พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 650/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความพินัยกรรมและการยกทรัพย์มรดก โดยเจตนาของผู้ทำพินัยกรรมและขอบเขตที่ดินตามแจ้งการครอบครอง
โจทก์ทั้งหกฟ้องจำเลยทั้งสามโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าโจทก์ทั้งหกเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกและมีอำนาจขอแบ่งปันทรัพย์มรดกของ ก. เจ้ามรดก ขอให้จำเลยทั้งสามแบ่งทรัพย์มรดกให้โจทก์ทั้งหกคนละเท่า ๆ กัน คือคนละหนึ่งในแปดส่วน ตีราคาประมาณคนละ 59,750 บาท รวม 6 คนราคาประมาณ 358,500 บาท ดังนี้ ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาของโจทก์แต่ละคนที่เรียกร้องจากจำเลยทั้งสามจึงไม่เกินสองแสนบาท ย่อมต้องห้ามมิให้โจทก์ทั้งหกฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง พินัยกรรมฉบับพิพาทของ ก. เจ้ามรดกซึ่งทำขึ้นในวันที่20 กุมภาพันธ์ 2510 มีข้อความระบุว่า "(1) ที่มา 1 แปลงเนื้อที่ 36 ไร่ ส.ค.1 เลขที่ 181 อยู่ที่ตำบลบ้านกล้วยอำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย ให้แก่จำเลยที่ 1"และแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน ส.ค.1 เลขที่ 181 เอกสารหมายล.3 แผ่นที่ 1 ซึ่งมีชื่อ ก.เจ้ามรดกเป็นผู้แจ้งการครอบครองที่ดินดังกล่าวระบุจำนวนเนื้อที่ดินไว้ 36 ไร่ 3 งาน 72 ตารางวาเมื่อปรากฏว่าในขณะที่ ก. ทำพินัยกรรมนั้นยังมิได้มีการออกโฉนดที่ดินสำหรับที่ดินดังกล่าว จึงเห็นได้ว่า ก.เจ้ามรดกประสงค์จะยกที่ดินตามแบบแจ้งการครอบครองที่ดินส.ค.1 เลขที่ 181 ทั้งแปลงให้จำเลยที่ 1 แม้ต่อมาในการออกโฉนดที่ดินสำหรับที่ดินแปลงดังกล่าวเมื่อ พ.ศ.2517จะปรากฏว่ามีเนื้อที่ 58 ไร่ 2 งาน 97 ตารางวา ก็ตามเพราะขณะทำพินัยกรรมเจ้ามรดกระบุเนื้อที่ดินทั้งแปลงตามแบบแจ้งการครอบครองที่ดินดังกล่าว การที่ศาลอุทธรณ์ตีความข้อกำหนดในพินัยกรรมพิพาทว่า ก. มีเจตนายกที่ดินมีโฉนดทั้งแปลงให้แก่จำเลยที่ 1 จึงตรงตามเจตนาของก.ผู้ทำพินัยกรรมและชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4433/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกที่ดินสินสมรสให้บุตรหลานต้องได้รับความยินยอมจากภริยา การแบ่งสินสมรสตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย
การที่ ง. ยกที่ดินสินสมรสให้จำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นบุตรและหลานโดยเสน่หามิใช่การให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดี ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ผู้เป็นภริยา เมื่อไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์การให้ดังกล่าวจึงไม่ผูกพันโจทก์ โจทก์ย่อมฟ้องเรียกที่ดินอันเป็นสินสมรสส่วนของตนคืนได้ โจทก์เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ง. ก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 พ.ศ. 2477 ซึ่งตาม พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา 4 บัญญัติว่า บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ไม่กระทบกระเทือนถึงบทบัญญัติมาตรา 4 และมาตรา 5 แห่ง พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พุทธศักราช 2477 ดังนั้นการแบ่งสินสมรสของโจทก์กับ ง. จึงต้องแบ่งตามกฎหมายลักษณะผัวเมียบทที่ 68 หาใช่แบ่งคนละส่วนเท่ากันตาม มาตรา 1533 ไม่ เมื่อโจทก์กับ ง. ต่างไม่มีสินเดิมด้วยกัน สินสมรสต้องแบ่งเป็น 3 ส่วน เป็นของ ง.2 ส่วน เป็นของโจทก์ 1 ส่วน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1764/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมร่วม: สิทธิการยกทรัพย์หลังคู่สมรสเสียชีวิต ไม่ผูกพันตามข้อตกลงเดิม
สามีภรรยาต่างทำพินัยกรรมให้แก่กัน พินัยกรรมของภรรยามีข้อความว่า "เมื่อข้าพเจ้าวายชนม์แล้ว บรรดาทรัพย์สินและสิทธิทั้งหลายของข้าพเจ้าซึ่งมีอยู่ในเวลานี้และมีต่อไปภายหน้า ขอให้ตกเป็นกรรมสิทธิแก่สามี(ขุนอุปพงษ์ฯ) ผู้รับพินัยกรรม แต่ถ้าขุนอุปพงษ์ฯถึงแก่กรรมล่วงลับไปก่อนข้าพเจ้าก็ขอให้ทรัพย์สินและสิทธิทั้งหลายของข้าพเจ้าตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่โจทก์ (คุณหญิงเลขวณิชฯ)เป็นผู้รับพินัยกรรม ฯลฯ" และตามพินัยกรรมของสามี (ขุนอุปพงษ์ฯ)ก็มีข้อความทำนองเดียวกัน ยกทรัพย์ให้แก่ภรรยา (นางจันทร์) ถ้านางจันทร์ล่วงลับไปก่อนก็ยกทรัพย์ให้แก่โจทก์ (คุณหญิงเลขวณิชฯ)
ดังนี้เมื่อภรรยา (นางจันทร์)ตายไปก่อน ทรัพย์มรดกของภรรยา(นางจันทร์) ก็ตกได้แก่สามี(ขุนอุปพงษ์) ตามพินัยกรรมสามีย่อมมีสิทธิที่จะยกทรัพย์ให้แก่ผู้อื่นได้ ไม่มีข้อผูกพันตาม กฎหมาย ที่สามี(ขุนอุปพงษ์ฯ)จำต้องยกทรัพย์ให้แก่โจทก์ เพราะทรัพย์นั้นเป็นของสามี(ขุนอุปพงษ์ฯ) โดยเด็ดขาด ตามกฎหมาย สามีมีสิทธิจะยกทรัพย์ให้ใครๆ ก็ได้แล้ว ต่อมาทำพินัยกรรมยกทรัพย์ไปให้ผู้อื่นมิได้ปฏิบัติตามที่ตกลงกันไว้กับภรรยา ว่าจะให้โจทก์ก็ตาม ก็ไม่เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตเพราะข้อตกลงนั้นฟังได้อย่างมากก็เพียงว่าผู้ทำพินัยกรรมทั้งสองตกลงจะยกทรัพย์ให้แก่โจทก์เมื่อตาย แต่เมื่อมิได้ทำพินัยกรรมยกให้ไว้โดยตรงดั่งบัญญัติไว้ใน มาตรา 536 แล้วก็ใช้บังคับไม่ได้ และเรื่องนี้เป็นการยกทรัพย์ให้กันตามพินัยกรรมไม่ใช่เรื่องคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งตกลงว่าจะชำระหนี้แก่บุคคลภายนอกตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374
ข้อผูกพันให้ทรัพย์ตกได้แก่โจทก์ใช้บังคับมิได้เพราะขัดต่อ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1707 (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 24/2498)
ดังนี้เมื่อภรรยา (นางจันทร์)ตายไปก่อน ทรัพย์มรดกของภรรยา(นางจันทร์) ก็ตกได้แก่สามี(ขุนอุปพงษ์) ตามพินัยกรรมสามีย่อมมีสิทธิที่จะยกทรัพย์ให้แก่ผู้อื่นได้ ไม่มีข้อผูกพันตาม กฎหมาย ที่สามี(ขุนอุปพงษ์ฯ)จำต้องยกทรัพย์ให้แก่โจทก์ เพราะทรัพย์นั้นเป็นของสามี(ขุนอุปพงษ์ฯ) โดยเด็ดขาด ตามกฎหมาย สามีมีสิทธิจะยกทรัพย์ให้ใครๆ ก็ได้แล้ว ต่อมาทำพินัยกรรมยกทรัพย์ไปให้ผู้อื่นมิได้ปฏิบัติตามที่ตกลงกันไว้กับภรรยา ว่าจะให้โจทก์ก็ตาม ก็ไม่เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตเพราะข้อตกลงนั้นฟังได้อย่างมากก็เพียงว่าผู้ทำพินัยกรรมทั้งสองตกลงจะยกทรัพย์ให้แก่โจทก์เมื่อตาย แต่เมื่อมิได้ทำพินัยกรรมยกให้ไว้โดยตรงดั่งบัญญัติไว้ใน มาตรา 536 แล้วก็ใช้บังคับไม่ได้ และเรื่องนี้เป็นการยกทรัพย์ให้กันตามพินัยกรรมไม่ใช่เรื่องคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งตกลงว่าจะชำระหนี้แก่บุคคลภายนอกตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374
ข้อผูกพันให้ทรัพย์ตกได้แก่โจทก์ใช้บังคับมิได้เพราะขัดต่อ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1707 (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 24/2498)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1203/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับใช้กฎหมายมรดก: กฎหมายอิสลาม vs. ประมวลกฎหมายแพ่งฯ กรณีการยกทรัพย์สิน
คดีมรดกของผู้ถือศาสนาอิสลามอันเกิดขึ้นในศาล ของจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูลนั้น ต้องใช้กฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวมรดกบังคับแทนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่ในการที่จะพิจารณาวินิจฉัยว่าทรัพย์อะไรเป็นมรดกหรือไม่นั้น จะต้องใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บังคับเสียก่อน
ผู้ตายทำหนังสือ(นาซา)ยกที่ดินให้จำเลยตั้งแต่ยังมีชีวิตอยู่ แม้ตามกฎหมายอิสลามมีว่าการให้ด้วยหนังสือนาซานี้ใช้ได้ ที่ดินไม่เป็นมรดกต่อไปตามกฎหมายอิสลามไม่แบ่งมรดกก็ตาม แต่ปรากฏว่าการยกให้ไม่ถูกแบบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เพราะไม่ได้จดทะเบียน ที่ดินจึงยังเป็นของผู้ตายอยู่ในเวลาตายจึงต้องถือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าที่ดินนี้ยังเป็นมรดกของผู้ตายอยู่
ผู้ตายทำหนังสือ(นาซา)ยกที่ดินให้จำเลยตั้งแต่ยังมีชีวิตอยู่ แม้ตามกฎหมายอิสลามมีว่าการให้ด้วยหนังสือนาซานี้ใช้ได้ ที่ดินไม่เป็นมรดกต่อไปตามกฎหมายอิสลามไม่แบ่งมรดกก็ตาม แต่ปรากฏว่าการยกให้ไม่ถูกแบบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เพราะไม่ได้จดทะเบียน ที่ดินจึงยังเป็นของผู้ตายอยู่ในเวลาตายจึงต้องถือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าที่ดินนี้ยังเป็นมรดกของผู้ตายอยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1548/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาในพินัยกรรม: การยกทรัพย์เมื่อตาย มิใช่การยกทรัพย์โดยเสน่หา
ความในพินัยกรรมข้อหนึ่งกล่าวว่า ผู้ตายเจตนายกทรัพย์ให้ผู้มีชื่อตั้งแต่วันทำพินัยกรรมฉะบับนี้มีข้อความเริ่มต้นระบุไว้ชัดว่าขอทำหนังสือพินัยกรรมเป็นคำสั่งเผื่อตายไว้ และตอนท้ายก็ยังกล่าวยืนยันว่าผู้ตายได้ทำพินัยกรรมไว้ด้วยความเต็มใจและมีสติดีมีพยานลงชื่ออย่างพินัยกรรม ทุกประการเช่นนี้ย่อมถือว่าเป็นพินัยกรรมที่ผู้ตายมุ่งหมายจะยกทรัพย์ให้เมื่อผู้ตายตายลง หาใช่เป็นหนังสือยกทรัพย์ให้ดดยเสน่หาไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 122/2490
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่นำสืบในคดีมรดก: การปฏิเสธข้ออ้างไม่ใช่คำรับ และการพิสูจน์การยกทรัพย์
คดีฟ้องแบ่งมรดก จำเลยให้การต่อสู้ว่า ได้แบ่งทรัพย์กันเสร็จไปแล้ว โจทก์แถลงว่าได้เข้าครอบครองที่ดินสองแปลงจริง แต่ไม่ใช่เพราะจำเลยแบ่งให้ ดังนี้ไม่ใช่คำรับ จำเลยคงมีหน้าที่นำสืบตามข้อต่อสู้
เมื่อจำเลยรับว่า ทรัพย์ตามบัญชีท้ายฟ้องเป็นของเจ้ามรดกแล้วการที่จำเลยอ้างว่าเจ้ามรดกยกให้ตนก่อนตาย ก็เป็นหน้าที่ของจำเลยต้องนำสืบ
แม้ศาลกำหนดหน้าที่นำสืบไว้อย่างไร ถ้าคู่ความไม่สืบพยาน ศาลก็วินิจฉัยให้แพ้ชนะตามแต่หน้าที่ที่จะต้องนำสืบตามกฎหมาย
เมื่อจำเลยรับว่า ทรัพย์ตามบัญชีท้ายฟ้องเป็นของเจ้ามรดกแล้วการที่จำเลยอ้างว่าเจ้ามรดกยกให้ตนก่อนตาย ก็เป็นหน้าที่ของจำเลยต้องนำสืบ
แม้ศาลกำหนดหน้าที่นำสืบไว้อย่างไร ถ้าคู่ความไม่สืบพยาน ศาลก็วินิจฉัยให้แพ้ชนะตามแต่หน้าที่ที่จะต้องนำสืบตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1460/2479
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำพินัยกรรม: ข้อกำหนดรูปแบบ, การแก้ไข, และการยกทรัพย์เพื่อการทำบุญ
พะยานผู้รับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรม์ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการทำพินัยกรรม์ พ.ศ.2475 นั้นไม่จำต้องเขียนข้อความรับรองหรือลงวันเดือนปีที่ทำพินัยกรรม์ด้วยตนเองอ้างฎีกาที่ 579/2479 แล 1036/2479 พินัยกรรม์ที่ประกอบด้วยเอกสารหลายแผ่นนั้นถ้าในแผ่นแรกมีข้อความพินัยกรรม์ ลายมือชื่อผู้ทำและลายมือชื่อพะยานอีก 2 คนก็นับว่าเป็นพินัยกรรม์สมบูรณ์แล้ว แม้จะมีพะยานเซ็นชื่อรับรองในกระดาษอีกแผ่น 1 ด้วยก็ไม่สำคัญ การขุดลบแก้ไขเพิ่มเติมในพินัยกรรม์นั้นถ้าหากมิใช่เป็นในข้อสาระสำคัญแห่งพินัยกรรม์หามีผลทำให้พินัยกรรม์นั้นเสียไปไม่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม ม.13 พินัยกรรม์ที่มีข้อความยกทรัพย์ไว้เป็นกลางให้คน+แลญาติอาศัยกับให้ทำบุญนั้น ไม่เป็นการ่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน