พบผลลัพธ์ทั้งหมด 52 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3613/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาลงโทษฐานลักทรัพย์ในเวลากลางคืน จำเลยให้การรับสารภาพ แต่โจทก์ไม่นำสืบเวลาเกิดเหตุ ศาลฎีกายกประโยชน์ให้จำเลย
โจทก์บรรยายฟ้องถึงการกระทำความผิดของจำเลยความว่า เมื่อระหว่างวันที่ 7 เมษายน 2536 เวลากลางคืนหลังเที่ยง ถึงวันที่ 22 เมษายน 2536 เวลากลางวัน วันเวลาใดไม่ปรากฏชัด จำเลยลักเลื่อยโซ่ยนต์ของผู้เสียหายไป...แม้คำบรรยายของโจทก์พอที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีว่า วันเวลาที่จำเลยกระทำความผิดเป็นช่วงวันเวลาใด และจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง แต่โจทก์ไม่ได้นำสืบเกี่ยวกับเวลาเกิดเหตุให้ศาล เห็นว่า จำเลยลักทรัพย์ในเวลากลางคืนจึงต้องยกประโยชน์ให้แก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6255/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ตัวตนจำเลยเพื่อการนับโทษต่อ จำเลยให้การรับสารภาพความผิดตามฟ้อง ไม่ถือเป็นการรับสารภาพว่าเป็นบุคคลเดียวกันกับจำเลยในคดีอื่น
ข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยที่ 1 เป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อหรือไม่ เป็นข้อเท็จจริงต่างหากจากข้อเท็จจริงที่โจทก์บรรยายว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดและเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์มีหน้าที่นำสืบให้ปรากฏ คดีนี้จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพเพียงว่าได้กระทำความผิดตามฟ้องเท่านั้น มิได้ให้การรับด้วยว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในที่คดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ เมื่อโจทก์ไม่ได้นำสืบให้ปรากฏเช่นนั้น ข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ จะนับโทษจำเลยที่ 1 ต่อจากโทษจำเลยในคดีดังกล่าวหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5666/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องรับของโจร และการปรับบทความผิดฐานลักทรัพย์ ศาลพิจารณาตามข้อเท็จจริงที่จำเลยให้การรับสารภาพ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ส่วนจำเลยที่ 2 กับที่ 3กระทำความผิดฐานรับของโจร ดังนี้ ฟ้องของโจทก์จึงเป็นการบรรยายยืนยันการกระทำของจำเลยที่ 2 กับที่ 3 ว่าได้กระทำความผิดฐานรับของโจรเพียงประการเดียว แต่ในชั้นพิจารณาจำเลยที่ 2 กับที่ 3 กลับให้การรับสารภาพฐานลักทรัพย์ ซึ่งมิใช่เป็นการกระทำดังที่โจทก์กล่าวในฟ้อง จึงมิใช่กรณีที่จำเลยที่ 2 กับที่ 3 ให้การรับสารภาพตามฟ้องซึ่งศาลจะพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 176 วรรคหนึ่ง เมื่อโจทก์มีหน้าที่ต้องนำพยานหลักฐานมาพิสูจน์ความผิดของจำเลยที่ 2 กับที่ 3 แถลงไม่ติดใจสืบพยานข้อเท็จจริงอันเป็นการกระทำของจำเลยที่ 2 กับที่ 3 ที่โจทก์อ้างว่าเป็นความผิดก็มีเพียงเท่าที่โจทก์กล่าวในฟ้อง หาได้มีข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาที่จะแสดงให้ศาลเห็นว่าแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสาม แต่อย่างใดไม่ จึงไม่อาจนำบทบัญญัติเช่นว่านี้มาใช้บังคับเพื่อให้ศาลลงโทษจำเลยที่ 2 กับที่ 3 ได้
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำผิดของจำเลยที่ 1 เพียงว่า จำเลยที่ 1กับพวกหลายคนร่วมกันลักทรัพย์ของผู้เสียหายไปโดยทุจริตในเวลากลางคืนแล้วปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(1) วรรคแรก,83 เมื่อโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น เมื่อความปรากฏแก่ศาลฎีกาว่าศาลชั้นต้นปรับบทกฎหมายดังกล่าวไม่ถูกต้องครบถ้วน เพราะโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานลักทรัพย์ในเวลากลางคืนโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่ 2 คน ขึ้นไป โดยใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อความสะดวกแก่การกระทำผิดและพาทรัพย์นั้นไปศาลฎีกาย่อมปรับบทให้ถูกต้องได้โดยไม่แก้ไขเพิ่มเติมโทษจำเลยที่ 1
