พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7995/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบัตร: การประดิษฐ์ต้องใหม่และไม่เคยปรากฏใช้มาก่อน การออกสิทธิบัตรโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 65 ทวิ การประดิษฐ์ที่ขอรับอนุสิทธิบัตรได้ต้องประกอบด้วยลักษณะดังต่อไปนี้ (1) เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ และ (2) เป็นการประดิษฐ์ที่สามารถประยุกต์ในทางอุตสาหกรรมการประดิษฐ์ขึ้นใหม่นั้น มาตรา 6 ประกอบมาตรา 65 ทศ แห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกันให้หมายความไว้ว่าหมายถึงการประดิษฐ์ที่ไม่เป็นงานที่ปรากฏอยู่แล้ว งานที่ปรากฏอยู่แล้วมาตรา 6 วรรคสอง ได้ให้ความหมายรวมถึงงานต่างๆไว้หลายประการ ประการหนึ่ง หมายความรวมถึงการประดิษฐ์ที่มีหรือใช้แพร่หลายอยู่แล้วในราชอาณาจักรก่อนวันขอรับสิทธิบัตร การประดิษฐ์ตามอนุสิทธิบัตรเลขที่ 458 ของจำเลยที่ 1 เป็นการประดิษฐ์ที่มีและใช้แพร่หลายอยู่แล้วในราชอาณาจักรก่อนวันขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ดังกล่าวจึงเป็นงานที่ปรากฏอยู่แล้วตามมาตรา 6 วรรคสอง การประดิษฐ์ดังกล่าวจึงเป็นการประดิษฐ์ที่ไม่อาจขอรับอนุสิทธิบัตรได้ตามมาตรา 65 ทวิ แห่ง พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 อนุสิทธิบัตรดังกล่าวจึงเป็นอนุสิทธิบัตรที่ออกโดยไม่ชอบด้วย มาตรา 65 ทวิ ถือเป็นอนุสิทธิบัตรที่ไม่สมบูรณ์ตามมาตรา 65 นว วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7716/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อนุสิทธิบัตรต้องเป็นสิ่งประดิษฐ์ใหม่และมิได้เป็นที่รู้กันโดยทั่วไป การฉีดพลาสติกขึ้นรูปไม่ใช่สิ่งประดิษฐ์ใหม่
อนุสิทธิบัตรของจำเลยที่ใช้ชื่อและแสดงถึงสิ่งประดิษฐ์ว่าเป็นโต๊ะที่ประกอบจากชิ้นส่วนที่ขึ้นรูปครั้งเดียว โดยมีคำอธิบายส่วนภูมิหลังว่าวิธีการดังกล่าวจะช่วยลดความเสียหายจากขั้นตอนของการต่อชิ้นส่วน หากผู้ประกอบไม่ชำนาญพอ และอื่นๆ โดยมีข้อถือสิทธิในวิธีการประดิษฐ์ว่าเป็นโต๊ะที่ประกอบด้วยชิ้นส่วนขาโต๊ะซึ่งทำจากการฉีดพลาสติกขึ้นรูปครั้งเดียวและมีบทสรุปว่า โต๊ะมีลักษณะประกอบด้วยชิ้นส่วนขาโต๊ะที่ขึ้นรูปครั้งเดียว ความสำคัญของอนุสิทธิบัตรของจำเลยจึงเป็นเรื่องของกรรมวิธีการประดิษฐ์เมื่อชุดขาโต๊ะตามอนุสิทธิบัตรของจำเลยทำการฉีดพลาสติกขึ้นรูปครั้งเดียวตรงกับฟ้องโจทก์ โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะฟ้องจำเลยเพื่อขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรของจำเลยได้ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 65 นว วรรคสองแล้ว
คำขอรับอนุสิทธิบัตรของจำเลยมีชื่อที่แสดงถึงการประดิษฐ์คือโต๊ะที่ประกอบจากชิ้นส่วนที่ขึ้นรูปครั้งเดียวและตามข้อถือสิทธิว่าการประดิษฐ์ที่ขอคุ้มครองคือโต๊ะที่มีลักษณะประกอบด้วยชิ้นส่วนขาโต๊ะทำจากการฉีดพลาสติกขึ้นรูปครั้งเดียว สาระสำคัญทางการประดิษฐ์ที่จำเลยจดอนุสิทธิบัตรคือการฉีดพลาสติกขาโต๊ะขึ้นรูปครั้งเดียว แต่การฉีดขึ้นรูปพลาสติกเพียงครั้งเดียวเป็นวิธีการผลิตที่มีมานานแล้ว งานประดิษฐ์ของจำเลยจึงมิใช่การประดิษฐ์ขึ้นใหม่ ตามความหมายในมาตรา 65 ทวิ ประกอบด้วย มาตรา 6 วรรค (1) (2) และมาตรา 65 ทศ แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ.2522 รวมถึงข้อถือสิทธิที่กล่าวถึงการประกอบขาโต๊ะทั้งสองด้านเข้าด้วยกันโดยใช้ท่อหรือคานเหล็กสองเส้นที่เจาะเป็นช่องทั้งปลายบนและล่างเพื่อใช้สกรูยึดด้านบน ส่วนด้านล่างใช้สำหรับสอดใส่ตะแกรง รวมทั้งลวดลายประกอบขาโต๊ะซึ่งทั้งหมดเป็นเพียงรายละเอียดที่ไม่ซับซ้อนดังมีคำอธิบายอยู่ในหนังสือ การออกแบบเครื่องเรือน ซึ่งเป็นหนังสือคู่มือการศึกษาที่แพร่หลายมาก่อนหน้าวันขอรับอนุสิทธิบัตรของจำเลย จึงถือว่าไม่ใช่การประดิษฐ์ใหม่เช่นกัน กรณีมีเหตุที่ควรเพิกถอนอนุสิทธิบัตรของจำเลย
