พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2972/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาการยื่นฎีกาและการปฏิบัติตามขั้นตอนกฎหมายที่ถูกต้อง
ป.วิ.อ.มาตรา 216 บัญญัติให้คู่ความมีอำนาจฎีกาคัดค้านคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลอุทธรณ์ภายในหนึ่งเดือน นับแต่วันอ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นให้คู่ความฝ่ายที่ฎีกาฟัง ทั้ง ป.พ.พ.มาตรา 193/5 บัญญัติว่า ถ้ากำหนดระยะเวลาเป็นเดือนให้คำนวณตามปีปฏิทิน ถ้าระยะเวลามิได้กำหนดนับแต่วันต้นแห่งเดือนระยะเวลาย่อมสิ้นสุดลงในวันก่อนหน้าจะถึงวันแห่งเดือนสุดท้ายอันเป็นวันตรงกับวันเริ่มระยะเวลานั้น และคดีนี้ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์และจำเลยฟังเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2539 หากจำเลยจะฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จำเลยจะต้องฎีกาภายในวันที่ 17 ตุลาคม 2539 แต่ทนายจำเลยยื่นคำร้องในวันที่16 ตุลาคม 2539 ขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาออกไปอีก 15 วัน ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต เมื่อนับระยะเวลาเป็นวันตามที่ ป.พ.พ.มาตรา 193/3 วรรคสอง บัญญัติมิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลานั้นรวมเข้าด้วยแล้ว จึงเป็นผลให้ระยะเวลาที่จำเลยจะยื่นฎีกาได้นั้นยืดออกไปอีกโดยจำเลยสามารถยื่นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้ภายในวันที่ 31 ตุลาคม 2539 จำเลยยื่นคำร้องพร้อมฎีกาต่อผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นในวันที่ 29 ตุลาคม 2539 ขอให้อนุญาตให้จำเลยฎีกาตาม ป.วิ.อ.มาตรา 221 ยังอยู่ในกำหนดระยะเวลาที่จำเลยจะฎีกาได้จึงเป็นคำร้องที่ยื่นโดยชอบด้วยกฎหมาย ส่วนคำร้องของจำเลยพร้อมฎีกาที่ขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลอุทธรณ์อนุญาตให้จำเลยฎีกาตาม ป.วิ.อ.มาตรา 221 ซึ่งยื่นเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2539 นั้น แม้จะเป็นการยื่นก่อนเวลาที่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยฎีกาก็ตาม แต่ก็เป็นการยื่นเพื่อปฏิบัติตาม ป.วิ.อ.มาตรา 221เมื่อล่วงพ้นระยะเวลาที่จำเลยมีสิทธิฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เสียแล้วการยื่นคำร้องดังกล่าวของจำเลยต่อผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลอุทธรณ์จึงเป็นการปฏิบัติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยนั้นชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 824/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายความในการยื่นอุทธรณ์: กรณีใบแต่งทนายความไม่ได้ระบุอำนาจ
โจทก์ยื่นอุทธรณ์โดยมีทนายความลงชื่อเป็นผู้อุทธรณ์แทนเมื่อใบแต่งทนายความไม่ได้ระบุให้ทนายความมีอำนาจอุทธรณ์ จึงเป็นกรณีที่ทนายความลงชื่อในอุทธรณ์โดยไม่มีอำนาจ อุทธรณ์ของโจทก์เป็นฟ้องอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย การยื่นอุทธรณ์ของทนายความมิใช่กระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบที่ศาลแรงงานจะมีอำนาจสั่งให้เพิกถอนทั้งหมดหรือบางส่วน หรือสั่งแก้ไขหรือมีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่เห็นสมควรดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 27 แห่งป.วิ.พ.ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522 มาตรา 31 แต่เป็นกรณีที่ศาลแรงงานผู้ตรวจรับอุทธรณ์มีอำนาจที่จะสั่งให้โจทก์ทั้งสองแก้ไขอำนาจของทนายความผู้ยื่นอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา18 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522 มาตรา 31 หรือมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 114/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นบัญชีระบุพยานในคดีอาญา: ผลของการไม่ยื่นบัญชีต่อการรับฟังพยานหลักฐาน
ในการยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาล ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ ต้องนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับ โดยต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติ มาตรา 87(2), 88 และ 90 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เมื่อโจทก์มิได้ยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาล ไม่ว่าก่อนศาลไต่สวนหรือหลังจากศาลไต่สวนพยานโจทก์ จึงต้องห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1813/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นบัญชีระบุพยาน: วันเริ่มต้นสืบพยานสำคัญกว่าวันนัด
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 บัญญัติให้ยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 3 วันนั้นหมายถึงก่อนวันที่ศาลเริ่มต้นทำการสืบพยานจริง ๆ ไม่ใช่หมายถึงวันนัดสืบพยานครั้งแรก
ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานจำเลยตามที่จำเลยแถลงรับนำสืบก่อนในวันที่ 6 สิงหาคม 2513 ครั้นถึงวันนัด จำเลยยื่นคำร้องขอระบุพยานเพิ่มเติม และในวันเดียวกันนั้นศาลชั้นต้นเห็นควรให้เลื่อนคดีไปจึงให้เลื่อนคดีไปสืบพยานจำเลยในวันที่ 20 สิงหาคม 2513 โดยยังมิได้สั่งว่ารับหรือไม่รับบัญชีระบุพยานฉบับลงวันที่ 6 สิงหาคม 2513 ของจำเลย ครั้นวันที่ 17 สิงหาคม 2513 จำเลยยื่นคำร้องระบุพยานโดยอ้างว่าพลั้งเผลอไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันสืบพยาน 3 วันขอให้รับบัญชีระบุพยานจำเลยไว้ ดังนี้ การที่จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลในวันที่ 6 สิงหาคม 2513 นั้น แม้จำเลยจะยื่นคำร้องว่าเป็นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมก็ตาม แท้จริงเป็นการระบุพยานครั้งแรกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคแรก นั่นเองซึ่งจำเลยมีสิทธิยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลโดยไม่ต้องทำเป็นคำร้องเพราะวันนั้นศาลไม่ได้เริ่มต้นทำการสืบพยานจริง ๆ ส่วนการที่จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานฉบับลงวันที่17 สิงหาคม 2513 โดยทำเป็นคำร้องนั้น แท้จริงก็เป็นการยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคสองนั่นเองซึ่งจำเลยมีสิทธิยื่นได้โดยไม่ต้องทำเป็นคำร้อง ฉะนั้น บัญชีระบุพยานจำเลยฉบับลงวันที่ 17 สิงหาคม 2513 จึงเป็นบัญชีระบุพยานที่ได้ยื่นต่อศาลไว้โดยชอบแล้ว
ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานจำเลยตามที่จำเลยแถลงรับนำสืบก่อนในวันที่ 6 สิงหาคม 2513 ครั้นถึงวันนัด จำเลยยื่นคำร้องขอระบุพยานเพิ่มเติม และในวันเดียวกันนั้นศาลชั้นต้นเห็นควรให้เลื่อนคดีไปจึงให้เลื่อนคดีไปสืบพยานจำเลยในวันที่ 20 สิงหาคม 2513 โดยยังมิได้สั่งว่ารับหรือไม่รับบัญชีระบุพยานฉบับลงวันที่ 6 สิงหาคม 2513 ของจำเลย ครั้นวันที่ 17 สิงหาคม 2513 จำเลยยื่นคำร้องระบุพยานโดยอ้างว่าพลั้งเผลอไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันสืบพยาน 3 วันขอให้รับบัญชีระบุพยานจำเลยไว้ ดังนี้ การที่จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลในวันที่ 6 สิงหาคม 2513 นั้น แม้จำเลยจะยื่นคำร้องว่าเป็นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมก็ตาม แท้จริงเป็นการระบุพยานครั้งแรกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคแรก นั่นเองซึ่งจำเลยมีสิทธิยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลโดยไม่ต้องทำเป็นคำร้องเพราะวันนั้นศาลไม่ได้เริ่มต้นทำการสืบพยานจริง ๆ ส่วนการที่จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานฉบับลงวันที่17 สิงหาคม 2513 โดยทำเป็นคำร้องนั้น แท้จริงก็เป็นการยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคสองนั่นเองซึ่งจำเลยมีสิทธิยื่นได้โดยไม่ต้องทำเป็นคำร้อง ฉะนั้น บัญชีระบุพยานจำเลยฉบับลงวันที่ 17 สิงหาคม 2513 จึงเป็นบัญชีระบุพยานที่ได้ยื่นต่อศาลไว้โดยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 288/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นเอกสารสัญญาในศาล: การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอน และผลกระทบต่อการคัดค้าน
โจทก์มิได้ระบุอ้างเอกสารสัญญากู้เป็นพยานไว้ แต่ได้ส่งต้นฉบับสัญญากู้ต่อศาลในการพิจารณา ศาลชั้นต้นสั่งรับไว้เป็นเอกสารในสำนวน ดังนี้ เป็นการไม่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการอ้างและยื่นหรือส่งเอกสาร เป็นการพิจารณาผิดระเบียบจำเลยอาจยกขึ้นคัดค้านได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 แต่ต้องร้องคัดค้านเสียก่อน 8 วันนับแต่ได้ทราบเรื่องผิดระเบียบ และก่อนที่จะมีคำพิพากษา จำเลยเพิ่งยกขึ้นคัดค้านในชั้นอุทธรณ์ฎีกาย่อมไม่ได้
จำเลยรับว่าลายเซ็นในช่องผู้กู้ในสัญญากู้ที่โจทก์ส่งต้นฉบับต่อศาลเป็นของจำเลยคงโต้เถียงตามที่ให้การต่อสู้ว่าไม่ได้กู้เงินโจทก์ สัญญากู้เป็นเอกสารปลอม จึงต้องฟังจากคำพยานหลักฐานอื่นต่อไป ไม่ต้องห้ามมิให้รับฟังพยานบุคคล
จำเลยรับว่าลายเซ็นในช่องผู้กู้ในสัญญากู้ที่โจทก์ส่งต้นฉบับต่อศาลเป็นของจำเลยคงโต้เถียงตามที่ให้การต่อสู้ว่าไม่ได้กู้เงินโจทก์ สัญญากู้เป็นเอกสารปลอม จึงต้องฟังจากคำพยานหลักฐานอื่นต่อไป ไม่ต้องห้ามมิให้รับฟังพยานบุคคล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 970/2504
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชุมนุมเพื่อยื่นคำร้องไม่ถือเป็นการประชุมทางการเมืองตามประกาศคณะปฏิวัติ
การที่จำเลยกับพวกประชุมกันเพื่อเขียนคำร้องทุกข์ยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าพวกญวนที่ถูกเจ้าพนักงานจับไปในข้อหาคอมมูนิสต์ไม่ได้กระทำผิดอะไรนั้น ไม่ใช่เป็นการประชุมในทางการเมืองตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 13 จำเลยจึงไม่ผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน