พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2541/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นการบังคับคดี: ลูกจ้างการรถไฟฯ ไม่ใช่ลูกจ้างรัฐบาล เงินบำนาญตกเป็นสินทรัพย์บังคับได้
ป.วิ.พ. มาตรา 286 เป็นข้อยกเว้นความรับผิดแห่งการบังคับคดีจะต้องตีความโดยเคร่งครัด การที่การรถไฟแห่งประเทศไทยซึ่งก่อตั้งเป็นนิติบุคคลตาม พ.ร.บ. การรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 ได้แยกออกจากรัฐบาลเป็นเอกเทศต่างหาก เมื่อจำเลยเป็นลูกจ้างของการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยมีอำนาจแต่งตั้ง ถอดถอน เลื่อนหรือลดขั้นเงินเดือน และรับรายได้เป็นเดือนจากงบประมาณของการรถไฟแห่งประเทศไทย มิใช่จากเงินจัดสรรงบประมาณเหมือนข้าราชการและลูกจ้างของรัฐบาล จำเลยจึงหาใช่ลูกจ้างของรัฐบาลตามความหมายของป.วิ.พ. มาตรา 286 (2) ไม่ เมื่อจำเลยมิใช่ลูกจ้างของรัฐบาล สิทธิเรียกร้องในเงินสงเคราะห์รายเดือน (บำนาญ) ของจำเลยที่มีอยู่ต่อการรถไฟแห่งประเทศไทยผู้เป็นนายจ้าง จึงตกอยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตามป.วิ.พ. มาตรา 286 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2541/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะลูกจ้างการรถไฟฯ ไม่ใช่ลูกจ้างรัฐบาล สิทธิบำนาญถูกบังคับคดีได้
การรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทยฯ ไม่ขึ้นอยู่กับกระทรวงทบวงกรมใด รัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่เพียงกำกับโดยทั่วไปหามีอำนาจร่วมจัดกิจกรรมและควบคุมดูแลโดยตรงไม่ แสดงอยู่ในตัวว่าเป็นการแยกกิจการการรถไฟฯ ออกจากรัฐบาลเป็นเอกเทศต่างหาก ทั้งการรถไฟฯยังจัดทำงบประมาณประจำปีของตนเอง ไม่รวมอยู่ในงบประมาณแผ่นดินอีกด้วยจำเลยเป็นลูกจ้างของการรถไฟฯ ซึ่งผู้ว่าการรถไฟฯ มีอำนาจแต่งตั้ง ถอดถอนเลื่อนหรือลดขั้นเงินเดือนและรับรายได้เป็นเดือนจากงบประมาณของการรถไฟฯ ซึ่งมิใช่เงินจัดสรรงบประมาณเหมือนข้าราชการและลูกจ้างของรัฐบาล จำเลยจึงหาใช่ลูกจ้างของรัฐบาลตามความหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286(2)ไม่ ดังนั้น สิทธิเรียกร้องเงินสงเคราะห์รายเดือน (บำนาญ) ของจำเลยที่มีต่อการรถไฟฯผู้เป็นนายจ้าง จึงตกอยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286(3) เมื่อจำเลยเป็นหนี้โจทก์600,000 บาท การที่ถูกอายัดยอดเงินสงเคราะห์รายเดือน (บำนาญ) เพียงเดือนละ8,000 บาทเศษ จึงนับว่าเป็นจำนวนที่เหมาะสมแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 882/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายอสังหาริมทรัพย์ทางค้าหรือหากำไร กรณีโอนกรรมสิทธิ์อาคารให้การรถไฟฯ ตามสัญญาเช่า
โจทก์ทำสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ตามโครงการจัดสรรประโยชน์กับการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยโจทก์ในฐานะผู้เช่าจะปลูกสร้างอาคาร สิ่งปลูกสร้างและส่วนควบต่าง ๆ และให้บรรดาอาคาร สิ่งปลูกสร้างทั้งหมดในพื้นที่เช่าที่ปลูกสร้างต่อเติม ดัดแปลง หรือติดตั้งขึ้นนั้นตกเป็นกรรมสิทธิ์ของการรถไฟแห่งประเทศไทยทันทีที่ลงมือปลูกสร้างหรือติดตั้งแล้วโจทก์มีสิทธินำอาคารดังกล่าวไปประกอบกิจการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ได้จนกว่าจะครบอายุสัญญาเช่า 23 ปี พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิในที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทยตามสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ใช้สิทธินั้นปลูกสร้างโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นไว้ในที่ดินที่เช่า บรรดาอาคาร สิ่งปลูกสร้างรวมทั้งวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆที่เป็นส่วนตรึงอาคารสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดหาได้ตกเป็นส่วนควบของที่ดินที่โจทก์เช่าจากการรถไฟแห่งประเทศไทยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 146 ไม่ การรถไฟแห่งประเทศไทยย่อมไม่มีกรรมสิทธิ์ในบรรดาอาคาร สิ่งปลูกสร้างรวมทั้งวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เป็นส่วนตรึงอาคารสิ่งปลูกสร้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 144 วรรคสอง แต่การรถไฟแห่งประเทศไทยได้กรรมสิทธิ์ในบรรดาอาคาร สิ่งปลูกสร้างรวมทั้งวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เป็นส่วนตรึงอาคารสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดเนื่องมาจากข้อสัญญาเช่าฯ ที่โจทก์ตกลงให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของการรถไฟแห่งประเทศไทยอันเป็นการแสดงให้เห็นอยู่ในตัวว่าโจทก์มีกรรมสิทธิ์ในอาคาร สิ่งปลูกสร้างและวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆดังกล่าว เพราะหากโจทก์ไม่มีกรรมสิทธิ์แล้วโจทก์ย่อมไม่อาจจะตกลงให้อาคาร สิ่งปลูกสร้าง รวมทั้งวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆดังกล่าวตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่เจ้าของที่ดินในทันทีได้ กรณีดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์ได้จำหน่ายจ่ายโอนอาคาร สิ่งปลูกสร้าง รวมทั้งวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ดังกล่าวอันเข้าบทนิยามคำว่า "ขาย" ตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 91/1(4) แล้ว จึงเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ขายมีไว้ในการประกอบกิจการ อันเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นการค้าหรือหากำไรตามมาตรา 91/2(6) ประกอบด้วยพระราชกฤษฎีกาออกตามความใน ประมวลรัษฎากรว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร(ฉบับที่ 244)ฯ มาตรา 3(5) ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9151/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อบังคับการรถไฟฯ กับการฟ้องค่าเสียหายจากลูกจ้างที่ศาลยกฟ้องคดีอาญา ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
ข้อบังคับการรถไฟแห่งประเทศไทยฉบับที่3.5มีข้อความว่าพนักงานผู้ใดมีกรณีต้องหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกสอบสวนหรือถูกฟ้องคดีอาญาหรือถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดอาญาเว้นแต่คดีความผิดลหุโทษหรือความผิดอันได้กระทำโดยประมาทฯลฯก็ให้ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งฯลฯให้ผู้นั้นออกจากงานไว้ก่อนเพื่อรอฟังผลการสอบสวนพิจารณาได้และวรรคสองมีข้อความว่าแต่ถ้าภายหลังศาลพิพากษาว่ามีความผิดหรือสอบสวนพิจารณาได้ความเป็นสัตย์ที่จะต้องลงโทษไล่ออกปลดออกหรือให้ออกหรือเป็นกรณีที่จะต้องให้ออกจากงานด้วยเหตุอื่นก็ให้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงคำสั่งเป็นไล่ออกปลดออกหรือให้ออกให้ตรงตามข้อบังคับถ้าปรากฏว่าผู้ถูกสั่งให้ออกจากงานไว้ก่อนมิได