คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
การละเมิด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 108 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3596/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหย่า, ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร, การกระทำละเมิดต่อเนื่อง, และสิทธิเรียกร้องค่าทดแทนจากสามีภรรยา
โจทก์จดทะเบียนสมรสกับจำเลยที่ 1 มีบุตรด้วยกัน 2 คน ต่อมาจำเลยที่ 1 ไปจดทะเบียนสมรสกับจำเลยที่ 2 และอยู่กินด้วยกันอย่างเปิดเผยโดยยังมิได้หย่าขาดกับโจทก์ โจทก์จึงฟ้องหย่าโดยเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรจากจำเลยที่ 1 และเรียกค่าทดแทนจากจำเลยทั้งสอง แม้โจทก์จะทราบว่าจำเลยทั้งสองจดทะเบียนสมรสและอยู่กินด้วยกันตั้งแต่ปี 2536 แต่จำเลยทั้งสองก็อยู่กินด้วยกันตลอดมาจนถึงวันฟ้อง ลักษณะการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการละเมิดต่อโจทก์ต่อเนื่องกันมายังมิได้หยุดการกระทำอายุความจึงยังไม่เริ่มนับ คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
แม้โจทก์จะเคยเห็นภาพถ่ายพิธีมงคลสมรสของจำเลยทั้งสองในภายหลังและมิได้โต้แย้งคัดค้านก็ตาม แต่ขณะจัดพิธีมงคลสมรสของจำเลยทั้งสอง โจทก์ไม่ทราบเรื่องกรณียังไม่พอฟังว่าโจทก์ได้รู้เห็นเป็นใจให้จำเลยทั้งสองอยู่กินเป็นสามีภริยากันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1517 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องหย่าได้
การที่จำเลยที่ 1 อุปการะเลี้ยงดูและยกย่องจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหญิงอื่นฉันภริยาอันเป็นเหตุหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516(1) และศาลพิพากษาให้โจทก์และจำเลยที่ 1 หย่ากันด้วยเหตุดังกล่าว โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าทดแทนจากจำเลยทั้งสองได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1523 วรรคแรก
สิทธิของผู้เยาว์ที่จะได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูจากบิดามารดาเป็นสิทธิของบุตรแต่ละคนจะพึงได้รับตามความสามารถของผู้มีหน้าที่ให้ ฐานะของผู้รับและพฤติการณ์แห่งคดี การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 กำหนดให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่บุตรทั้งสองรวมกันมาจึงไม่ถูกต้อง ควรกำหนดจำนวนเงินเป็นรายเดือนให้เป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรทั้งสองแต่ละคนนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา และเมื่อบุตรคนแรกบรรลุนิติภาวะแล้วให้ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูโดยกำหนดจำนวนเงินเป็นรายเดือนแก่บุตรคนที่สองต่อไปจนกว่าจะบรรลุนิติภาวะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 296/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้า 'TWO WAY' เป็นคำทั่วไป การใช้โดยผู้อื่นไม่ละเมิด หากไม่ทำให้สับสน
คำว่า TWO WAY เป็นคำทั่วไปที่มีความหมายว่าสองทางซึ่งโดยปกติบุคคลทั่วไปย่อมสามารถจะนำคำนี้ไปใช้ได้อยู่แล้ว แม้โจทก์จะได้จดทะเบียนคำว่า TWO WAY และ ทู เวย์ เป็นเครื่องหมายการค้าของตนแล้วก็ตาม โจทก์ไม่มีสิทธิหวงกันไม่ให้บุคคลอื่นใช้คำนี้โดยเด็ดขาด เพียงแต่ผู้ที่จะนำคำนี้ไปใช้เป็นส่วนประกอบเครื่องหมายการค้าของตนในภายหลังจะต้องทำให้เครื่องหมายการค้านั้นมีลักษระแตกต่างไปจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์โดยไม่ทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดได้
เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของโจทก์เป็นเครื่องหมายประกอบรูปลูกศรสลับหัวกันระหว่างคำว่า TWO กับWAY หรือ 2 กับ WAY อันเป็นการผสมคำกับรูปลูกศร ซึ่งเป็นลักษณะเบ่งเฉพาะที่โจทก์คิดประดิษฐ์ขึ้นมา แต่โจทก์กลับใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวประกอบเครื่องหมายการค้าคำว่า Tellme ของโจทก์ Tellme TWO WAY หรือPOWDERCAKE Tellme Creance 2 WAY อันมีลักษณะเป็นการขยายให้เห็นคุณสมบัติของแป้งแข็ง Tellme ของโจทก์ว่าใช้ได้สองทาง คือใช้ได้ทั้งผสมน้ำและไม่ผสมน้ำ แป้งแข็งไม่ได้มีเฉพาะยี่ห้อของโจทก์เท่านั้น ยังมียี่ห้ออื่นที่จำหน่ายอีก ยี่ห้อของแป้งผัดหน้าเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ใช้จะพิจารณา ดังนั้นการที่ ป. ใช้คำว่า "ทูเวย์เคค" มิได้ใช้เครื่องหมายรูปลูกศรสลับระหว่างคำว่า TWO กับ WAY และ 2 กับ WAY ไปประกอบกับคำว่า sun melon เป็นเครื่องหมายการค้า แม้จะเป็นสินค้าแป้งผัดหน้าชนิดเดียวกับโจทก์ก็เป็นเครื่องหมายที่มีรูปลักษณะและสำเนียงเรียกขานแตกต่างกันและจะถือว่า ป. มีเจตนาไม่สุจริตในการใช้คำว่า "ทูเวย์เคค" ประกอบคำว่า ซันเมลอน จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดถึงแหล่งที่มาของสินค้าแป้งผัดหน้าไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 296/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้า: การใช้คำทั่วไป (Two Way) ไม่ถือเป็นการละเมิด หากไม่มีลักษณะเฉพาะที่ทำให้สับสน
คำว่า TWOWAY เป็นคำทั่วไปมีความหมายว่าสองทาง ซึ่งโดยปกติบุคคลทั่วไปย่อมสามารถจะนำคำนี้ไปใช้ได้อยู่แล้ว แม้โจทก์จะได้จดทะเบียนคำว่า TWOWAY และทูเวย์ เป็นเครื่องหมายการค้าของตนแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิหวงกันไม่ให้บุคคลอื่นใช้คำนี้โดยเด็ดขาด เพียงแต่ผู้ที่จะนำคำนี้ไปใช้เป็นส่วนประกอบของเครื่องหมายการค้าของตนในภายหลังจะต้องทำให้เครื่องหมายนั้นมีลักษณะแตกต่างไปจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์โดยไม่ทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดได้
โจทก์ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าประกอบรูปคือรูปลูกศรสลับหัวกันTWO รูปลูกศรสลับหัวWAYหรือ2รูปลูกศรสลับหัวWAYอันเป็นการผสมคำกับรูปลูกศรซึ่งถือได้ว่าเป็นลักษณะบ่งเฉพาะที่โจทก์คิดประดิษฐ์ขึ้นมา แต่โจทก์กลับใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวประกอบกับเครื่องหมายการค้าคำว่า Tellme ของโจทก์ เช่น TellmeTWO รูปลูกศรสลับหัวWAYPOWDERCAKEหรือTellmeCreance2รูปลูกศรสลับหัวWAY อันมีลักษณะเป็นการขยายให้เห็นคุณสมบัติของแป้งแข็ง Tellme ของโจทก์ว่าใช้ได้สองทาง คือใช้ได้ทั้งผสมน้ำและไม่ผสมน้ำนั่นเอง การที่ ป. ใช้คำว่า "ทูเวย์เคค" มิได้ใช้TWO รูปลูกศรสลับหัวWAYหรือ2รูปลูกศรสลับหัว WAY ไปประกอบคำว่า sunmelonเป็นเครื่องหมายการค้า แม้จะเป็นสินค้าแป้งผัดหน้าชนิดเดียวกับของโจทก์ก็เป็นเครื่องหมายการค้าที่มีรูปลักษณะและสำเนียงเรียกขานแตกต่างกัน และจะถือว่า ป. มีเจตนาไม่สุจริตในการใช้คำว่า "ทูเวย์เคค"ประกอบคำว่าซันเมลอน จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดถึงแหล่งที่มาของสินค้าแป้งผัดหน้าไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2599/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอน น.ส.3ก. ที่ออกโดยไม่ชอบ และอายุความการฟ้องละเมิดจากการครอบครองที่ดิน
จำเลยนำที่ดินพิพาทส่วนที่เป็นของโจทก์และอยู่ในความครอบครองของโจทก์ไปขอออก น.ส. 3 ก. โดยไม่ชอบ ศาลมีอำนาจสั่งให้เพิกถอนได้ ตาม ป. ที่ดิน มาตรา 61 และโจทก์มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอน น.ส. 3 ก. ในส่วนที่ออกโดยไม่ชอบได้เพราะตราบใดที่หนังสือรับรองการทำประโยชน์ยังไม่ถูกเพิกถอนย่อมถือว่าการละเมิด ยังมีอยู่ ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1160/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างต่อการละเมิดของลูกจ้างขณะปฏิบัติงาน แม้ลูกจ้างไม่มีหน้าที่ขับรถ
ส. สั่งซื้อวัสดุก่อสร้างจากจำเลยที่ 3 และที่ 4 จำเลยที่ 3 และที่ 4 ให้จำเลยที่ 1และคนงานไปส่งวัสดุก่อสร้างโดยใช้รถยนต์บรรทุกสิ่งของไปส่ง มี ร. เป็นคนขับ ในระหว่างที่มีการขนถ่ายสิ่งของจำเลยที่ 1 ได้ติดเครื่องยนต์ทำให้รถยนต์แล่นไปชนโจทก์แม้จำเลยที่ 1 จะมีหน้าที่ขนวัสดุก่อสร้างไม่มีหน้าที่ขับรถ และรถยนต์คันเกิดเหตุมี ร. เป็นคนขับประจำ แต่จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 3 และที่ 4 การที่จำเลยที่ 1 ขึ้นไปติดเครื่องยนต์ในระหว่างทำการงานให้แก่จำเลยที่ 3 และที่ 4 โดย ร. ไม่ได้ควบคุมดูแล ทำให้รถแล่นไปชนโจทก์ ต้องถือว่าการละเมิดเกิดขึ้นขณะจำเลยที่ 1 ปฏิบัติงานในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 3 และที่ 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6523/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดลิขสิทธิ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์ การปรับบทลงโทษ และการลดโทษจากเหตุบรรเทา
จำเลยทั้งสองมีเจตนาที่จะกระทำความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์อยู่ก่อนแล้ว แม้การกระทำของ พ. นักสืบอิสระ จะมีลักษระเป็นการสุ่มซื้อโดยไม่ประสงค์จะได้โปรกแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีใบอนุญาตก็ตาม แต่ก็เป็นการกระทำเพื่อแสวงหาพยานลักฐานมาดำเนินคดีแก่ผู้ที่กระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์เท่านั้น ไม่ถือว่าเป็นการชักจูงใจหรือก่อให้จำเลยกระทำความผิด จึงถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้เสียหายแบบโดยนิตินัยที่มีอำนาจฟ้องคดีมีได้
จำเลยที่ 1 ซึ่งมีจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้จัดการได้ติดตั้งโปรแกรมคอมพิวเตอร์โดยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ผู้ซื้ออันเป็นการแถมให้เปล่าไม่คิดมูลค่า คงคิดราคาเฉพาะตัวเครื่อง โดยพนักงานของจำเลยที่ 1 มิได้ขายหรือเสนอขายโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของโจทก์ดังกล่าว ให้แก่ผู้ซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์แต่อย่างใด จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 31 (1) คงมีความผิดตามมาตรา 31(3) เพราะเป็นการแจกจ่ายโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของลิขสิทธิ์เพื่อการค้าเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3409/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าช่วง, การบอกเลิกสัญญา, ค่าเสียหายจากการเช่าต่อเนื่อง, และการละเมิด
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเช่าช่วงที่ดินพิพาทจากโจทก์ครบกำหนดเวลาเช่าตามสัญญาแล้ว จำเลยผิดสัญญาไม่ก่อสร้างอาคารตามสัญญา โจทก์จึงบอกเลิกสัญญาเช่าช่วงแก่จำเลยและฟ้องขับไล่กับเรียกค่าเสียหาย จำเลยให้การและต่อสู้ว่าสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาและโจทก์ตกลงจะให้จำเลยเช่าช่วงมีกำหนดเวลา 30 ปี บัดนี้ยังไม่ครบกำหนดเวลาตามสัญญา จำเลยไม่ได้ผิดสัญญา โจทก์ไม่มีอำนาจบอกเลิกสัญญา การที่โจทก์ฎีกาว่าจำเลยไม่ได้สนองคำมั่นของโจทก์ก่อนสิ้นกำหนดเวลาเช่า คำมั่นจึงสิ้นผลโดยมิได้เป็นประเด็นข้อพิพาทตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดนั้น ถือว่าเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามป.วิ.พ. มาตรา 247 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า เมื่อสิ้นกำหนดเวลาเช่าโจทก์จำเลยไม่ได้ทำสัญญาเช่าช่วงกันอีก การที่จำเลยยังคงอยู่ในที่ดินที่เช่าและชำระค่าเช่าให้แก่โจทก์ผู้ให้เช่าตลอดมา ถือว่าโจทก์กับจำเลยได้ทำสัญญาเช่าช่วงใหม่ต่อไปไม่มีกำหนดเวลาตามป.พ.พ. มาตรา 570 เมื่อโจทก์บอกเลิกการเช่าโดยถูกต้องตามกฎหมายแล้วสัญญาเช่าช่วงย่อมระงับลงจำเลยไม่มีสิทธิอยู่ในที่ดินที่เช่าอีกต่อไป การที่จำเลยยังคงอยู่ในที่ดินที่เช่าเป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้
โจทก์อ้างว่าการที่จำเลยยังคงประกอบกิจการอยู่ในที่ดินที่เช่า ทำให้โจทก์ไม่สามารถส่งมอบที่ดินคืนแก่การรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นเหตุให้โจทก์ไม่ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนนั้น เห็นว่า ค่าเสียหายดังกล่าวมิใช่ค่าเสียหายโดยตรงจากการที่จำเลยคงอยู่ในที่ดินที่เช่าแต่เป็นค่าเสียหายอันเกิดแก่พฤติการณ์พิเศษในกรณีไม่ชำระหนี้ ซึ่งจะต้องเป็นเรื่องที่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยได้คาดเห็น หรือควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์ล่วงหน้าก่อนแล้ว ตามป.พ.พ. มาตรา 222 วรรคสองบัญญัติไว้ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นข้อเท็จจริงดังกล่าว โจทก์จึงไม่อาจเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1036/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการใช้ทางผ่านบนที่ดิน การก่อสร้างถนนส่วนบุคคล และการละเมิดสิทธิของผู้เช่า
แม้โจทก์จะเป็นเพียงผู้เช่าตึกแถวจากจำเลยที่ 1 แต่ถนนพิพาทเป็นถนนหน้าตึกแถวที่จำเลยที่ 1 สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้ที่ซื้อหรือเช่าตึกแถวจากจำเลยที่ 1 ใช้เป็นทางสัญจรผ่านเข้าออกสู่ทางสาธารณะได้ และโจทก์ได้ใช้ถนนพิพาทตลอดมาเป็นเวลานานถึง 17 ปีแล้ว โดยจำเลยที่ 1 ไม่เคยหวงห้าม แม้ต่อมาจำเลยที่ 1 จะขายตึกแถวที่โจทก์เช่าอยู่ให้แก่บุคคลภายนอก แต่โจทก์ก็ยังคงอยู่ในตึกแถวที่เช่าต่อมา การที่จำเลยที่ 2 สร้างกำแพงปูนปิดปากทางถนนพิพาทด้านถนนสมเด็จพระเจ้าตากสินที่ตนซื้อจากจำเลยที่ 1 ทำให้โจทก์สัญจรผ่านเข้าออกไม่ได้ตามปกติย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ได้
จำเลยที่ 1 ตกลงกับโจทก์และผู้เช่ารายอื่นว่าจะจัดให้ถนนพิพาทเป็นทางสัญจรเข้าออกสู่ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสินได้ตลอดไป มิฉะนั้นโจทก์และผู้เช่ารายอื่นคงไม่ยินยอมจ่ายเงินช่วยค่าก่อสร้างและจดทะเบียนการเช่ากับจำเลยที่ 1 เป็นเวลานานถึง 20 ปี และจำเลยที่ 1 ก็คงไม่ยินยอมให้โจทก์และครอบครัวตลอดจนบุคคลอื่นที่อาศัยอยู่ในตึกแถวดังกล่าวได้ใช้ถนนพิพาทเป็นทางเข้าออกตลอดมาเป็นเวลานานถึง 17 ปี เช่นเดียวกัน แม้สัญญาเช่าตึกแถวระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จะมิได้ระบุเรื่องการใช้ถนนพิพาทไว้ก็ตาม แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้หวงห้ามมิให้ผู้ซื้อหรือผู้เช่าตึกแถวจากจำเลยที่ 1 ใช้ถนนพิพาท และจำเลยที่ 2 ก็ทราบดีอยู่แล้วว่า จำเลยที่ 1 ก่อสร้างถนนพิพาทไว้สำหรับให้ผู้ซื้อหรือผู้เช่าตึกแถวใช้เป็นทางสัญจรเข้าออกสู่ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสินได้ การที่จำเลยที่ 2 ซื้อถนนพิพาทบางส่วนจากจำเลยที่ 1 และได้ก่ออิฐเป็นกำแพงปิดกั้นถนนพิพาทบริเวณปากทางออกสู่ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน ย่อมบ่งชี้ให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตมุ่งแต่ประโยชน์ตนฝ่ายเดียว โดยรู้อยู่แล้วว่าต้องเกิดความเสียหายแก่ผู้ที่ซื้อหรือผู้เช่าตึกแถวจากจำเลยที่ 1 ที่ไม่สามารถใช้ถนนพิพาทออกสู่ทางสาธารณะด้านถนนสมเด็จพระเจ้าตากสินได้โดยปกติสุข การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่ารายหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6521/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดินต้องเป็นไปตามกฎหมายและแผนที่แนบท้าย หากเกินขอบเขตที่ระบุถือเป็นการละเมิด
แม้โจทก์และจำเลยทั้งสี่แถลงรับข้อเท็จจริงกันว่า ที่ดินของโจทก์ทั้งสองเนื้อที่ 3 ไร่ 1 งาน 74 ตารางวา ที่โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้เป็นส่วนที่เกินจากจำนวนเนื้อที่ตามที่ระบุไว้ใน พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์... เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดิน ... พ.ศ.2532 ก็ตาม แต่เนื่องจากการเวนคืนที่ดินในกรณีนี้ต้องอยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา15 ดังนั้น การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์จึงต้องกระทำโดยอาศัยกฎหมายในรูปของพ.ร.บ.ซึ่งต้องระบุรายละเอียดตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าวด้วย เมื่อปรากฏว่ามีการออก พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์... พ.ศ.2532 เวนคืนที่ดินของโจทก์ทั้งสองโดยมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวบัญญัติให้เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ต่าง ๆของกรุงเทพมหานคร ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้าย พ.ร.บ.ดังกล่าว ซึ่งปรากฏรายชื่อเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายตามบัญชีท้าย พ.ร.บ.ให้แก่กรมทางหลวง แต่ตามบัญชีรายชื่อและแผนที่ท้าย พ.ร.บ.ระบุว่า ที่ดินของโจทก์ทั้งสองถูกเวนคืนเนื้อที่ 3 ไร่ 64 ตารางวา โดยข้อความใน มาตรา 4 บัญญัติไว้อย่างชัดเจนว่าให้เวนคืนที่ดินภายในแนวเขตตามแผนที่และบัญชีรายชื่อท้าย พ.ร.บ.เท่านั้นทั้งตามมาตรา 15 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530ซึ่งเป็นกฎหมายแม่บทของการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ได้บัญญัติไว้ว่า ให้ตรา พ.ร.บ.ขึ้นเพื่อเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เมื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับที่จะต้องเวนคืนที่แน่นอนแล้วโดยให้ระบุที่ดินที่ต้องเวนคืนพร้อมทั้งรายชื่อเจ้าของและให้มีแผนที่หรือแผนผังแสดงเขตที่ต้องเวนคืนอย่างชัดเจนไว้ท้าย พ.ร.บ. และให้ถือว่าแผนที่หรือแผนผังนั้นเป็นส่วนหนึ่งแห่ง พ.ร.บ.ด้วย ดังนั้น จำนวนเนื้อที่ดินและรูปแผนที่ในบัญชีรายชื่อเจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินที่ต้องเวนคืนและแผนที่ท้าย พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์จึงต้องเป็นจำนวนที่ถูกเวนคืนที่แน่นอน เมื่อจำเลยที่ 4 นำชี้แนวเขตทางเข้าไปในที่ดินของโจทก์ทั้งสองเกินกว่ารูปแผนที่และจำนวนเนื้อที่ดินที่ระบุไว้ในบัญชีรายชื่อเจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินที่ต้องเวนคืนท้าย พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์...พ.ศ.2532แม้ยังอยู่ในระยะ 240 เมตร ตามที่ พ.ร.ฎ.กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดิน สายคลองตัน - หนองงูเห่า... พ.ศ.2522 กำหนดไว้ ก็ต้องถือว่าส่วนที่จำเลยที่ 4 นำชี้เพิ่มอีก 3 ไร่ 1 งาน 74 ตารางวา ถูกเวนคืนด้วยไม่ได้
