พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2037/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชยกรณีเลิกจ้าง: การป่วยของลูกจ้างไม่ใช่เหตุให้ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยหากไม่ได้เกิดจากการกระทำของลูกจ้างเอง
ตาม ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(2)และ (5) ที่แก้ไขใหม่ ระบุว่านายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างในกรณีลูกจ้างจงใจทำให้นายจ้างได้ รับความเสียหายหรือลูกจ้างประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้ รับความเสียหายอย่างร้ายแรงดังนี้การที่โจทก์ป่วยไม่สามารถปฏิบัติงานตาม หน้าที่ได้ ตาม ปกตินั้นเป็นเหตุที่เกิดขึ้นตาม สภาพร่างกายโดย ธรรมชาติ มิใช่เกิดจากการกระทำของโจทก์ ถือ ไม่ได้ว่าโจทก์จงใจทำให้จำเลยได้ รับความเสียหายหรือเป็นการกระทำโดย ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้จำเลยได้ รับความเสียหาย เมื่อจำเลยเลิกจ้างจึงต้อง จ่ายค่าชดเชยให้โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2998/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ต้องมีเหตุสุดวิสัย การป่วยของผู้ร้องที่ไม่แจ้งก่อนกำหนดไม่ถือเป็นเหตุสุดวิสัย
โจทก์ยื่นคำร้องว่าโจทก์เจ็บป่วยจนไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ โดยทนายโจทก์ทราบดีอยู่แล้วว่าโจทก์ป่วยด้วยโรคไต ต้องเข้ารักษาที่โรงพยาบาลเป็นประจำเหตุดังกล่าวจึงไม่ใช่เหตุที่ทำให้ทนายโจทก์ไม่อาจมีคำขอขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลาอุทธรณ์ จึงไม่ถือเป็นเหตุสุดวิสัยที่ศาลจะอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 23 ดังกล่าวได้ ส่วนที่ทนายโจทก์อ้างอีกว่า หากโจทก์ต้องการจะยื่นอุทธรณ์อย่างคนอนาถา โจทก์จะต้องกระทำด้วยตนเอง จึงมีเหตุสมควรที่ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาดำเนินการดังกล่าว ก็เป็นการคาดคะเนของทนายโจทก์ทั้งสิ้น จึงไม่อาจอ้างได้ว่าเหตุดังกล่าวเป็นเหตุสุดวิสัยเช่นกัน