คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
การวินิจฉัย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 88 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3285/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยแล้ว ศาลฎีกาไม่อนุญาตให้ดำเนินการได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ
เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยโดยฟังข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐานของโจทก์ว่า อ. เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อผูกพันแทนโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องและรับฟังว่าสำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครรับจดทะเบียนจำนองที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ไว้โดยมีการมอบอำนาจไม่ขาดสาย อุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 จึงเป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าเป็นปัญหาข้อกฎหมาย และอนุญาตให้จำเลยที่ 1 อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 467/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยประเด็นกรรมสิทธิ์ที่ดินนอกเหนือจากประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนด และการใช้ข้อเท็จจริงจากคดีอาญา
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 2 บุกรุกที่ดินมีโฉนดของโจทก์ จำเลยที่ 2 ให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินมีโฉนดของจำเลยที่ 2 ประเด็นข้อพิพาทจึงมีว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ ไม่มีประเด็นว่าจำเลยที่ 2 ครอบครองที่ดินของโจทก์จนได้กรรมสิทธิ์หรือไม่ การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 ครอบครองที่ดินพิพาทส่วนนี้จนได้กรรมสิทธิ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น และประเด็นว่าที่ดินพิพาทส่วนนี้เป็นของโจทก์หรือไม่ ภาระการพิสูจน์ตกแก่โจทก์ เมื่อโจทก์ไม่สืบพยานข้อเท็จจริงจึงรับฟังไม่ได้ว่าที่ดินพิพาทส่วนนี้เป็นของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7373/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพาทกรรมการบริษัท: ศาลฎีกายกประเด็นข้อพิพาทที่ไม่ถูกต้องและวินิจฉัยตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยโดยกลฉ้อฉลแสดงหลักฐานอันเป็นเท็จต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดอุดรธานีว่า บริษัท อ. ได้ประชุมคณะกรรมการบริษัทและประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2537 ที่ประชุมมีมติให้เปลี่ยนแปลงกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนเป็นจำเลยเพียงผู้เดียว นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดอุดรธานีจึงจดทะเบียนให้โจทก์ออกจากการเป็นกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนบริษัท อ. และให้จำเลยเพียงผู้เดียวเป็นผู้มีอำนาจทำการแทนตามคำขอของจำเลย ขอให้บังคับจำเลยไปดำเนินการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงให้โจทก์เป็นผู้มีอำนาจทำการแทนบริษัท อ. ดังเดิม จำเลยและจำเลยร่วมให้การว่าจำเลยไม่เคยทำกลฉ้อฉลหรือหลักฐานเท็จ โจทก์พ้นจากการเป็นกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนบริษัท อ. ตามมติที่ประชุม คดีจึงมีประเด็นโต้เถียงกันว่า บริษัท อ. ได้ประชุมคณะกรรมการบริษัทและประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2537 หรือไม่ ที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า การประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัท อ. ครั้งที่ 1/2537 ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นการกำหนดประเด็นพิพาทที่ไม่ถูกต้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) และมาตรา 183 เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิฉัยแล้วพิพากษาคดีไปตามประเด็นที่ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 247 โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4185/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดประเด็นข้อพิพาทที่ไม่ถูกต้อง ศาลมีอำนาจกำหนดประเด็นใหม่ได้ การครอบครองปรปักษ์ต้องวินิจฉัยก่อน