้มีความผิดเลยหรือมีความผิดและไม่มีกรณีที่จะต้องออกจากงานด้วยเหตุอื่นให้ผู้บังคับบัญชาที่สั่งให้ออกจากงานสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าทำงานตามเดิมแต่คดีนี้มิใช่คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาจึงไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาและกรณีของจำเลยที่2ได้กระทำผิดสัญญาจ้างทำให้โจทก์เสียหายจึงไม่อยู่ในบังคับของข้อบังคับดังกล่าวให้โจทก์รับจำเลยที่2กลับเข้าทำงานและกรณีผิดสัญญาจ้างก็ไม่มีข้อบังคับห้ามมิให้โจทก์ฟ้องจำเลยที่2ให้รับผิดในทางแพ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 567/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายเงินบำเหน็จพิเศษจากกองทุนบำรุงความสุขของลูกจ้าง การรถไฟฯ นายจ้างมีสิทธิกำหนดหลักเกณฑ์การจ่ายได้
การจ่ายเงินบำรุงความสุขเป็นเงินบำเหน็จพิเศษแก่ลูกจ้างตามระเบียบการขนส่งของการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2499นั้น จะต้องมีคณะกรรมการของจำเลยเป็นผู้พิจารณาและกำหนดจำนวนเงิน แต่การจ่ายเงินบำรุงความสุขเป็นเงินบำเหน็จพิเศษนี้กฎหมายไม่ได้บังคับให้จำเลยผู้เป็นนายจ้างจะต้องจ่าย จำเลยจะออกระเบียบกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการจ่ายอย่างไรก็ชอบที่จะทำได้ เมื่อคณะกรรมการของจำเลยได้พิจารณาแล้วกำหนดจำนวนเงินบำเหน็จพิเศษให้แก่โจทก์แต่ละคนรับไปแล้ว จึงถือได้ว่าจำเลยได้จ่ายเงินบำเหน็จพิเศษให้แก่โจทก์ตามระเบียบการขนส่งของจำเลยโดยชอบ โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องเงินบำเหน็จพิเศษจากจำเลยอีก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2414/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานประกอบกิจการเดียว: การรถไฟฯ มีคณะกรรมการลูกจ้างได้เพียงคณะเดียว การแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างประจำจังหวัดไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การรถไฟแห่งประเทศไทยจำเลยมีผู้ว่าการเป็นผู้บริหารงานและเป็นผู้บังคับบัญชาของพนักงานทุกคน ดำเนินการโดยสั่งการจากส่วนกลางไปยังส่วนภูมิภาคมิได้มีการแบ่งหน่วยงานที่ดำเนินกิจการโดยลำพังเป็นหน่วย ๆ จึงเป็นสถานประกอบกิจการเพียงหน่วยเดียวและมีคณะกรรมการลูกจ้างได้เพียงคณะเดียว พนักงานของจำเลยจึงจะแยกเลือกตั้งคณะกรรมการลูกจ้างในแต่ละเขตการเดินรถหรือแต่ละจังหวัดไม่ได้
เมื่อคำสั่งของสหภาพแรงงานจำเลยที่แต่งตั้งโจทก์กับพวกเป็นกรรมการลูกจ้างประจำจังหวัดเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงมีอำนาจลงโทษทางวินัยแก่โจทก์โดยไม่จำต้องได้รับอนุญาตจากศาลแรงงาน
เมื่อคำสั่งของสหภาพแรงงานจำเลยที่แต่งตั้งโจทก์กับพวกเป็นกรรมการลูกจ้างประจำจังหวัดเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงมีอำนาจลงโทษทางวินัยแก่โจทก์โดยไม่จำต้องได้รับอนุญาตจากศาลแรงงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1255/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายัดเงินสงเคราะห์จากการรถไฟฯ ชำระหนี้ได้ แม้ยังมิได้เลือกวิธีรับเงิน
