คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
การยกฟ้อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 530/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกที่ดิน: ศาลฎีกายกฟ้องนอกประเด็น แล้วพิพากษาตามข้อเท็จจริงที่คู่ความนำสืบ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยบุกรุกตัดฟันต้นไม้และล้อมรั้วในที่ดินโฉนดของโจทก์ ขอให้ห้ามและรื้อรั้ว จำเลยให้การว่าว่าจำเลยทำในที่ดินโฉนดของจำเลย ซึ่งได้กรรมสิทธิ์ด้วยการซื้อโดยสุจริตเสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนโดยสุจริตโจทก์ไม่เคยครอบครองที่พิพาท มิได้ต่อสู้ว่าโฉนดที่ดินของโจทก์ออกทับโฉนดที่ดินของจำเลย ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นพิพาทไว้เพียงว่าจำเลยได้ล้อมรั้วบุกรุกเข้าไปในที่ดินของโจทก์จริงหรือไม่ส่วนปัญหาเรื่องออกโฉนดทับกันหรือไม่นั้น จำเลยได้ยื่นฟ้องโจทก์และพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องในการออกโฉนดเป็นอีกคดีหนึ่ง และศาลชั้นต้นไม่อนุญาตตามคำร้องของโจทก์ที่ให้รอคดีนี้ไว้ฟังผลคดีดังกล่าวดังนี้ การที่ศาลล่างกลับวินิจฉัยว่าโฉนดที่ดินทั้งแปลงของโจทก์ออกทับส่วนหนึ่งของที่ดินของจำเลย แล้วพิพากษายกฟ้อง จึงเป็นการวินิจฉัยและพิพากษาคดีนอกเหนือประเด็นพิพาท ไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาพิพากษาคดีชอบที่ศาลฎีกาจะยกเสีย แต่เมื่อคู่ความได้นำสืบตามประเด็นแห่งคดีไว้แล้วศาลฎีกาย่อมวินิจฉัยพิพากษาคดีไปได้ ไม่จำเป็นต้องย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่และเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดพิพาทเป็นฝ่ายครอบครองที่พิพาทตลอดมา จำเลยบุกรุกเข้าไปล้อมรั้วในที่พิพาท ศาลฎีกาก็ย่อมพิพาทให้จำเลยรื้อรั้วออกจากที่ดินพิพาทและห้ามเกี่ยวข้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 884/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนทรัพย์ที่ได้จากการกระทำผิดอาญา แม้ศาลยกฟ้องจำเลยบางส่วน ก็ต้องถือว่าจำเลยที่เหลือมีหน้าที่คืนทรัพย์สินทั้งหมด
โจรปล้นทรัพย์เงิน 11,962 บาท อาวุธปืนและทรัพย์อย่างอื่นรวมราคา 32,582 บาท จับคนร้ายได้ 2 คน ได้เงิน 5,233 บาท จากจำเลยที่ 1 และได้อาวุธปืน 1 กระบอกจากจำเลยที่ 2 โจทก์ขอให้ศาลสั่งคืนเงิน 5,233 บาท และอาวุธปืนที่จับได้จากจำเลยทั้งสองแก่เจ้าทรัพย์ และให้จำเลยร่วมกันคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ยังไม่ได้คืน 24,849 บาท แก่เจ้าทรัพย์ ศาลยกฟ้องจำเลยที่ 1คืนเงิน 5,233 บาทแก่จำเลยที่ 1 ไปเมื่อเงินจำนวน 5,233 บาทที่จับได้จากจำเลยที่ 1 จะเอามาคืนหรือใช้ให้แก่เจ้าทรัพย์ไม่ได้เพราะศาลยกฟ้องจำเลยที่ 1 และคืนเงินจำนวนนี้ให้จำเลยที่ 1 ไปก็ต้องถือว่าจำเลยที่ 2 ยังต้องคืนหรือใช้เงินจำนวน 5,233 บาทแก่เจ้าทรัพย์ตามความหมายในคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ขอให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ทั้งหมดนั้นด้วย(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 10/2509)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 337/2482

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐานการกระทำผิด และการยกฟ้องตาม ม.219 ป.วิ.อ.
ในข้อที่ว่าศาลต้องฟังพะยานโจทก์จนกว่าจะเป็นที่พอใจว่าจำเลยได้กระทำผิดตาม ม.176 แห่งประมวลวิธีพิจารณาความอาญานั้น เป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่จะต้องวินิจฉัยว่าพะยานโจทก์เท่าที่นำสืบมานั้นจะมีน้ำหนักพอเชื่อได้หรือไม่ว่าจำเลยได้กระทำผิดตามคำรับนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2419/2552 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน ส.ป.ก. 4-01: ศาลชั้นต้นพิจารณาไม่ชอบด้วยกฎหมาย หากยังไม่ฟังพยาน
ตามสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์กับจำเลย คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายมีเจตนาที่จะซื้อขายที่ดินพิพาทก็ต่อเมื่อที่ดินพิพาทได้มีการยกเลิกเอกสารสิทธิ ส.ป.ก. 4 - 01 และได้ออกเอกสารสิทธิเป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์หรือโฉนดที่ดินแล้ว หาใช่มีเจตนาตกลงซื้อขายที่ดินที่มีเอกสารสิทธิเป็น ส.ป.ก. 4 - 01 ซึ่งมีข้อกำหนดห้ามโอนและห้ามมิให้ทำการซื้อขาย อันจะทำให้สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทตามฟ้องเป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายดังที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยไม่ ส่วนที่ดินพิพาทจะสามารถดำเนินการยกเลิกเอกสารสิทธิ ส.ป.ก. 4 - 01 และออกเอกสารสิทธิเป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์หรือโฉนดที่ดินได้จริงดังที่โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องและระบุไว้ในสัญญาหรือไม่ จำเป็นต้องฟังพยานหลักฐานของคู่ความให้เสร็จสิ้นกระแสความเสียก่อนที่จะวินิจฉัยประเด็นดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นด่วนพิพากษายกฟ้องโจทก์ในชั้นตรวจคำฟ้องนั้น จึงเป็นการปฏิบัติที่ไม่ชอบด้วยการพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1602/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยร่วมไม่มีสิทธิอุทธรณ์/ฎีกา เนื่องจากศาลชั้นต้นยกฟ้อง และการนำสืบพยานบุคคลแทนการมีหลักฐานหนังสือ
เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยร่วมแล้ว ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยร่วมถูกโต้แย้งสิทธิในชั้นอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 จำเลยร่วมจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยร่วมนั้นเป็นการไม่ชอบและถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 3 จำเลยร่วมจึงไม่มีสิทธิฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
การกู้ยืมเงินเป็นกรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง การนำสืบถึงการตั้งตัวแทนจึงต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือมาแสดงตาม ป.พ.พ. มาตรา 798 วรรคสอง จำเลยจึงไม่อาจนำพยานบุคคลมาสืบว่าจำเลยลงลายมือชื่อที่ช่องผู้กู้ในสัญญากู้ยืมเงินแทนจำเลยร่วม ปัญหาเรื่องข้อห้ามนำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติม ตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในพยานเอกสารตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข) เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247 กรณีจึงต้องฟังว่าจำเลยเป็นผู้กู้ยืมเงินโจทก์
เนื้อหาของฎีกาส่วนที่เป็นสาระสำคัญในประเด็นว่าโจทก์ส่งมอบเงินที่กู้ยืมให้เพียง 1,000,000 บาท ส่วนที่เหลือเป็นดอกเบี้ยที่โจทก์คิดไว้ล่วงหน้าในอัตราร้อยละ 24 ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราที่เกินว่ากฎหมายกำหนด และจำเลยได้ชำระหนี้ให้โจทก์ครบถ้วน ล้วนแต่คัดลอกข้อความในอุทธรณ์มาทั้งสิ้น คงมีส่วนเพิ่มเติมบ้างเล็กน้อยในรายละเอียด โดยมิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ว่าไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร และด้วยเหตุผลใด จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1714/2567

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบไม่กระทบถึงคดีอาญาถึงที่สุด แม้ศาลมีคำสั่งให้ยกฟ้องในส่วนอาญา
คำสั่งของศาลที่ให้คดีมีมูลย่อมเด็ดขาดตามบทบัญญัติมาตรา 170 แห่ง ป.วิ.อ. ซึ่งต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ฎีกา หมายถึงเฉพาะคำสั่งของศาลที่ให้คดีมีมูลเท่านั้น แต่หากเป็นการคัดค้านเรื่องผิดระเบียบ คู่ความฝ่ายที่ได้รับความเสียหายอาจยกขึ้นกล่าวอ้างได้ และศาลชั้นต้นอาจมีคำสั่งให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 มาตรา 3 จึงไม่ต้องห้ามจำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบในชั้นไต่สวนมูลฟ้องแต่อย่างใด และไม่ทำให้คดีในส่วนอาญาถึงที่สุด