คำขอรับอนุสิทธิบัตรของจำเลยมีชื่อที่แสดงถึงการประดิษฐ์คือโต๊ะที่ประกอบจากชิ้นส่วนที่ขึ้นรูปครั้งเดียวและตามข้อถือสิทธิว่าการประดิษฐ์ที่ขอคุ้มครองคือโต๊ะที่มีลักษณะประกอบด้วยชิ้นส่วนขาโต๊ะทำจากการฉีดพลาสติกขึ้นรูปครั้งเดียว สาระสำคัญทางการประดิษฐ์ที่จำเลยจดอนุสิทธิบัตรคือการฉีดพลาสติกขาโต๊ะขึ้นรูปครั้งเดียว แต่การฉีดขึ้นรูปพลาสติกเพียงครั้งเดียวเป็นวิธีการผลิตที่มีมานานแล้ว งานประดิษฐ์ของจำเลยจึงมิใช่การประดิษฐ์ขึ้นใหม่ ตามความหมายในมาตรา 65 ทวิ ประกอบด้วย มาตรา 6 วรรค (1) (2) และมาตรา 65 ทศ แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ.2522 รวมถึงข้อถือสิทธิที่กล่าวถึงการประกอบขาโต๊ะทั้งสองด้านเข้าด้วยกันโดยใช้ท่อหรือคานเหล็กสองเส้นที่เจาะเป็นช่องทั้งปลายบนและล่างเพื่อใช้สกรูยึดด้านบน ส่วนด้านล่างใช้สำหรับสอดใส่ตะแกรง รวมทั้งลวดลายประกอบขาโต๊ะซึ่งทั้งหมดเป็นเพียงรายละเอียดที่ไม่ซับซ้อนดังมีคำอธิบายอยู่ในหนังสือ การออกแบบเครื่องเรือน ซึ่งเป็นหนังสือคู่มือการศึกษาที่แพร่หลายมาก่อนหน้าวันขอรับอนุสิทธิบัตรของจำเลย จึงถือว่าไม่ใช่การประดิษฐ์ใหม่เช่นกัน กรณีมีเหตุที่ควรเพิกถอนอนุสิทธิบัตรของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2703/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบัตรวัสดุรองรับแรงกระแทก: การประดิษฐ์ที่ไม่เป็นของใหม่ ทำให้สิทธิบัตรไม่สมบูรณ์และเพิกถอนได้
การประดิษฐ์ที่จะขอรับสิทธิบัตรได้ต้องประกอบด้วยลักษณะการประดิษฐ์ 3 ข้อ คือ เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ มีขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้น และสามารถประยุกต์ในทางอุตสาหกรรม ทั้งนี้ตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 จะขาดข้อใดข้อหนึ่งไม่ได้ เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า การประดิษฐ์วัสดุรองรับแรงกระแทกบนหัวเสาเข็มตามสิทธิบัตรของจำเลยไม่เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ การประดิษฐ์ของจำเลยจึงไม่อาจขอรับสิทธิบัตรได้ สิทธิบัตรของจำเลยย่อมไม่ชอบด้วยมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงเป็นสิทธิบัตรไม่สมบูรณ์และเพิกถอนได้ตามมาตรา 54
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2703/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบัตรวัสดุรองรับแรงกระแทก: การประดิษฐ์ไม่ใหม่ ใช้แล้วในไทยก่อนขอจดทะเบียน
เมื่อมีเหตุอันสมควรที่จำเลยจะเชื่อว่าได้มีการละเมิดสิทธิบัตรของจำเลย การที่จำเลยใช้วิธีการร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเพื่อให้ดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ เป็นการขอรับความคุ้มครองเพื่อให้มีการบังคับตามสิทธิบัตรที่จำเลยได้รับอยู่เป็นการใช้สิทธิโดยชอบด้วยกฎหมาย ส่วนเจ้าพนักงานตำรวจจะดำเนินการแก่โจทก์อย่างไรต่อไปเป็นดุลพินิจของเจ้าพนักงานตำรวจ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายหรือใช้สิทธิ ซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์อันจะเป็นการละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 และมาตรา 421
การประดิษฐ์ที่จะขอรับสิทธิบัตรได้ต้องประกอบด้วย (1) เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่(2) เป็นการประดิษฐ์ที่มีขั้นสูงขึ้น และ (3) เป็นการประดิษฐ์ที่สามารถประยุกต์ในทางอุตสาหกรรม ตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตรฯ การประดิษฐ์ที่จะขอรับสิทธิบัตรได้จึงต้องประกอบด้วยลักษณะการประดิษฐ์ทั้ง 3 ข้อ จะขาดข้อใดข้อหนึ่งไม่ได้ เมื่อการประดิษฐ์วัสดุรองรับแรงกระแทกบนหัวเสาเข็มตามสิทธิบัตรของจำเลยไม่เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่แล้ว การประดิษฐ์ของจำเลยจึงไม่อาจขอรับสิทธิบัตรได้สิทธิบัตรของจำเลยได้ออกไปโดยไม่ชอบด้วยมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวจึงเป็นสิทธิบัตรไม่สมบูรณ์ และเพิกถอนได้ตามมาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกัน
การประดิษฐ์ที่จะขอรับสิทธิบัตรได้ต้องประกอบด้วย (1) เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่(2) เป็นการประดิษฐ์ที่มีขั้นสูงขึ้น และ (3) เป็นการประดิษฐ์ที่สามารถประยุกต์ในทางอุตสาหกรรม ตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตรฯ การประดิษฐ์ที่จะขอรับสิทธิบัตรได้จึงต้องประกอบด้วยลักษณะการประดิษฐ์ทั้ง 3 ข้อ จะขาดข้อใดข้อหนึ่งไม่ได้ เมื่อการประดิษฐ์วัสดุรองรับแรงกระแทกบนหัวเสาเข็มตามสิทธิบัตรของจำเลยไม่เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่แล้ว การประดิษฐ์ของจำเลยจึงไม่อาจขอรับสิทธิบัตรได้สิทธิบัตรของจำเลยได้ออกไปโดยไม่ชอบด้วยมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวจึงเป็นสิทธิบัตรไม่สมบูรณ์ และเพิกถอนได้ตามมาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5459/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบัตรไม่สมบูรณ์: การประดิษฐ์ไม่ใหม่-ขาดขั้นสูง, จำเลยไม่ต้องรับผิดชอบละเมิด
จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันผลิตและมีไว้เพื่อขายเครื่องกรองน้ำ(ชนิดใช้สารกรอง) อันเป็นผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรการประดิษฐ์ซึ่งมีโจทก์ร่วมเป็นผู้ทรงสิทธิบัตร จำเลยที่ 1 ได้เคยฟ้องโจทก์ร่วมเป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ฉบับเดียวกันนี้เป็นคดีแพ่ง ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดโดยวินิจฉัยว่าการออกสิทธิบัตรการประดิษฐ์ให้แก่โจทก์ร่วม ไม่ชอบด้วยมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 เป็นสิทธิบัตรที่ไม่สมบูรณ์ตามมาตรา 54 วรรคแรก จำเลยที่ 1ย่อมยกขึ้นกล่าวอ้างได้ตามมาตรา 54 วรรคสอง
การประดิษฐ์ที่จะขอรับสิทธิบัตรได้จะต้องเป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ซึ่งต้องไม่ใช่งานที่ปรากฏอยู่แล้ว คำว่า งานที่ปรากฏอยู่แล้วมีอยู่หลายกรณีด้วยกันคือมีการจดสิทธิบัตรไว้แล้ว เป็นงานที่ใช้หรือแพร่หลายอยู่แล้วก่อนยื่นคำขอ หรือเป็นงานที่เปิดเผยต่อสาธารณชนโฆษณาในสิ่งพิมพ์ หากสิ่งประดิษฐ์ใดมีลักษณะ 3 ประการที่กล่าวมา จะไม่ถือว่าเป็นสิ่งใหม่
ก่อนหน้าที่โจทก์ร่วมจะไปขอจดทะเบียนสิทธิบัตรเครื่องกรองน้ำที่พิพาท เครื่องกรองน้ำตามสิทธิบัตรของโจทก์ร่วมได้มีแพร่หลายอยู่แล้ว เมื่อโจทก์ร่วมไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าการประดิษฐ์เครื่องกรองน้ำตามสิทธิบัตรของโจทก์ร่วมแตกต่างจากการประดิษฐ์เครื่องกรองน้ำที่แพร่หลายอยู่ก่อนนั้นอย่างไร กรณีจึงยังไม่แน่ชัดว่าการประดิษฐ์เครื่องกรองน้ำของโจทก์ร่วมเป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ซึ่งเข้ากฎเกณฑ์ที่จะขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ได้ นอกจากนี้เครื่องกรองน้ำตามสิทธิบัตรการประดิษฐ์ที่พิพาทของโจทก์ร่วมอันมีวิธีการทำงานโดยการปล่อยให้น้ำไหลจากท่อน้ำในถังกรองที่ 1ผ่านสารกรองต่างๆ ที่ใส่ไว้เป็นชั้นๆ โดยน้ำจากสารกรองชั้นสุดท้ายจะไหลผ่านท่อน้ำรูปตัวแอลไปสู่ด้านบนของถังกรองที่ 2 แล้วไหลผ่านสารกรองในถังกรองที่ 2 ที่จัดเรียงเป็นชั้นๆ จนถึงชั้นสุดท้าย หลังจากนั้นน้ำจะไหลออกจากปลายท่อซึ่งมีก๊อกสำหรับเปิดน้ำใช้ ซึ่งหลักการทำงานของเครื่องกรองน้ำตามสิทธิบัตรการประดิษฐ์ที่พิพาทดังกล่าวนั้น เป็นหลักการทำงานที่อาศัยหลักของแรงดันน้ำ ขับดันให้น้ำไหลไปตามท่อที่วางไว้ภายในถังกรอง ประกอบกับหลักการไหลจากที่สูงไปยังที่ต่ำของน้ำเพื่อให้น้ำไหลผ่านสารกรองด้านบนสุดไปยังสารกรองที่อยู่ด้านล่างสุด อันเป็นหลักการอย่างธรรมดาสามัญที่บุคคลทั่ว ๆ ไปย่อมทราบดีอยู่แล้ว
คดีแพ่งเรื่องก่อนเป็นเรื่องที่โจทก์ร่วมและจำเลยที่ 1 ได้พิพาทกันในคดีแพ่งเกี่ยวกับสิทธิบัตรการประดิษฐ์เดียวกันกับในคดีนี้ โดยศาลฎีกาในคดีดังกล่าวนั้นวินิจฉัยไว้ว่า สิทธิบัตรการประดิษฐ์เลขที่สิทธิบัตร 422 นั้นไม่สมบูรณ์แม้ว่าคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีแพ่งจะผูกพันคู่ความในคดีดังกล่าวเฉพาะในทางแพ่งก็ตาม แต่ศาลย่อมจะนำคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวมาชั่งน้ำหนักประกอบพยานหลักฐานของคู่ความในคดีอาญาได้
สิทธิบัตรการประดิษฐ์เลขที่สิทธิบัตร 422 ของโจทก์ร่วมมิใช่การประดิษฐ์ที่ไม่เป็นที่ประจักษ์โดยง่ายแก่บุคคลที่มีความชำนาญในระดับสามัญสำหรับงานประดิษฐ์เครื่องกรองน้ำ จึงมิใช่การประดิษฐ์ที่มีขั้นตอนที่สูงขึ้น เมื่อสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของโจทก์ร่วมดังกล่าวไม่สมบูรณ์ การกระทำของจำเลยทั้งสองในการผลิตและมีไว้เพื่อขายเครื่องกรองน้ำตามสิทธิบัตรของโจทก์ร่วม จึงไม่เป็นความผิด
การประดิษฐ์ที่จะขอรับสิทธิบัตรได้จะต้องเป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ซึ่งต้องไม่ใช่งานที่ปรากฏอยู่แล้ว คำว่า งานที่ปรากฏอยู่แล้วมีอยู่หลายกรณีด้วยกันคือมีการจดสิทธิบัตรไว้แล้ว เป็นงานที่ใช้หรือแพร่หลายอยู่แล้วก่อนยื่นคำขอ หรือเป็นงานที่เปิดเผยต่อสาธารณชนโฆษณาในสิ่งพิมพ์ หากสิ่งประดิษฐ์ใดมีลักษณะ 3 ประการที่กล่าวมา จะไม่ถือว่าเป็นสิ่งใหม่
ก่อนหน้าที่โจทก์ร่วมจะไปขอจดทะเบียนสิทธิบัตรเครื่องกรองน้ำที่พิพาท เครื่องกรองน้ำตามสิทธิบัตรของโจทก์ร่วมได้มีแพร่หลายอยู่แล้ว เมื่อโจทก์ร่วมไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าการประดิษฐ์เครื่องกรองน้ำตามสิทธิบัตรของโจทก์ร่วมแตกต่างจากการประดิษฐ์เครื่องกรองน้ำที่แพร่หลายอยู่ก่อนนั้นอย่างไร กรณีจึงยังไม่แน่ชัดว่าการประดิษฐ์เครื่องกรองน้ำของโจทก์ร่วมเป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ซึ่งเข้ากฎเกณฑ์ที่จะขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ได้ นอกจากนี้เครื่องกรองน้ำตามสิทธิบัตรการประดิษฐ์ที่พิพาทของโจทก์ร่วมอันมีวิธีการทำงานโดยการปล่อยให้น้ำไหลจากท่อน้ำในถังกรองที่ 1ผ่านสารกรองต่างๆ ที่ใส่ไว้เป็นชั้นๆ โดยน้ำจากสารกรองชั้นสุดท้ายจะไหลผ่านท่อน้ำรูปตัวแอลไปสู่ด้านบนของถังกรองที่ 2 แล้วไหลผ่านสารกรองในถังกรองที่ 2 ที่จัดเรียงเป็นชั้นๆ จนถึงชั้นสุดท้าย หลังจากนั้นน้ำจะไหลออกจากปลายท่อซึ่งมีก๊อกสำหรับเปิดน้ำใช้ ซึ่งหลักการทำงานของเครื่องกรองน้ำตามสิทธิบัตรการประดิษฐ์ที่พิพาทดังกล่าวนั้น เป็นหลักการทำงานที่อาศัยหลักของแรงดันน้ำ ขับดันให้น้ำไหลไปตามท่อที่วางไว้ภายในถังกรอง ประกอบกับหลักการไหลจากที่สูงไปยังที่ต่ำของน้ำเพื่อให้น้ำไหลผ่านสารกรองด้านบนสุดไปยังสารกรองที่อยู่ด้านล่างสุด อันเป็นหลักการอย่างธรรมดาสามัญที่บุคคลทั่ว ๆ ไปย่อมทราบดีอยู่แล้ว