การรถไฟแห่งประเทศไทยมีข้อบังคับว่าด้วยกองทุนสำหรับจ่ายสงเคราะห์ผู้ปฏิบัติงานในการรถไฟฯ กรณีออกจากงานอยู่ 2 ฉบับ ซึ่งผู้ออกจากงานไม่ว่าเพราะเหตุใด (นอกจากถูกไล่ออก) อาจเลือกรับเงินสงเคราะห์ครั้งเดียวหรือเป็นรายเดือนตามข้อบังคับฉบับหนึ่งฉบับใดก็ได้ ลูกหนี้ตามคำพิพากษาเป็นพนักงานของการรถไฟฯ และลาออกจากงานย่อมมีสิทธิเรียกร้องเงินสงเคราะห์จากการรถไฟฯ สุดแต่จะเลือก แม้ยังไม่เลือกเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็มีสิทธิขอให้ศาลมีคำสั่งอายัดเงินสงเคราะห์ครั้งเดียวตามสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้วิธีหนึ่งให้การรถไฟฯส่งเงินนั้นมายังศาลได้
ความในมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 ที่ว่าทรัพย์สินของการรถไฟฯ ย่อมไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีนั้น มุ่งหมายถึงการบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของการรถไฟฯโดยตรง กรณีที่ศาลมีคำสั่งอายัดสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งมีสิทธิจะได้รับเงินสงเคราะห์จากการรถไฟฯ หาใช่เป็นการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของการรถไฟโดยตรงไม่
ความในมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 ที่ว่าทรัพย์สินของการรถไฟฯ ย่อมไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีนั้น มุ่งหมายถึงการบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของการรถไฟฯโดยตรง กรณีที่ศาลมีคำสั่งอายัดสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งมีสิทธิจะได้รับเงินสงเคราะห์จากการรถไฟฯ หาใช่เป็นการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของการรถไฟโดยตรงไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1255/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดสิทธิเรียกร้องเงินสงเคราะห์จากการรถไฟฯ ไม่เป็นการบังคับคดีต่อทรัพย์สินโดยตรง
การรถไฟแห่งประเทศไทยมีข้อบังคับว่าด้วยกองทุนสำหรับจ่ายสงเคราะห์ผู้ปฏิบัติงานในการรถไฟฯ กรณีออกจากงานอยู่ 2 ฉบับ ซึ่งผู้ออกจากงานไม่ว่าเพราะเหตุใด (นอกจากถูกไล่ออก)อาจเลือกรับเงินสงเคราะห์ครั้งเดียวหรือเป็นรายเดือนตามข้อบังคับฉบับหนึ่งฉบับใดก็ได้ ลูกหนี้ตามคำพิพากษาเป็นพนักงานของการรถไฟฯ และลาออกจากงานย่อมมีสิทธิเรียกร้องเงินสงเคราะห์จากการรถไฟฯสุดแต่จะเลือก แม้ยังไม่เลือก เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็มีสิทธิขอให้ศาลมีคำสั่งอายัดเงินสงเคราะห์ครั้งเดียวตามสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้วิธีหนึ่ง ให้การรถไฟฯส่งเงินนั้นมายังศาลได้
ความในมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทยพ.ศ. 2494 ที่ว่า ทรัพย์สินของการรถไฟฯ ย่อมไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีนั้น มุ่งหมายถึงการบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของการรถไฟฯโดยตรง กรณีที่ศาลมีคำสั่งอายัดสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งมีสิทธิจะได้รับเงินสงเคราะห์จากการรถไฟฯ หาใช่เป็นการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของการรถไฟโดยตรงไม่
ความในมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทยพ.ศ. 2494 ที่ว่า ทรัพย์สินของการรถไฟฯ ย่อมไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีนั้น มุ่งหมายถึงการบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของการรถไฟฯโดยตรง กรณีที่ศาลมีคำสั่งอายัดสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งมีสิทธิจะได้รับเงินสงเคราะห์จากการรถไฟฯ หาใช่เป็นการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของการรถไฟโดยตรงไม่