คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
การวินิจฉัยคดี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2752/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบพยานหลักฐาน – หนังสือมอบอำนาจ – ประเด็นข้อพิพาท – การวินิจฉัยคดี
การที่โจทก์นำสืบถึงหนังสือมอบอำนาจเป็นการนำสืบพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริงในประเด็นที่พิพาท เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์เป็นประเด็นไว้แล้ว แม้จะไม่ให้การปฏิเสธหนังสือมอบอำนาจซึ่งโจทก์ได้กล่าวอ้างไว้ในคำฟ้อง ก็จะถือว่าจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงในเอกสารดังกล่าวหาได้ไม่ จำเลยย่อมนำสืบหักล้างเอกสารดังกล่าวได้ เพราะเป็นการนำสืบโต้เถียงในประเด็นเดียวกัน หาใช่เป็นการนำสืบนอกเหนือคำให้การไม่ และกรณีก็มิใช่เรื่องการคัดค้านการนำเอกสารมาสืบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 125
เมื่อโจทก์แพ้คดีในประเด็นข้อสำคัญแล้ว ประเด็นอื่นที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คดีโจทก์ก็ไม่จำต้องได้รับการวินิจฉัยจากศาลอีก ศาลจึงไม่จำต้องวินิจฉัยคดีทุกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1122/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละทิ้งหน้าที่และการวินิจฉัยคดีแรงงาน: การรับเฉพาะการขาดงานไม่ใช่การยอมรับการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุสมควร
คดีมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า โจทก์ละทิ้งหน้าที่สามวันติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรหรือไม่ เมื่อศาลสอบโจทก์ โจทก์เพียงแต่แถลงรับว่าโจทก์ขาดงานเป็นเวลาสามวันติดต่อกันโดยมิได้แจ้งหรือยื่นใบลาต่อจำเลย ไม่ได้แถลงรับว่าการที่โจทก์ขาดงานนั้นเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควร คดีจึงยังมีปัญหาต้องวินิจฉัยอีกว่า การที่โจทก์ขาดงานนั้นเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควรหรือไม่ คำแถลงรับของโจทก์ดังกล่าวยังไม่เพียงพอแก่การวินิจฉัยคดีได้ ที่ศาลแรงงานกลางสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยแล้ววินิจฉัยว่า โจทก์ละทิ้งหน้าที่สามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร จึงเป็นกรณีที่ศาลแรงงานกลางปฏิบัติไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 31 ศาลฎีกาเห็นควรย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาคดีใหม่ให้ถูกต้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1270/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำข้อเท็จจริงนอกสำนวนมาวินิจฉัยคดี: ศาลอุทธรณ์มีอำนาจแก้ไขข้อเท็จจริงที่ไม่ถูกต้องแม้ทุนทรัพย์น้อย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 และที่ 3จำเลยที่ 2 ที่ 3 ปฏิเสธว่ามิได้เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 แต่ก่อนสืบพยานโจทก์ จำเลยที่ 2 รับว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างและกระทำละเมิดต่อโจทก์ในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ดังนี้ โจทก์ต้องนำสืบต่อไปว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างและกระทำการในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 3 ดังที่ฟ้อง เมื่อโจทก์มิได้นำสืบเช่นนั้น การที่ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างและกระทำการในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 3 ด้วย จึงเป็นการนำข้อเท็จจริงนอกสำนวนมาวินิจฉัยให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดซึ่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นปัญหาข้อกฎหมาย มิใช่เป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจรับฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานในสำนวน แม้ทุนทรัพย์คดีไม่เกิน 20,000 บาท ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจวินิจฉัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1207/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยคดีต้องอาศัยพยานหลักฐานจากการนำสืบของคู่ความ การงดสืบพยานก่อนพิพากษาเป็นวิธีปฏิบัติที่ไม่ชอบ
คดีมีประเด็นข้อพิพาทตามคำฟ้องคำให้การว่า จำเลยซื้อที่พิพาทจากโจทก์ หรือโจทก์มอบที่พิพาทให้จำเลยทำกินต่างดอกเบี้ย ในการวินิจฉัยคดีนั้น ศาลจะเชื่อประการใดก็โดยอาศัยข้อเท็จจริงจากการนำสืบของคู่ความซึ่งเสร็จสิ้นแล้ว ลำพังแต่คำเบิกความของโจทก์ผู้เดียวซึ่งเบิกความตอบทนายโจทก์และตอบทนายจำเลยไม่ตรงกัน จะฟังเป็นความจริงเป็นดังที่ตอบทนายโจทก์หรือทนายจำเลยประการหนึ่งประการใดย่อมไม่ได้ ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลย โดยฟังคำเบิกความของโจทก์คนเดียวซึ่งเบิกความตอบทนายโจทก์และตอบทนายจำเลยไม่ตรงกัน แล้ววินิจฉัยว่าโจทก์หมดสิทธิฟ้องจำเลย และพิพากษายกฟ้องโจทก์เสียนั้น จึงเป็นการมิชอบด้วยวิธีพิจารณาความศาลสูงย่อมย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินการสืบพยานของคู่ความต่อไปจนสิ้นกระแสความแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1438/2497

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการวินิจฉัยคดีอาญา: การพิจารณาความประมาทและเหตุแห่งการชน
โจทก์ฟ้องกล่าวว่า จำเลยได้ขับรถยนต์ซึ่งห้ามล้อมือเสียใช้การไม่ได้ไปตามถนนหลวงด้วยความประมาทปราศจากความระมัดระวังโดยหลีกรถในที่คับขัน เป็นเหตุให้รถที่จำเลยขับชนคนด้วย ดังนี้ศาลวินิจฉัยว่า จำเลยได้หลีกรถในที่คับขันเป็นเหตุให้ชนคนตายโดยประมาท จึงหาเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องไม่