พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6343/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาศุลกากรต้องพิจารณาเวลาและสภาพสินค้าที่นำเข้า ราคาที่ปรากฏในใบกำกับสินค้าเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด
มาตรา 2 แห่ง พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 บัญญัติว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาด หรือราคาแห่งของอย่างใดนั้นหมายความว่า ราคาขายส่งเงินสด (ในส่วนของขาเข้าไม่รวมค่าอากร)ซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้โดยไม่ขาดทุน ณ เวลาและที่นำของเข้าหรือส่งออกแล้วแต่กรณี โดยไม่มีหักทอนหรือลดหย่อนราคาอย่างใด โจทก์นำของเข้าเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2531 แต่ของตามใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าที่จำเลยนำมาใช้เปรียบเทียบนำเข้าเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2530 และวันที่ 15กันยายน 2530 อันเป็นการนำเข้าในเวลาที่แตกต่างกันจนไม่อาจจะนำเอาราคามาเทียบกันได้ เมื่อราคาของที่ขายกันตามใบเสนอขาย และใบกำกับสินค้าเป็นไปตามปกติธรรมดาของของที่ซื้อขายกัน ราคานั้นเป็นราคา ซี.ไอ.เอฟ. กรุงเทพมหานคร จึงเป็นราคา ณ เวลาและที่ที่นำของเข้าซึ่งจะพึงขายได้โดยไม่ขาดทุน อันถือได้ว่าเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2441/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดค่าทดแทนที่ดินเวนคืนต้องอ้างอิงราคาปานกลางในวันเวนคืนและสภาพที่ดิน การใช้ราคาซื้อขายภายหลังวันเวนคืนเป็นหลักไม่ได้
การกำหนดค่าทดแทนแก่เจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 มาตรา 14กำหนดตามความเป็นธรรมในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาเวนคืนต้องถือตามประกาศราคาปานกลางของที่ดินเพื่อเก็บภาษีบำรุงท้องที่กับสภาพและทำเลของทรัพย์สินมาประกอบกัน การที่อนุญาโตตุลาการนำราคาซื้อขายที่ดินใกล้เคียงแต่อยู่คนละหน่วยและเป็นการซื้อขายเพียงรายเดียว หลังวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาเวนคืน กับนำราคาตามหนังสือของโจทก์เป็นหลักในการพิจารณาเป็นการขัดต่อกฎหมายศาลไม่บังคับตามคำชี้ขาดนั้น จำเลยฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่บังคับให้จำเลยชำระเงินตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ต้องเสียค่าขึ้นศาลในอัตราร้อยละหนึ่งของทุนทรัพย์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5564/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาศุลกากร กรณีค่าความชื้น และการปฏิบัติตามประมวลระเบียบปฏิบัติศุลกากร
ป.รัษฎากร มาตรา 79/2 กำหนดหลักเกณฑ์ของฐานภาษีสำหรับการนำเข้าสินค้าไว้เป็นการเฉพาะแล้ว โดยวรรคสามบัญญัติว่า "ราคา ซี.ไอ.เอฟ. ได้แก่ราคาสินค้าบวกด้วยค่าประกันภัยและค่าขนส่งถึงด่านศุลกากรที่นำสินค้านั้นเข้าในราชอาณาจักร" และกฎกระทรวง (ฉบับที่ 132) ข้อ 8 ระบุว่า ราคาซื้อขายของที่นำเข้าที่ใช้ในการกำหนดราคาศุลกากรจะต้องเป็นราคาที่ได้ชำระจริงหรือที่จะต้องชำระสำหรับของที่นำเข้านั้น เมื่อได้มีการขายเพื่อส่งออกมายังราชอาณาจักร
การตรวจปล่อยสินค้าถ่านหินของโจทก์เทกองในลักษณะ BULK CARGO ผลการคำนวณจากการวัดระดับเรือได้น้ำหนักสินค้า 6,198 เมตริกตัน เท่ากับน้ำหนักสินค้าตามใบขนสินค้าขาเข้า ใบตราส่งสินค้า บัญชีสินค้าสำหรับเรือ บัญชีหีบห่อสินค้า ใบรับรองค่าขนส่ง และหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า โดยมีราคาต่อหน่วยคือ 80 ดอลลาร์สหรัฐต่อเมตริกตัน จึงเป็นราคาสินค้า 495,840 ดอลลาร์สหรัฐ การที่โจทก์ปฏิเสธราคาเช่นว่านั้นว่าไม่ถูกต้อง ความจริงราคาที่โจทก์จ่ายต่ำกว่านั้น โจทก์จึงมีหน้าที่พิสูจน์ให้ได้ความดังที่อ้าง เมื่อโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าค่าความชื้นที่ปรากฏตามบัญชีราคาสินค้านั้นสามารถคำนวณหักออกจากปริมาณน้ำหนักสินค้าทั้งหมดเพื่อคำนวณหาราคาที่แท้จริงอย่างไร โจทก์จึงไม่อาจนำค่าความชื้นมาหักเป็นส่วนลดจากมูลค่าของสินค้าได้
การตรวจปล่อยสินค้าถ่านหินของโจทก์เทกองในลักษณะ BULK CARGO ผลการคำนวณจากการวัดระดับเรือได้น้ำหนักสินค้า 6,198 เมตริกตัน เท่ากับน้ำหนักสินค้าตามใบขนสินค้าขาเข้า ใบตราส่งสินค้า บัญชีสินค้าสำหรับเรือ บัญชีหีบห่อสินค้า ใบรับรองค่าขนส่ง และหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า โดยมีราคาต่อหน่วยคือ 80 ดอลลาร์สหรัฐต่อเมตริกตัน จึงเป็นราคาสินค้า 495,840 ดอลลาร์สหรัฐ การที่โจทก์ปฏิเสธราคาเช่นว่านั้นว่าไม่ถูกต้อง ความจริงราคาที่โจทก์จ่ายต่ำกว่านั้น โจทก์จึงมีหน้าที่พิสูจน์ให้ได้ความดังที่อ้าง เมื่อโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าค่าความชื้นที่ปรากฏตามบัญชีราคาสินค้านั้นสามารถคำนวณหักออกจากปริมาณน้ำหนักสินค้าทั้งหมดเพื่อคำนวณหาราคาที่แท้จริงอย่างไร โจทก์จึงไม่อาจนำค่าความชื้นมาหักเป็นส่วนลดจากมูลค่าของสินค้าได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5607/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีธุรกิจเฉพาะ: การขายอสังหาริมทรัพย์ที่มีภาระการเช่า การกำหนดราคาตลาดที่สมเหตุสมผล
ป.รัษฎากร มาตรา 30 (2) ที่บัญญัติให้อุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาล ก็เพื่อให้ศาลพิจารณาว่าการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ หากไม่ชอบด้วยกฎหมายทั้งหมดก็มีอำนาจเพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์นั้น แต่ถ้าชอบด้วยกฎหมายเพียงบางส่วน ก็มีอำนาจที่จะแก้ไขการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์นั้นได้ ฉะนั้น เมื่อศาลภาษีอากรกลางเห็นว่าการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ชอบด้วยกฎหมายเพียงบางส่วน ศาลภาษีอากรกลางย่อมมีอำนาจแก้ไขการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ได้
ที่ดินและตึกแถวที่โจทก์ขายให้แก่บริษัท พ. เป็นที่ดินและตึกแถวที่โจทก์ให้บริษัท น. เช่า การขายที่ดินและตึกแถวดังกล่าวจึงเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่โจทก์มีไว้ในการประกอบกิจการเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางการค้าหรือหากำไร โจทก์จึงต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะจากการขายที่ดินและตึกแถว
เมื่อราคาตลาดของที่ดินมิใช่ราคาตามที่ต่างฝ่ายต่างอ้างและไม่อาจหาราคาตลาดที่ถูกต้องได้ การที่ศาลภาษีอากรกำหนดราคาตลาดของที่ดินโดยใช้ราคาเฉลี่ยระหว่างราคาขั้นต่ำ 53,924,000 บาท และราคาขั้นสูง 909,293,000 บาท เป็นเงิน 481,608,500 บาท จึงเป็นธรรมแล้ว
ที่ดินและตึกแถวที่โจทก์ขายให้แก่บริษัท พ. เป็นที่ดินและตึกแถวที่โจทก์ให้บริษัท น. เช่า การขายที่ดินและตึกแถวดังกล่าวจึงเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่โจทก์มีไว้ในการประกอบกิจการเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางการค้าหรือหากำไร โจทก์จึงต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะจากการขายที่ดินและตึกแถว
เมื่อราคาตลาดของที่ดินมิใช่ราคาตามที่ต่างฝ่ายต่างอ้างและไม่อาจหาราคาตลาดที่ถูกต้องได้ การที่ศาลภาษีอากรกำหนดราคาตลาดของที่ดินโดยใช้ราคาเฉลี่ยระหว่างราคาขั้นต่ำ 53,924,000 บาท และราคาขั้นสูง 909,293,000 บาท เป็นเงิน 481,608,500 บาท จึงเป็นธรรมแล้ว