พบผลลัพธ์ทั้งหมด 31 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4659/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินพิพาท: การซื้อขายที่ดินและการขาดอายุความฟ้องคดี
จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่าจำเลยซื้อที่ดินพิพาทจากโจทก์ โจทก์ส่งมอบการครอบครองให้จำเลยแล้ว จำเลยเข้าครอบครองทำประโยชน์ตลอดมา ดังนี้ ตามคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยไม่มีปัญหาเรื่องการแย่งการครอบครองเพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดขึ้นได้ก็แต่เฉพาะในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น หาได้หมายถึงที่ดินที่ตนเป็นผู้มีสิทธิครอบครองเองไม่ การที่จำเลยยกเหตุเป็นข้อต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยโดยการซื้อมาจากโจทก์ จึงไม่เกิดประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองเกิน 1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3952/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจับกุมและการฟ้องคดีอาญา: การจับกุมที่ชอบด้วยกฎหมายและการหมดอายุคดี
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 237 บัญญัติว่า ในคดีอาญา การจับและคุมขังบุคคลใดจะกระทำมิได้ เว้นแต่มีคำสั่งหรือหมายของศาล หรือผู้นั้นได้กระทำความผิดซึ่งหน้า หรือมีเหตุจำเป็นอย่างอื่นให้จับได้โดยไม่มีหมายตามที่กฎหมายบัญญัติ โดยผู้ถูกจับจะต้องได้รับการแจ้งข้อกล่าวหาและรายละเอียดแห่งการจับโดยไม่ชักช้า และตาม ป.วิ.อ. มาตรา 78 (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะที่อยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น บัญญัติว่า พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจจะจับผู้ใดโดยไม่มีหมายจับนั้นไม่ได้ เว้นแต่ในกรณีต่อไปนี้ (1) เมื่อบุคคลนั้นได้กระทำความผิดซึ่งหน้าดั่งบัญญัติไว้ในมาตรา 80 (2) เมื่อพบบุคคลนั้นกำลังพยายามกระทำความผิด หรือพบโดยมีพฤติการณ์อันควรสงสัยว่าผู้นั้นจะกระทำความผิด โดยมีเครื่องมือ อาวุธ หรือวัตถุอย่างอื่นอันสามารถอาจใช้ในการกระทำความผิด (3) เมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่าผู้นั้นได้กระทำความผิดมาแล้วและจะหลบหนี (4) เมื่อมีผู้ขอให้จับโดยแจ้งว่าบุคคลนั้นได้กระทำความผิดและแจ้งด้วยว่าได้ร้องทุกข์ไว้ตามระเบียบแล้ว ดังนั้น การจับบุคคลใดจะกระทำมิได้เว้นแต่มีคำสั่งหรือหมายของศาล หรือผู้นั้นได้กระทำความผิดซึ่งหน้า หรือมีเหตุจำเป็นอย่างอื่นให้จับได้โดยไม่มีหมายจับตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ โดยไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 237 การที่จำเลยถูกเรียกหรือส่งตัวมาหรือเข้าหาพนักงานสอบสวนเอง หรือมาอยู่ต่อหน้าเจ้าพนักงานเป็นผู้ต้องหาและมีการแจ้งข้อหาให้ทราบตาม ป.วิ.อ. มาตรา134 (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยถูกจับ เพราะยังไม่มีคำสั่งหรือหมายของศาล และไม่เข้าข้อยกเว้นตามบทบัญญัติดังกล่าว เมื่อจำเลยยังไม่ถูกจับ จึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 7 และมาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ ที่โจทก์ต้องฟ้องจำเลยภายในกำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่จำเลยถูกจับ หรือต้องผัดฟ้อง หรือได้รับอนุญาตให้ฟ้องคดีจากอัยการสูงสุด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 886/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีและการมอบอำนาจช่วง กรณีกรรมการบริษัทลงนามมอบอำนาจแทนบริษัท
หนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย จ.2 มีข้อความระบุว่า "ข้าพเจ้า บริษัท สแกนดิเนเวียฯ โดยนาย ซ. และนาย ว. กรรมการผู้มีอำนาจ ขอแต่งตั้งให้นาย ว. แต่ผู้เดียวลงลายมือชื่อพร้อมประทับตราสำคัญบริษัท ให้เป็นตัวแทนของบริษัท และให้อำนาจดำเนินการแทนบริษัท ดังจะกล่าวต่อไปนี้ ?ข้อ 1 ให้ตัวแทนมีอำนาจฟ้องคดี ? ข้อ 9 ? ให้มีอำนาจแต่งตั้งตัวแทนช่วง เพื่อให้มีอำนาจและดำเนินการตามอำนาจดังกล่าวข้างต้นให้ทุกประการ?" และหนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย จ.3 มีข้อความว่า "ด้วยหนังสือนี้ ข้าพเจ้า บริษัทสแกนดิเนเวียฯ โดยนาย ว. กรรมการผู้มีอำนาจ ขอแต่งตั้งให้ นาย จ. และหรือ นาย ก. ให้เป็นตัวแทนของบริษัทและให้อำนาจดำเนินการแทนบริษัทดังจะกล่าวต่อไปนี้?" แม้หนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย จ.3 ระบุว่านาย ว. ผู้มอบอำนาจกระทำการในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจโจทก์ มิได้ระบุว่ากระทำการแทนในฐานะตัวแทนโจทก์ก็ตาม แต่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 10 บัญญัติว่า "เมื่อความข้อใดข้อหนึ่งในเอกสารอาจตีความได้สองนัย นัยไหนจะทำให้เป็นผลบังคับได้ ให้ถือเอาตามนัยนั้น ดีกว่าที่จะถือเอานัยที่ไร้ผล" ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้โดยในคำฟ้องระบุว่า นาย จ. และหรือ นาย ก. เป็นผู้รับมอบอำนาจช่วง กับอ้างหนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย จ.2 และ จ.3 เป็นพยานหลักฐาน ทั้งใบแต่งทนายความโจทก์ระบุว่า ผู้แต่งทนายความ คือ โจทก์ โดยนาย จ. ผู้รับมอบอำนาจช่วง จึงต้องถือว่านาย ว. มีเจตนาลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญโจทก์ในหนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย จ.3 เพื่อมอบอำนาจช่วงให้นาย จ. และหรือ นาย ก. ฟ้องคดีนี้ตามที่ได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ หาได้กระทำการในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจโจทก์แต่อย่างใด ดังนี้ หนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย จ.3 จึงมีผลสมบูรณ์ โจทก์มีอำนาจฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องได้ความว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทมหาชนจำกัด มีกรรมการสองคนลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญ มีอำนาจกระทำการแทนและมีผลผูกพันโจทก์ ตามหนังสือรับรองเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 1 ในการดำเนินคดีนี้ โจทก์มอบอำนาจให้นาย ว. เป็นผู้ดำเนินคดีแทนและมีอำนาจแต่งตั้งตัวแทนช่วงได้ ซึ่งนาย ว. ได้มอบอำนาจช่วงให้นาย จ. และ/หรือ นาย ก. เป็นผู้ดำเนินคดีแทน ตามหนังสือมอบอำนาจเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 2 และ 3 ดังนั้น นาย ว.ซึ่งเป็นกรรมการคนหนึ่งของโจทก์มีฐานะเป็นผู้รับมอบอำนาจของโจทก์ด้วย รวมทั้งมีอำนาจแต่งตั้งตัวแทนช่วงได้ การกระทำของนาย ว. ตามหนังสือมอบอำนาจทั้งสองฉบับดังกล่าวจึงไม่ขัดกัน ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
หนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย จ.4 มีข้อความระบุให้ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ "ข้อ 1 มีอำนาจกระทำการ และลงลายมือชื่อในเอกสารต่าง ๆ และมีอำนาจมอบอำนาจช่วงแก่บุคคล หรือนิติบุคคลอื่นใดเกี่ยวกับกิจการให้เช่า/เช่าซื้อของบริษัท ดังนี้ 1.1 ยึดทรัพย์สินที่ให้เช่า/เช่าซื้อ 1.2? 1.6?" ข้อความดังกล่าวเป็นการมอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจกระทำการและลงลายมือชื่อในเอกสารต่างๆ แทนโจทก์ส่วนหนึ่ง กับมีอำนาจมอบอำนาจช่วงแก่บุคคลหรือนิติบุคคลอื่นใดเกี่ยวกับกิจการให้เช่าหรือเช่าซื้อของโจทก์ตามที่ระบุในข้อ 1.1 ถึง ข้อ 1.6 อีก
ส่วนหนึ่ง ดังนั้น นางสาว พ. และนาย ส. ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ จึงมีอำนาจลงลายมือชื่อในสัญญาเช่าซื้อแทนโจทก์ได้
