คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
การลงทุน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 135/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงประชาชน-ฉ้อโกงทั่วไป: การกระทำต่างกรรมต่างวาระ, ความผิดหลายกรรม, และการลงโทษ
จำเลยกับพวกได้ก่อตั้งบริษัท ด. ขึ้น และได้โฆษณาทางหนังสือพิมพ์ประกาศแพร่ข่าวชักชวนประชาชนว่าบริษัท ด. เป็นบริษัทที่มั่นคงประกอบธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ ต้องการรับสมัครพนักงานหรือบุคลากรเพิ่มหลายตำแหน่ง และโฆษณาชักชวนให้บุคคลทั่วไปนำเงินมาลงทุนในธุรกิจรูปแบบใหม่กับบริษัทซึ่งให้ผลตอบแทนสูง ซึ่งความจริงแล้วบริษัท ด. ไม่ได้ประกอบธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ และไม่ได้เป็นตัวแทนซื้อขายสินค้าที่ประเทศญี่ปุ่นหรือประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อการลงข่าวประกาศทางหนังสือพิมพ์ ก. เป็นความเท็จโดยทุจริตของบริษัท ด. เป็นเหตุให้ผู้เสียหายที่ 2 ที่ได้อ่านข่าวหลงเชื่อ จึงไปติดต่อและมอบเงินให้จำเลยกับพวก การกระทำของจำเลยกับพวกสำหรับผู้เสียหายที่ 2 จึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน
ความผิดฐานฉ้อโกงผู้เสียหายที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 7 และความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนต่อผู้เสียหายที่ 2 นั้น เป็นการกระทำต่างวันเวลาและต่างบุคคลกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมตาม ป.อ. มาตรา 91 มิใช่ความผิดกรรมเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3683/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียภาษีอากรจากการไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขบัตรส่งเสริมการลงทุน และอำนาจฟ้องของโจทก์
จำเลยได้รับบัตรส่งเสริมของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนซึ่งกำหนดเงื่อนไขไว้ในข้อ 3 ว่า วัตถุดิบหรือวัสดุจำเป็นที่คณะกรรมการอนุมัติให้ยกเว้นหรือลดหย่อนอากรขาเข้า และภาษีการค้านั้นจะต้องใช้เฉพาะในกิจการส่วนที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการให้ได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนอากรขาเข้าและหรือภาษีการค้าเท่านั้น หากจะจำหน่ายจ่ายโอนหรือนำไปใช้ในการอื่นจะต้องได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการก่อน และในข้อ 13.4 ก็กำหนดให้จำเลยนำผลิตภัณฑ์ที่ผลิตหรือประกอบส่งออกไปจำหน่ายนอกราชอาณาจักรทั้งสิ้น หากจำเลยมิได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ได้รับตามบัตรส่งเสริมดังกล่าว จำเลยก็ย่อมไม่อาจถือประโยชน์ที่ได้รับตามบัตรส่งเสริมได้เมื่อจำเลยมีวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นที่นำเข้าคงเหลือที่ไม่ได้ใช้ผลิตผสม หรือประกอบผลิตภัณฑ์เพื่อการส่งออกภายในระยะเวลาหนึ่งปีตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ จึงไม่อยู่ในเงื่อนไขที่จำเลยจะได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนอากรขาเข้าและภาษีการค้าตามบัตรส่งเสริมการลงทุนดังกล่าว
ตามมาตรา 41 วรรคหนึ่งและวรรคสองแห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 บัญญัติว่า คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนมีอำนาจอนุญาตให้ผู้รับการส่งเสริมจำหน่ายเครื่องจักรที่ได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีอากรได้โดยการอนุญาตจะทำเป็นหนังสือหรือแก้ไขบัตรส่งเสริมโดยระบุเงื่อนไขและรายละเอียดในการอนุญาตไว้ด้วยก็ได้ และวรรคสามบัญญัติว่า ห้ามมิให้นำกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากรมาใช้บังคับแก่ผู้ได้รับการส่งเสริมซึ่งได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการตามมาตรานี้แต่ตามทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏหลักฐานว่าจำเลยประสงค์จะจำหน่ายเครื่องจักรและได้มีหนังสืออนุญาตให้จำเลยจำหน่ายเครื่องจักรหรือมีการแก้ไขบัตรส่งเสริมจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนทั้งคดีก็ไม่ได้ความแน่ชัดว่าจำเลยได้จำหน่ายจ่ายโอนเครื่องจักรดังกล่าว ไปแล้วหรือไม่ กรณีเช่นนี้จะถือว่าจำเลยได้ปฏิบัติผิดเงื่อนไขโดยการจำหน่ายเครื่องจักรแล้วหาได้ไม่โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยชำระค่าภาษีอากรขาเข้าและภาษีการค้าในส่วนนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2530/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเข้าหุ้นส่วนและการเลิกสัญญา: แม้ฝ่ายหนึ่งไม่ส่งเงินตามสัญญา ก็ไม่ทำให้สัญญาเป็นโมฆะ
ตามสัญญาร่วมลงทุนระหว่างโจทก์จำเลยระบุว่าการร่วมลงทุนและการดำเนินกิจการจะขาดทุนหรือกำไรทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะรับผิดชอบร่วมกันคนละครึ่ง และการชำระเงิน ค่าที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินให้เป็นไปตาม สัญญาร่วมลงทุนฉบับนี้ ซึ่งหมายถึงให้ฝ่ายโจทก์จำเลยชำระคนละครึ่ง แสดงว่าทั้งโจทก์และจำเลยต่างให้สัญญาซึ่งกันและกันว่าต่างฝ่ายจะลงหุ้นโดยชำระเงินค่าที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขายและค่าใช้จ่ายในการดำเนินการฝ่ายละครึ่ง ถือได้ว่าเป็นสัญญาเข้าหุ้นส่วนกัน ซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดมาลงหุ้นด้วยในห้างหุ้นส่วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1026 แล้ว แม้ฝ่ายหนึ่ง จะไม่ส่งเงินหรือทรัพย์สินตามที่ตกลงกันมาลงหุ้น ก็ไม่ทำให้สัญญาเข้าหุ้นส่วนเสียไปสัญญาร่วมลงทุนระหว่างโจทก์จำเลยจึงไม่ขัดต่อมาตรา 1026

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 606/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเท็จฐานฉ้อโกง: จำเลยมีสิทธิฟ้องได้หากข้อเท็จจริงยังไม่ชัดเจนว่าเงินที่ให้เป็นการซื้อขายหรือลงทุน
เมื่อข้อเท็จจริงยังฟังไม่ได้โดยแจ้งชัดว่าจำเลยมอบเงินจำนวน60,000 บาทให้โจทก์เพื่อการซื้อหวาย หรือเพื่อการลงทุนเข้าหุ้นส่วนทำไม้กันแน่ คงฟังได้แต่เพียงว่า โจทก์ได้รับเงินจากจำเลยและจำเลยยังไม่ได้รับเงินคืน การที่จำเลยใช้สิทธิทางศาลฟ้องโจทก์ฐานฉ้อโกงจึงไม่เป็นฟ้องเท็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 778/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมการบริษัทลงลายมือชื่อเช็คเพื่อการลงทุน บริษัทเป็นผู้รับผิด ไม่ใช่กรรมการส่วนตัว
เจ้าหนี้มอบเงินให้บริษัทจำเลยที่ 1 เพื่อร่วมลงทุนแล้วจำเลยที่ 1 ออกเช็คพิพาทมอบให้เจ้าหนี้ไว้เพื่อเป็นหลักประกันเงินลงทุนของเจ้าหนี้ โดย ป. และจำเลยที่ 2 เป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายแม้จะไม่ได้ประทับตราของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ได้ลงลายมือชื่อไว้โดยมิได้เขียนว่าทำการแทนก็ตาม แต่การลงลายมือชื่อของ ป.กับจำเลยที่ 2 ก็เป็นการลงลายมือชื่อในฐานะกรรมการของบริษัทจำเลยที่ 1 เป็นการแสดงออกถึงความประสงค์ของนิติบุคคลโดยผู้แทนของนิติบุคคลดังที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 75 เดิม (มาตรา 70 ที่แก้ไขใหม่) การกระทำของ ป. กับจำเลยที่ 2 จึงเป็นการกระทำในนามของจำเลยที่ 1 มิใช่การกระทำของตัวแทนที่ลงลายมือชื่อของตนในตั๋วเงินแทนตัวการ แต่มิได้เขียนแถลงว่ากระทำการแทนบุคคลอื่น ซึ่งบุคคลนั้นต้องรับผิดตามความในตั๋วเงินดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 901จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 488/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รายจ่ายสร้างภาพยนตร์เป็นการลงทุน ไม่ใช่ค่าใช้จ่ายซื้อขายสินค้า ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(5)
โจทก์สร้างภาพยนตร์เพื่อนำออกฉายหารายได้จากผู้เข้าชมซึ่งมาหาความบันเทิง ผู้ชมภาพยนตร์เพียงแต่ได้ชมภาพและฟังเสียงของภาพยนตร์ชั่วระยะเวลาอันสั้นโดยเสียเงินค่าตอบแทน หาได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในภาพยนตร์นั้นแต่ประการใด แม้ฟิล์มภาพยนตร์ที่โจทก์ฉายหารายได้แล้วครั้งแรกหรือที่เรียกว่ากากหนังจะมีค่าหรือราคาลดน้อยลงไป แต่ภาพยนตร์หรือฟิล์มภาพยนตร์นั้นยังคงเป็นทรัพย์สินและเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ โจทก์ยังสามารถนำออกฉายหาผลประโยชน์หรือขายขาดให้บุคคลอื่นต่อไปได้อีก หาได้เสื่อมค่าหมดไปไม่ กิจการของโจทก์จึงไม่เข้าลักษณะซื้อขายสินค้ารายจ่ายต่าง ๆ ที่โจทก์เสียไปเนื่องจากการสร้างภาพยนตร์จึงมีลักษณะเป็นการลงทุน ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1867/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: การใช้เครื่องหมายก่อน, ความสุจริต, และการลงทุนเพื่อสร้างความแพร่หลาย
โจทก์จำเลยต่างจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "CELIA" สำหรับสินค้าจำพวก 11 อันได้แก่ผ้าอนามัย แต่โจทก์มิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า"CEL" เป็นเครื่องหมายชุดของโจทก์และคำว่า "CEL" เป็นคำทั่วไปอันมีลักษณะไม่บ่อเฉพาะการและการผสมกับคำอื่น ๆ ได้ ประกอบกับโจทก์เพิ่งมายื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "CELLA" เมื่อพ.ศ. 2516 อันเป็นเวลาภายหลังที่จำเลยได้ยื่นขอจดทะเบียนถึง 1 ปี และในระหว่างนั้นเป็นเวลาที่จำเลยได้ลงทุนทั้งในการผลิต การโฆษณา และจำหน่ายสินค้าที่จำเลยจดทะเบียนคำว่า "CELIA" จนเป็นที่แพร่หลายแก่ประชาชนทั่วประเทศแล้ว ส่วนสินค้าของโจทก์จะใช้เครื่องหมายคำว่า "CELIA" ยังมิได้ผลิตออกจำหน่ายเลย ดังนี้โจทก์จะมาอ้างสิทธิดังกล่าวเพื่อขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "CELIA" โดยมิให้สิทธิจำเลยจดทะเบียนนั้นหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1495/2498

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถือหุ้นในห้างหุ้นส่วน: การพิสูจน์ความเป็นหุ้นส่วนต้องมีมากกว่าการลงทุนร่วมกัน
โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดในการละเมิดซึ่งลูกจ้างในห้างหุ้นส่วนที่จำเลยเป็นผู้ถือหุ้นได้ก่อขึ้น ข้อเท็จจริงได้ความว่าภรรยาจำเลยต่างหากเป็นผู้ถือหุ้น แม้จะได้ความว่าเงินที่เอามาลงหุ้นจะเป็นเงินที่ทำมาหาได้ระหว่างสามีภรรยาก็ดี เพียงเท่านี้จะถือว่าจำเลยเป็นหุ้นส่วนนั้นด้วยหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7055/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์สินมรดก: การพิสูจน์ความเป็นเจ้าของที่ดินที่ซื้อด้วยเงินลงทุนของห้างหุ้นส่วนจำกัด
การที่ ก. เจ้ามรดกขอจดทะเบียนตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด ต. ขึ้นและมี ก. เจ้ามรดกเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและมีทายาททุกคนร่วมกันทำธุรกิจให้ห้างฯ ดังกล่าวตลอดมา ต่อมา ก. เจ้ามรดกได้นำเงินของห้างฯ ไปซื้อที่ดินพิพาททั้งสองแปลง แต่เงินที่นำไปซื้อก็เป็นเงินลงทุนที่ ก. เจ้ามรดกพร้อมภริยาและบุตรต่างร่วมลงทุนและลงแรงงานทำมาด้วยกัน ทั้งยังได้ความอีกว่า ก. เจ้ามรดกกับ อ. ภริยาร่วมกันรวมเงินเพื่อขอจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด ต. เพื่อดำเนินธุรกิจการค้า จัดตั้งโรงงานอัดมันเม็ดแล้วส่งออกต่างประเทศ โดยมีทายาททุกคนต่างช่วยเหลือกิจการในห้างฯ และโรงงานมาโดยตลอด โดยมี ก. เจ้ามรดกเป็นหัวหน้าครอบครัว ซึ่งโจทก์และจำเลยทุกคนซึ่งต่างเป็นบุตรต้องเคารพเชื่อฟังและยอมรับการตัดสินใจและไม่เคยโต้แย้งคัดค้าน ดังนั้น เงินรายได้จากห้างฯ ที่มาเป็นค่าใช้จ่ายส่วนรวมของครอบครัว จึงเรียกได้ว่าเป็น "กงสี" นั่นเอง การจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด ต. ของ ก. เจ้ามรดกก็เพื่อความสะดวกในการทำนิติกรรมสัญญากับบุคคลอื่นและเจ้าพนักงานรวมถึงการยื่นภาษีเงินได้เท่านั้น ดังนั้น การที่ ก. เจ้ามรดกนำเงินของห้างไปใช้จ่ายรวมถึงนำไปซื้อที่ดินพิพาททั้งสองแปลงแล้วให้จำเลยที่ 2 และที่ 4 เป็นผู้รับโอน แม้จะนำที่ดินพิพาทมาใช้ประโยชน์ในกิจการของห้างฯ แต่ก็ได้ทำสัญญาให้ห้างฯ เป็นผู้เช่า ย่อมบ่งบอกได้ว่า ก. เจ้ามรดกต้องการให้ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงเป็นทรัพย์สินส่วนตัวแยกต่างหากจากทรัพย์สินของห้างฯ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 6064 และ 6065 ไม่ใช่ทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนจำกัด ต.