คู่ความแถลงรับกันว่า ที่ดินที่จำเลยปลูกบ้านอยู่บางส่วนอยู่ในที่ดินพิพาท ซึ่งจำเลยได้ครอบครองมาโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเกินกว่า 10 ปี ก่อนที่โจทก์จะซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล ศาลชั้นต้นจึงกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้เพียงข้อเดียวว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโดยสุจริตหรือไม่ เท่ากับศาลชั้นต้นเห็นว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทด้วยการครอบครอง ปรปักษ์แล้ว ซึ่งเป็นการไม่ถูกต้อง เพราะแม้ข้อเท็จจริงจะรับฟังได้ตามที่คู่ความแถลงรับกันดังกล่าวก็มิใช่ว่าจำเลยจะได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์เสมอไป ศาลชั้นต้นต้องวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวเสียก่อนที่จะไปสู่ประเด็นว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทโดยสุจริตหรือไม่
การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไม่ถูกต้อง แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดโต้แย้งคัดค้าน ศาลอุทธรณ์ภาค 1 และศาลฎีกาก็ไม่จำต้องถือตาม ทั้งมีอำนาจกำหนดประเด็นใหม่ให้ถูกต้องและวินิจฉัยไปตามนั้นได้ และเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยแล้วว่าจำเลยไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ จำเลยมิได้ฎีกาโต้เถียงคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ว่า จำเลยไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทโดยสุจริตหรือไม่อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 812/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงและการกำหนดประเด็นข้อพิพาท ศาลต้องพิจารณาตามประเด็นที่กำหนดและจำกัดขอบเขตการวินิจฉัย
เมื่อคดีโจทก์ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง โจทก์ย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองว่า โจทก์มีเหตุอันควรอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้ การที่ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า คดีนี้ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงจึงไม่จำต้องมีการรับรองให้อุทธรณ์ จึงเป็นการสั่งคดีโดยผิดหลง และเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ถือไม่ได้ว่าผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นได้รับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ได้ แต่การที่จะสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบหรือไม่นั้นเป็นดุลพินิจของศาลที่สั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้ยื่นฎีกาในข้อเท็จจริงประเด็นเดียวกับที่อุทธรณ์ และได้ยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์รับรอง แต่ไม่มีผู้ใดรับรองให้ กรณีจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะสั่งเพิกถอนคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าว
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้แต่เพียงว่า จำเลยมีสิทธิอยู่ในบ้านพิพาทหรือไม่ เมื่อโจทก์มิได้โต้แย้งการกำหนดประเด็นข้อพิพาทของศาลชั้นต้นจึงต้องถือว่าประเด็นข้อพิพาทมีอยู่ตามที่ได้กำหนดไว้ดังกล่าว และจำเลยย่อมนำสืบให้ปรากฏได้ว่าจำเลยมีสิทธิอยู่ในบ้านพิพาทโดยอาศัยสิทธิของผู้อื่นที่มิใช่โจทก์ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์และสามีจำเลยต่างครอบครองและถือสิทธิในบ้านพิพาทเป็นส่วนสัดแยกจากกัน โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยนั้น จึงเป็นการวินิจฉัยตามประเด็นแห่งคดีแล้ว ไม่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7752/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม เหตุโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยแล้ว
ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายจำคุก 5 ปี ฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน จำคุก 5 ปี รวมจำคุก10 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสาม คงจำคุก 6 ปี 8 เดือน จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกกระทงละไม่เกิน 5 ปี เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คู่ความจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง โดยแยกพิจารณาโทษแต่ละกระทงเป็นเกณฑ์ ที่จำเลยฎีกาว่า การตรวจค้นบ้านจำเลยไม่มีหมายค้นเพราะไม่ใช่การกระทำความผิดซึ่งหน้าเนื่องจากเจ้าพนักงานตำรวจเข้าไปเคาะประตูบ้านจำเลย แล้วภริยาจำเลยออกไปเปิดประตูในขณะนั้นจำเลยยังนอนอยู่ยังไม่ตื่นไม่มีการล่อซื้อ เจ้าพนักงานตำรวจเข้าค้นโดยพลการ กระทำผิดกฎหมายในการตรวจค้นนั้นเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ฟังมา เพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยยกขึ้นอ้าง จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงอันต้องห้ามฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5626/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องขับไล่หลังบอกเลิกสัญญาเช่า ต้องรอการวินิจฉัยของ คชก. ก่อน
พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524มาตรา 37 วรรคสอง กำหนดให้ คชก. ตำบลมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยการบอกเลิกการเช่านาตามสำเนาหนังสือบอกเลิกการเช่านาที่ผู้ให้เช่าส่งมาด้วย โดยต้องพิจารณาวินิจฉัยทุกกรณีไม่มีข้อยกเว้นแม้ผู้เช่าจะไม่คัดค้านหรือไม่มีคำร้องขอให้วินิจฉัย ก็ต้องพิจารณาวินิจฉัยว่าสมควรให้การเช่านาสิ้นสุดลง หรืออยู่ในบังคับแห่งเงื่อนไขใดตามมาตรา 37(1) ถึง (4) หรือไม่ เมื่อ คชก. ตำบลวินิจฉัยแล้วผู้เช่านา ผู้เช่าช่วงนา หรือผู้ให้เช่านา หรือผู้มีส่วนได้เสียในการเช่านาอาจอุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก. ตำบลต่อ คชก. จังหวัดได้ตามมาตรา 56 วรรคหนึ่ง และถ้าไม่พอใจคำวินิจฉัยของ คชก. จังหวัดก็มีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลได้ตามมาตรา 57 วรรคหนึ่ง ซึ่งในกรณีของโจทก์เมื่อ คชก. ตำบลยังมิได้พิจารณาวินิจฉัยหนังสือบอกเลิกการเช่านาตามมาตรา 37 วรรคสอง โจทก์ยังไม่มีสิทธิอุทธรณ์โดยเสนอคดีต่อศาลได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3680/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับจำนอง: การชำระหนี้บางส่วนไม่ถือเป็นการยกเลิกการบอกกล่าวบังคับจำนอง และศาลอุทธรณ์มีอำนาจวินิจฉัยประเด็นที่ศาลชั้นต้นละเลย
จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 5 ให้การรวมกันมา แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับเป็นคำให้การเฉพาะจำเลยที่ 1 และที่ 2 คำให้การฉบับดังกล่าวได้บรรยายข้อต่อสู้ไว้หลายข้อด้วยกัน โดยมีข้อต่อสู้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 5 ได้ร่วมกันชำระหนี้บางส่วนให้แก่โจทก์ โจทก์จึงปลดจำนองที่ดิน 7 แปลง ให้แก่จำเลยที่ 5 ผู้จำนอง รวมอยู่ด้วย ซึ่งเมื่อรวมกับข้อต่อสู้ข้ออื่น ๆ แล้ว จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 5 ได้มีคำขอท้ายคำให้การขอให้ยกฟ้องโจทก์ ดังนี้ แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งไม่รับคำให้การฉบับนี้เป็นคำให้การของจำเลยที่ 5 ด้วย แต่ข้อต่อสู้ต่าง ๆ มีปรากฏในคำให้การก็ไม่อาจแบ่งแยกได้ว่า ข้อต่อสู้ส่วนใดเป็นคำให้การของจำเลยคนใดโดยเฉพาะเจาะจงแยกจากจำเลยคนอื่น และแม้ในชั้นพิจารณาจำเลยทั้งห้าจะมิได้สืบพยาน แต่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 ก็ได้ถามค้านพยานโจทก์เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวไว้จึงต้องถือว่าเป็นประเด็นที่ได้ว่ากันมาแล้วแต่ศาลชั้นต้น ชอบที่ศาลอุทธรณ์ต้องรับวินิจฉัยให้
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 728 บัญญัติหลักเกณฑ์ในการที่ผู้รับจำนองจะบังคับจำนองได้ ผู้รับจำนองจะต้องมีจดหมายบอกกล่าวไปยังลูกหนี้ก่อนว่าให้ชำระหนี้ภายในเวลาอันสมควรซึ่งกำหนดให้ในคำบอกกล่าวนั้น ฉะนั้น เมื่อโจทก์ได้มีหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้และแสดงความจำนงจะบังคับจำนองไปยังจำเลยทั้งห้า โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องจำเลยทั้งห้าให้ร่วมกันชำระหนี้และบังคับจำนองได้แล้ว การที่จำเลยที่ 1 มิได้ชำระหนี้ทั้งหมดให้แก่โจทก์ โดยชำระหนี้ให้บางส่วน โจทก์ก็ให้โอกาสแก่จำเลย มิได้ฟ้องคดีเสียทันที เมื่อพ้นกำหนดเวลาให้ชำระหนี้ตามที่ระบุไว้ในหนังสือดังกล่าวย่อมเป็นคุณแก่จำเลยทั้งห้าอยู่แล้ว และจะกลับนำมาเป็นข้ออ้างว่าการกระทำของโจทก์เป็นการยกเลิกการบอกกล่าวบังคับจำนองไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3946/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ข้ามลำดับศาล: ศาลฎีกาไม่อาจวินิจฉัยได้หากอุทธรณ์ไม่ผ่านศาลอุทธรณ์
++ เรื่อง บุกรุก
++ โปรดดูย่อจากหนังสือคำพิพากษาศาลฎีกา สำนักงานศาลยุติธรรม
++ เล่มที่ 8 หน้า 157 ++
++ ขอดูชุดพิเศษโปรดติดต่อห้องบริการเอกสารสำเนาคำพิพากษา (ห้องสมุด) ชั้น 4, 5 ++