โจทก์บรรยายฟ้องได้ความว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทมหาชนจำกัด มีกรรมการสองคนลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญ มีอำนาจกระทำการแทนและมีผลผูกพันโจทก์ ตามหนังสือรับรองเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 1 ในการดำเนินคดีนี้ โจทก์มอบอำนาจให้นาย ว. เป็นผู้ดำเนินคดีแทนและมีอำนาจแต่งตั้งตัวแทนช่วงได้ ซึ่งนาย ว. ได้มอบอำนาจช่วงให้นาย จ. และ/หรือ นาย ก. เป็นผู้ดำเนินคดีแทน ตามหนังสือมอบอำนาจเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 2 และ 3 ดังนั้น นาย ว.ซึ่งเป็นกรรมการคนหนึ่งของโจทก์มีฐานะเป็นผู้รับมอบอำนาจของโจทก์ด้วย รวมทั้งมีอำนาจแต่งตั้งตัวแทนช่วงได้ การกระทำของนาย ว. ตามหนังสือมอบอำนาจทั้งสองฉบับดังกล่าวจึงไม่ขัดกัน ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
หนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย จ.4 มีข้อความระบุให้ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ "ข้อ 1 มีอำนาจกระทำการ และลงลายมือชื่อในเอกสารต่าง ๆ และมีอำนาจมอบอำนาจช่วงแก่บุคคล หรือนิติบุคคลอื่นใดเกี่ยวกับกิจการให้เช่า/เช่าซื้อของบริษัท ดังนี้ 1.1 ยึดทรัพย์สินที่ให้เช่า/เช่าซื้อ 1.2? 1.6?" ข้อความดังกล่าวเป็นการมอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจกระทำการและลงลายมือชื่อในเอกสารต่างๆ แทนโจทก์ส่วนหนึ่ง กับมีอำนาจมอบอำนาจช่วงแก่บุคคลหรือนิติบุคคลอื่นใดเกี่ยวกับกิจการให้เช่าหรือเช่าซื้อของโจทก์ตามที่ระบุในข้อ 1.1 ถึง ข้อ 1.6 อีก
ส่วนหนึ่ง ดังนั้น นางสาว พ. และนาย ส. ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ จึงมีอำนาจลงลายมือชื่อในสัญญาเช่าซื้อแทนโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6142/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจสอบสวนอาญา: การสอบสวนที่เกินเขตอำนาจและผลกระทบต่อการฟ้องคดี
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 18 วรรคหนึ่ง พนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนความผิดอาญาซึ่งได้เกิดในเขตอำนาจของตน หรือผู้ต้องหามีที่อยู่หรือถูกจับภายในเขตอำนาจของตน นอกจากสามกรณีดังกล่าวแล้วพนักงานสอบสวนจะมีอำนาจสอบสวนต่อเมื่อมีการอ้างหรือเชื่อว่าความผิดนั้นได้เกิดภายในเขตอำนาจของตนโดยพนักงานสอบสวนเข้าใจหรือมีความเชื่อว่าความผิดได้เกิดภายในเขตอำนาจของตน ซึ่งผิดพลาดคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงที่ความผิดไม่ได้เกิดในเขตอำนาจของพนักงานสอบสวน แต่ได้เกิดในสถานที่อื่น
เจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมพบความผิดเกิดขึ้นในที่เกิดเหตุและจับกุมจำเลยในที่เกิดเหตุซึ่งอยู่ในเขตอำเภอเลิงนกทา จึงเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมและพนักงานสอบสวนทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับที่เกิดเหตุโดยชัดแจ้งแล้ว ไม่มีข้ออ้าง ข้อสงสัยหรือความเชื่อเกี่ยวกับที่เกิดเหตุที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ไม่ใช่กรณีที่พนักงานสอบสวนอ้างหรือเชื่อว่าความผิดได้เกิดในเขตอำนาจของตนซึ่งอยู่ในเขตอำเภอไทยเจริญ อันจะทำให้พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอไทยเจริญมีอำนาจสอบสวนได้ตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยไม่ใช่ผู้มีที่อยู่หรือถูกจับในเขตอำเภอไทยเจริญ พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอไทยเจริญจึงไม่มีอำนาจสอบสวนและมีผลห้ามโจทก์ฟ้องคดีตามมาตรา 120
เจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมพบความผิดเกิดขึ้นในที่เกิดเหตุและจับกุมจำเลยในที่เกิดเหตุซึ่งอยู่ในเขตอำเภอเลิงนกทา จึงเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมและพนักงานสอบสวนทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับที่เกิดเหตุโดยชัดแจ้งแล้ว ไม่มีข้ออ้าง ข้อสงสัยหรือความเชื่อเกี่ยวกับที่เกิดเหตุที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ไม่ใช่กรณีที่พนักงานสอบสวนอ้างหรือเชื่อว่าความผิดได้เกิดในเขตอำนาจของตนซึ่งอยู่ในเขตอำเภอไทยเจริญ อันจะทำให้พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอไทยเจริญมีอำนาจสอบสวนได้ตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยไม่ใช่ผู้มีที่อยู่หรือถูกจับในเขตอำเภอไทยเจริญ พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอไทยเจริญจึงไม่มีอำนาจสอบสวนและมีผลห้ามโจทก์ฟ้องคดีตามมาตรา 120
