คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
การยกให้

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 36 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5495/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินหลังการยกให้-การจดทะเบียน: โจทก์มีสิทธิขอจดทะเบียนโอน แต่จำเลยผู้จัดการมรดกไม่มีหน้าที่จดทะเบียน
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดิน ตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของ ต. โดย ต.ยกให้แก่โจทก์ในขณะที่ ต.ยังมีชีวิตอยู่ แต่ยังไม่ได้โอนทางทะเบียน ต่อมาศาลพิพากษาถึงที่สุดว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะขอให้ใส่ชื่อโจทก์ในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ได้โดยการปฏิบัติตาม ป.ที่ดินมาตรา 77 และกฎกระทรวงฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2497) ข้อ 9 แต่จะฟ้องจำเลยผู้จัดการมรดกของ ต.ให้จดทะเบียนโอนสิทธิครอบครองให้โจทก์ไม่ได้ เพราะจำเลยไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องไปจดทะเบียนโอนสิทธิครอบครองแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1242/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดินและบ้านที่ได้มาจากการอยู่กินฉันสามีภริยาและการยกให้จากบุคคลในครอบครัว
จำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์บ้านพิพาทรวมกับโจทก์โดยปลูกบ้านบนที่ดิน 2 แปลง และล้อมรั้วรอบที่ดินทั้งสองแปลง ที่ดินแปลงหนึ่งจำเลยได้รับการยกให้จากมารดาอีกแปลงหนึ่งคือที่ดินพิพาท โจทก์ได้รับยกให้จาก น้องชายจำเลยโดยมีข้อแลกเปลี่ยนให้โจทก์ยอมรับ บุตรของน้องชายจำเลยเป็นบุตรของโจทก์ ตามพฤติการณ์ ดังกล่าวแม้โจทก์จะมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดิน พิพาทแต่ผู้เดียวก็ตาม แต่โจทก์ได้ที่ดินพิพาทมาในระหว่าง ที่อยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลย โดยได้รับการยกให้ จากน้องชายจำเลยด้วยความสัมพันธ์และข้อแลกเปลี่ยน ระหว่างบุคคลในครอบครัว ทั้งสองฝ่ายได้ครอบครองร่วมกัน มาระหว่างอยู่กินด้วยกัน ถือว่าเป็นทรัพย์ที่ทำมาหาได้ร่วมกัน โจทก์จำเลยจึงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินและบ้านพิพาทร่วมกัน คนละครึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1111/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์: การยกให้ไม่สมบูรณ์ การครอบครองแทนทายาท และผลกระทบต่อการได้กรรมสิทธิ์
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมีโฉนดการที่ผู้ตายยกที่ดินพิพาทให้ผู้ร้องซึ่งทายาทคนหนึ่งของผู้ตายแต่มิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา525เมื่อการยกให้ไม่สมบูรณ์ต่อมาเมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายและไม่ปรากฏว่าผู้ร้องได้แสดงเจตนาไปยังทายาทคนอื่นว่าผู้ร้องเข้าครอบครองที่ดินพิพาทเพื่อตนเองการครอบครองที่ดินพิพาทของผู้ร้องจึงเป็นการครอบครองแทนทายาทคนอื่นด้วย คดีนี้ผู้ร้องยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1382จึงไม่มีประเด็นเรื่องอายุความมรดกที่จะยกขึ้นวินิจฉัยได้เพราะเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 803/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านจากการครอบครองปรปักษ์และการยกให้ โดยพิจารณาผลกระทบต่อสิทธิของโจทก์และจำเลย
หลังจาก ต. มารดาได้ลงชื่อโจทก์จำเลยและ ป. ซึ่งเป็นบุตรทั้งสาม เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดินในปี 2511 แล้ว ต.มารดาก็ยังคงครอบครองบ้านพิพาทอย่างเป็นเจ้าของแต่ผู้เดียวต่อไป แม้บ้านพิพาทจะเป็นส่วนควบของที่ดินซึ่งกรรมสิทธิ์ในบ้านจะเป็นของโจทก์จำเลยและ ป. ด้วยโดยผลของกฎหมายและ ต. มารดาไม่ทราบการครอบครองบ้านพิพาทของ ต.มารดาก็เป็นการครอบครองโดยปรปักษ์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ในส่วนของโจทก์จำเลยและ ป. ก่อนที่ ต.มารดาจะถึงแก่ความตายได้ยกบ้านพิพาทให้จำเลยซึ่งอาศัยอยู่ในบ้านพิพาทอยู่แล้ว การที่จำเลยอยู่ในบ้านพิพาทต่อมาจำเลยย่อมครอบครองบ้านพิพาทโดยเจตนาเป็นเจ้าของต่อจาก ต. มารดา เมื่อรวมระยะเวลาครอบครองเกิน10 ปีแล้ว บ้านพิพาทย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยแต่ผู้เดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3081/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมิ่นประมาทมารดาและการเรียกคืนที่ดินที่ยกให้โดยเสน่หา
โจทก์ไปทวงเงิน 2,500 บาท คืนจากจำเลย จำเลยด่าโจทก์ซึ่งเป็นมารดาว่า "อีสำเพ็ง อีหัวหงอก กูไม่ให้ อยากได้ให้ไปฟ้องร้องเอา" การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงตามความหมายของ ป.พ.พ. มาตรา 531(2) อันเป็นการประพฤติเนรคุณโจทก์ชอบที่จะเรียกถอนคืนการให้ที่ดินที่โจทก์ยกให้จำเลยได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3930/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ แม้การยกให้ไม่สมบูรณ์ และสิทธิของทายาทที่ขาดอายุความ
แม้การยกให้ไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525 เพราะไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ตาม แต่บิดาผู้ร้องและผู้ร้องครอบครองบ้านและที่ดินพิพาทต่อมาภายหลังจากเจ้ามรดกถึงแก่ความตายโดยครอบครองไว้เพื่อตนเอง ซึ่งเมื่อนับแต่วันที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายจนถึงวันที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์เป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว ผู้ร้องย่อมได้ไปซึ่งกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินพิพาทด้วยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382
ผู้คัดค้านที่ 2 ไม่ได้ครอบครองมรดกและมิได้เรียกร้องเอาส่วนมรดกภายใน 1 ปีนับแต่วันที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ผู้คัดค้านที่ 2 เพิ่งจะเข้ามาอาศัยอยู่ในบ้านและที่ดินพิพาทในภายหลัง ย่อมหมดสิทธิที่จะรับมรดก และการครอบครองบ้านและที่ดินพิพาทของผู้คัดค้านที่ 2 ดังกล่าวจะถือว่าเป็นการครอบครองทรัพย์มรดกเพื่อตนเองและเป็นการครอบครองแทนทายาทอื่นไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1803/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ร่วม การโอนกรรมสิทธิ์เฉพาะส่วน และผลกระทบต่อกรรมสิทธิ์ของผู้อื่น
บ้านพิพาทเป็นของจำเลยกับ ช.ร่วมกัน แม้หลักฐานทางทะเบียนจะปรากฏชื่อ ช.เป็นเจ้าของแต่ผู้เดียว และช.จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์บ้านพิพาทให้ผู้ร้อง ก็ไม่ทำให้กรรมสิทธิ์ในส่วนของจำเลยโอนมาเป็นของผู้ร้องด้วย เพราะจำเลยมิได้แสดงเจตนายกให้ผู้ร้อง ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยรู้เห็นการที่ ช.จดทะเบียนยกบ้านพิพาทให้ผู้ร้อง จะถือว่าจำเลยยอมให้กรรมสิทธิ์ในส่วนของจำเลยโอนไปเป็นของผู้ร้องด้วยไม่ได้ ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิขอให้ปล่อยบ้านพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5528/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินธรณีสงฆ์: การได้มาโดยการยกให้ และสิทธิครอบครองแม้มีการซื้อขายต่อ
พ.ยกที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินมือเปล่าไม่มีหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินให้แก่วัดจำเลยโดยให้นาง ข.ซึ่งเป็นภรรยามีสิทธิเก็บกินตลอดชีวิต และจำเลยก็ได้ครอบครองที่ดินพิพาทแล้วเช่นนี้ ที่ดินพิพาทได้ตกเป็นที่ธรณีสงฆ์ของวัดจำเลยตั้งแต่ พ.ยกให้ และจำเลยรับไว้แล้วเป็นต้นมานาง ข.เป็นเพียงผู้ครอบครองแทน แม้ต่อมานาง ข.จะได้ขายที่ดินพิพาทให้โจทก์ และโจทก์ได้ครอบครองที่ดินพิพาทสืบต่อมาก็ตาม วัดจำเลยก็ยังคงมีสิทธิครอบครองเช่นเดิม เพราะโจทก์ต้องห้ามมิให้ยกอายุความขึ้นต่อสู้กับวัดในเรื่องทรัพย์สินอันเป็นที่ธรณีสงฆ์ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์พ.ศ.2505 มาตรา 34
การที่จำเลยได้ที่ดินพิพาทมาและสละที่ดินพิพาทบางส่วนไปโดยไม่ได้ลงทะเบียนการได้มาและจำหน่ายออกไปจากทะเบียนตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2511) ออกตามความในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 นั้น หาได้เป็นเหตุให้จำเลยเสียสิทธิในที่ดินพิพาทที่ได้รับมาไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5160/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยักยอกทรัพย์: การยกให้เป็นเหตุให้ไม่มีเจตนาทุจริต แม้ไม่ทำตามแบบ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานยักยอก ซึ่งมีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า บ้านที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยยักยอกนั้น จำเลยได้รับยกให้จากบิดาตามที่จำเลยนำสืบต่อสู้ แม้การยกให้ดังกล่าวจะมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ก็ไม่อาจลงโทษจำเลยตามฟ้องได้ เท่ากับศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยมิได้มีเจตนาทุจริตเบียดบังยักยอกทรัพย์ตามที่โจทก์กล่าวหา ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า การยกให้มิได้ทำตามแบบจำเลยจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาทนั้น แม้จะเป็นปัญหาข้อกฎหมายก็ไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป จึงเป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 371/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกสิทธิครอบครองที่ดินโดยการส่งมอบ ย่อมสมบูรณ์ตามกฎหมาย ไม่ต้องจดทะเบียน
ผู้ตายซึ่งมีสิทธิครอบครองที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ได้ยกที่ดินดังกล่าวให้ผู้ร้องและได้ส่งมอบการครอบครองให้ผู้ร้องแล้ว ย่อมเป็นการยกให้ที่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1378 ผู้ร้องย่อมได้ไปซึ่งสิทธิครอบครองโดยมิพักต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การยกให้ดังกล่าวผู้ตายไม่มีหน้าที่ทางนิติกรรมที่จะต้องจดทะเบียนโอนให้แก่ผู้ร้อง กรณีไม่จำเป็นต้องมีการจัดการมรดก จึงไม่จำต้องตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตาย.(ที่มา-ส่งเสริม)
of 4