พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4998/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนคำพิพากษาศาลฎีกาและการรับรู้การนัดฟังคำพิพากษาของทนายความแทนตัวความ
คำร้องของฝ่ายโจทก์ที่ขอให้เพิกถอนการอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาเป็นคำร้องของโจทก์ที่ 1 เพียงคนเดียว มีโจทก์ที่ 1 เพียงคนเดียวลงลายมือชื่อในคำร้อง แม้คำร้องจะระบุว่าเป็นคำร้องของโจทก์ที่ 1 กับพวก และระบุว่าผู้ร้องโจทก์ทั้งสาม แต่ไม่ปรากฏหนังสือมอบอำนาจให้โจทก์ที่ 1 ทำแทนโจทก์ที่ 2 คำร้องดังกล่าวจึงไม่มีผลเป็นคำร้องของโจทก์ที่ 2 ด้วย
อุทธรณ์ของโจทก์ที่ 2 ที่ปราศจากกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นอันโจทก์ที่ 2 จะพึงยกขึ้นอุทธรณ์ได้ แม้ศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยให้ ศาลฎีกาก็ไม่รับฎีกาของโจทก์ที่ 2 ไว้วินิจฉัย
ทนายโจทก์ทั้งสามได้ยื่นคำแถลงต่อศาลชั้นต้น ขอถ่ายสำเนาถ้อยคำสำนวนหลายรายการ เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2540 โดยกล่าวไว้ในคำแถลงด้วยว่าศาลนัดฟังคำพิพากษาศาลฎีกาในวันที่ 9 กรกฎาคม 2540 เวลา 13.30 นาฬิกาจึงเป็นการยืนยันโดยชัดแจ้งว่า ทนายโจทก์ทั้งสามทราบนัดในวันดังกล่าวแล้ว และเนื่องจากทนายความนอกจากมีอำนาจและหน้าที่ดำเนินกระบวนพิจารณาแทนตัวความทนายความยังอยู่ในฐานะตัวแทนในคดีของตัวความด้วย การที่ทนายความทราบนัดย่อมถือได้โดยชอบว่า ตัวความทราบนัดแล้ว ย่อมรับฟังได้ว่าโจทก์ที่ 1 ทราบนัดฟังคำพิพากษาศาลฎีกาในวันที่ 9 กรกฎาคม 2540 ตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2540เป็นอย่างช้า โดยมิพักต้องพิจารณาว่าการส่งหมายนัดถึงโจทก์ที่ 1 ชอบหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาในวันนัดดังกล่าว จึงเป็นการชอบแล้ว กรณีไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนการอ่าน
อุทธรณ์ของโจทก์ที่ 2 ที่ปราศจากกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นอันโจทก์ที่ 2 จะพึงยกขึ้นอุทธรณ์ได้ แม้ศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยให้ ศาลฎีกาก็ไม่รับฎีกาของโจทก์ที่ 2 ไว้วินิจฉัย
ทนายโจทก์ทั้งสามได้ยื่นคำแถลงต่อศาลชั้นต้น ขอถ่ายสำเนาถ้อยคำสำนวนหลายรายการ เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2540 โดยกล่าวไว้ในคำแถลงด้วยว่าศาลนัดฟังคำพิพากษาศาลฎีกาในวันที่ 9 กรกฎาคม 2540 เวลา 13.30 นาฬิกาจึงเป็นการยืนยันโดยชัดแจ้งว่า ทนายโจทก์ทั้งสามทราบนัดในวันดังกล่าวแล้ว และเนื่องจากทนายความนอกจากมีอำนาจและหน้าที่ดำเนินกระบวนพิจารณาแทนตัวความทนายความยังอยู่ในฐานะตัวแทนในคดีของตัวความด้วย การที่ทนายความทราบนัดย่อมถือได้โดยชอบว่า ตัวความทราบนัดแล้ว ย่อมรับฟังได้ว่าโจทก์ที่ 1 ทราบนัดฟังคำพิพากษาศาลฎีกาในวันที่ 9 กรกฎาคม 2540 ตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2540เป็นอย่างช้า โดยมิพักต้องพิจารณาว่าการส่งหมายนัดถึงโจทก์ที่ 1 ชอบหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาในวันนัดดังกล่าว จึงเป็นการชอบแล้ว กรณีไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนการอ่าน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3543/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายจ่ายค่าตอบแทนกรรมการ: การรับรู้รายจ่ายตามเกณฑ์สิทธิและข้อจำกัดเมื่อยังไม่แน่นอน
