พบผลลัพธ์ทั้งหมด 25 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8390/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาเลิกสัญญา: การนัดโอนกรรมสิทธิ์หลังแจ้งเลิกสัญญาถือเป็นการแสดงเจตนาที่จะปฏิบัติตามสัญญาเดิม
ก่อนที่จำเลยจะบอกเลิกสัญญา ผนังของห้องชุดพิพาทมีรอยแตกร้าวซึ่งจำเลยรับว่าจะแก้ไขให้เรียบร้อย และในวันที่ 26 ธันวาคม 2539 มีการนัดโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทซึ่งเป็นวันหลังจากที่จำเลยอ้างว่าได้บอกเลิกสัญญาแก่โจทก์แล้วเมื่อเดือนกันยายน 2539 การนัดโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าจำเลยมิได้มีเจตนาเลิกสัญญากับโจทก์ในเดือนกันยายน 2539 ซึ่งหลังจากนั้นจำเลยยังได้ยินยอมให้โจทก์เข้าไปตรวจรับห้องชุดพิพาทว่ายังมีรอยแตกร้าวต้องซ่อมแซมแก้ไขและจำเลยได้นัดโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทในวันที่ 26 ธันวาคม 2539 แต่ในวันดังกล่าวไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์กันเนื่องจากจำเลยเรียกเงินจากโจทก์อีก 50,000 บาท อ้างว่าโจทก์รับโอนห้องชุดพิพาทล่าช้า หลังจากนั้นจำเลยก็ไม่ได้แจ้งให้โจทก์มารับโอนห้องชุดพิพาทอีก เมื่อสัญญายังไม่เลิกกันและจำเลยไม่โอนห้องชุดพิพาทให้แก่โจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1651/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: กำหนดระยะเวลาเป็นเพียงกรอบการปฏิบัติตามสัญญา ไม่ใช่เงื่อนไขสิ้นสุดสัญญา
วัตถุประสงค์ในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นกรณีที่โจทก์จำเลยมุ่งระงับข้อพิพาทระหว่างกันด้วยการที่จำเลยจะโอนที่ดินให้แก่โจทก์ภายใน 6 เดือน ส่วนโจทก์ก็จะชำระราคารวมทั้งภาระค่าธรรมเนียมและค่าภาษีอื่นๆ ให้แก่จำเลย เมื่อคู่สัญญาตามสัญญาประนีประนอมยอมความมีวัตถุประสงค์ดังกล่าว การกำหนดระยะเวลา 6 เดือนไว้จึงเป็นการกำหนดระยะเวลาให้โจทก์จำเลยปฏิบัติตามสัญญาเท่านั้น หากไม่ปฏิบัติก็บังคับคดีกันไปเพื่อให้สมวัตถุประสงค์แห่งการทำสัญญาที่ต้องการให้ข้อพิพาทระหว่างกันระงับไปด้วยวิธีดังกล่าว หาใช่ว่าหากไม่ปฏิบัติตามสัญญาภายในกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วจะทำให้ข้อกำหนดในสัญญาประนีประนอมยอมความสิ้นผลไปโดยคู่สัญญาไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามสัญญาแต่อย่างใด เนื่องจากไม่เป็นการระงับข้อพิพาทระหว่างกันตามที่โจทก์จำเลยมีเจตนาในการเข้าทำสัญญามาตั้งแต่ต้น ดังนั้น เมื่อโจทก์วางเงินจำนวน 200,000 บาท ต่อศาลแล้วแม้จะเกินเวลา 6 เดือน จำเลยจึงต้องรับเงินและมีหน้าที่จดทะเบียนโอนสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทให้โจทก์ หากจำเลยไม่ปฏิบัติโจทก์ก็ชอบที่จะขอให้บังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3777/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความเป็นสัญญาต่างตอบแทน การปฏิบัติตามสัญญาต้องเกิดขึ้นพร้อมกัน หากฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตาม อีกฝ่ายก็ไม่ต้องปฏิบัติตาม