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2132/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยข้อพิพาทแรงงานเกี่ยวกับเงินกองทุนเลี้ยงชีพและโบนัส จำเป็นต้องพิจารณาประเด็นตามที่จำเลยให้การไว้
โจทก์ฟ้องเรียกเงินกองทุนเลี้ยงชีพในส่วนของจำเลยที่สะสมไว้ให้แก่โจทก์ จำเลยให้การต่อสู้ว่าเงินกองทุนเลี้ยงชีพที่โจทก์ฟ้อง จำเลยได้จ่ายให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยได้จ่ายเงินกองทุนเลี้ยงชีพในส่วนของจำเลยให้แก่โจทก์แล้วหรือไม่การที่ศาลแรงงานวินิจฉัยว่าการกระทำผิดของโจทก์เป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีสิทธิรับเงินสมทบกองทุนเลี้ยงชีพในส่วนของจำเลย อันเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นตามคำให้การของจำเลย ย่อมเป็นการมิชอบ ศาลฎีกาให้ยกคำพิพากษาศาลแรงงาน และให้ศาลแรงงานวินิจฉัยข้อเท็จจริงตามประเด็นดังกล่าว ข้างต้นใหม่ โจทก์ฟ้องเรียกเงินโบนัสจากจำเลยในปี 2540ส่วนที่ขาดอีกครึ่งหนึ่งของเงินโบนัสคิดเท่าเงินเดือนของโจทก์จำนวน 2.65 เดือน เป็นเงิน 40,582 บาทพร้อมดอกเบี้ย จำเลยให้การว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยการ ปลดออกจากงานฐานทุจริตต่อหน้าที่ซึ่งเป็นการเลิกจ้าง ที่เป็นธรรมแล้วโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเงินโบนัสจากจำเลย คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทต้องวินิจฉัยว่า โจทก์ไม่มีสิทธิ ได้รับเงินโบนัสเนื่องจากโจทก์ถูกปลดออกจากงานฐานทุจริต ต่อ หน้าที่หรือไม่ การที่ศาลแรงงานวินิจฉัยว่า โจทก์ ถูกเลิกจ้างเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2540 จึงทำงานไม่ครบปีหรือตามเกณฑ์ที่จำเลยกำหนดโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงิน โบนัสครึ่งปีหลังของปี 2540 จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ตามคำให้การ เป็นการมิชอบ ศาลแรงงานจำต้องวินิจฉัย ข้อเท็จจริงตามประเด็นดังกล่าวข้างต้นใหม่เช่นเดียวกัน ตามมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่สมบูรณ์ การอ้างและการยื่นบัญชีระบุพยานของคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งให้กระทำได้ภายในระยะเวลาที่ศาลแรงงานกำหนดตามที่เห็นสมควร แม้คดีนี้จำเลยสืบพยานบุคคลปาก อ.โดยยื่นบัญชีระบุพยาน ศาลแรงงานได้บันทึกคำให้การของ อ.ที่เบิกความถึงเอกสารหมาย ล.7 ซึ่งศาลแรงงานได้รับเอกสารดังกล่าวที่จำเลยอ้างส่งศาลและหมายเอกสารดังกล่าวไว้แล้วระบุเอกสารให้แยกเก็บ โดยจำเลยนำสืบพยานเอกสารดังกล่าว โดยไม่ส่งสำเนาให้โจทก์ก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวันก็ตาม แต่การที่ศาลแรงงานรับเอกสารดังกล่าวไว้หมาย ล.7 และได้วินิจฉัยถึงเอกสารดังกล่าวในคำพิพากษา แสดงว่า ศาลแรงงานเห็นว่า เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมในอันที่ จะให้ได้ความแจ้งชัดในข้อเท็จจริงแห่งคดีจึงรับฟังเอกสารหมาย ล.7 โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 45 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นบทบัญญัติให้ใช้ในการพิจารณาคดีแรงงานโดยเฉพาะการที่ศาลแรงงานรับฟังข้อเท็จจริงตามเอกสารหมาย ล.7 จึงไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90 วรรคหนึ่ง จำเลยให้การว่า โจทก์มีหน้าที่ในการประเมินราคาทรัพย์สิน ของลูกค้าจำเลย โจทก์ได้เรียกและรับเงินจากลูกค้าโดย ไม่มีสิทธิ การกระทำของโจทก์เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ โดยอาศัยอำนาจหน้าที่ที่โจทก์มีอยู่หาประโยชน์แก่ตนเอง หรือผู้อื่น อันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับหรือคำสั่ง ของจำเลยอย่างร้ายแรง จำเลยมีอำนาจเลิกจ้างโจทก์ได้ จะเห็นได้ว่า จำเลยได้ให้การปฏิเสธคำฟ้องของโจทก์ โดยกล่าวอ้างสาเหตุว่าโจทก์กระทำการเรียกและรับเงิน จากลูกค้าโดยไม่ชอบ อันเป็นการกระทำที่ทุจริตต่อหน้าที่เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของจำเลยอย่างร้ายแรงถือได้ว่าเป็นการให้การปฏิเสธคำฟ้องของโจทก์โดยชัดแจ้งว่า จำเลยมีเหตุที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้ มิใช่เป็นการเลิกจ้าง ที่ไม่เป็นธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ ทั้งได้อ้างสาเหตุ แห่งการเลิกจ้างครบถ้วนแล้ว ส่วนการที่โจทก์เรียกเงิน จากลูกค้ารายใด โจทก์รับเงินอย่างใด จำนวนกี่ราย เป็นรายละเอียดที่จำเลยมีสิทธินำสืบพยานได้ในชั้นพิจารณา คำให้การดังกล่าวของจำเลยจึงเป็นคำให้การที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย
of 9