คดีแพ่งเรื่องก่อนเป็นเรื่องที่โจทก์ร่วมและจำเลยที่ 1 ได้พิพาทกันในคดีแพ่งเกี่ยวกับสิทธิบัตรการประดิษฐ์เดียวกันกับในคดีนี้ โดยศาลฎีกาในคดีดังกล่าวนั้นวินิจฉัยไว้ว่า สิทธิบัตรการประดิษฐ์เลขที่สิทธิบัตร 422 นั้นไม่สมบูรณ์แม้ว่าคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีแพ่งจะผูกพันคู่ความในคดีดังกล่าวเฉพาะในทางแพ่งก็ตาม แต่ศาลย่อมจะนำคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวมาชั่งน้ำหนักประกอบพยานหลักฐานของคู่ความในคดีอาญาได้
สิทธิบัตรการประดิษฐ์เลขที่สิทธิบัตร 422 ของโจทก์ร่วมมิใช่การประดิษฐ์ที่ไม่เป็นที่ประจักษ์โดยง่ายแก่บุคคลที่มีความชำนาญในระดับสามัญสำหรับงานประดิษฐ์เครื่องกรองน้ำ จึงมิใช่การประดิษฐ์ที่มีขั้นตอนที่สูงขึ้น เมื่อสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของโจทก์ร่วมดังกล่าวไม่สมบูรณ์ การกระทำของจำเลยทั้งสองในการผลิตและมีไว้เพื่อขายเครื่องกรองน้ำตามสิทธิบัตรของโจทก์ร่วม จึงไม่เป็นความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7732/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบัตรไม่สมบูรณ์ตาม พรบ.สิทธิบัตร: การประดิษฐ์ที่ไม่สูงขึ้นและมีลักษณะเหมือนเดิม
ข้อที่จำเลยฎีกาว่า สิทธิบัตรการประดิษฐ์ของโจทก์ได้ออกโดยไม่ชอบด้วยมาตรา 5 แห่ง พระราชบัญญัติสิทธิบัตรพ.ศ. 2522 จึงไม่สมบูรณ์นั้นจำเลยมิได้ให้การไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ซึ่งในชั้นอุทธรณ์จำเลยได้ยกประเด็นนี้ขึ้นอุทธรณ์ด้วยแต่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยให้อย่างไรก็ดี ประเด็นนี้เป็นเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะยกขึ้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249วรรคสอง และหากศาลฎีกาเห็นสมควร ก็ชอบที่จะวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวให้ได้ ก่อนที่โจทก์จะยื่นคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ม่านเหล็กบังตาชนิดติดกับประตูเหล็กยึดและพับได้ ได้มีการออกสิทธิบัตรการประดิษฐ์ใบม่านชนิดพับซ้อนแบบยึดและพักได้ที่ประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นการประดิษฐ์ประเภทเดียวกันกับการประดิษฐ์ตามสิทธิบัตรของโจทก์ มีข้อถือสิทธิตามคำขอรับสิทธิบัตรของโจทก์แตกต่างกับข้อถือสิทธิของประเทศอังกฤษคือ ตามคำขอรับสิทธิบัตรของโจทก์ขอบด้านหนึ่งของใบม่านหักเป็นมุม และอีกด้านหนึ่งไม่หักเป็นมุม ส่วนตามสิทธิบัตรของประเทศอังกฤษขอบใบม่านทั้งสองด้านหักเป็นมุม ดังนี้ ข้อแตกต่างตามข้อถือสิทธิดังกล่าวเป็นข้อแตกต่างเพียงเล็กน้อย การใช้งานมีลักษณะทำนองเดียวกันไม่ปรากฎว่าการประดิษฐ์ตามสิทธิบัตรของโจทก์ใช้งานหรือมีประสิทธิภาพดีกว่าการประดิษฐ์ตามสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของประเทศอังกฤษที่ได้ออกไว้ก่อนที่โจทก์จะยื่นคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของโจทก์ การประดิษฐ์ตามสิทธิบัตรของโจทก์จึงมิใช่การประดิษฐ์ที่ไม่เป็นที่ประจักษ์โดยง่ายแก่บุคคลที่มีความชำนาญในระดับสามัญสำหรับงานประเภทนั้น อันจะถือว่าเป็นการประดิษฐ์ที่มีขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้นได้ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 การประดิษฐ์ตามสิทธิบัตรของโจทก์เป็นการประดิษฐ์ที่ไม่อาจขอรับสิทธิบัตรได้สิทธิบัตรการประดิษฐ์ของโจทก์จึงเป็นสิทธิบัตรที่ได้ออกไปโดยไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 5(2)ซึ่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่งให้ถือว่าสิทธิบัตรนั้นเป็นสิทธิบัตรนั้นเป็นสิทธิบัตรที่ไม่สมบูรณ์ โจทก์ย่อมไม่ได้รับความคุ้มครองตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวและไม่ถูกโต้แย้งสิทธิแต่อย่างใดโจทก์จึงหามีอำนาจฟ้องขอให้ห้ามจำเลยที่ 2 อธิบดีกรมทะเบียนการค้ารับจดทะเบียนและออกสิทธิบัตรให้แก่จำเลยที่ 1 หรือให้ยกคำวินิจฉัยของจำเลยที่ 3ในฐานะประธานคณะกรรมการสิทธิบัตรได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4131/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบัตรต้องมีขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้น การออกสิทธิบัตรที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไข ศาลสั่งเพิกถอนได้
จำเลยเป็นผู้ทรงสิทธิบัตรการประดิษฐ์เลขที่ 422ประเภทเครื่องกรองน้ำชนิดใช้สารกรอง โดยมีข้อถือสิทธิ คือ เครื่องกรองน้ำที่ประกอบด้วยถังทรงกระบอกที่ทำด้วยสแตนเลส คู่ ซึ่งในถังกรองถังที่ 1 จะมีชั้นของสารที่ใช้กรองคือ สารแอนทราไซส์คาร์บอนกรีนแซนด์ และทรายหยาบ ในถังกรองที่ 2 จะมีสารกรองที่เป็นเรซิน ถังกรองทั้งสองจะยึดติดกันด้วยแผ่นสแตนเลส เชื่อมต่อกัน โดยที่ปลายท่อส่งน้ำเข้าในถังกรองถังที่ 1 จะอยู่สูงกว่าปลายท่อส่งน้ำเข้าในถังกรองถังที่ 2 และที่ปลายท่อส่งน้ำต่าง ๆ จะมีท่อครอบที่เป็นรูพรุน รอบด้านครอบปิดอยู่ แม้การประดิษฐ์ตามสิทธิบัตรของจำเลยจะไม่เหมือนกับการประดิษฐ์ตามสิทธิบัตรของประเทศฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลียซึ่งเป็นงานที่ปรากฏอยู่แล้ว แต่ลักษณะเด่น ของการประดิษฐ์ตามข้อถือสิทธิในสิทธิบัตรของจำเลยที่เป็นถังกรองคู่ที่มีท่อน้ำผ่านเข้าสู่ถังกรองซึ่งได้จัดระบบไว้โดยท่อส่งน้ำเข้าในถังกรองถังที่ 1 จะอยู่สูงกว่าปลายท่อส่งน้ำเข้าในถังที่ 2 ไม่ปรากฏว่าการใช้ถังกรองน้ำเพียงถังเดียวกับหลายถังจะเป็นผลทำให้การกรองน้ำดีขึ้นและตามสิทธิบัตรของประเทศฝรั่งเศสเป็นถังกรองน้ำที่ประกอบด้วยถังกรองคู่ผิดกับถังกรองน้ำตามสิทธิบัตรของจำเลยก็เพียงแบบ ขนาด และตำแหน่ง การวางของถังเท่านั้น เมื่อมีการใช้ถังกรองน้ำเกินถังเดียว การที่มีท่อน้ำผ่านเข้าสู่ถังกรองโดยจัดระบบให้ท่อส่งน้ำเข้าในถังที่ 1 อยู่สูงกว่าปลายท่อส่งน้ำเข้าในถังที่ 2ก็เป็นหลักธรรมดาที่ทราบกันอยู่ทั่วไปว่า ตามธรรมชาติของเหลวย่อมไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำและที่ปลายท่อส่งน้ำทุกปลายจะมีท่อครอบที่มีรูพรุน คลุมอยู่โดยรอบซึ่งเศษขยะจะไม่สามารถเข้าสู่ท่อน้ำได้ทำให้ไม่เกิดปัญหาการอุดตันของท่อ ก็เป็นวิธีการที่ทราบกันโดยทั่วไป ไม่ปรากฏว่าเครื่องกรองน้ำ ตามสิทธิบัตรของจำเลยมีประสิทธิภาพในการกรองน้ำ ดีกว่าหรือสามารถแก้ปัญหาข้อขัดข้องที่เครื่องกรองน้ำ ตามสิทธิบัตรของทั้งสามประเทศดังกล่าวไม่อาจ แก้ไขได้แต่อย่างใดไม่เพียงพอที่จะถือไม่เป็นสิ่งที่ ประจักษ์ได้โดยง่ายต่อบุคคลผู้มีความชำนาญในระดับ สามัญของงานประเภทนั้นอันจะถือว่าเป็นการประดิษฐ์ที่มีขึ้นประดิษฐ์สูงขึ้นได้ ดังนั้น การออกสิทธิบัตรการประดิษฐ์เลขที่ 422 ให้แก่จำเลยจึงไม่ชอบด้วยมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 เป็นสิทธิบัตรที่ ไม่สมบูรณ์ตามมาตรา 54 วรรคแรก โจทก์ย่อมยกขึ้น กล่าวอ้างได้ตามมาตรา 54 วรรคสอง จำเลยไม่มี สิทธิที่จะขอบังคับให้โจทก์ยุติการผลิตเครื่องกรองน้ำ ของโจทก์ได้ การที่จำเลยมีหนังสือให้โจทก์ยุติการขายเครื่องกรองน้ำ โดยจะดำเนินคดีแพ่งและคดีอาญาแก่โจทก์นั้นเป็นการ บอกกล่าวที่จะใช้สิทธิตามกฎหมายที่จำเลยยังอยู่ ในขณะบอกกล่าวย่อมไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2586/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบัตร: การละเมิดต้องพิจารณาจากข้อถือสิทธิ การมีส่วนประกอบคล้ายคลึงกันไม่ถือเป็นการละเมิด
