พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1821/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารสัญญากู้ที่มิได้ปิดอากรแสตมป์ใช้เป็นหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้ แม้จำเลยไม่ได้ให้การรับ
โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญากู้จำนวนเงิน 2,000 บาท จำเลยให้การต่อสู้ว่า เงินจำนวนที่ฟ้องเป็นเงินมัดจำที่โจทก์จะต้องชำระให้แก่จำเลยตามสัญญาซื้อขาย เพื่อเป็นการตอบแทนในการที่จำเลยยอมถอนการจับจองที่ดินแล้วให้โจทก์เข้าจับจองแทนเงินมัดจำดังกล่าวได้ทำเป็นสัญญากู้กันไว้ ดังนี้ จะถือว่าจำเลยได้ให้การรับแล้วว่าได้กู้เงินโจทก์ดังที่กล่าวอ้างไม่ได้ โจทก์จึงยังมีหน้าที่นำสืบตามข้ออ้างของโจทก์อยู่
เอกสารสัญญากู้ที่โจทก์อ้างส่งศาลปรากฏว่ามิได้ปิดอากรแสตมป์ไว้ย่อมใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 คดีจึงไม่อาจรับฟังได้ว่าโจทก์มีเอกสารสัญญากู้หรือมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดซึ่งมีลายมือชื่อจำเลยว่าเป็นผู้ยืมเงินโจทก์มาแสดง โจทก์ย่อมไม่อาจขอให้ศาลบังคับคดีตามคำขอของโจทก์ได้
ประมวลรัษฎากรมาตรา 118 เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการรับฟังพยานเอกสารเป็นการวางกฎเกณฑ์เพิ่มเติมขึ้นจากหลักทั่วไปที่มีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งศาลจึงมีหน้าที่ที่จะต้องวินิจฉัยและรับฟังพยานหลักฐานต่าง ๆ ให้เป็นไปตามตัวบทกฎหมาย เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยและรับฟังพยานหลักฐานผิดแผกไปจากตัวบทกฎหมาย จำเลยก็ชอบที่จะยกปัญหานี้ขึ้นอ้างอิงในชั้นอุทธรณ์ได้ เพราะจำเลยย่อมไม่อาจจะรู้ได้ล่วงหน้าจนกว่าจะได้รับทราบคำพิพากษาของศาลชั้นต้นนับได้ว่าเป็นพฤติการณ์นอกเหนือที่จำเลยไม่อาจบังคับได้
เอกสารสัญญากู้ที่โจทก์อ้างส่งศาลปรากฏว่ามิได้ปิดอากรแสตมป์ไว้ย่อมใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 คดีจึงไม่อาจรับฟังได้ว่าโจทก์มีเอกสารสัญญากู้หรือมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดซึ่งมีลายมือชื่อจำเลยว่าเป็นผู้ยืมเงินโจทก์มาแสดง โจทก์ย่อมไม่อาจขอให้ศาลบังคับคดีตามคำขอของโจทก์ได้
ประมวลรัษฎากรมาตรา 118 เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการรับฟังพยานเอกสารเป็นการวางกฎเกณฑ์เพิ่มเติมขึ้นจากหลักทั่วไปที่มีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งศาลจึงมีหน้าที่ที่จะต้องวินิจฉัยและรับฟังพยานหลักฐานต่าง ๆ ให้เป็นไปตามตัวบทกฎหมาย เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยและรับฟังพยานหลักฐานผิดแผกไปจากตัวบทกฎหมาย จำเลยก็ชอบที่จะยกปัญหานี้ขึ้นอ้างอิงในชั้นอุทธรณ์ได้ เพราะจำเลยย่อมไม่อาจจะรู้ได้ล่วงหน้าจนกว่าจะได้รับทราบคำพิพากษาของศาลชั้นต้นนับได้ว่าเป็นพฤติการณ์นอกเหนือที่จำเลยไม่อาจบังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 920/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานรับของโจรต้องมีทรัพย์ที่ถูกลักขโมยมาแล้วก่อน จึงจะมีความผิดได้
ประมวล ก.ม. อาญา ม. 357 บัญญัติเกณฑ์ความผิดฐานรับของโจรไว้ว่า การรับด้วยประการใด ๆ ซึ่งทรัพย์อันได้มาโดยการกระทำความผิดอันจำกัดไว้ว่า ความผิดนั้น ต้องเข้าลักษณะความผิดฐานลักทรัพย์, วิ่งราวทรัพย์ ฯลฯ ซึ่งหมายความว่า ทรัพย์นั้นจะต้องเป็นทรัพย์ที่ถูกลักฯลฯ มาเสียก่อนจึงจะเกิดความผิดฐานรับของโจรต่อไปได้ เมื่อกรณีเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ว่ามิได้มีการกระทำผิดฐานลักทรัพย์เกิดขึ้น ก็ย่อมไม่อาจมีความผิดฐานรับของโจรเกิดขึ้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 536-560/2491
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับอุทธรณ์และการโต้แย้งประเด็นนอกเหนือจากที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในชั้นฎีกา
การที่โจทก์ยื่นคำร้องต่อศาลอุทธรณ์คัดค้านว่าอุทธรณ์ของจำเลยเป็นโมฆะเพราะมีจำเลย 5 ราย ไม่ได้เซ็นชื่อในใบแต่งทนายนั้น เมื่อปรากฏในสำนวนว่าศาลชั้นต้นได้เรียกจำเลยสอบสวนแล้ว ว่าจำเลยทั้ง 5 ได้เซ็นชื่อในใบแต่งทนาย มิใช่ลายเซ็นปลอมดังนี้ ศาลอุทธรณ์ ก็มิจำต้องสั่งคำร้องของของโจทก์นั้นประการใดอีก
การที่โจทก์กับทนายจำเลยทำสัญญาประนีประนอมกัน โดยให้โจทก์ถอนฟ้องคดีอาญาเรื่องปลอมหนังสือ แล้วจำเลยจะถอนฟ้องอุทธรณ์คดีนั้นโจทก์ได้ถอนฟ้องคดีอาญาแล้วและทนายจำเลยได้ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องอุทธรณ์ แต่ตัวจำเลยได้ทำคำร้องขอถอนทนายเสียและไม่ยอมถอนฟ้องอุทธรณ์นั้น ศาลอุทธรณ์ย่อมไม่อนุญาตให้ถอนฟ้องอุทธรณ์ได้
จำเลยหลายสำนวน ซึ่งศาลชั้นต้นได้รวมพิจารณาและพิพากษาฉบับเดียวได้ยื่นฟ้องอุทธรณ์รวมมาฉบับเดียวกัน ศาลชั้นต้นสั่งรับเป็นอุทธรณ์ ส่งสำเนาให้โจทก์ แม้จะปรากฏว่าคดีทั้งหมดนี้เป็นคดีสามัญเพียง 2 สำนวน นอกนั้นเป็นคดีมโนสาเร่ อันคู่ความจะอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงไม่ได้ก็ดี แต่เมื่อโจทก์มิได้คัดค้านโต้แย้งความข้อนี้ในชั้นอุทธรณ์จนกระทั่งศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นเหตุให้คดีฎีกาขึ้นมาได้ เพราะไม่ต้องห้ามแล้วเช่นนี้ โจทก์จะโต้แย้งในชั้นศาลฎีกา ให้ศาลฎีกากลับไปพิจารณาถึงการรับอุทธรณ์ว่าเป็นการชอบหรือไม่ชอบไม่ได้ เพราะไม่มีประเด็นข้อนี้ในชั้นศาลฎีกาแล้ว
การที่โจทก์กับทนายจำเลยทำสัญญาประนีประนอมกัน โดยให้โจทก์ถอนฟ้องคดีอาญาเรื่องปลอมหนังสือ แล้วจำเลยจะถอนฟ้องอุทธรณ์คดีนั้นโจทก์ได้ถอนฟ้องคดีอาญาแล้วและทนายจำเลยได้ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องอุทธรณ์ แต่ตัวจำเลยได้ทำคำร้องขอถอนทนายเสียและไม่ยอมถอนฟ้องอุทธรณ์นั้น ศาลอุทธรณ์ย่อมไม่อนุญาตให้ถอนฟ้องอุทธรณ์ได้
จำเลยหลายสำนวน ซึ่งศาลชั้นต้นได้รวมพิจารณาและพิพากษาฉบับเดียวได้ยื่นฟ้องอุทธรณ์รวมมาฉบับเดียวกัน ศาลชั้นต้นสั่งรับเป็นอุทธรณ์ ส่งสำเนาให้โจทก์ แม้จะปรากฏว่าคดีทั้งหมดนี้เป็นคดีสามัญเพียง 2 สำนวน นอกนั้นเป็นคดีมโนสาเร่ อันคู่ความจะอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงไม่ได้ก็ดี แต่เมื่อโจทก์มิได้คัดค้านโต้แย้งความข้อนี้ในชั้นอุทธรณ์จนกระทั่งศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นเหตุให้คดีฎีกาขึ้นมาได้ เพราะไม่ต้องห้ามแล้วเช่นนี้ โจทก์จะโต้แย้งในชั้นศาลฎีกา ให้ศาลฎีกากลับไปพิจารณาถึงการรับอุทธรณ์ว่าเป็นการชอบหรือไม่ชอบไม่ได้ เพราะไม่มีประเด็นข้อนี้ในชั้นศาลฎีกาแล้ว