การคำนวณรายได้และรายจ่ายเพื่อหากำไรสุทธิของบริษัทนั้น ประมวลรัษฎากร มาตรา 65 วรรคสอง บัญญัติให้ใช้เกณฑ์สิทธิ คือให้นำรายได้ที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีใด แม้ว่าจะยัง ไม่ได้รับชำระในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นมารวมคำนวณเป็นรายได้ ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น และให้นำรายจ่ายทั้งสิ้นที่เกี่ยวกับ รายได้นั้นแม้จะยังมิได้จ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นมารวม คำนวณเป็นรายจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีนั้นซึ่งผู้ประกอบการ จะต้องลงบัญชีรับรู้รายได้และรายจ่ายที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลา บัญชีนั้นโดยไม่ต้องคำนึงว่าได้รับชำระเงินหรือได้จ่ายเงิน ไปแล้วภายในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นหรือไม่ แต่การรับรู้รายได้ หรือรายจ่ายตามหลักเกณฑ์สิทธินั้นมีหลักสำคัญอยู่ว่า รายได้ หรือรายจ่ายนั้นจะต้องมีความแน่นอนที่ผู้ประกอบการมีสิทธิ จะได้รับชำระหรือมีหน้าที่จะต้องจ่าย อีกทั้งยังต้องเป็นจำนวน ที่แน่นอน สามารถลงบัญชีรับรู้ได้ เมื่อรายจ่ายค่าตอบแทน กรรมการในการบริหารงานของปี 2535 ของโจทก์ยังไม่เป็นที่ แน่นอนว่าคณะกรรมการบริษัทและที่ประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้น จะอนุมัติให้จ่ายค่าตอบแทนหรือไม่ทั้งไม่เป็นการแน่นอนว่า จะจ่ายค่าตอบแทนเป็นเงินเท่าใด สิทธิของกรรมการที่จะเรียกร้อง ให้บริษัทจ่ายค่าตอบแทนแก่กรรมการจะเกิดขึ้นต่อเมื่อ ที่ประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นมีมติเห็นชอบให้จ่ายค่าตอบแทน ตามจำนวนที่คณะกรรมการบริษัทอนุมัติ ดังนั้นแม้ว่าค่าตอบแทน กรรมการในการบริหารงานของปี 2535 จะสัมพันธ์กับรายได้ ที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2535 แต่ก็ไม่ใช่รายจ่าย ที่เกี่ยวกับรายได้หรือเป็นต้นทุนของรายได้โดยตรงและยัง ไม่เป็นการแน่นอนว่าโจทก์มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าตอบแทนกรรมการ ดังกล่าวนั้นหรือไม่จึงถือไม่ได้ว่ารายจ่ายนั้นได้เกิดขึ้นแล้ว ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2535 โจทก์จึงไม่ต้องนำรายจ่ายดังกล่าว มาลงบัญชีหรือตั้งเป็นค่าใช้จ่ายค้างจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชี ปี 2535 แต่อย่างใด แต่โจทก์สามารถนำรายจ่ายดังกล่าวมาหัก เป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2536 ได้ เพราะหน้าที่ ของโจทก์ในการจ่ายเงินเกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นคือ หลังจากที่ที่ประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นให้ความเห็นชอบในการ จ่ายค่าตอบแทนให้แก่กรรมการเมื่อถือเป็นรายจ่ายของปี 2536 โจทก์ก็ไม่จำต้องนำรายจ่ายนี้ไปปรับปรุงเป็นรายจ่ายของ ปี 2535 ในการยื่นเพื่อเสียภาษีตามแบบ ภ.ง.ด.50 แต่ประการใด โจทก์มิได้บรรยายฟ้องถึงเหตุที่จะขอให้งดการเรียกเก็บเบี้ยปรับและเงินเพิ่มจากโจทก์ จึงถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยก ขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 29 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5665/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับรู้คำพิพากษา แม้ส่งหมายนัดผิดพลาด การลงลายมือชื่อรับรู้มีผลเท่ากับการฟังคำพิพากษา
ศาลชั้นต้นส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 4 โดยมิชอบ แต่เมื่อทนายจำเลยที่ 2และที่ 4 มาศาลและลงลายมือชื่อรับรู้การอ่านคำพิพากษาดังกล่าวแล้วก็มีผลเช่นเดียวกับการอ่านให้ตัวความฟังทุกประการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 541/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีละเมิด: การรับรู้การละเมิดและตัวผู้รับผิด, ผลกระทบคำพิพากษาคดีอาญาต่อคดีแพ่ง
ข้อเท็จจริงในคดีอาญาซึ่งมูลกรณีเป็นเรื่องเดียวกันกับคดีนี้ ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาถึงที่สุดได้วินิจฉัยไว้ว่าข้อเท็จจริงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้เบียดบังเอาทรัพย์ตามฟ้องไป ดังนั้นย่อมเห็นได้ว่าคำพิพากษาคดีส่วนอาญาได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงไว้แล้วว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้เบียดบังหรือยักยอกทรัพย์ของโจทก์ไป ฉะนั้นในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจึงต้องถือตามข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 บัญญัติไว้กรณีหาจำต้องคำนึงถึงว่า คำพิพากษาคดีส่วนอาญาศาลได้วินิจฉัยว่า การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดแล้วหรือไม่ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนได้มีเอกสารรายงานให้กรมตำรวจโจทก์ทราบถึงการละเมิดและตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้วว่าคือจำเลยทั้งสาม เอกสารดังกล่าวส่งถึงกรมตำรวจเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2529 แม้ไม่ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ได้เสนอให้อธิบดีกรมตำรวจทราบเมื่อใด แต่พลตำรวจโท ป. ผู้ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมตำรวจได้มีคำสั่งตั้งกรรมการสอบสวนจำเลยที่ 1ทางวินัยเกี่ยวกับการละเมิดดังกล่าวเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2529เนื่องจากผู้ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมตำรวจได้รับรายงานข้อเท็จจริงเอกสารจากกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน จึงฟังได้ว่าโจทก์ได้ทราบถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนว่าคือจำเลยที่ 2 และที่ 3 แล้วตั้งแต่วันที่ 16ธันวาคม 2529 เป็นอย่างช้า เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดในวันที่ 2 พฤษภาคม 2531 พ้น 1 ปีนับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3215/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์และการนับระยะเวลาขอพิจารณาใหม่: ความสัมพันธ์ระหว่างมารดา-บุตรและการสันนิษฐานการรับรู้
ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยทั้งหกเด็ดขาดเมื่อวันที่ 21มีนาคม 2529 จำเลยที่ 6 ศึกษาอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา วันที่30 พฤศจิกายน 2529 จำเลยที่ 6 กลับมาประเทศไทยซึ่งจำเลยที่ 6มีภูมิลำเนาอยู่แห่งเดียวกับจำเลยที่ 2 ผู้เป็นมารดาและจำเลยที่ 5ซึ่งเป็นพี่ชาย ดังนี้ จำเลยที่ 6 จะต้องได้พบกับจำเลยที่ 2อย่างช้า ภายในวันที่ 1 ธันวาคม 2529 และจำเลยที่ 2 จะต้องแจ้งเรื่องถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดให้จำเลยที่ 6 ทราบการที่จำเลยที่ 6 มายื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ในวันที่ 14 ตุลาคม2530 จึงพ้นกำหนด 15 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดกรณีไม่เข้าหลักเกณฑ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 208 วรรคแรก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 989/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกเมื่อจำเลยหลีกเลี่ยงการรับรู้ - การส่งทางประกาศชอบด้วยกฎหมาย
เจ้าหน้าที่ศาลส่งหมายเรียกสำเนาฟ้องให้จำเลยไม่ได้เนื่องจากบ้านที่อยู่ของจำเลยได้รื้อถอนไปแล้ว และยังไม่เป็นการแน่นอนว่าจำเลยมีภูมิลำเนาใหม่อยู่ ณ ที่ใดแน่นอนดังนั้นถือว่าการส่งหมายเรียกสำเนาฟ้องไม่อาจกระทำ ณภูมิลำเนาของจำเลยได้ การที่ศาลสั่งให้ส่งโดยวิธีประกาศทางหนังสือพิมพ์ตามคำขอของโจทก์จึงชอบด้วยบทบัญญัติแห่งป.วิ.พ. มาตรา 79
จำเลยรู้ว่าได้มีการส่งหมายเรียกสำเนาฟ้องแล้ว แต่ได้รื้อบ้านและย้ายออกไปอยู่ที่อื่นโดยมิได้แจ้งย้ายทะเบียนให้ปรากฏหลักฐานภูมิลำเนาไว้ อันเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ยอมรับรู้การถูกดำเนินคดี กรณีจึงต้องถือว่าจำเลยได้ทราบการส่งหมายเรียกและสำเนาฟ้องและวันนัดพิจารณาคดีโดยทางประกาศหนังสือพิมพ์แล้วการขาดนัดของจำเลยเป็นไปโดยจงใจจำเลยจะอ้างว่าตนยังไม่ได้รับหมายเรียกและรับทราบวันนัดพิจารณาเพื่อจะขอพิจารณาคดีใหม่ไม่ได้.(ที่มา-ส่งเสริม)
