คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
การบังคับคดี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 101 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8698/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของผู้ซื้อที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขายก่อนจดทะเบียน: การคุ้มครองสิทธิเหนือทรัพย์สินจากการบังคับคดี
ผู้ร้องทำสัญญาจะซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 2 ได้ชำระราคาครบถ้วนและเข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทแล้ว คงเหลือแต่การจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้แก่ผู้ร้องเท่านั้น ถือได้ว่า ผู้ร้องเป็นบุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 และโดยเหตุที่การบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา ย่อมไม่กระทบกระทั่งถึงบุริมสิทธิหรือสิทธิอื่น ๆ ซึ่งบุคคลภายนอกอาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินนั้นได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 โจทก์จึงไม่มีสิทธินำยึดที่ดินพิพาทเพื่อบังคับคดีอันเป็นการกระทบกระทั่งถึงสิทธิของผู้ร้องตามบทกฎหมายดังกล่าว ผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องขอให้ปล่อยที่ดินพิพาทที่โจทก์นำยึดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4817/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข ป.วิ.พ. มาตรา 234 ครบถ้วน มิเช่นนั้นอุทธรณ์ไม่ชอบ
จำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ โดยขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษากลับคำสั่งของศาลชั้นต้น เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย หากจำเลยประสงค์จะอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นจำเลยก็ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 234 โดยยื่นคำขอเป็นคำร้องต่อศาลชั้นต้น และนำค่าธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ศาลได้มีคำสั่ง แม้อุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการขอให้พิจารณาคดีใหม่มิใช่อุทธรณ์ในเนื้อหาของคำพิพากษาศาลชั้นต้นก็ตาม แต่เป็นการอุทธรณ์คำสั่งให้รับอุทธรณ์ภายหลังที่ศาลชั้นต้นพิพากษาชี้ขาดตัดสินคดีแล้ว เมื่อมีการอุทธรณ์เช่นนี้ ย่อมทำให้การบังคับล่าช้าออกไปและอาจเสียหายแก่โจทก์ผู้ชนะคดีได้ จำเลยจึงต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของบทบัญญัติมาตรา 234 ดังกล่าวให้ครบถ้วนด้วย เมื่อปรากฏว่าจำเลยเพียงแต่นำค่าฤชาธรรมเนียมมาวางศาลโดยมิได้นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาล คำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ชอบที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จะปฏิเสธไม่รับวินิจฉัยให้ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ และถือไม่ได้ว่าฎีกาของจำเลยเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 1 จำเลยจึงไม่มีสิทธิฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1887/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์และการบังคับไถ่จำนองที่ดิน
โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ก่อนที่จำเลยจะจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาท แต่โจทก์ยังไม่ได้จดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ โจทก์จะขอบังคับให้จำเลยไถ่จำนองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนอย่างหนึ่งไม่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง ประกอบมาตรา 1301
ธนาคารผู้รับจำนองเป็นบุคคลนอกคดี เมื่อโจทก์ไม่ได้ฟ้องเป็นจำเลยด้วย ศาลก็ไม่อาจพิพากษาถึงธนาคารให้ยินยอมให้จดทะเบียนไถ่จำนองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคสอง
ทุนทรัพย์ตามฟ้องเดิมในศาลชั้นต้น 80,000 บาท ศาลชั้นต้นกำหนดค่าทนายความให้จำเลยใช้แทนโจทก์เป็นเงิน 5,000 บาท เกินกว่าอัตราค่าทนายความขั้นสูงในศาลชั้นต้นตามตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ. และศาลอุทธรณ์ภาค 6 มิได้แก้ไข ศาลฎีกาจึงแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2541/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นการบังคับคดี: ลูกจ้างการรถไฟฯ ไม่ใช่ลูกจ้างรัฐบาล เงินบำนาญตกเป็นสินทรัพย์บังคับได้