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำผิดของจำเลยที่ 1 เพียงว่า จำเลยที่ 1กับพวกหลายคนร่วมกันลักทรัพย์ของผู้เสียหายไปโดยทุจริตในเวลากลางคืนแล้วปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(1) วรรคแรก,83 เมื่อโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น เมื่อความปรากฏแก่ศาลฎีกาว่าศาลชั้นต้นปรับบทกฎหมายดังกล่าวไม่ถูกต้องครบถ้วน เพราะโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานลักทรัพย์ในเวลากลางคืนโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่ 2 คน ขึ้นไป โดยใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อความสะดวกแก่การกระทำผิดและพาทรัพย์นั้นไปศาลฎีกาย่อมปรับบทให้ถูกต้องได้โดยไม่แก้ไขเพิ่มเติมโทษจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8944/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดโทษคดีเมทแอมเฟตามีน: ลดโทษจากประหารชีวิตเหลือจำคุก 28 ปี พิจารณาจากปริมาณสารบริสุทธิ์ พฤติการณ์ และการรับสารภาพ
เมทแอมเฟตามีนของกลางที่จำเลยผลิตเพื่อจำหน่ายและมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายมีน้ำหนักทั้งสิ้น 27.320 กรัม คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 0.375 กรัมและพฤติการณ์แห่งคดีมิใช่ผู้ค้ารายใหญ่ ทั้งจำเลยให้การรับสารภาพตลอดมาตั้งแต่ชั้นจับกุม ชั้นสอบสวน และชั้นพิจารณา สมควรกำหนดโทษให้เบาลงเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพความผิด วางโทษประหารชีวิต ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 78 ประกอบมาตรา 52 (2) คงจำคุก 28 ปี และนำโทษจำคุกที่รอไว้ในคดีก่อนบวกเข้ากับโทษในคดีนี้ได้ แม้โจทก์มิได้ฎีกาขอให้บวกโทษก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7592/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแขวงและวิธีพิจารณาคดีอาญาที่ผู้ต้องหาให้การรับสารภาพตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวง
พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 20 ได้บัญญัติวิธีดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาคดีของศาลแขวงไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงไม่อาจนำบทบัญญัติเกี่ยวกับการทำคำพิพากษาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 186 มาใช้บังคับได้ ศาลชั้นต้นบันทึกคำฟ้อง คำรับสารภาพ และคำพิพากษาในบันทึกฉบับเดียวกันและอ่านให้คู่ความฟังในวันเดียวกัน จำเลยที่ 1 ที่ 2 รวมทั้งโจทก์ จำเลยที่ 3 และที่ 4 ก็ลงชื่อทราบไว้โดยไม่มีฝ่ายใดโต้แย้งว่าศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 เข้าใจข้อหาตามฟ้องแล้วจึงรับสารภาพ คำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3075/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องไม่เคลือบคลุม การรับสารภาพ และดุลพินิจศาลในการลดโทษคดีเกี่ยวกับยาเสพติดในเรือนจำ
ก่อนที่ศาลชั้นต้นจะสอบคำให้การได้อ่านอธิบายฟ้องให้จำเลยเข้าใจข้อหาดีแล้ว จำเลยจึงได้ให้การรับสารภาพและลงลายมือชื่อไว้โดยโจทก์บรรยายฟ้องโดยชัดเจนในข้อ ก. ว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยมิได้รับอนุญาตเป็นจำนวนเท่าใด และมีรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาสถานที่กระทำผิด และในคำฟ้องข้อ ข. บรรยายว่า จำเลยได้นำยาเสพติดให้โทษอันเป็นของต้องห้ามเข้าไปในเรือนจำจังหวัดสมุทรปราการ จึงเป็นการบรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น ๆ พอสมควรเท่าที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว จึงไม่เคลือบคลุม