ตามหนังสือตกลงให้แบ่งที่ดินพิพาทตามเอกสารหมาย จ.11 ที่ ก. เจ้ามรดกให้แบ่งทรัพย์สินให้บุตรทั้ง 6 คน เท่า ๆ กัน ซึ่งมี ก. เจ้ามรดกลงลายมือชื่อไว้พร้อมกับโจทก์ จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ลงลายมือรับรองข้อความในเอกสาร แม้ข้อความในหนังสือตกลงตามเอกสารหมาย จ.11 ในข้อ (1) มีข้อความว่า ที่ดินเลขที่ 6064 และสิ่งปลูกสร้าง แม่น้ำ 10 ไร่ ? 6 = 1.66 ไร่ มีรอยน้ำยาลบคำผิดข้อความ "แม่น้ำ" ออกไป ข้อ 2 มีข้อความเดิมว่า ที่ดินเลขที่ 6065 และสิ่งปลูกสร้างริมแม่น้ำประมาณ 67 - 10 = 57 ? 3 = 19 ไร่ ? 6 คนละ 3.16 ไร่ มีรอยน้ำยาลบคำผิดข้อความว่า "ริมแม่น้ำ" ออกไป เมื่อจำเลยที่ 1 รับสำเนาหนังสือตกลงตามเอกสารหมาย จ.13 เป็นหลักฐานมายึดถือไว้ก็ไม่ปรากฏข้อความเดิมอีกต่อไป แสดงว่า มีการใช้น้ำยาลบคำผิดบางข้อความก่อนที่ทุกคนจะลงลายมือชื่อ ดังนั้น ทายาทของ ก. เจ้ามรดกย่อมเข้าใจข้อความที่แก้ไขดีแล้ว ข้อความที่ถูกลบออกไปจึงไม่ใช่ข้อความอันสำคัญแต่อย่างใด นอกจากนี้หนังสือตกลงดังกล่าวนี้ ไม่มีกฎหมายบังคับให้ผู้เขียนหรือลบข้อความบางตอนต้องลงลายมือชื่อกำกับไว้ หนังสือตกลงตามเอกสาร จ.11 จึงเป็นเอกสารที่สมบูรณ์ โจทก์สามารถใช้อ้างเป็นพยานได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 453/2567

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตขายทรัพย์สินของผู้เยาว์เพื่อประโยชน์ทางการศึกษาและการลงทุนในอนาคต
ผู้ร้องขอขายที่ดินซึ่งผู้ร้องถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับผู้เยาว์ เพื่อการศึกษาแก่ผู้เยาว์ซึ่งเป็นบุตร ผู้ร้องในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมมาร้องขออนุญาตทำนิติกรรมขายที่ดินต่อศาลตาม ป.พ.พ. มาตรา 1574 ก็เพื่อให้ศาลกำกับดูแลให้เหมาะสมเป็นประโยชน์ต่อผู้เยาว์หรือก่อความเสียหายแก่ผู้เยาว์น้อยที่สุด เมื่อได้ความว่าการขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นไปเพื่อประโยชน์แห่งอนาคตของผู้เยาว์และได้รับราคาที่สูงกว่าราคาประเมิน จึงเป็นเหตุผลเพียงพอที่ศาลจะอนุญาตให้มีการขายได้โดยเร็วเพื่อประโยชน์ของผู้เยาว์ ที่ศาลชั้นต้นอ้างว่าการทำนิติกรรมขายไม่ได้รับความยินยอมจาก จ. มารดาผู้เยาว์ เป็นการวินิจฉัยขัดกับข้อเท็จจริงเนื่องจากที่ จ. ไม่ได้ดูแลผู้เยาว์และไม่อาจติดต่อได้ ส่วนที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษอ้างว่า ไม่มีเรื่องเร่งด่วนหรือเหตุฉุกเฉิน ก็ไม่ได้อยู่ในบริบทที่มาตรา 1574 กำหนดไว้ ส่วนที่อ้างว่ารอให้ผู้เยาว์ทั้งสองเจริญวัยจนบรรลุนิติภาวะตัดสินใจเอง ก็เป็นข้อวินิจฉัยที่ขัดต่อเจตนารมณ์ที่มาตรา 1574 ให้ศาลกำกับดูแลการทำนิติกรรม ไม่ใช่ปล่อยให้ช่วงเวลาที่ยังเป็นผู้เยาว์เสียไปโดยเปล่าประโยชน์