เมื่อที่ดินที่จำเลยที่ 4 นำชี้ให้รังวัดปักหลักเขตเข้าไปในที่ดินของโจทก์ทั้งสองผู้ถูกเวนคืนเพิ่มอีก 3 ไร่ 1 งาน 74 ตารางวา ไม่ใช่ที่ดินที่ถูกเวนคืนตามกฎหมาย จำเลยทั้งสี่ย่อมไม่มีสิทธิเข้าไปเกี่ยวข้อง การที่จำเลยที่ 3 มอบหมายให้จำเลยที่ 4 ไปนำชี้แนวเขตในนามของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามแผนที่แนวทางและระดับของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 4 นำชี้ให้เจ้าพนักงานที่ดินรังวัดเข้าไปในที่ดินของโจทก์ทั้งสอง และวางหลักปักหมุดในที่ดินของโจทก์ทั้งสองเกินกว่าจำนวนเนื้อที่ที่ถูกเวนคืนตามที่ระบุในแผนที่และบัญชีรายชื่อเจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินที่ต้องเวนคืนท้าย พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์... พ.ศ.2532 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อโจทก์ได้โต้แย้งคัดค้านแล้ว แต่จำเลยทั้งสี่ยังยืนยันจะเข้าไปสร้างทางในที่ดินของโจทก์ส่วนนี้ จนโจทก์ต้องดำเนินคดีทางศาล ดังนี้ การกระทำของจำเลยทั้งสี่จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
โจทก์ระบุในคำขอท้ายฟ้องขอให้ศาลพิพากษาห้ามมิให้จำเลยทั้งสี่และบริวารเข้าไปเกี่ยวข้องกับที่ดินของโจทก์ทั้งสองตามฟ้องเนื้อที่ 3 ไร่ 1 งาน74 ตารางวา หากจำเลยทั้งสี่ไม่ปฏิบัติหรือไม่สามารถปฏิบัติตามคำขอข้างต้นได้ให้จำเลยทั้งสี่ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองเป็นเงินเท่าราคาที่ดินที่โจทก์ทั้งสองทำสัญญาจะซื้อจะขายกับบุคคลภายนอก โดยโจทก์มิได้เรียกร้องค่าเสียหายอย่างอื่นอีกแต่ข้อเท็จจริงปรากฏตามสำนวนว่าในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งห้ามจำเลยกับพวกมิให้กระทำการใด ๆ ในที่ดินพิพาทจนกว่าคดีจะถึงที่สุด ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งว่า คดีนี้ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาแล้ว และอยู่ในระหว่างนัดฟังคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์จึงไม่มีเหตุที่จะคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ทั้งสองในระหว่างอุทธรณ์ให้ยกคำร้อง ซึ่งมีการอ่านคำสั่งในวันเดียวกันกับที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่วินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทไม่ใช่ที่ดินที่ถูกเวนคืน จำเลยทั้งสี่จึงไม่มีสิทธิที่จะเข้าไปถือครอบครองที่ดินพิพาทได้โดยพลการ แต่ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าหลังจากนั้นฝ่ายจำเลยได้เข้าไปครอบครองหรือดำเนินการก่อสร้างทางในที่ดินพิพาท คงได้ความแต่เพียงว่าฝ่ายจำเลยได้นำรังวัดปักหมุดในเขตที่ดินพิพาทเท่านั้น โจทก์ทั้งสองจึงไม่ได้สูญเสียที่ดินพิพาทตามฟ้องไป ดังนี้ ย่อมฟังไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสองเสียหายเท่าราคาที่ดินที่โจทก์ทั้งสองทำสัญญาจะซื้อจะขายกับบุคคลภายนอกตามฟ้อง จำเลยทั้งสี่จึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6018/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซักค้านพยานในศาลไม่ใช่การหมิ่นประมาท หากไม่ยืนยันข้อเท็จจริงที่เป็นการใส่ความ
จำเลยเป็นทนายความให้ จ. ซึ่งถูกโจทก์ฟ้องขอแบ่งมรดกและขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา ในการไต่สวนคำร้อง จำเลยได้ซักค้านโจทก์ว่า "โจทก์เป็นโจรรุ่นเดียวกับ เสือขาวใช่ไหม" ดังนี้ การที่จำเลยซักค้านโจทก์ดังกล่าว เป็นการถามพยานในเวลาพิจารณาคดีเพื่อการวินิจฉัย ชั่งน้ำหนักคำพยาน ไม่ใช่ข้อความที่ยืนยันว่าโจทก์ เป็นโจร จึงไม่เป็นการใส่ความ การกระทำของจำเลยไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
of 11