สิ่งของต้องห้ามที่จำเลยนำเข้าไปในเรือนจำจังหวัดสมุทรปราการเป็นยาเสพติดให้โทษซึ่งเป็นภัยต่อสังคมโดยรวมและกระทำในขณะต้องขังคดีอื่น แสดงว่าจำเลยไม่มีสำนึกและความรับผิดชอบทั้งไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายบ้านเมือง การที่จำเลยมีบิดามารดาที่ชราแล้ว มีบุตรที่จะต้องอุปการะเลี้ยงดูและไม่เคยกระทำความผิดมาก่อนนั้น ไม่มีน้ำหนักเพียงพอที่จะเปลี่ยนแปลงดุลพินิจของศาลล่างที่ไม่ลดโทษและรอการลงโทษจำเลย
สิ่งของต้องห้ามที่จำเลยนำเข้าไปในเรือนจำจังหวัดสมุทรปราการเป็นยาเสพติดให้โทษซึ่งเป็นภัยต่อสังคมโดยรวมและกระทำในขณะต้องขังคดีอื่น แสดงว่าจำเลยไม่มีสำนึกและความรับผิดชอบทั้งไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายบ้านเมือง การที่จำเลยมีบิดามารดาที่ชราแล้ว มีบุตรที่จะต้องอุปการะเลี้ยงดูและไม่เคยกระทำความผิดมาก่อนนั้น ไม่มีน้ำหนักเพียงพอที่จะเปลี่ยนแปลงดุลพินิจของศาลล่างที่ไม่ลดโทษและรอการลงโทษจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1830/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาห้ามวินิจฉัยข้อเท็จจริงใหม่ที่จำเลยให้การรับสารภาพ และปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องตามช่วงเวลาที่กระทำผิด
โจทก์บรรยายฟ้องไว้ชัดแจ้งว่า จำเลยเป็นนายจ้างของลูกจ้างผู้มีชื่อจำนวน 55 คน ได้กระทำผิดด้วยการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 และ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 โดยไม่ยอมจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้างดังกล่าว จำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังตามที่โจทก์บรรยาย มาในคำฟ้อง จำเลยจะฎีกาโต้เถียงข้อเท็จจริงให้ผิดไปจากที่ปรากฏในคำฟ้องซึ่งจำเลยให้การรับสารภาพแล้วไม่ได้ ทั้งข้อเท็จจริงที่จำเลยกล่าวอ้างในฎีกาก็เป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 แต่การกระทำความผิดเกิดขึ้นก่อน พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มีผลใช้บังคับจึงต้องปรับบทให้ถูกต้องตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515 และประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีผลใช้บังคับในขณะกระทำความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1473/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบตัวและมอบของกลางหลังก่อเหตุเป็นเหตุบรรเทาโทษตามมาตรา 78
แม้เหตุในคดีนี้จะเกิดในเวลากลางวันต่อหน้าคนจำนวนมากและโจทก์มีพยานหลักฐานที่สามารถนำสืบพิสูจน์ความผิดของจำเลยได้โดยไม่ต้องอาศัยคำรับสารภาพในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนของจำเลยมาประกอบการพิจารณาเลยก็ตาม แต่หลังเกิดเหตุจำเลยยังคงหลบซ่อนอยู่ในบริเวณอาคารที่เกิดเหตุจนเจ้าพนักงานตำรวจพูดเกลี้ยกล่อมให้จำเลยมอบตัว จำเลยจึงยอมมอบตัวและนำอาวุธปืนพร้อมกระสุนปืนที่ยังเหลืออยู่อีก 2 นัด ไปมอบให้พนักงานสอบสวนยึดเป็นของกลาง หากจำเลยไม่ยอมมอบตัวก็ยังมีอาวุธปืนพร้อมกระสุนปืนในสภาพที่พร้อมจะก่อเหตุร้ายต่อไปได้อีก การที่จำเลยยอมมอบตัวและมอบอาวุธปืนและกระสุนปืนเป็นของกลาง ทั้งให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนถือได้ว่าเป็นการรู้สึกความผิดและลุแก่โทษต่อเจ้าพนักงานอันเป็นเหตุบรรเทาโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 78
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4147/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสารภาพต่อพนักงานสอบสวน, การครอบครองยาเสพติด, และอำนาจศาลในการลงโทษตามความผิดที่เบากว่า
ในชั้นสอบสวนพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาแก่จำเลยว่ามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำเลยก็ให้การรับสารภาพด้วยความสมัครใจว่าเมทแอมเฟตามีนของกลางเป็นของ น.ที่นำมาฝากจำเลยไว้ คำให้การดังกล่าวพนักงานสอบสวนจัดทำขึ้นในวันเดียวกันกับที่จำเลยถูกจับกุม ตามพฤติการณ์เชื่อได้ว่าจำเลยให้การต่อพนักงานสอบสวนด้วยความสัตย์จริง โดยไม่ทันมีเวลาคิดไตร่ตรองหาลู่ทางแก้ตัวให้พ้นผิดจึงใช้เป็นหลักฐานยันจำเลยในชั้นพิจารณาของศาลได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 134
ตามคำเบิกความของพยานโจทก์ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยมีพฤติการณ์ในการจำหน่ายยาเสพติดให้โทษ ตรงกันข้ามกลับมีใจความตรงกับคำให้การในชั้นสอบสวนของจำเลยที่พนักงานสอบสวนบันทึกไว้ซึ่งระบุว่า จำเลยให้การรับต่อพนักงานสอบสวนว่า เมทแอมเฟตามีนของกลางเป็นของ น.ที่นำไปฝากจำเลยไว้ เมื่อ น.อยากเสพเวลาใดก็จะไปเอาจากจำเลยมาเสพครั้งละ 1 ซองบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลย เป็นพยานเอกสารที่โจทก์อ้างส่งต่อศาลเพื่อสนับสนุนคำพยานบุคคลของโจทก์ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยปรุงแต่งเรื่องราวขึ้นเพื่อบิดเบือนข้อเท็จจริง จึงต้องรับฟังว่าจำเลยให้การในชั้นสอบสวนไปตามความสัตย์จริงดังกล่าวแล้ว พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบรับฟังได้ว่าจำเลยเพียงแต่รับฝากเมทแอมเฟตามีนของกลางจาก น. เมื่อโจทก์ไม่สามารถนำสืบถึงพฤติการณ์แวดล้อมกรณีว่าจำเลยครอบครองเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ โดยมีเจตนาเพื่อขาย จ่ายแจก แลกเปลี่ยน หรือให้บุคคลหนี่งบุคคลใด จึงไม่อาจสันนิษฐานในทางเป็นผลร้ายแก่จำเลยว่าจำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าเมทแอมเฟตามีนของกลางมีจำนวนมากเกินความจำเป็นที่จำเลยมีไว้เพื่อเสพเองแสดงว่าจำเลยมีไว้เพื่อจำหน่ายโดยไม่มีพยานหลักฐานสนับสนุน จึงไม่ชอบ
ปัญหาที่ว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามฟ้องหรือไม่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยไม่ได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต และขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 66 ความผิดตามฟ้องของโจทก์จึงรวมถึงการมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งเป็นความผิดตามมาตรา 67 อยู่ด้วยถือได้ว่าความผิดตามฟ้องรวมการกระทำหลายอย่าง แต่ละอย่างอาจเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง เมื่อทางพิจารณาฟังได้ว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานดังกล่าว ซึ่งมีระวางโทษเบากว่าตามที่พิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคสุดท้าย
ตามคำเบิกความของพยานโจทก์ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยมีพฤติการณ์ในการจำหน่ายยาเสพติดให้โทษ ตรงกันข้ามกลับมีใจความตรงกับคำให้การในชั้นสอบสวนของจำเลยที่พนักงานสอบสวนบันทึกไว้ซึ่งระบุว่า จำเลยให้การรับต่อพนักงานสอบสวนว่า เมทแอมเฟตามีนของกลางเป็นของ น.ที่นำไปฝากจำเลยไว้ เมื่อ น.อยากเสพเวลาใดก็จะไปเอาจากจำเลยมาเสพครั้งละ 1 ซองบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลย เป็นพยานเอกสารที่โจทก์อ้างส่งต่อศาลเพื่อสนับสนุนคำพยานบุคคลของโจทก์ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยปรุงแต่งเรื่องราวขึ้นเพื่อบิดเบือนข้อเท็จจริง จึงต้องรับฟังว่าจำเลยให้การในชั้นสอบสวนไปตามความสัตย์จริงดังกล่าวแล้ว พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบรับฟังได้ว่าจำเลยเพียงแต่รับฝากเมทแอมเฟตามีนของกลางจาก น. เมื่อโจทก์ไม่สามารถนำสืบถึงพฤติการณ์แวดล้อมกรณีว่าจำเลยครอบครองเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ โดยมีเจตนาเพื่อขาย จ่ายแจก แลกเปลี่ยน หรือให้บุคคลหนี่งบุคคลใด จึงไม่อาจสันนิษฐานในทางเป็นผลร้ายแก่จำเลยว่าจำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าเมทแอมเฟตามีนของกลางมีจำนวนมากเกินความจำเป็นที่จำเลยมีไว้เพื่อเสพเองแสดงว่าจำเลยมีไว้เพื่อจำหน่ายโดยไม่มีพยานหลักฐานสนับสนุน จึงไม่ชอบ