สัญญาประนีประนอมยอมความมีข้อความว่า จำเลยยอมรื้อถอนและขนย้ายสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินของโจทก์ภายในวันที่30 เมษายน 2534 และโจทก์จะต้องจ่ายเงิน 40,000 บาท ภายในกำหนดวันดังกล่าว โจทก์จำเลยจึงต่างมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ลูกหนี้ซึ่งกันและกัน มีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนอันมีกำหนดเวลาที่แน่นอนปรากฏว่าในวันที่ 28 เมษายน 2538 จำเลยพร้อมที่จะรื้อถอนออกจากที่ดินของโจทก์ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดวันนัด หากได้เงินโจทก์นำมามอบให้เป็นค่าใช้จ่าย แต่ในวันนัดโจทก์ไม่ได้แสดงเจตนาที่จะจ่ายเงินจำนวนนี้ให้แก่จำเลยแต่อย่างไร แสดงว่าโจทก์มิได้ปฏิบัติตามสัญญา กรณีเช่นนี้จะถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่ได้ดังนี้โจทก์จึงยังบังคับคดีไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3777/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความต่างตอบแทน: การปฏิบัติตามสัญญาต้องพร้อมกันทั้งสองฝ่าย หากฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตาม อีกฝ่ายก็ไม่ต้องปฏิบัติตามเช่นกัน
สัญญาประนีประนอมยอมความมีข้อความว่าจำเลยยอมรื้อถอนและขนย้ายสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินของโจทก์ภายในวันที่30เมษายน2534และโจทก์จะต้องจ่ายเงิน40,000บาทภายในกำหนดวันดังกล่าวโจทก์จำเลยจึงต่างมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ลูกหนี้ซึ่งกันและกันมีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนอันมีกำหนดเวลาที่แน่นอนปรากฏว่าในวันที่28เมษายน2538จำเลยพร้อมที่จะรื้อถอนออกจากที่ดินของโจทก์ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดวันนัดหากได้เงินโจทก์นำมามอบให้เป็นค่าใช้จ่ายแต่ในวันนัดโจทก์ไม่ได้แสดงเจตนาที่จะจ่ายเงินจำนวนนี้ให้แก่จำเลยแต่อย่างไรแสดงว่าโจทก์มิได้ปฏิบัติตามสัญญากรณีเช่นนี้จะถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่ได้ดังนี้โจทก์จึงยังบังคับคดีไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1037/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินโดยการโอนชื่อในหลักฐานภาษี การปฏิบัติตามสัญญา และการไม่ยอมรับการโอน
โจทก์ได้ทำสัญญามัดจำซื้อขายที่ดินจำนวน6แปลงจากจำเลยในราคา1,200,000บาทโดยในวันดังกล่าวโจทก์ได้วางเงินมัดจำให้แก่จำเลยจำนวน350,000บาทและจะจัดการโอนที่ดินต่อเจ้าพนักงานภายในกำหนด6เดือนนับแต่วันทำสัญญาดังนี้เมื่อปรากฏว่าในขณะซื้อขายที่ดินพิพาทกันนั้นโจทก์ทราบดีอยู่แล้วว่าเป็นการซื้อขายโดยการโอนเปลี่ยนชื่อผู้ถือครองในหลักฐานการเสียภาษีบำรุงท้องที่ใบภ.บ.ท.5โดยจดแจ้งต่อเจ้าพนักงานและส่งมอบการครอบครองต่อกันดังนั้นข้อความในสัญญามัดจำที่ว่า"คู่ความตกลงกันว่าจะได้ทำพิธีโอนกรรมสิทธิ์กันต่อเจ้าพนักงาน"จึงหมายถึงการโอนที่ดินพิพาทต่อกันโดยเปลี่ยนชื่อผู้ถือครองในหลักฐานการเสียภาษีบำรุงท้องที่ใบภ.บ.ท.5โดยแจ้งต่อเจ้าพนักงานและส่งมอบการครอบครองกันนั่นเองซึ่งจำเลยก็พร้อมที่จะโอนที่ดินพิพาทโดยวิธีดังกล่าวนี้แล้วแต่โจทก์เป็นฝ่ายไม่ยอมรับโอนฉะนั้นจำเลยจึงยังไม่ตกเป็นผู้ผิดสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6094/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจทำสัญญาเช่าซื้อโดยไม่ประทับตราบริษัท ไม่ทำให้สัญญาเป็นโมฆะ หากมีเจตนาเพียงพอและมีการปฏิบัติตามสัญญา
หนังสือมอบอำนาจที่โจทก์มอบอำนาจให้ส.ทำสัญญาเช่าซื้อระบุว่าโจทก์โดยกรรมการผู้มีอำนาจสองคนขอมอบอำนาจให้ส.มีอำนาจทำการลงนามในสัญญาเช่าซื้อรถยนต์แทนโจทก์และมีกรรมการผู้มีอำนาจสองคนตามที่ระบุชื่อไว้ข้างต้นลงลายมือชื่อท้ายหนังสือในฐานะผู้มอบอำนาจแม้จะมิได้มีตราบริษัทโจทก์ซึ่งตามข้อบังคับที่จดทะเบียนไว้จะต้องประทับตราด้วยก็ตามแต่ก็ปรากฏว่าตามสัญญาเช่าซื้อที่โจทก์ฟ้องมีข้อความกล่าวชัดในตอนต้นว่าสัญญานี้ทำขึ้นระหว่างบริษัทส. (โจทก์)ผู้ให้เช่าซื้อกับร.(จำเลย)ผู้เช่าซื้อและท้ายสัญญาส.ก็ได้ลงลายมือชื่อในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ผู้ให้เช่าซื้อและทั้งโจทก์และจำเลยก็ได้ปฏิบัติตามสัญญาเช่าซื้อตลอดมาเช่นนี้แสดงว่าส.ทำสัญญาเช่าซื้อในนามของโจทก์ตามที่ได้รับมอบอำนาจข้างต้นถือได้ว่าโจทก์ได้มอบอำนาจเป็นหนังสือให้ส.ทำสัญญาเช่าซื้อแทนและโจทก์เป็นคู่สัญญากับจำเลยสัญญาเช่าซื้อดังกล่าวจึงใช้บังคับได้และโจทก์มีอำนาจฟ้อง แม้จำเลยจะชำระค่าเช่าซื้อไม่ตรงตามกำหนดเวลาที่ระบุในสัญญาโจทก์ก็ผ่อนผันให้และรับชำระเรื่อยมาโดยมิได้ทักท้วงพฤติการณ์แสดงว่าโจทก์มิได้ถือเอากำหนดเวลาชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญาเป็นสาระสำคัญอีกต่อไปดังนั้นการที่จำเลยไม่ชำระค่าเช่าซื้อในงวดที่10ตามกำหนดในสัญญาจึงจะถือว่าจำเลยผิดนัดทำให้สัญญาเช่าซื้อเลิกกันทันทีตามข้อกำหนดในสัญญาข้อ8หาได้ไม่หากโจทก์ประสงค์จะเลิกสัญญาก็ต้องบอกกล่าวให้จำเลยชำระค่าเช่าซื้อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา387ก่อนแต่อย่างไรก็ตามการที่โจทก์ไปยึดรถที่เช่าซื้อคืนมาเมื่อวันที่5มีนาคม2534และไม่ปรากฏว่าจำเลยโต้แย้งการยึดนั้นเป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าโจทก์กับจำเลยต่างสมัครใจเลิกสัญญาต่อกันแล้วตั้งแต่วันที่โจทก์ยึดรถคืนซึ่งจำเลยจะต้องรับผิดเฉพาะค่าขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์ของโจทก์ระหว่างวันที่28พฤศจิกายน2533จนถึงวันที่5มีนาคม2535ส่วนค่าเสียหายอื่นไม่มีเพราะมิได้เป็นการเลิกสัญญาต่อกันโดยเหตุที่จำเลยผิดสัญญา กรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถเช่นนี้เนื่องจากการเลิกสัญญาเช่าซื้อต่อกันมีอายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5184/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัมปทานทำไม้: สิทธิในการยึดเงินฝากเพื่อบังคับการปฏิบัติตามสัญญาปลูกป่าทดแทน
โจทก์ได้รับสัมปทานทำไม้หวงห้ามธรรมดานอกจากไม้สักจากรัฐบาลโดยยอมปฏิบัติตามบันทึกต่อท้ายสัมปทานบันทึกต่อท้ายสัมปทานดังกล่าวจึงต้องผูกพันโจทก์ โจทก์จะต้องปฏิบัติตามบันทึกต่อท้ายสัมปทานข้อ3โดยเสนอแผนการปฏิบัติงานโดยย่อให้ป่าไม้เขตท้องที่ทราบเมื่อได้รับความยินยอมจากป่าไม้เขตแล้วจึงขอรับสมุดเงินฝากไปเบิกเงินจากธนาคารเพื่อนำไปใช้จ่ายในการปลูกป่าทดแทนตามเงื่อนไขสัมปทานและตามบันทึกต่อท้ายสัมปทานข้อ4ระบุด้วยว่าถ้าผู้รับสัมปทานฝ่าฝืนหรือปฏิบัติผิดไปจากบันทึกที่ให้ไว้นี้ให้ถือว่าผู้รับสัมปทานไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขสัมปทานข้อ17และยินยอมให้ผู้ให้สัมปทานสั่งพักการทำไม้ไว้หรือสั่งเพิกถอนสัมปทานทำไม้เสียก็ได้และผู้รับสัมปทานยินยอมนำเงินค่าใช้จ่ายในการปลูกและบำรุงรักษาป่าที่คำนวณได้จากไม้ที่ทำออกและตรวจวัดตีตราเก็บเงินค่าภาคหลวงแล้วส่งมอบให้กรมป่าไม้หรือผู้รับมอบอำนาจจากกรมป่าไม้จนครบถ้วนด้วยเห็นได้ว่าแม้สัมปทานถูกเพิกถอนแล้วหากโจทก์ไม่ดำเนินการปลูกป่าจำเลยมีสิทธิที่จะบังคับให้โจทก์ดำเนินการดังกล่าวอีกด้วยเมื่อโจทก์ค้างปลูกป่าและค้างค่าบำรุงป่าเป็นเงินจำนวนหนึ่งถือได้ว่าโจทก์ไม่ได้ดำเนินการตามบันทึกต่อท้ายสัมปทานข้อ3จำเลยจึงมีสิทธิที่จะยึดสมุดเงินฝากของโจทก์ไว้เพื่อปฏิบัติตามบันทึกต่อท้ายสัมปทานข้อ4ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3484/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับให้มีการแลกเปลี่ยนที่ดินตามข้อตกลงเดิม และการยกคำขอค่าเสียหายเมื่อมีการปฏิบัติตามข้อตกลงแล้ว
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยแบ่งแยกที่ดินแล้วจดทะเบียนโอนใส่ชื่อโจทก์ตามข้อตกลงแลกเปลี่ยนที่ดินกันถ้าจำเลยไม่ปฏิบัติให้ใช้ค่าเสียหายศาลพิพากษาให้โจทก์และจำเลยจดทะเบียนโอนที่ดินแลกเปลี่ยนตอบแทนกันส่วนคำขอที่เรียกค่าเสียหายให้ยกโดยวินิจฉัยว่าโจทก์และจำเลยได้ตกลงแลกเปลี่ยนที่ดินกันแล้วโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายเป็นการพิพากษาในประเด็นค่าเสียหายและพิพากษาตามคำขอให้ฟ้องครบถ้วนแล้วเพราะโจทก์ฟ้องบังคับให้แลกเปลี่ยนที่ดินเป็นประธานส่วนค่าเสียหายเป็นคำขอต่อเนื่องเมื่อสามารถปฏิบัติตามคำขอประธานแล้วก็ไม่จำต้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามคำต่อเนื่องอีกและมิใช่กรณีที่จำเลยจะเลือกชำระได้ตามลำพัง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2049/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกล้างโมฆียะกรรมและการให้สัตยาบันโดยปริยาย การกระทำที่แสดงเจตนาปฏิบัติตามสัญญาหลังเหตุโมฆียะกรรมสูญสิ้นถือเป็นการให้สัตยาบัน