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2004/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดิน สิทธิของทายาท และการฟ้องคดีเพื่อเรียกคืน
เมื่อพิจารณาคำฟ้องรวมกันทั้งฉบับแล้วพอเข้าใจได้ว่า ขณะฟ้องคดี จ. ถึงแก่กรรมแล้ว และผู้จัดการมรดกของ จ. ไม่ยอมดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับที่ดินพิพาทที่ จ. และ น. บริจาคให้เป็นถนนรับสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา แต่กรมโยธาธิการและจังหวัดธนบุรีมิได้ใช้ที่ดินพิพาทตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว ที่ดินพิพาทจึงกลับมาเป็นของ จ. และ น. ตั้งแต่ก่อนที่ จ. จะถึงแก่กรรม ธ. บุตรของ จ. ซึ่งเป็นทายาทผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของ จ. จึงต้องฟ้องคดีนี้ ถือได้ว่า ธ. ฟ้องคดีเองในฐานะทายาทผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกย่อมฟ้องคดีนี้ได้โดยไม่จำต้องให้ผู้จัดการมรดกของ จ. เป็นผู้ฟ้อง
การที่มีผู้จัดการมรดกอยู่ไม่ทำให้สิทธิของทายาทที่จะดำเนินการเพื่อรักษาผลประโยชน์ของกองมรดกเสียไป
โจทก์และจำเลยต่างฎีกาและแก้ฎีกาขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยคดีไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนกลับไปให้ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยใหม่ ประกอบกับคดีไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และข้อเท็จจริงตามที่คู่ความนำสืบกันไว้เพียงพอแก่การวินิจฉัยคดีแล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยคดีให้เสร็จเด็ดขาดโดยไม่ย้อนสำนวน
จ. ได้อุทิศส่วนของตนในที่ดินพิพาทยกให้เป็นถนนสาธารณะและได้จดทะเบียนยกให้แล้ว ที่ดินพิพาทส่วนของ จ. ดังกล่าวตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามที่บันทึกไว้ในรูปแผนที่ในโฉนดที่ดินว่า แบ่งให้เป็นถนนเจริญนคร ต้องถือว่าเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (2) และตามมาตรา 1305 ทรัพย์สินซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้นจะโอนแก่กันมิได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฤษฎีกา สภาพความเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินไม่อาจสูญสิ้นไปเพราะการไม่ได้ใช้ แม้กรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1 จะมิได้ใช้ที่ดินตามวัตถุประสงค์ที่ขอบริจาคและ จ. ได้กลับเข้าครอบครองใช้ประโยชน์ที่ดินพิพาทที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินดังกล่าวแล้วนานเพียงใดก็ตาม ก็ไม่ทำให้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตกไปเป็นของ จ. ได้อีก เพราะตามมาตรา 1306 ท่านห้ามมิให้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับแผ่นดินในเรื่องทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
ขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องล่วงพ้นเวลาสิบปีนับแต่ จ. เจ้ามรดกได้ทำนิติกรรมยกที่ดินพิพาทให้เป็นที่สาธารณะแล้ว ถึงหากจะเป็นโมฆียะอย่างใดก็ไม่อาจบอกล้างได้ ตามมาตรา 181 ที่ดินพิพาทยังเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินอยู่โจทก์ไม่มีสิทธิใด ๆ ในที่ดินพิพาท จึงขอให้บังคับจำเลยทั้งสามปฏิบัติตามคำขอท้ายฟ้องไม่ได้
การที่มีผู้จัดการมรดกอยู่ไม่ทำให้สิทธิของทายาทที่จะดำเนินการเพื่อรักษาผลประโยชน์ของกองมรดกเสียไป
โจทก์และจำเลยต่างฎีกาและแก้ฎีกาขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยคดีไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนกลับไปให้ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยใหม่ ประกอบกับคดีไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และข้อเท็จจริงตามที่คู่ความนำสืบกันไว้เพียงพอแก่การวินิจฉัยคดีแล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยคดีให้เสร็จเด็ดขาดโดยไม่ย้อนสำนวน
