พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1816/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิทางศาลโดยการยื่นคำร้องคดีไม่มีข้อพิพาท ต้องมีกฎหมายรองรับสิทธิที่ถูกละเมิด
การที่บุคคลใดจะใช้สิทธิทางศาลโดยเสนอเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ได้จะต้องมีกฎหมายสารบัญญัติสนับสนุนว่าเป็นกรณีจำเป็นต้องร้องขอต่อศาลเพื่อรับรองหรือคุ้มครองสิทธิของตนที่มีอยู่ด้วย ดังนั้นเมื่อไม่มีกฎหมายสารบัญญัติสนับสนุนให้ผู้ร้องมาใช้สิทธิทางศาลได้หากผู้ร้องเห็นว่าผู้ร้องมีสิทธิที่จะว่าความอย่างทนายความได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 60 วรรคหนึ่ง และพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 มาตรา 33 แต่ศาลชั้นต้นที่พิจารณาคดีนั้นไม่อนุญาตให้ผู้ร้องว่าความอย่างทนายความ ก็เป็นเรื่องที่ผู้ร้องจะต้องดำเนินการต่อไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความ ผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตเป็นอีกคดีหนึ่งหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 514/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการเข้าอยู่อาศัยหลังมติคณะกรรมการควบคุมค่าเช่า และการมีหลักฐานการเช่าเป็นหนังสือ
การที่โจทก์ทราบมติของคณะกรรมการควบคุมค่าเช่า ฯ ให้จำเลยเข้าอยู่ได้แล้วกลับขัดขวางไม่ยอมออกไปดังนี้ย่อมเป็นการละเมิดสิทธิของจำเลยในอันที่จะเข้าอยู่ในห้องพิพาท
เมื่อในคำฟ้องซึ่งโจทก์ลงซึ่งมีข้อความปรากฏชัดว่าได้มีการเช่าห้องรายนี้ทั้งระบุจำนวนเงินค่าเช่าระหว่างโจทก์ ผู้เช่า กับจำเลยจริงดังนี้ย่อมถือได้ว่าการเช่ารายนี้มีหลักฐานเป็นหนังสือ ตาม ป.พ.พ. ม.538 แล้ว
บรรยายฟ้องในเรื่องเรียกค่าเสียหายเป็นใจความว่าโจทก์ไม่ยอมออกจากบ้านเช่าของจำเลย จำเลยเข้าไปอยู่ไม่ได้ย่อมเสียหายเช่นนี้ถือได้ว่าฟ้องนั้นแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาแล้ว หาเคลือบคลุมไม่.
เมื่อในคำฟ้องซึ่งโจทก์ลงซึ่งมีข้อความปรากฏชัดว่าได้มีการเช่าห้องรายนี้ทั้งระบุจำนวนเงินค่าเช่าระหว่างโจทก์ ผู้เช่า กับจำเลยจริงดังนี้ย่อมถือได้ว่าการเช่ารายนี้มีหลักฐานเป็นหนังสือ ตาม ป.พ.พ. ม.538 แล้ว
บรรยายฟ้องในเรื่องเรียกค่าเสียหายเป็นใจความว่าโจทก์ไม่ยอมออกจากบ้านเช่าของจำเลย จำเลยเข้าไปอยู่ไม่ได้ย่อมเสียหายเช่นนี้ถือได้ว่าฟ้องนั้นแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาแล้ว หาเคลือบคลุมไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1172/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิสภาพบุคคล-การละเมิดสิทธิ-การบวชเป็นสิทธิ-คณะสงฆ์มีอำนาจพิจารณา
สิทธิแห่งสภาพบุคคลหมายถึงสิทธิดังเช่นที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1 ลักษณะ 2. ซึ่งในส่วนที่ 1 ก็ใช้คำว่า "สภาพบุคคล" เช่นเดียวกัน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าคณะตรวจการภาค 2 และจำเลยที่ 2 เป็นผู้รักษาการแทนสังฆนายก โจทก์ถูกจำเลยที่ 1 บังคับให้สึกจากพระภิกษุ และเมื่อสึกแล้วจำเลยที่ 2 ได้สั่งห้ามมิให้โจทก์อุปสมบท การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการละเมิดสิทธิโจทก์ ดังนี้ ไม่ใช่เป็นคดีเกี่ยวด้วยสิทธิตามสภาพบุคคล โจทก์ฎีกาในข้อเท็จจริงไม่ได้