จำเลยไม่ได้ให้การว่าได้บอกล้างโมฆียะกรรมภายในกำหนดเวลาตามกฎหมายแล้ว การนำสืบของจำเลยที่ว่าได้โทรเลขแจ้งบอกล้างนิติกรรมไปยังโจทก์ก่อนวันที่พากันไปที่สำนักงานที่ดินจึงเป็นการนำสืบนอกคำให้การเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้บอกล้างโมฆียะกรรมก่อนวันที่โจทก์จำเลยพากันไปยังสำนักงานที่ดินเพื่อโอนที่ดินพิพาท แม้วันดังกล่าวภรรยาจำเลยคัดค้านว่า ที่ดินพิพาทเป็นของตนครึ่งหนึ่งจึงจดทะเบียนโอนกันไม่ได้ แต่การกระทำของจำเลยดังกล่าวแสดงว่าจำเลยมีความตั้งใจที่จะปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทที่ทำไว้กับโจทก์ตลอดมา จำเลยได้กระทำการดังกล่าวภายหลังเวลาที่มูลเหตุให้เป็นโมฆียะกรรมนั้นได้สูญสิ้นไปแล้ว การที่จำเลยไปที่สำนักงานที่ดินเพื่อโอนที่ดินให้โจทก์อันเป็นการชำระหนี้ตามโมฆียะกรรมโดยจำเลยมิได้แสดงแย้งสงวนสิทธิไว้แจ้งชัดประการใด ถือได้ว่าจำเลยได้ให้สัตยาบันแก่โมฆียะกรรมนั้นแล้วโดยปริยาย สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงสมบูรณ์
คำให้การต่อสู้คดีนี้ของจำเลยฟังว่า จำเลยทำสัญญาดังกล่าวเพราะหลงเชื่อที่โจทก์นำความเท็จมาหลอกลวง สัญญาจึงตกเป็นโมฆะนั้น แม้จะถือว่าเป็นการบอกล้างโมฆียะกรรม แต่เมื่อจำเลยได้ให้สัตยาบันแก่โมฆียะกรรมก่อนยื่นคำให้การแล้ว ย่อมถือว่าการนั้นเป็นอันสมบูรณ์มาแต่เริ่มแรก ไม่อาจบอกล้างได้
เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้บอกล้างโมฆียะกรรมก่อนวันที่โจทก์จำเลยพากันไปยังสำนักงานที่ดินเพื่อโอนที่ดินพิพาท แม้วันดังกล่าวภรรยาจำเลยคัดค้านว่า ที่ดินพิพาทเป็นของตนครึ่งหนึ่งจึงจดทะเบียนโอนกันไม่ได้ แต่การกระทำของจำเลยดังกล่าวแสดงว่าจำเลยมีความตั้งใจที่จะปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทที่ทำไว้กับโจทก์ตลอดมา จำเลยได้กระทำการดังกล่าวภายหลังเวลาที่มูลเหตุให้เป็นโมฆียะกรรมนั้นได้สูญสิ้นไปแล้ว การที่จำเลยไปที่สำนักงานที่ดินเพื่อโอนที่ดินให้โจทก์อันเป็นการชำระหนี้ตามโมฆียะกรรมโดยจำเลยมิได้แสดงแย้งสงวนสิทธิไว้แจ้งชัดประการใด ถือได้ว่าจำเลยได้ให้สัตยาบันแก่โมฆียะกรรมนั้นแล้วโดยปริยาย สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงสมบูรณ์
คำให้การต่อสู้คดีนี้ของจำเลยฟังว่า จำเลยทำสัญญาดังกล่าวเพราะหลงเชื่อที่โจทก์นำความเท็จมาหลอกลวง สัญญาจึงตกเป็นโมฆะนั้น แม้จะถือว่าเป็นการบอกล้างโมฆียะกรรม แต่เมื่อจำเลยได้ให้สัตยาบันแก่โมฆียะกรรมก่อนยื่นคำให้การแล้ว ย่อมถือว่าการนั้นเป็นอันสมบูรณ์มาแต่เริ่มแรก ไม่อาจบอกล้างได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1688/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาตามสัญญาประนีประนอมที่ตรงกับวันหยุดราชการ การปฏิบัติตามสัญญา
วันสุดท้ายที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างนั้นตรงกับวันเสาร์ และวันถัดมาเป็นวันอาทิตย์ อันเป็นวันหยุดราชการตามปกติทั้งสองวัน จำเลยจึงขอปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอม-ยอมความต่อโจทก์ในวันแรกที่ทางราชการเปิดทำการได้