จ. ได้อุทิศส่วนของตนในที่ดินพิพาทยกให้เป็นถนนสาธารณะและได้จดทะเบียนยกให้แล้ว ที่ดินพิพาทส่วนของ จ. ดังกล่าวตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามที่บันทึกไว้ในรูปแผนที่ในโฉนดที่ดินว่า แบ่งให้เป็นถนนเจริญนคร ต้องถือว่าเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (2) และตามมาตรา 1305 ทรัพย์สินซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้นจะโอนแก่กันมิได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฤษฎีกา สภาพความเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินไม่อาจสูญสิ้นไปเพราะการไม่ได้ใช้ แม้กรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1 จะมิได้ใช้ที่ดินตามวัตถุประสงค์ที่ขอบริจาคและ จ. ได้กลับเข้าครอบครองใช้ประโยชน์ที่ดินพิพาทที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินดังกล่าวแล้วนานเพียงใดก็ตาม ก็ไม่ทำให้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตกไปเป็นของ จ. ได้อีก เพราะตามมาตรา 1306 ท่านห้ามมิให้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับแผ่นดินในเรื่องทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
ขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องล่วงพ้นเวลาสิบปีนับแต่ จ. เจ้ามรดกได้ทำนิติกรรมยกที่ดินพิพาทให้เป็นที่สาธารณะแล้ว ถึงหากจะเป็นโมฆียะอย่างใดก็ไม่อาจบอกล้างได้ ตามมาตรา 181 ที่ดินพิพาทยังเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินอยู่โจทก์ไม่มีสิทธิใด ๆ ในที่ดินพิพาท จึงขอให้บังคับจำเลยทั้งสามปฏิบัติตามคำขอท้ายฟ้องไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 977/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในที่ดินและการฟ้องคดี การนำสืบพยานหลักฐาน และการวินิจฉัยของศาล
โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องว่าโจทก์เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 127 ในชั้นพิจารณาโจทก์ก็นำสืบว่าโจทก์เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงดังกล่าวและได้ส่งสำเนาใบแทนโฉนดที่ดินต่อศาล จำเลยเพียงแต่ให้การว่าโจทก์ไม่ใช่เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามที่โจทก์อ้าง ทั้งในชั้นพิจารณาจำเลยก็ไม่ได้นำสืบตามที่จำเลยให้การปฏิเสธข้อกล่าวอ้างของโจทก์และไม่ได้นำสืบโต้แย้งการนำสืบของโจทก์ การที่ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 127 จึงเป็นการฟังข้อเท็จจริงที่ชอบด้วยกฎหมาย และการฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวก็คือการวินิจฉัยของศาลชั้นต้นนั่นเอง ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยว่า ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 127 จึงเป็นการวินิจฉัยไปโดยชอบด้วยกฎหมาย หาขัดต่อข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่ในสำนวนไม่
ฟ้องโจทก์เกี่ยวกับค่าเสียหาย โจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาแล้ว ส่วนการถมถนนที่ใดหรือบริเวณใด การจ่ายเงินจ่ายให้ใคร รายการใดบ้างและเป็นจำนวนเงินเท่าใดนั้น เป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสองแล้ว
ฟ้องโจทก์เกี่ยวกับค่าเสียหาย โจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาแล้ว ส่วนการถมถนนที่ใดหรือบริเวณใด การจ่ายเงินจ่ายให้ใคร รายการใดบ้างและเป็นจำนวนเงินเท่าใดนั้น เป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสองแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9263/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการใช้กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งตามเวลาที่ฟ้องคดี, การวินิจฉัยนอกประเด็น, และการรับสำเนาเอกสารเป็นหลักฐาน
พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2535 มาตรา 18 บัญญัติว่า "พระราชบัญญัตินี้ไม่ใช้บังคับแก่บรรดาคดีที่ได้ยื่นฟ้องไว้แล้วก่อนวันที่ พ.ร.บ.นี้ใช้บังคับและให้ใช้กฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่ยื่นฟ้องนั้น บังคับแก่คดีดังกล่าวจนกว่าคดีจะถึงที่สุด..." โจทก์ฟ้องคดีนี้ก่อนวันที่ พ.ร.บ.ดังกล่าวมีผลใช้บังคับ จึงไม่อาจนำบทบัญญัติที่ได้แก้ไขเพิ่มเติมแล้วมาใช้บังคับแก่คดีของโจทก์ การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอระบุพยานเพิ่มเติมก่อนที่ได้เสร็จการสืบพยานโจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายมีหน้าที่นำสืบก่อน จึงเป็นการปฏิบัติตามป.วิ.พ.มาตรา 88 วรรคสอง (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่โจทก์ยื่นฟ้อง คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ยื่นบัญชีพยานเพิ่มเติม จึงชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท จำเลยให้การว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยโดยซื้อมาจากผู้มีชื่อ จำเลยเข้าครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมา ตามคำให้การจำเลยไม่มีปัญหาเรื่องการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทของโจทก์ จึงไม่มีการอ้างสิทธิตาม ป.พ.พ.มาตรา 1375 วรรคสองเพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดมีขึ้นได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น การที่จำเลยยกเหตุเป็นข้อต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยจึงไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองเกิน 1 ปี หรือไม่ ดังนี้การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 หยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 246และมาตรา 183 เป็นการไม่ชอบ ถือได้ว่าปัญหานี้เป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากล่าวมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในประเด็นดังกล่าว ตามป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 125 เป็นหน้าที่ของคู่ความฝ่ายที่ถูกอีกฝ่ายหนึ่งอ้างอิงเอกสารมาเป็นพยานหลักฐานยันตนจะต้องคัดค้านการนำเอกสารนั้นมาสืบโดยเหตุที่ว่าไม่มีต้นฉบับ หรือสำเนานั้นไม่ถูกต้องกับต้นฉบับ ก่อนวันสืบพยานหรือก่อนศาลพิพากษาแล้วแต่กรณี การที่โจทก์นำสืบแสดงสำเนาเอกสารต่อศาลแต่จำเลยมิได้คัดค้านว่าต้นฉบับเอกสารที่โจทก์นำสืบนั้นไม่มีหรือสำเนาไม่ถูกต้องภายในกำหนดเวลาดังกล่าว เมื่อศาลวินิจฉัยรับฟังตามสำเนาเอกสารดังกล่าวถือได้ว่าศาลอนุญาตให้นำสำเนาเอกสารมาสืบในกรณีไม่สามารถนำต้นฉบับเอกสารมาได้โดยประการอื่นตาม ป.วิ.พ.มาตรา 93 (2) แล้ว โดยโจทก์ไม่จำต้องขออนุญาตศาลก่อน และศาลย่อมมีอำนาจรับฟังสำเนาเอกสารดังกล่าวแทนต้นฉบับได้
ข้อฎีกาของจำเลยที่เป็นการอ้างข้อเท็จจริงไม่ตรงกับความเป็นจริงย่อมไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยของศาลฎีกา
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท จำเลยให้การว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยโดยซื้อมาจากผู้มีชื่อ จำเลยเข้าครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมา ตามคำให้การจำเลยไม่มีปัญหาเรื่องการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทของโจทก์ จึงไม่มีการอ้างสิทธิตาม ป.พ.พ.มาตรา 1375 วรรคสองเพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดมีขึ้นได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น การที่จำเลยยกเหตุเป็นข้อต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยจึงไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองเกิน 1 ปี หรือไม่ ดังนี้การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 หยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 246และมาตรา 183 เป็นการไม่ชอบ ถือได้ว่าปัญหานี้เป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากล่าวมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในประเด็นดังกล่าว ตามป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 125 เป็นหน้าที่ของคู่ความฝ่ายที่ถูกอีกฝ่ายหนึ่งอ้างอิงเอกสารมาเป็นพยานหลักฐานยันตนจะต้องคัดค้านการนำเอกสารนั้นมาสืบโดยเหตุที่ว่าไม่มีต้นฉบับ หรือสำเนานั้นไม่ถูกต้องกับต้นฉบับ ก่อนวันสืบพยานหรือก่อนศาลพิพากษาแล้วแต่กรณี การที่โจทก์นำสืบแสดงสำเนาเอกสารต่อศาลแต่จำเลยมิได้คัดค้านว่าต้นฉบับเอกสารที่โจทก์นำสืบนั้นไม่มีหรือสำเนาไม่ถูกต้องภายในกำหนดเวลาดังกล่าว เมื่อศาลวินิจฉัยรับฟังตามสำเนาเอกสารดังกล่าวถือได้ว่าศาลอนุญาตให้นำสำเนาเอกสารมาสืบในกรณีไม่สามารถนำต้นฉบับเอกสารมาได้โดยประการอื่นตาม ป.วิ.พ.มาตรา 93 (2) แล้ว โดยโจทก์ไม่จำต้องขออนุญาตศาลก่อน และศาลย่อมมีอำนาจรับฟังสำเนาเอกสารดังกล่าวแทนต้นฉบับได้
ข้อฎีกาของจำเลยที่เป็นการอ้างข้อเท็จจริงไม่ตรงกับความเป็นจริงย่อมไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยของศาลฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3869/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปิดหมายที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายทำให้จำเลยไม่ทราบถึงการฟ้องคดี ส่งผลให้กระบวนการพิจารณาไม่เป็นไปตามกฎหมาย
ป.วิ.พ.มาตรา 79 บัญญัติเรื่องการปิดหมายไว้ว่า ให้ปิดคำคู่ความไว้ในที่แลเห็นได้ง่าย ณ สำนักทำการงานของคู่ความนั้น การที่โจทก์ระบุที่อยู่ของจำเลยอย่างกว้าง ๆ ทั้งที่สำนักทำการงานของจำเลยมีหน่วยงานในสังกัดหลายหน่วยงานกับมีพนักงานจำนวนมากจนพนักงานเดินหมายไม่สามารถสืบหาได้ว่าจำเลยทำงาน ณ หน่วยงานใดของการไฟฟ้านครหลวงเขตคลองเตย ทำให้จำเลยไม่มีโอกาสรู้ว่าถูกโจทก์ฟ้องและไม่อยู่ในวิสัยที่จำเลยจะรู้ได้ การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยโดยวิธีปิดหมายเช่นนี้จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 79ทำให้กระบวนพิจารณาหลังจากนั้นต่อมาเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วย ปัญหาเรื่องการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยโดยไม่ชอบนั้นเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมชอบที่จะต้องเพิกถอนเสียตาม ป.วิ.พ.มาตรา 27 ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คำสั่งศาลชั้นต้น และคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ตั้งแต่การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยแล้วมีคำพิพากษาหรือคำสั่งใหม่ตามรูปคดีต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2848/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีเจ้ามรดก: การรู้ถึงความตายต้องชัดเจนและมีหลักฐานยืนยัน
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1754 วรรคสาม ที่ระบุห้ามเจ้าหนี้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดกนั้น การรู้หรือควรได้รู้ดังกล่าว ต้องเป็นการรู้โดยแน่นอน มีหลักฐานยืนยัน
แม้จะได้ความว่า เมื่อกลางปี 2532 ผู้ใต้บังคับบัญชารายงานให้ทราบว่าผู้ประกันถึงแก่ความตายแล้ว ไม่ได้ทำหนังสือถึงทายาทให้จัดการเกี่ยวกับเรื่องสัญญาประกัน และเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2533 กรมตำรวจ ได้ขอความร่วมมือจากอธิบดีกรมอัยการให้จัดพนักงานอัยการเป็นทนายว่าต่างดำเนินการฟ้องผู้ประกันให้รับผิดชดใช้เงินค่าปรับจำนวน 500,000 บาท กองคดีแพ่ง กรมอัยการรับดำเนินการเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2533 ก็ตาม แต่กรณีดังกล่าวเป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นที่ทราบถึงการตายของผู้ประกัน ยังฟังเป็นแน่นอนหาข้อยุติไม่ได้ว่าผู้ประกันถึงแก่ความตายจริงหรือไม่ ต่อมาเมื่อเจ้าพนักงานตำรวจผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงทำบันทึกลงวันที่ 22 มิถุนายน 2535 รายงานว่าผู้ประกันได้ถึงแก่ความตายแล้ว พร้อมทั้งแสดงมรณบัตรให้โจทก์รับทราบในวันเดียวกัน ย่อมต้องถือว่าโจทก์รู้ถึงการตายของผู้ประกันแล้วนับแต่นั้น โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2535 ยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี นับแต่โจทก์ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงการตายของผู้ประกันเจ้ามรดก ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