สำหรับจำเลยที่ 1 แม้จะบอกให้โจทก์สึก แต่โจทก์ก็ยอมสึกเอง จะว่าจำเลยที่ 1 ลงทัณฑกรรมแก่โจทก์ไม่ได้ ส่วนจำเลยที่ 2 ที่ห้ามไม่ให้อุปัชฌาย์อุปสมบทให้โจทก์นั้น ไม่มีกฎหมายบังคับว่า ถ้าโจทก์จะบวชคณะสงฆ์จะต้องยอมให้บวช หรืออุปัชฌาย์จะต้องบวชให้ ฉะนั้นจึงเป็นสิทธิของคณะสงฆ์และผู้เป็นอุปัชฌาย์ที่จะยอมรับให้บวชหรือจะบวชให้หรือไม่ การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงไม่เป็นละเมิดตามมาตรา 420 และทั้งไม่เข้าตามมาตรา 421,422ด้วย
อนึ่งจะว่าคำสั่งจำเลยที่ 2 เป็นการเพิ่มทัณฑกรรมอันขัดต่อพ.ร.บ.คณะสงฆ์ 2484 มาตรา 23 และประมวลระเบียบวิธีพิจารณาวินิจฉัยอธิกรณ์มาตรา 107 ก็ไม่ได้เพราะประการแรกคำแนะนำของจำเลยที่ 1 ไม่ใช่เป็นการลงทัณฑกรรมดังกล่าว คำสั่งของจำเลยที่ 2 ก็เป็นการเพิ่มทัณฑกรรมไม่ได้ ประการที่ 2 มาตรา 23 และมาตรา 107 ดังกล่าวเป็นบทบัญญัติสำหรับสงฆ์ เมื่อโจทก์ได้สึกจากสมณะเพศแล้วคำสั่งของจำเลยที่ 2 จึงไม่ใช่เป็นการลงทัณฑ์กรรมตามกฎหมายนั้น
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าคณะตรวจการภาค 2 และจำเลยที่ 2 เป็นผู้รักษาการแทนสังฆนายก โจทก์ถูกจำเลยที่ 1 บังคับให้สึกจากพระภิกษุ และเมื่อสึกแล้วจำเลยที่ 2 ได้สั่งห้ามมิให้โจทก์อุปสมบท การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการละเมิดสิทธิโจทก์ ดังนี้ ไม่ใช่เป็นคดีเกี่ยวด้วยสิทธิตามสภาพบุคคล โจทก์ฎีกาในข้อเท็จจริงไม่ได้
สำหรับจำเลยที่ 1 แม้จะบอกให้โจทก์สึก แต่โจทก์ก็ยอมสึกเอง จะว่าจำเลยที่ 1 ลงทัณฑกรรมแก่โจทก์ไม่ได้ ส่วนจำเลยที่ 2 ที่ห้ามไม่ให้อุปัชฌาย์อุปสมบทให้โจทก์นั้น ไม่มีกฎหมายบังคับว่า ถ้าโจทก์จะบวชคณะสงฆ์จะต้องยอมให้บวช หรืออุปัชฌาย์จะต้องบวชให้ ฉะนั้นจึงเป็นสิทธิของคณะสงฆ์และผู้เป็นอุปัชฌาย์ที่จะยอมรับให้บวชหรือจะบวชให้หรือไม่ การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงไม่เป็นละเมิดตามมาตรา 420 และทั้งไม่เข้าตามมาตรา 421,422ด้วย
อนึ่งจะว่าคำสั่งจำเลยที่ 2 เป็นการเพิ่มทัณฑกรรมอันขัดต่อพ.ร.บ.คณะสงฆ์ 2484 มาตรา 23 และประมวลระเบียบวิธีพิจารณาวินิจฉัยอธิกรณ์มาตรา 107 ก็ไม่ได้เพราะประการแรกคำแนะนำของจำเลยที่ 1 ไม่ใช่เป็นการลงทัณฑกรรมดังกล่าว คำสั่งของจำเลยที่ 2 ก็เป็นการเพิ่มทัณฑกรรมไม่ได้ ประการที่ 2 มาตรา 23 และมาตรา 107 ดังกล่าวเป็นบทบัญญัติสำหรับสงฆ์ เมื่อโจทก์ได้สึกจากสมณะเพศแล้วคำสั่งของจำเลยที่ 2 จึงไม่ใช่เป็นการลงทัณฑ์กรรมตามกฎหมายนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 921/2472
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิร่วมในทรัพย์สิน (กำแพง) การใช้ประโยชน์และการละเมิดสิทธิ
เจ้าของร่วมคนหนึ่งไม่มีสิทธิจะใช้ทรัพย์นั้นให้เปนที่เสื่อมเสียแก่เจ้าของร่วมอีกคนหนึ่ง กำแพงกั้นที่ดินซึ่งเจ้าของที่ดินทั้ง 2 ฝ่ายมีสิทธิอยู่ด้วยกัน ถ้าฝ่ายหนึ่งทำชายคายื่นออกไปคร่อมกำแพงนั้นเสียทั้งหมด เรียกว่าเปนการละเมิดสิทธิของอีกฝ่ายหนึ่ง ป.พ.พ.ม.1344-1360