จำเลยรู้ว่าได้มีการส่งหมายเรียกสำเนาฟ้องแล้ว แต่ได้รื้อบ้านและย้ายออกไปอยู่ที่อื่นโดยมิได้แจ้งย้ายทะเบียนให้ปรากฏหลักฐานภูมิลำเนาไว้ อันเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ยอมรับรู้การถูกดำเนินคดี กรณีจึงต้องถือว่าจำเลยได้ทราบการส่งหมายเรียกและสำเนาฟ้องและวันนัดพิจารณาคดีโดยทางประกาศหนังสือพิมพ์แล้วการขาดนัดของจำเลยเป็นไปโดยจงใจจำเลยจะอ้างว่าตนยังไม่ได้รับหมายเรียกและรับทราบวันนัดพิจารณาเพื่อจะขอพิจารณาคดีใหม่ไม่ได้.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2739/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับรู้คำสั่งทางปกครอง: การรับรู้ผ่านพนักงานชั้นผู้น้อยไม่ถือว่าเป็นการรับรู้ของโจทก์โดยตรง
การที่ ป. เป็นเพียงพนักงานชั้นผู้น้อยทำหน้าที่รับส่งหนังสือของโจทก์ รับซองหนังสือและคำสั่งของอธิบดีกรมแรงงานที่สั่งให้โจทก์จ่ายเงินทดแทนแก่ ค. ไว้ ไม่ว่า ป. จะได้เปิดซองทราบเนื้อความในหนังสือนำส่งและคำสั่งแล้วหรือไม่ก็ตาม ก็ไม่อาจถือได้ว่าโจทก์โดย ป. ทราบคำสั่งนั้นแล้วเพราะ ป. มิใช่ผู้แทนของโจทก์ผู้สามารถจะแสดงความประสงค์ประการใดแทนโจทก์ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 75 ฉะนั้นเมื่อคำสั่งดังกล่าวถูกนำเสนอขึ้นไปตามลำดับชั้น จนวันที่ 10 กุมภาพันธ์2530 รองผู้ว่าการผู้ทำการแทนผู้ว่าการของโจทก์จึงทราบคำสั่งเช่นนี้ต้องถือว่าโจทก์โดยรองผู้ว่าการได้ทราบคำสั่งเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2530 และครบกำหนดสามสิบวันนับแต่วันโจทก์ทราบคำสั่งอันจะทำให้คำสั่งดังกล่าวเป็นที่สุดตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 60 ที่แก้ไขใหม่ในวันที่ 12 มีนาคม 2530 โจทก์นำคดีมาสู่ศาลวันที่ 9 มีนาคม2530 จึงหาพ้นกำหนดตามประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ข้อ 60 ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 277-278/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้รับมอบฉันทะในการรับทราบการเลื่อนวันอ่านคำพิพากษา และผลต่ออายุของใบมอบฉันทะ
ทนายทำใบมอบฉันทะให้ผู้อื่นฟังคำพิพากษาแทน โดยไม่ได้กำหนดว่าให้ฟังคำพิพากษาเฉพาะวันใด ย่อมมีความหมายว่ามอบให้ฟังคำพิพากษาสุดแต่ศาลจะอ่านในวันเวลาใด เมื่อศาลเลื่อนการอ่านคำพิพากษาไป ผู้รับมอบฉันทะย่อมมีอำนาจรับรู้การเลื่อนแทนผู้มอบฉันทะได้ จะอ้างเหตุตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 64 ว่า ต้องทำใบมอบฉันทะทุกครั้งไม่ได้เพราะเมื่อผู้รับมอบฉันทะยังไม่ได้ฟังคำพิพากษาก็เท่ากับยังไม่ได้ทำการตามที่รับมอบมา ใบมอบฉันทะนั้นจึงไม่ขาดอายุ
ประชุมใหญ่ ครั้ง 11/2504
ประชุมใหญ่ ครั้ง 11/2504
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1960/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งเปลี่ยนชื่อต่ออำเภอ: ถือว่าแจ้งแล้วหากอำเภอทราบเรื่องตลอด
การที่อำเภอท้องที่ที่ผู้แจ้งขึ้นทะเบียนทหารและจำเลยที่แจ้งให้ผู้นั้นทราบว่าทางราชการอนุญาตให้เปลี่ยนชื่อเป็นแห่งเดียวกันและรับรู้เรื่องอยู่โดยตลอดแล้ว ก็ชอบที่จะดำเนินการแก้หนังสือสำคัญประจำตัวกับบัญชีหรือทะเบียนทหารได้เองอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องให้ผู้นั้นไปย้อนแจ้งการเปลี่ยนชื่ออีก ย่อมถือได้เสมือนหนึ่งว่าผู้นั้นได้นำหลักฐานการเปลี่ยนชื่อไปแจ้งแก่นายอำเภอท้องที่ทราบอยู่ในตัวแล้ว ผู้นั้นจึงหาควรมีผิดไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1822/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งทราบคำสั่งทางปกครองเป็นองค์ประกอบความผิด การพิสูจน์การรับรู้
ประกาศของคณะกรมการจังหวัดที่ออกโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องอุปโภคบริโภคฯ นั้นเป็นแต่คำสั่งของเจ้าพนักงานผู้ปฏิบัติตามกฎหมาย ไม่ใช่เป็นกฎหมาย จำเลยจะมีผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งดังกล่าวก็ต่อเมื่อได้ความว่าได้ทราบคำสั่งนั้นแล้ว.