แม้จะได้ความว่า เมื่อกลางปี 2532 ผู้ใต้บังคับบัญชารายงานให้ทราบว่าผู้ประกันถึงแก่ความตายแล้ว ไม่ได้ทำหนังสือถึงทายาทให้จัดการเกี่ยวกับเรื่องสัญญาประกัน และเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2533 กรมตำรวจ ได้ขอความร่วมมือจากอธิบดีกรมอัยการให้จัดพนักงานอัยการเป็นทนายว่าต่างดำเนินการฟ้องผู้ประกันให้รับผิดชดใช้เงินค่าปรับจำนวน 500,000 บาท กองคดีแพ่ง กรมอัยการรับดำเนินการเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2533 ก็ตาม แต่กรณีดังกล่าวเป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นที่ทราบถึงการตายของผู้ประกัน ยังฟังเป็นแน่นอนหาข้อยุติไม่ได้ว่าผู้ประกันถึงแก่ความตายจริงหรือไม่ ต่อมาเมื่อเจ้าพนักงานตำรวจผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงทำบันทึกลงวันที่ 22 มิถุนายน 2535 รายงานว่าผู้ประกันได้ถึงแก่ความตายแล้ว พร้อมทั้งแสดงมรณบัตรให้โจทก์รับทราบในวันเดียวกัน ย่อมต้องถือว่าโจทก์รู้ถึงการตายของผู้ประกันแล้วนับแต่นั้น โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2535 ยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี นับแต่โจทก์ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงการตายของผู้ประกันเจ้ามรดก ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2827/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวกับเรือและการกำหนดระยะเวลายื่นคำให้การตาม พ.ร.บ.การกักเรือ
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าเสียหายฐานปฏิบัติผิดสัญญารับขนซึ่งเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องอันเกิดจากสัญญาการให้บริการบรรทุกจึงเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องเกี่ยวกับเรือตามนัยแห่งพระราชบัญญัติการกักเรือพ.ศ.2534มาตรา3เมื่อจำเลยผู้ถูกฟ้องมิได้มีภูมิลำเนาในราชอาณาจักรการส่งคำคู่ความหรือเอกสารอื่นใดให้แก่จำเลยจึงต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติการกักเรือพ.ศ.2534มาตรา29วรรคหนึ่งกล่าวคือการส่งคำคู่ความหรือเอกสารอื่นนั้นจะมีผลต่อเมื่อกำหนดเวลาสิบห้าวันได้ล่วงพ้นไปแล้วนับแต่วันที่ได้ส่งหรือปิดคำคู่ความหรือเอกสารนั้นคดีนี้ปรากฏว่าจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวแต่จำเลยแต่งตั้งให้บ.เป็นตัวแทนในการรับเอกสารต่างๆและเจ้าพนักงานปิดหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องณที่ภูมิลำเนาของบ.ตัวแทนของจำเลยเมื่อวันที่7มกราคม2537จึงต้องเริ่มนับระยะเวลาตั้งแต่วันที่8มกราคม2537ครบกำหนด15วันซึ่งพระราชบัญญัติการกักเรือพ.ศ.2534มาตรา29วรรคสองบัญญัติให้ถือว่าจำเลยที่1ได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องในวันที่22มกราคม2537จึงต้องเริ่มนับกำหนดเวลายื่นคำให้การภายใน15วันตั้งแต่วันที่23มกราคม2537ครบกำหนดที่จำเลยจะยื่นคำให้การได้ภายในวันที่6กุมภาพันธ์2537เป็นอย่างช้าดังนั้นการที่จำเลยยื่นคำให้การในวันที่7มีนาคม2537จึงพ้นกำหนดเวลาตามกฎหมายแล้ว ที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยมีสิทธิยื่นคำให้การภายในกำหนดเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา83ทวิและมาตรา83ฉนั้นเมื่อบทบัญญัติดังกล่าวเป็นบทบัญญัติที่ใช้สำหรับกรณีการส่งหมายเรียกและคำฟ้องแก่จำเลยที่ไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรในกรณีทั่วๆไปแต่คดีนี้เป็นการฟ้องคดีตามสิทธิเรียกร้องเกี่ยวกับเรือซึ่งพระราชบัญญัติกักเรือพ.ศ.2534มาตรา29บัญญัติถึงวิธีการส่งคำคู่ความให้แก่จำเลยซึ่งมิได้มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรไว้เป็นพิเศษโดยเฉพาะแล้วจึงไม่อาจนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา83ทวิและมาตรา83ฉอันเป็นบททั่วไปมาใช้บังคับได้