พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3014/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายโดยตัวแทนเชิด: ความรับผิดของผู้สั่งซื้อ
บริษัทจำเลยที่ 1 เชิดจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์การซื้อขายรายนี้มีการส่งมอบสินค้าให้แก่กันแล้วเป็นการชำระหนี้บางส่วน โจทก์จึงฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ และเมื่อเป็นตัวแทนเชิดแล้วก็ไม่จำเป็นจะต้องให้กรรมการจำเลยที่ 1 เป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งซื้อ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยให้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชำระราคาให้โจทก์เพราะจำเลยที่ 2เป็นตัวแทนจำเลยที่ 1 ในการซื้อ เป็นการวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 เพียงผู้เดียวเป็นผู้ซื้อไม่ใช่การวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยให้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชำระราคาให้โจทก์เพราะจำเลยที่ 2เป็นตัวแทนจำเลยที่ 1 ในการซื้อ เป็นการวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 เพียงผู้เดียวเป็นผู้ซื้อไม่ใช่การวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2549/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาของนิติบุคคล: การมอบหมายหน้าที่ให้ตัวแทนและลูกจ้างทำให้เกิดความรับผิดชอบร่วมในการกระทำผิด
ป. ผู้จัดการของสมาคมผู้ร้อง ย่อมเป็นผู้แทนตามกฎหมายของนิติบุคคลผู้ร้อง ป. มอบหมายให้ พ. รับผิดชอบกิจการของผู้ร้องซึ่งมีโต๊ะบิลเลียดไว้บริการสมาชิกแทน ย่อมถือได้ว่า พ. เป็นผู้แทนอื่น ๆ ของนิติบุคคลผู้ร้องด้วย และเมื่อ พ. ได้ว่าจ้างคนช่วยดูแลซึ่งมีหน้าที่บริการในสถานประกอบการรวมทั้งเก็บค่าเกมอันเป็นผลประโยชน์ของผู้ร้อง ลูกจ้างที่ช่วยดูแลย่อมเป็นผู้แทนอื่น ๆ ของผู้ร้องด้วย ดังนั้น แม้ในขณะเกิดเหตุ พ. จะไม่ได้อยู่ด้วย แต่การที่ลูกจ้างของผู้ร้องปล่อยให้มีการเล่นการพนันกันโดยเปิดเผยไม่ห้ามปราม จึงถือได้ว่าผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจในการกระทำผิดด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1955/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีละเมิดและคดีอาญาจากการชนรถยนต์ การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่แทนผู้อำนวยการ
หัวหน้าแผนกประกันภัยและสอบสวนขององค์การโจทก์ได้ทำหนังสือตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนดไว้ในระเบียบของโจทก์ซึ่งออกตามความในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.) พ.ศ. 2496 มาตรา21,22 ที่กำหนดให้เจ้าหน้าที่ของโจทก์ปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ ในทันทีที่เกิดอุบัติเหตุขึ้น อันมีผลเท่ากับเป็นการปฏิบัติงานตามหน้าที่ของผู้อำนวยการของโจทก์และแทนผู้อำนวยการของโจทก์ ทวงถามให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2523 ถือได้ว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้วอย่างช้าตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2523 เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องวันที่ 9 สิงหาคม 2525 จึงเกินกว่า 1 ปีคดีของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคแรก
จำเลยที่ 1 กระทำความผิดทางอาญา ข้อหาขับรถประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของโจทก์เสียหาย ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 มาตรา 43,157 ซึ่งเป็นคดีลหุโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 102 อายุความทางอาญามีกำหนด 1 ปี เท่ากับคดีละเมิดต้องบังคับตามอายุความทางแพ่งซึ่งมีกำหนด 1 ปี ฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 จึงขาดอายุความเช่นกัน
เมื่อคดีได้ความว่า จำเลยที่ 2 ที่ 4 ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดในผลแห่งละเมิด เนื่องจากฟ้องของโจทก์ขาดอายุความเรียกร้องแล้ว จำเลยที่ 6 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนก็ไม่ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887
โจทก์ฟ้องจำเลยเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิด เมื่อพ้นหนึ่งปีนับแต่วันเกิดการละเมิด จำเลยให้การต่อสู้ว่าคดีโจทก์ขาดอายุความ ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่โจทก์ที่จะต้องนำสืบให้ได้ความว่าคดีของโจทก์ไม่ขาดอายุความ หากโจทก์ไม่สืบหรือสืบไม่ได้ก็ต้องถือว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความแล้ว.
จำเลยที่ 1 กระทำความผิดทางอาญา ข้อหาขับรถประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของโจทก์เสียหาย ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 มาตรา 43,157 ซึ่งเป็นคดีลหุโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 102 อายุความทางอาญามีกำหนด 1 ปี เท่ากับคดีละเมิดต้องบังคับตามอายุความทางแพ่งซึ่งมีกำหนด 1 ปี ฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 จึงขาดอายุความเช่นกัน
เมื่อคดีได้ความว่า จำเลยที่ 2 ที่ 4 ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดในผลแห่งละเมิด เนื่องจากฟ้องของโจทก์ขาดอายุความเรียกร้องแล้ว จำเลยที่ 6 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนก็ไม่ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887
โจทก์ฟ้องจำเลยเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิด เมื่อพ้นหนึ่งปีนับแต่วันเกิดการละเมิด จำเลยให้การต่อสู้ว่าคดีโจทก์ขาดอายุความ ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่โจทก์ที่จะต้องนำสืบให้ได้ความว่าคดีของโจทก์ไม่ขาดอายุความ หากโจทก์ไม่สืบหรือสืบไม่ได้ก็ต้องถือว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2739/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับรู้คำสั่งทางปกครอง: การรับรู้ผ่านพนักงานชั้นผู้น้อยไม่ถือว่าเป็นการรับรู้ของโจทก์โดยตรง
การที่ ป. เป็นเพียงพนักงานชั้นผู้น้อยทำหน้าที่รับส่งหนังสือของโจทก์ รับซองหนังสือและคำสั่งของอธิบดีกรมแรงงานที่สั่งให้โจทก์จ่ายเงินทดแทนแก่ ค. ไว้ ไม่ว่า ป. จะได้เปิดซองทราบเนื้อความในหนังสือนำส่งและคำสั่งแล้วหรือไม่ก็ตาม ก็ไม่อาจถือได้ว่าโจทก์โดย ป. ทราบคำสั่งนั้นแล้วเพราะ ป. มิใช่ผู้แทนของโจทก์ผู้สามารถจะแสดงความประสงค์ประการใดแทนโจทก์ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 75 ฉะนั้นเมื่อคำสั่งดังกล่าวถูกนำเสนอขึ้นไปตามลำดับชั้น จนวันที่ 10 กุมภาพันธ์2530 รองผู้ว่าการผู้ทำการแทนผู้ว่าการของโจทก์จึงทราบคำสั่งเช่นนี้ต้องถือว่าโจทก์โดยรองผู้ว่าการได้ทราบคำสั่งเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2530 และครบกำหนดสามสิบวันนับแต่วันโจทก์ทราบคำสั่งอันจะทำให้คำสั่งดังกล่าวเป็นที่สุดตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 60 ที่แก้ไขใหม่ในวันที่ 12 มีนาคม 2530 โจทก์นำคดีมาสู่ศาลวันที่ 9 มีนาคม2530 จึงหาพ้นกำหนดตามประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ข้อ 60 ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4511-4512/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเข้ามาในคดีของจำเลยที่ 1 (นิติบุคคล) ผ่านตัวแทน แม้ไม่ได้แต่งตั้งทนายโดยตรง
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล การดำเนินกิจการทั้งหลายของจำเลยที่ 1 ย่อมต้องอาศัย ช. หุ้นส่วนผู้จัดการดำเนินการแทน เมื่อ ช. มอบหมายให้จำเลยที่ 2 ติดต่อกับโจทก์ คิดบัญชีหนี้สินที่เกี่ยวค้างกัน และยังมอบงานบางอย่างให้จำเลยที่ 2 ทำ โดยให้ใช้ตราของห้างได้ในชั้นส่งหมายเรียกสำเนาฟ้องให้แก่จำเลยทั้งสอง เจ้าพนักงานก็ได้ส่งไปยังภูมิลำเนาของจำเลยทั้งสองตามที่ปรากฏในหนังสือรับรองของนายทะเบียน ในคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวของจำเลยที่ 2 ก็ระบุว่าจำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ในวันเดียวกันนั้น ช. ได้ยื่นคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยที่ 2 ด้วย เมื่อศาลอนุญาต ช.ได้ทำสัญญาประกันตัวจำเลยที่ 2 ตามคำร้องดังกล่าวมีข้อความระบุชื่อจำเลยที่ 1 ว่าเป็นจำเลยไว้อย่างชัดแจ้ง ช.ย่อมทราบดีว่าจำเลยที่ 1 ถูกฟ้อง และที่จำเลยที่ 2ต่อสู้คดีในนามของจำเลยที่ 1 มาแต่แรก ช. ก็ไม่ได้คัดค้านการกระทำของจำเลยที่ 2 พฤติการณ์ของ ช. ดังกล่าวแสดงว่า ช. ได้มอบหมายให้จำเลยที่ 2 ต่อสู้คดีแทนตนในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 แล้วดังนั้นที่จำเลยที่ 2แต่งทนายความต่อสู้คดีในนามของจำเลยที่ 1 จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้เข้ามาในคดีแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3222/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการงานของห้างหุ้นส่วนโดยมิได้รับมอบหมาย และผลของการไม่ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในศาลชั้นต้น
โจทก์ฟ้องขอให้เลิกห้างหุ้นส่วนจำกัด และให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วน จำกัด และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการชดใช้เงินทดรองซึ่งโจทก์ในฐานะหุ้นส่วนผู้+ ได้ออกทดรองไปคืนแก่โจทก์ จำเลยทั้งสองให้การปัดความรับผิดด้วยเหตุผลหลายประการ แต่ไม่ได้ให้การว่าการที่โจทก์ออกเงินทดรองไปเป็นการเอื้อมเข้าไปจัดการงานของห้างโดยพลการซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชยื มาตรา 1043 ให้บังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยจัด+นอกสั่ง และศาลชั้นต้นก็มิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ เมื่อศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยแพ้คดีแล้ว จำเลยฎีกาว่าการทำของโจทก์เป็นการที่หุ้นส่วนอันมิ+ผู้จัดการเอื้อมเข้าไปจัดการงานของห้างโดยพลการ ซึ่งต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยการจัดการงานนอกสั่ง ดังนี้ ศาลฎีกาเห็นว่าข้อฎีกาของจำเลยดังกล่าวไม่ใช่ปัญหาที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ - มาตรา 225,249 จะยกขึ้นกล่าวในชั้นอุทธรณ์ฎีกาไม่ได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1025/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบหลักฐานการกระทำของจำเลยที่เป็นมูลเหตุแห่งหนี้ แม้จะมอบหมายให้ผู้อื่นดำเนินการ ก็ถือเป็นรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับประเด็นแห่งคดี
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยขายใบขอซื้อสินค้าเชื่อซึ่งจำเลยลงชื่อไว้ให้โจทก์และรับเงินไปจากโจทก์ โดยจำเลยรับรองว่าหากโจทก์นำใบขอซื้อสินค้าเชื่อนั้นไปขึ้นสินค้าไม่ได้ จำเลยยอมคืนเงินให้ ชั้นพิจารณาโจทก์นำสืบว่า ภริยาจำเลยเป็นผู้นำใบขอซื้อสินค้าเชื่อของจำเลยไปขายให้โจทก์และรับเงินไปจากโจทก์ ทั้งนี้โดยจำเลยบอกโจทก์ว่าจำเลยต้องขับรถไม่มีเวลามาติดต่อ จึงใช้ให้ภริยาจำเลยมาติดต่อ และจำเลยรับรองกับโจทก์ว่าถ้าโจทก์ไปรับสินค้าไม่ได้ จำเลยจะคืนเงินให้การนำสืบของโจทก์ดังกล่าวนี้เป็นการสืบถึงรายละเอียดเกี่ยวกับการกระทำของจำเลยที่จำเลยได้มาขายสิทธิตามใบขอซื้อสินค้าเชื่อของตน อันเป็นมูลเหตุแห่งหนี้ที่จำเลยได้เข้าตกลงยินยอมผูกพันรับผิดต่อโจทก์ด้วยตัวของจำเลยเอง จึงเกี่ยวแก่ประเด็นแห่งคดีโดยตรงโจทก์มีสิทธินำสืบได้ หาเป็นการสืบนอกฟ้องไม่
(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 36/2515)
(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 36/2515)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1189/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการดำเนินคดีของผจก.ธนาคาร: การมอบหมายอำนาจไม่ใช่การทำนิติกรรม แต่เป็นข้อเท็จจริงที่ต้องพิสูจน์
การที่ผู้จัดการธนาคารอุตสาหกรรมยื่นคำร้องขอหรือคำฟ้องต่อศาลนั้น ไม่ใช่เป็นการทำนิติกรรมของธนาคารอุตสาหกรรมและทั้งไม่ใช่เป็นการตั้งตัวแทนของธนาคารอุตสาหกรรมด้วย หากเป็นแต่ข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งว่า คณะกรรมการธนาคารอุตสาหกรรมได้มอบหมายให้ผู้จัดการทำการยื่นคำร้องขอหรือคำฟ้องในคดีได้หรือไม่ เอกสารต่าง ๆ ที่ธนาคารอุตสาหกรรมซึ่งเป็นโจทก์ส่งต่อศาล จึงเป็นแต่เพียงพยานหลักฐาน เบื้องต้นแห่งการมอบหมายให้ดำเนินคดี ไม่ใช่หนังสือมอบอำนาจหรือการตั้งตัวแทนอันจะต้องทำตามแบบ ถ้าจำเลยต้องการโต้แย้งว่า ผู้จัดการธนาคารอุตสาหกรรมไม่ได้รับมอบหมายให้ยื่นคำร้องขอต่อศาล ก็เป็นหน้าที่ของผู้อ้างเอกสาร และผู้ปฏิเสธความถูกต้องแท้จริงแห่งเอกสารนั้น จะต้องนำพยานหลักฐานมาสืบประกอบให้เห็นประจักษ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 126/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องฐานยักยอกต้องชัดเจนว่าจำเลยขายทรัพย์สินแล้ว หากยังไม่ได้ขายถือว่าไม่ได้ยักยอก
คดีหาว่า จำเลยยักยอกแหวนของโจทก์ที่ฝากจำเลยขายนั้นคำฟ้องของโจทก์จะต้องปรากฏให้แจ้งชัดว่า จำเลยได้ขายแหวนที่ได้รับมอบหมายไปจากโจทก์แล้ว มิฉะนั้นจะกล่าวหาว่าจำเลยยักยอกแหวนมิได้
ฟ้องกล่าวว่า จำเลยรับแหวนไปแล้ว ไม่เอาแหวนหรือเงินมาให้โจทก์ครั้นโจทก์ทวงถามกลับโต้เถียงว่าคืนให้แล้วนั้น เป็นแต่แสดงเหตุที่ทำให้โจทก์รู้สึกตัวว่าถูกโกงเท่านั้น หาใช่เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงว่าจำเลยไม่ได้ขายแหวน แต่ยักยอกเสีย อันเป็นองค์ความผิดฐานยักยอกแหวนให้แน่ชัดลงไปไม่ จึงเป็นฟ้องที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และศาลจะสั่งให้โจทก์แก้ หรือเพิ่มเติมข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ก็ไม่ได้เพราะฟ้องขาดข้อเท็จจริงที่เป็นองค์ความผิด ทั้งโจทก์ก็ไม่ได้ขอแก้ฟ้อง ต้องพิพากษายกฟ้อง
ฟ้องกล่าวว่า จำเลยรับแหวนไปแล้ว ไม่เอาแหวนหรือเงินมาให้โจทก์ครั้นโจทก์ทวงถามกลับโต้เถียงว่าคืนให้แล้วนั้น เป็นแต่แสดงเหตุที่ทำให้โจทก์รู้สึกตัวว่าถูกโกงเท่านั้น หาใช่เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงว่าจำเลยไม่ได้ขายแหวน แต่ยักยอกเสีย อันเป็นองค์ความผิดฐานยักยอกแหวนให้แน่ชัดลงไปไม่ จึงเป็นฟ้องที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และศาลจะสั่งให้โจทก์แก้ หรือเพิ่มเติมข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ก็ไม่ได้เพราะฟ้องขาดข้อเท็จจริงที่เป็นองค์ความผิด ทั้งโจทก์ก็ไม่ได้ขอแก้ฟ้อง ต้องพิพากษายกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5764/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทนายความโดยปริยาย: การมอบหมายทนายความโดยไม่ได้แต่งตั้งเป็นลายลักษณ์อักษร ไม่ทำให้กระบวนการพิจารณาไม่ชอบ
เจตนารมณ์ของ ป.วิ.อ. มาตรา 173 วรรคสอง นั้น ก็เพื่อให้จำเลยมีทนายความช่วยเหลือในการต่อสู้คดีในความผิดที่มีโทษจำคุก แม้ว่าการทำหน้าที่ของ พ. ในฐานะทนายความของจำเลยจะไม่ปรากฏใบแต่งทนายความตั้งให้ พ. เป็นทนายความของจำเลย แต่ พ. ก็ได้ดำเนินกระบวนพิจารณาในฐานะทนายความของจำเลยตลอดมาจนเสร็จสิ้นการพิจารณาของศาลชั้นต้น โดยจำเลยยอมรับเอาผลของการดำเนินกระบวนพิจารณานั้นตลอดมา และฝ่ายโจทก์ก็มิได้คัดค้านแต่ประการใด ตามพฤติการณ์จึงถือได้ว่าจำเลยได้มอบให้ พ. เป็นทนายความของจำเลยในคดีนี้แล้ว ทั้งภายหลังศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้จำเลยดำเนินการจัดใบแต่งทนายความเสียให้ถูกต้อง แต่จำเลยแถลงว่าไม่ประสงค์จะแต่งทนายความเนื่องจากต้องการให้การรับสารภาพ ยิ่งแสดงให้เห็นว่าการดำเนินกระบวนพิจารณาจำเลยไม่เสียเปรียบ กรณีไม่เป็นการจำเป็นที่จะให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) ประกอบมาตรา 225