ปัญหาที่ว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามฟ้องหรือไม่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยไม่ได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต และขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 66 ความผิดตามฟ้องของโจทก์จึงรวมถึงการมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งเป็นความผิดตามมาตรา 67 อยู่ด้วยถือได้ว่าความผิดตามฟ้องรวมการกระทำหลายอย่าง แต่ละอย่างอาจเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง เมื่อทางพิจารณาฟังได้ว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานดังกล่าว ซึ่งมีระวางโทษเบากว่าตามที่พิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคสุดท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 549/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีพยายามฆ่า: พยานหลักฐานแน่นชัด โจทก์ให้การรับสารภาพ ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
แม้เจ้าพนักงานตำรวจจะจับกุมจำเลยได้ภายหลังเกิดเหตุแล้วประมาณ 2 ปีก็ตาม แต่โจทก์มีผู้เสียหายทั้งสองและ อ.เบิกความเป็นพยานตรงกันว่า คืนเกิดเหตุขณะที่ผู้เสียหายทั้งสองอ.และว. นั่งดื่มสุรากันอยู่ที่ร้านค้า จำเลยเดินเข้ามาหาผู้เสียหายที่ 1 พร้อมจ้องอาวุธปืนไปที่หน้าอกผู้เสียหายที่ 1 แล้วยิงทันที 3 นัด แต่กระสุนปืนไม่ลั่นผู้เสียหายที่ 2 และ อ. วิ่งเข้าไปแย่งอาวุธปืนจากจำเลยแล้วเสียงปืนก็ดังขึ้น ผู้เสียหายที่ 2 ถูกกระสุนปืนที่ศีรษะขณะนั้นจำเลยยืนห่างผู้เสียหายทั้งสองและ อ. ประมาณ3 เมตร ในบริเวณที่เกิดเหตุมีแสงไฟฟ้านีออนขนาด 40 แรงเทียนอยู่ที่หน้าร้านเกิดเหตุ ห่างจากจุดเกิดเหตุประมาณ 3 เมตรแสดงว่าในที่เกิดเหตุมีแสงสว่างเพียงพอที่ทำให้ผู้เสียหายทั้งสอง และ อ. เห็นหน้าจำเลยได้ชัดเจน ทั้งผู้เสียหายที่ 1และ อ. รู้จักจำเลยมาก่อน นอกจากนี้ภายหลังเกิดเหตุแล้วในวันรุ่งขึ้นซึ่งแทบจะทันทีทันใดกับเหตุเกิดแล้วสด ๆผู้เสียหายที่ 2 ไปแจ้งความระบุว่า จำเลยเป็นคนร้ายใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายทั้งสอง หากผู้เสียหายที่ 2 จำจำเลยไม่ได้ก็คงจะไม่ระบุว่าจำเลยเป็นคนร้ายรายนี้เป็นแน่จึงเชื่อว่าผู้เสียหายทั้งสองและ อ. จำจำเลยได้ ส่วน ก.และ ร. เป็นพนักงานสอบสวนผู้ร่วมจับกุมจำเลยเบิกความว่าได้แจ้งข้อหาพยายามฆ่าผู้อื่นแก่จำเลย จำเลยให้การรับสารภาพโดยมีผู้เสียหายทั้งสอง และ อ. ชี้ตัวต่างก็ยืนยันว่าจำเลยเป็นคนร้ายเมื่อ ก. และ ร. พยานโจทก์ต่างก็เป็นเจ้าพนักงานของรัฐมีหน้าที่สืบสวน ตรวจค้น จับกุมและสอบสวนผู้กระทำความผิดกฎหมายได้ปฏิบัติงานไปตามอำนาจหน้าที่ทั้งไม่เคยรู้จักจำเลยมาก่อน จึงไม่มีเหตุระแวงสงสัยว่าจะแกล้งกล่าวหาจับกุมและสอบสวนจำเลย อีกทั้งจำเลยได้ให้การถึงเหตุการณ์นับแต่จำเลยกับพวกออกจากบ้านจนใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายทั้งสองแล้วหลบหนีไป แสดงว่าจำเลยให้การรับสารภาพด้วยความสมัครใจมิได้ถูกเจ้าพนักงานตำรวจขู่เข็ญบังคับ ตามพฤติการณ์พยานหลักฐานโจทก์เชื่อได้ว่าจำเลยเป็นคนร้ายรายนี้จริง พยานจำเลยไม่พอฟังหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ได้ จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหายทั้งสอง ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 7,72 วรรคสาม และมาตรา 8 ทวิ,72 ทวิ วรรคสองจำคุกกระทงละ 1 ปี และ 6 เดือนตามลำดับ ศาลอุทธรณ์ภาค 1พิพากษายืน ดังนี้การที่จำเลยฎีกาว่าพยานหลักฐานโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำผิด เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218 วรรคหนึ่ง