พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6969/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรวบรวมหลักฐานลายมือชื่อในคดีอาญา: พนักงานสอบสวนมีอำนาจกว้างขวางในการแสวงหาหลักฐาน แม้ไม่มีตัวอย่างลายมือชื่อเดิม
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 132 พนักงานสอบสวนมีอำนาจหน้าที่รวบรวมหลักฐานในคดีความ เมื่อผู้เสียหายอ้างว่า ลายมือชื่อในใบถอนเงินตามเอกสารพิพาทไม่ใช่ลายมือชื่อของตน แต่จำเลยอ้างว่าเป็นลายมือชื่อของผู้เสียหายซึ่งลงลายมือชื่อต่อหน้าจำเลย จึงมีปัญหาว่าลายมือชื่อดังกล่าวเป็นลายมือชื่อของผู้เสียหายหรือไม่ การที่พนักงานสอบสวนจัดให้ผู้เสียหายลงลายมือชื่อต่อหน้าตนในกระดาษหลายแผ่นและขวนขวายจัดหาลายมือชื่อและลายมือเขียนของ ผู้เสียหายที่เคยลงลายมือชื่อหรือเขียนไว้ในที่อื่น ๆ ซึ่งมีจำนวนมากพอสมควรแล้วรวมส่งไปให้เจ้าหน้าที่กองพิสูจน์หลักฐานตรวจเปรียบเทียบที่กองพิสูจน์หลักฐาน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ แม้จะไม่ได้ตัวอย่างลายมือชื่อที่ผู้เสียหายให้ไว้แก่ธนาคารขณะเปิดบัญชีรวมไปด้วย ก็ถือว่าเป็นการกระทำที่ชอบแล้วในเมื่อพนักงานสอบสวนเห็นว่าเอกสารดังกล่าวเป็นหลักฐานที่เพียงพอแล้วสำหรับพิสูจน์ความผิดของจำเลย ส่วนจะมีน้ำหนักรับฟังได้เพียงใดเป็นดุลพินิจของศาล
ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยไม่ใช่ผู้ที่เคยต้องโทษจำคุกมาก่อน ศาลจึงต้องเพิ่มโทษจำเลยไม่ได้ ปัญหาข้อนี้ยุติไป ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า จำเลยเคยต้องโทษจำคุกมาก่อนตามฟ้องโดยจำเลยมิได้อุทธรณ์ จำเลยจึงฎีกาต่อมาไม่ได้ แม้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาข้อนี้มาด้วย ก็ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้าม มิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15
ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยไม่ใช่ผู้ที่เคยต้องโทษจำคุกมาก่อน ศาลจึงต้องเพิ่มโทษจำเลยไม่ได้ ปัญหาข้อนี้ยุติไป ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า จำเลยเคยต้องโทษจำคุกมาก่อนตามฟ้องโดยจำเลยมิได้อุทธรณ์ จำเลยจึงฎีกาต่อมาไม่ได้ แม้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาข้อนี้มาด้วย ก็ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้าม มิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์หลักฐานการซื้อขายตั๋วสัญญาใช้เงิน: ความสำคัญของลายมือชื่อ, การลงบัญชี และความน่าเชื่อถือของพยาน
พยานโจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการแผนกเงินกู้และเป็นผู้รับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีแทนเบิกความตอบคำถามค้านและคำถามติงว่า ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยในเรื่องที่จำเลยนำตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทมาขายลดให้โจทก์นั้นเป็นการตกลงกันปากเปล่า และโจทก์ก็ไม่ได้นำเรื่องการขายลดมาลงในสมุดบัญชีเงินสดรายวันในวันที่มีการขายลดแต่เพิ่งจะนำมาลงบัญชีหลังจากนั้นเกือบหนึ่งเดือน ดังนี้ เป็นเรื่องที่คู่กรณีไม่น่าจะตกลงกันเพียงวาจา หากแต่ควรทำเป็นสัญญามีหลักฐานให้ปรากฏด้วยตัวหนังสือเนื่องจากตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทมีจำนวนเงินสูงมากถึงสองล้านบาทเศษ และการที่โจทก์ไม่ได้มีการลงรายการเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ในบัญชีเงินสดประจำวันในวันเดียวกัน ก็เป็นข้อพิรุธได้ว่า ได้มีการตกลงกันจริงหรือไม่นอกจากนี้ข้อเท็จจริงยังปรากฏด้วยว่า ลายมือชื่อของผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทซึ่งเป็นภาษาไทย และโจทก์อ้างว่าเป็นลายมือที่แท้จริงของจำเลยนั้นมีลักษณะแตกต่างจากลายมือชื่อภาษาไทยของจำเลยซึ่งทำขึ้นก่อนหน้านี้ประมาณหกปี และจำเลยก็ไม่ได้ลงลายมือชื่อเป็นภาษาไทยมานานแล้ว ในการติดต่อธุรกิจกับโจทก์ จำเลยลงลายมือชื่อเป็นภาษาอังกฤษเสมอมา การที่โจทก์มิได้ตรวจสอบหรือทักท้วงในการที่จำเลยลงลายมือชื่อเป็นภาษาไทยในตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทอันเป็นลายมือชื่อต่างภาษากับลายมือชื่อตัวอย่างของจำเลยที่ให้ไว้กับโจทก์ทั้งที่มูลค่าแห่งหนี้มีจำนวนสูง ดังนี้ พยานหลักฐานของโจทก์ซึ่งมีภาระการพิสูจน์จึงยังไม่มีน้ำหนัก ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่า จำเลยขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทไว้กับโจทก์.