ลักษณะการประดิษฐ์ของจำเลยแตกต่างจากลักษณะพิเศษตามข้อถือสิทธิในอนุสิทธิบัตรของโจทก์ 3 รายการ คือ ในลำดับที่ 1 แผ่นปิดกั้นด้านซ้ายตามข้อถือสิทธิในอนุสิทธิบัตรของโจทก์ บริเวณขอบด้านนอกของแผ่นปิดกั้นด้านซ้ายเป็นแนวขอบกั้นด้านซ้ายที่มีแนวร่องยึดด้านซ้ายอย่างน้อยหนึ่งแนวติดตั้งอยู่ สำหรับรองรับการสอดผ่านของนอตยึดด้านซ้ายจากภายนอก ส่วนการประดิษฐ์ของจำเลย บริเวณขอบด้านนอกของแผ่นปิดกั้นด้านซ้ายเป็นแนวขอบกั้นด้านซ้าย ไม่มีแนวร่องยึดด้านซ้ายติดตั้งอยู่ แต่จะมีส่วนต่อยื่นด้านล่างจากขอบด้านนอกของแนวขอบกั้นที่มีรูสำหรับรองรับการสอดผ่านของนอตยึดจากภายนอก ลำดับที่ 3 แผ่นรองด้านล่างในข้อถือสิทธิตามอนุสิทธิบัตรของโจทก์ บริเวณพื้นผิวของแผ่นรองด้านล่างเป็นแนวร่องเปิดด้านบนอย่างน้อยหนึ่งแนว หรือแนวร่องปิดด้านบนอย่างน้อยหนึ่งแนว สำหรับรองรับการยึดของนอตยึดด้านซ้ายที่สอดทะลุผ่านมาจากแนวร่องยึดด้านซ้าย ขณะที่แนวขอบด้านหนึ่งของแผ่นรองด้านล่างสอดเข้าด้านในระหว่างมุมบรรจบด้านหน้าซ้ายกับมุมบรรจบด้านหลังซ้ายของส่วนปิดกั้นด้านซ้าย ส่วนการประดิษฐ์ของจำเลย บริเวณพื้นผิวของแผ่นรองด้านล่างของส่วนรองรับด้านล่างไม่มีแนวร่องเปิดด้านบนหรือแนวร่องปิดด้านบน แต่จะมีรูเจาะสำหรับรองรับการยึดของนอตยึดด้านล่างที่สอดทะลุมาจากส่วนต่อยื่นด้านล่างจากขอบด้านนอกของแนวขอบกั้นของแผ่นปิดกั้นด้านซ้าย ลำดับที่ 7 แผ่นปิดกั้นด้านขวาตามข้อถือสิทธิในอนุสิทธิบัตรของโจทก์ บริเวณขอบด้านนอกของแผ่นปิดกั้นด้านขวาเป็นแนวขอบกั้นด้านขวาที่มีแนวร่องยึดด้านขวาอย่างน้อยหนึ่งแนวติดตั้งอยู่ สำหรับรองรับการสอดผ่านของนอตยึดด้านขวาที่สอดทะลุผ่านมาจากแนวร่องยึดด้านขวา ส่วนการประดิษฐ์ของจำเลย บริเวณขอบด้านนอกของแผ่นปิดกั้นด้านขวาเป็นแนวขอบกั้นด้านขวา ไม่มีแนวร่องยึดด้านขวาติดตั้งอยู่ แต่จะมีส่วนต่อยื่นด้านล่างจากขอบด้านนอกของแนวขอบกั้นของแผ่นปิดกั้นด้านขวาสำหรับรองรับการสอดผ่านของนอตยึดจากภายนอกลักษณะที่แตกต่างกันในลำดับที่ 1 ที่ 3 และที่ 7 ดังกล่าว ถือเป็นข้อสาระสำคัญเนื่องจากความมุ่งหมายในการประดิษฐ์ของโจทก์ต้องการแก้ไขปัญหาแผ่นป้ายแสดงสถานะด้านบนหลังคายานพาหนะแบบเก่าซึ่งใช้เวลามากในการประกอบติดตั้งยึดแต่ละส่วนเข้าด้วยกัน โดยการเปิดเผยการประดิษฐ์โดยสมบูรณ์ตามอนุสิทธิบัตรของโจทก์ระบุว่า การประดิษฐ์ตามอนุสิทธิบัตรนี้ ส่วนประกอบต่าง ๆ จะสามารถติดตั้งเข้าด้วยกันหรือถอดออกจากกันได้โดยง่ายด้วยการขันยึดของนอต ดังนั้น วิธีการยึดของนอตจึงหาใช่รายละเอียดปลีกย่อยไม่ ตามข้อถือสิทธิในอนุสิทธิบัตรของโจทก์การประกอบแผ่นปิดกั้นด้านซ้ายเข้ากับแผ่นรองด้านล่างใช้วิธีสอดนอตยึดจากภายนอกผ่านแนวร่องยึดด้านซ้ายโดยมีแนวร่องเปิดด้านบนของแผ่นรองด้านล่างรองรับการยึดของนอตยึดด้านซ้าย การประกอบแผ่นปิดกั้นด้านขวาเข้ากับแผ่นรองด้านล่างมีลักษณะเช่นเดียวกันคือใช้วิธีสอดนอตยึดจากภายนอกผ่านแนวร่องยึดด้านขวาโดยมีแนวร่องเปิดด้านบนของแผ่นรองด้านล่างรองรับการยึดของนอตด้านขวา การใช้นอตยึดในการประดิษฐ์ตามอนุสิทธิบัตรของโจทก์จึงต้องอาศัยแนวร่องซึ่งถือว่าเป็นลักษณะพิเศษเฉพาะที่โจทก์กล่าวอ้างว่าเป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ และขอรับความคุ้มครองตามข้อถือสิทธิในอนุสิทธิบัตรของโจทก์ แต่เมื่อพิจารณาการประดิษฐ์ของจำเลยปรากฏว่าแผ่นปิดกั้นด้านซ้ายและด้านขวาไม่มีแนวร่องยึดด้านซ้ายและแนวร่องยึดด้านขวา กับแผ่นรองด้านล่างไม่มีแนวร่อง โดยแผ่นปิดกั้นด้านซ้ายและด้านขวาของจำเลยมีส่วนต่อยื่นด้านล่างจากขอบด้านนอกของแนวขอบกั้นด้านซ้ายและด้านขวา และมีรูเพื่อรองรับการสอดผ่านของนอตยึด แผ่นรองด้านล่างมีรูเจาะสำหรับรองรับนอตยึดที่ทะลุมาจากส่วนต่อยื่นด้านล่างจากขอบด้านนอกของแนวขอบกั้นด้านซ้ายและด้านขวา การประดิษฐ์ของจำเลยจึงมีลักษณะแตกต่างจากการประดิษฐ์ตามข้อถือสิทธิในอนุสิทธิบัตรของโจทก์อย่างชัดเจน
ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 65 ทศ ประกอบมาตรา 36 ทวิ สิทธิของผู้ทรงอนุสิทธิบัตรมีขอบเขตดังระบุในข้อถือสิทธิ ซึ่งการวินิจฉัยขอบเขตการประดิษฐ์ตามข้อถือสิทธิต้องพิจารณาจากลักษณะของการประดิษฐ์ที่ระบุในรายละเอียดการประดิษฐ์และรูปเขียนประกอบด้วย ในกรณีที่โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยกระทำละเมิดอนุสิทธิบัตรของโจทก์ต้องนำลักษณะการประดิษฐ์ที่โจทก์ระบุไว้ในรายละเอียดการประดิษฐ์ตามข้อถือสิทธิมาเปรียบเทียบกับการประดิษฐ์ของจำเลย ส่วนที่แตกต่างกันเป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงว่าการประดิษฐ์ของจำเลยไม่อยู่ในขอบเขตข้อถือสิทธิของโจทก์ในการพิจารณาเปรียบเทียบจึงไม่อาจละเลยส่วนดังกล่าวได้
การประดิษฐ์ตามอนุสิทธิบัตรของโจทก์มีส่วนประกอบแยกได้ดังนี้ คือ ส่วนปิดกั้นด้านซ้ายและด้านขวาที่มีลักษณะเป็นแผ่นสามเหลี่ยม แผ่นรองด้านหลัง ท่อแบนกลวงปิดกั้นด้านบนและแผ่นป้ายปิดด้านหน้าและด้านหลัง ส่วนประกอบต่าง ๆ ดังกล่าวเป็นสิ่งสามัญซึ่งใช้ในการประดิษฐ์ทั่ว ๆ ไปจำเลยจึงสามารถนำมาใช้ในการประดิษฐ์ได้ สำหรับรูปทรงภายนอกเมื่อประกอบเสร็จแม้จะมีความคล้ายคลึงกันก็ไม่เป็นเหตุให้การกระทำของจำเลยเป็นการละเมิดอนุสิทธิบัตรของโจทก์ เนื่องจากอนุสิทธิบัตรของโจทก์เป็นเรื่องการประดิษฐ์หาใช่เรื่องการออกแบบผลิตภัณฑ์ไม่ จำเลยมิได้นำข้อถือสิทธิของโจทก์ในเรื่องแนวร่องซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่และได้รับความคุ้มครองตามข้อถือสิทธิในอนุสิทธิบัตรของโจทก์มาใช้ในการประดิษฐ์ป้ายไฟบนรถแท็กซี่ของจำเลย การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการละเมิดอนุสิทธิบัตรของโจทก์
ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 65 ทศ ประกอบมาตรา 36 ทวิ สิทธิของผู้ทรงอนุสิทธิบัตรมีขอบเขตดังระบุในข้อถือสิทธิ ซึ่งการวินิจฉัยขอบเขตการประดิษฐ์ตามข้อถือสิทธิต้องพิจารณาจากลักษณะของการประดิษฐ์ที่ระบุในรายละเอียดการประดิษฐ์และรูปเขียนประกอบด้วย ในกรณีที่โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยกระทำละเมิดอนุสิทธิบัตรของโจทก์ต้องนำลักษณะการประดิษฐ์ที่โจทก์ระบุไว้ในรายละเอียดการประดิษฐ์ตามข้อถือสิทธิมาเปรียบเทียบกับการประดิษฐ์ของจำเลย ส่วนที่แตกต่างกันเป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงว่าการประดิษฐ์ของจำเลยไม่อยู่ในขอบเขตข้อถือสิทธิของโจทก์ในการพิจารณาเปรียบเทียบจึงไม่อาจละเลยส่วนดังกล่าวได้
การประดิษฐ์ตามอนุสิทธิบัตรของโจทก์มีส่วนประกอบแยกได้ดังนี้ คือ ส่วนปิดกั้นด้านซ้ายและด้านขวาที่มีลักษณะเป็นแผ่นสามเหลี่ยม แผ่นรองด้านหลัง ท่อแบนกลวงปิดกั้นด้านบนและแผ่นป้ายปิดด้านหน้าและด้านหลัง ส่วนประกอบต่าง ๆ ดังกล่าวเป็นสิ่งสามัญซึ่งใช้ในการประดิษฐ์ทั่ว ๆ ไปจำเลยจึงสามารถนำมาใช้ในการประดิษฐ์ได้ สำหรับรูปทรงภายนอกเมื่อประกอบเสร็จแม้จะมีความคล้ายคลึงกันก็ไม่เป็นเหตุให้การกระทำของจำเลยเป็นการละเมิดอนุสิทธิบัตรของโจทก์ เนื่องจากอนุสิทธิบัตรของโจทก์เป็นเรื่องการประดิษฐ์หาใช่เรื่องการออกแบบผลิตภัณฑ์ไม่ จำเลยมิได้นำข้อถือสิทธิของโจทก์ในเรื่องแนวร่องซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่และได้รับความคุ้มครองตามข้อถือสิทธิในอนุสิทธิบัตรของโจทก์มาใช้ในการประดิษฐ์ป้ายไฟบนรถแท็กซี่ของจำเลย การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการละเมิดอนุสิทธิบัตรของโจทก์