ป.วิ.พ. มาตรา 286 เป็นข้อยกเว้นความรับผิดแห่งการบังคับคดีจะต้องตีความโดยเคร่งครัด การที่การรถไฟแห่งประเทศไทยซึ่งก่อตั้งเป็นนิติบุคคลตาม พ.ร.บ. การรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 ได้แยกออกจากรัฐบาลเป็นเอกเทศต่างหาก เมื่อจำเลยเป็นลูกจ้างของการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยมีอำนาจแต่งตั้ง ถอดถอน เลื่อนหรือลดขั้นเงินเดือน และรับรายได้เป็นเดือนจากงบประมาณของการรถไฟแห่งประเทศไทย มิใช่จากเงินจัดสรรงบประมาณเหมือนข้าราชการและลูกจ้างของรัฐบาล จำเลยจึงหาใช่ลูกจ้างของรัฐบาลตามความหมายของป.วิ.พ. มาตรา 286 (2) ไม่ เมื่อจำเลยมิใช่ลูกจ้างของรัฐบาล สิทธิเรียกร้องในเงินสงเคราะห์รายเดือน (บำนาญ) ของจำเลยที่มีอยู่ต่อการรถไฟแห่งประเทศไทยผู้เป็นนายจ้าง จึงตกอยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตามป.วิ.พ. มาตรา 286 (3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2169/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดที่ดิน: ไม่ต้องนำชี้ทรัพย์ ยึดถูกต้องเมื่อแจ้งการยึดและบันทึกการยึดแล้ว
การยึดที่ดินตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 304ไม่จำต้องให้โจทก์หรือผู้แทนของโจทก์ไปนำชี้ทรัพย์ที่จะยึดเพื่อประทับตราหรือกระทำโดยวิธีอื่นใดเพื่อให้การยึดเห็นประจักษ์เหมือนอย่างกรณีการยึดสังหาริมทรัพย์เหตุที่ระเบียบการบังคับคดีที่มีอยู่เดิมกำหนดให้มีผู้นำยึด โดยผู้นำยึดต้องชี้ทรัพย์ที่จะยึดก็เพื่อประโยชน์ในการปิดประกาศการยึด การทำแผนที่ในประกาศขายทอดตลาดเพื่อให้ผู้ซื้อทรัพย์มีแนวทางในการตรวจสอบสถานที่ตั้งทรัพย์เท่านั้น ซึ่งหากแผนที่ดังกล่าวไม่ถูกต้องก็มิได้ผูกมัดเจ้าพนักงานบังคับคดี ดังนั้นการที่โจทก์หรือผู้แทนโจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปชี้ที่ดินที่จะยึดผิดแปลง ก็ไม่อาจจะถือได้ว่ากรณีเป็นการยึดที่ดินผิดแปลง การนำชี้ผิดเป็นผลเพียงให้มีการปิดประกาศการยึดผิดแปลงเท่านั้น โจทก์มีสิทธิที่จะนำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปตรวจสภาพที่ดินเพื่อนำชี้ที่ดินแปลงที่ถูกต้องใหม่ได้โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการยึดที่ดินแปลงที่ชี้ผิดแล้วไม่มีการขาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9276/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่วางค่าฤชาธรรมเนียมในการอุทธรณ์ ทำให้ศาลปฏิเสธการรับอุทธรณ์ และคำสั่งของศาลอุทธรณ์เป็นที่สุด
คำสั่งศาลชั้นต้นมีผลเป็นการปฏิเสธไม่รับอุทธรณ์พร้อมคำร้องขอทุเลาการบังคับคดีของจำเลยที่ยื่นด้วยเหตุที่จำเลยไม่ยอมนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่ต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษามาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ตามที่บทบัญญัติแห่งกฎหมายกำหนดศาลชั้นต้นได้เปิดโอกาสให้จำเลยปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอีกครั้งหนึ่ง โดยให้จำเลยนำเงินมาวางภายใน 15 วัน แต่จำเลยยังคงยืนยันปฏิเสธที่จะปฏิบัติตามด้วยการยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นคัดค้านคำสั่งปฏิเสธไม่รับอุทธรณ์และคำร้องขอทุเลาการบังคับคดีนั้นต่อศาลอุทธรณ์ยืนยันไม่วางเงินค่าฤชาธรรมเนียม และขอให้ศาลอุทธรณ์สั่งรับอุทธรณ์และคำร้องขอทุเลาการบังคับคดีของจำเลยไว้ ดังนี้ เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวนี้ย่อมมีผลเป็นการยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยคำสั่งของศาลอุทธรณ์เป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 236

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2175/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดบังคับคดีต้องมีการยึดหรืออายัดทรัพย์สินก่อน หากยังไม่มีการบังคับคดี การขอให้งดบังคับคดีตามมาตรา 293 วรรคหนึ่ง ไม่อาจทำได้
