีความเงื่อนไขการบอกกล่าวติดตามหนี้
ที่จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ว่า หาก ซ.บิดพลิ้วไม่ชำระหนี้ให้จำเลยรับผิดชอบในจำนวนเงินดังกล่าวโดยจะติดตาม ซ. ให้มาชดใช้ให้ ถ้าติดตามไม่ได้ จำเลยจะขอรับชดใช้เองจนครบจำนวนนั้น ไม่มีข้อความตอนใดบังคับว่าโจทก์จะต้องบอกกล่าวให้จำเลยติดตามตัว ซ. ก่อน ข้อความตามสัญญามีความหมายเพียงว่าถ้า ซ. ไม่ชำระ จำเลยต้องชำระแทนเท่านั้น ส่วนข้อความที่ว่าโดยจะติดตาม ซ. ให้มาชดใช้นั้น เป็นเรื่องเปิดโอกาสให้จำเลยมีเวลาติดตามลูกหนี้ที่แท้จริง ไม่ใช่เงื่อนไขให้โจทก์ต้องบอกกล่าวจำเลยก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2304/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกที่ดินให้โดยการบอกกล่าวและการครอบครองปรปักษ์ แม้มี ส.ค.1 ก็ไม่ทำให้สิทธิครอบครองของผู้อื่นสิ้นไป
ก่อนเจ้ามรดกถึงแก่ความตายได้ พูดยกที่ดินมือเปล่าให้แก่บุตรแต่ละคน โดย บุตรคนไหนปลูกบ้านอยู่ในที่ดินส่วนใด ก็ยกที่ดินส่วนนั้นให้ โจทก์ซึ่ง เป็นบุตรเจ้ามรดกได้ ปลูกบ้านในที่ดินพิพาท และได้ครอบครองที่ดินพิพาทอย่างเป็นเจ้าของตลอดมา แม้ต่อมาภายหลังจำเลยจะไปขอรับมรดกที่ดินพิพาท ซึ่ง มี ส.ค.1 แล้วขอให้ทางราชการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่จำเลย แต่ เมื่อโจทก์ยังคงครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมา จึงหาทำให้จำเลยได้ สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทไม่.