การที่จำเลยขอ งด การบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 293 ได้นั้นจะต้องมีการบังคับคดีโดยการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ ตามคำพิพากษาอยู่ก่อนแล้วในขณะที่ขอให้งดการบังคับคดี แต่เมื่อ ปรากฏว่าจำเลยได้ขอให้ศาลแรงงานกลางงดการบังคับคดีโดยที่ยังมิได้มีการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของจำเลยแต่อย่างใด ต้องถือว่าคดีนี้ยังไม่มีการบังคับคดี จำเลยจะขอให้งดการ บังคับคดีตามมาตรา 293 วรรคหนึ่ง หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2175/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดการบังคับคดีต้องมีการยึดหรืออายัดทรัพย์สินก่อน หากยังไม่มีการบังคับคดี การขอให้งดการบังคับคดีตามมาตรา 293 วรรคหนึ่ง จึงไม่เป็นไปตามกฎหมาย
การขอให้งดการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 293 จะต้องมีการบังคับคดีโดยการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาอยู่ก่อนแล้วในขณะที่ขอให้ งดการบังคับคดี เมื่อคดีนี้ยังไม่มีการบังคับคดี จำเลยจะขอให้งดการบังคับคดีตามบทบัญญัติดังกล่าวหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1135/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี แม้มีการโอนสิทธิ
ปัญหาว่าสิทธิเรียกร้องใดไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีแม้คู่ความจะไม่ได้ฎีกาในปัญหานี้ แต่บทบัญญัติดังกล่าวเป็นบทบัญญัติที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5)ประกอบมาตรา 246, 247
จำเลยเป็นพนักงานของผู้ร้อง และหากจำเลยลาออกจากการเป็นพนักงานของผู้ร้อง จำเลยย่อมมีสิทธิได้รับเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นเงินสุทธิจำนวนหนึ่ง แต่ก่อนจำเลยลาออกจากการเป็นพนักงานของผู้ร้อง จำเลยได้โอนสิทธิเรียกร้องในการรับเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้แก่ผู้ร้อง เมื่อตามพ.ร.บ.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 มาตรา 24 บัญญัติว่า สิทธิเรียกร้องเงินจากกองทุนไม่อาจโอนกันได้และไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี การที่จำเลยโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวให้ผู้ร้องจึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 150ผู้ร้องจะอ้างการที่เป็นโมฆะขึ้นอ้างต่อผู้ใดไม่ได้ แต่การอายัดทรัพย์เป็นการบังคับคดีอย่างหนึ่ง โจทก์ย่อมไม่อาจอายัดสิทธิเรียกร้องดังกล่าวได้เช่นกัน ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอายัดเงินจำนวนดังกล่าว เป็นการไม่ชอบ ผู้ร้องจึงไม่จำต้องปฏิบัติตามคำสั่งอายัดของศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1135/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี แม้มีการโอนสิทธิ
ปัญหาว่าสิทธิเรียกร้องใดไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีแม้คู่ความจะไม่ได้ฎีกาในปัญหานี้แต่บทบัญญัติดังกล่าวเป็นบทบัญญัติที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบมาตรา 246,247 จำเลยเป็นพนักงานของผู้ร้อง และหากจำเลยลาออกจากการเป็นพนักงานของผู้ร้องจำเลยย่อมมีสิทธิได้รับเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นเงินสุทธิจำนวนหนึ่ง แต่ก่อนจำเลยลาออกจากการเป็นพนักงานของผู้ร้อง จำเลยได้โอนสิทธิเรียกร้องในการรับเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้แก่ผู้ร้อง เมื่อตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 มาตรา 24บัญญัติว่า สิทธิเรียกร้องเงินจากกองทุนไม่อาจโอนกันได้และไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีการที่จำเลยโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวให้ผู้ร้องจึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 150 ผู้ร้องจะอ้างการที่เป็นโมฆะขึ้นอ้างต่อผู้ใดไม่ได้ แต่การอายัดทรัพย์เป็นการบังคับคดีอย่างหนึ่ง โจทก์ย่อมไม่อาจอายัดสิทธิเรียกร้องดังกล่าวได้เช่นกัน ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอายัดเงินจำนวนดังกล่าว เป็นการไม่ชอบ ผู้ร้องจึงไม่จำต้องปฏิบัติตามคำสั่งอายัดของศาลชั้นต้น
of 11