พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1889/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดของสิทธิฟ้องเพิกถอนการสมรสเมื่อการสมรสสิ้นสุดลงแล้วก่อนฟ้อง
โจทก์กับ ป. เป็นสามีภริยากัน ต่อมา ป. จดทะเบียนสมรสกับจำเลยอีก เมื่อการสมรสระหว่างโจทก์กับ ป. ได้สิ้นสุดลงเพราะความตายของ ป. ก่อนโจทก์ฟ้อง ฟ้องมิได้แสดงให้เห็นว่ากระทบกระเทือนต่อสิทธิอันใดของโจทก์อีก ที่จะต้องขอให้ศาลเพิกถอนการสมรสซึ่งสิ้นสุดไปก่อนแล้ว ไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิในคำฟ้อง เมื่อคำฟ้องไม่ปรากฏว่ามีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอเพิกถอนการสมรสระหว่าง ป. กับจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2541/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสซ้อนและอำนาจฟ้อง: เมื่อการสมรสสิ้นสุดลงก่อนฟ้อง สิทธิของคู่สมรสเดิมย่อมไม่ได้รับผลกระทบ
เดิม จ. จดทะเบียนสมรสกับโจทก์ก่อนโจทก์บวชเป็นพระภิกษุและยังไม่ได้หย่าขาดจากกัน ต่อมา จ. ได้จดทะเบียนสมรสกับจำเลยอีก หลังจากนั้น จ. ได้ถึงแก่กรรมด้วยอุบัติเหตุรถยนต์ชน โจทก์จึงมาฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสระหว่างจำเลยกับ จ. เป็นโมฆะ ดังนี้ เมื่อ จ. ได้ถึงแก่กรรมไปแล้วก่อนโจทก์ฟ้อง การสมรสระหว่างจำเลยกับ จ. ได้ขาดจากกันเพราะเหตุ จ. ถึงแก่ความตายตามมาตรา 1497 แล้ว เมื่อการสมรสซ้อนของจำเลยกับ จ.ขาดจากกันแล้วขณะโจทก์ฟ้องคดีนี้ การสมรสซ้อนนั้นจึงไม่มีผลกระทบกระเทือนหรือโต้แย้งสิทธิของโจทก์ในฐานะคู่สมรสเดิมแต่อย่างใด และตามคำฟ้องโจทก์มิได้กล่าวแสดงว่าจำเลยได้กระทำการสิ่งใดอันเป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์เช่นสิทธิในครอบครัวสิทธิในมรดกของผู้ตายหรือสิทธิอื่นใด ซึ่งจะเป็นเหตุให้โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 จึงถือว่าตามคำฟ้องไม่มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
หมายเหตุ วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 20/2521
หมายเหตุ วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 20/2521
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4977/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดการสมรสด้วยการตายของคู่สมรส, ความรับผิดทางแพ่งของคู่สมรสอีกฝ่ายและบุคคลที่สามจากการเป็นชู้
จำเลยที่ 1 ฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญการพิเศษโดยยกฟ้องโจทก์ คดีมีประเด็นตามฎีกาของจำเลยที่ 1 ที่คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษว่าจำเลยที่ 1 อุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องจำเลยที่ 2 ฉันภริยา อันเป็นเหตุฟ้องหย่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 (1) หรือไม่ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษที่ให้โจทก์และจำเลยที่ 1 หย่ากันเพราะเหตุตามมาตรา 1516 (1) จึงยังไม่ถึงที่สุด เมื่อจำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตายมีผลให้การสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้สิ้นสุดลงด้วยความตาย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1501 แล้วก่อนการหย่าโดยคำพิพากษาคดีนี้จะมีผลแต่เวลาที่คำพิพากษาถึงที่สุดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1531 วรรคสอง คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองที่ให้โจทก์และจำเลยที่ 1 หย่าขาดจากกันย่อมเป็นอันสิ้นผลไป การพิจารณาฎีกาของจำเลยที่ 1 และฎีกาของโจทก์ในเหตุหย่าและการแบ่งสินสมรสเมื่อหย่าจึงไม่เป็นประโยชน์แก่คดีที่ศาลฎีกาจะพิจารณาต่อไป ให้จำหน่ายคดีตามฎีกาของโจทก์และจำเลยที่ 1 ออกจากสารระบบความของศาลฎีกา ทั้งเป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันตามกฎหมายว่าด้วยมรดก
ส่วนความรับผิดของจำเลยทั้งสองตามคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองที่จะต้องร่วมกันชำระค่าทดแทนแก่โจทก์นั้น เมื่อคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองที่ให้โจทก์และจำเลยที่ 1 หย่ากันเพราะเหตุตามมาตรา 1516 (1) สิ้นผลไปแล้วเช่นนี้ สิทธิของโจทก์ที่จะได้รับค่าทดแทนจากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสามี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1523 วรรคหนึ่ง ย่อมเป็นอันสิ้นผลไปด้วย สำหรับความรับผิดในค่าทดแทนของจำเลยที่ 2 นั้น ตามคำฟ้องของโจทก์บรรยายว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง โดยจำเลยที่ 1 เป็นชู้ และมีชู้ และร่วมประเวณี กับอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกน้องที่ทำงานที่โรงพยาบาลในฐานะภริยา และให้เป็นกรรมการในบริษัทที่โจทก์และจำเลยที่ 1 จัดตั้งขึ้น รวมทั้งยกย่องจำเลยที่ 2 ออกสังคมอย่างเปิดเผย โดยจำเลยที่ 2 ทราบว่าจำเลยที่ 1 กับโจทก์เป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่ยังเป็นชู้มีความสัมพันธ์กับจำเลยที่ 1 โดยตั้งใจทำผิดต่อกฎหมายและศีลธรรมกับโจทก์ด้วย จำเลยที่ 1 นำจำเลยที่ 2 เข้ามาพักอาศัยหลับนอนกันที่อาคารโรงพยาบาล เมื่อศาลฟังว่าจำเลยที่ 1 ไปสู่ขอจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 1 อยู่กินหลับนอนฉันสามีภริยากับจำเลยที่ 2 แสดงออกต่อบุคคลทั่วไปว่าจำเลยที่ 2 เป็นภริยาจำเลยที่ 1 เท่ากับจำเลยที่ 2 แสดงตนโดยเปิดเผยเพื่อแสดงว่าตนมีความสัมพันธ์กับจำเลยที่ 1 ในทำนองชู้สาวแล้วด้วย โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าทดแทนจากจำเลยที่ 2 ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1523 วรรคสอง แม้การสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จะสิ้นสุดลงด้วยความตายของจำเลยที่ 1 ก็ตาม ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิจารณาถึงความรับผิดในค่าทดแทนของจำเลยที่ 2 ได้ และแม้โจทก์กับจำเลยที่ 1 จะมิได้อาศัยอยู่ร่วมกัน แต่เมื่อพิเคราะห์พฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 มีส่วนถึงขนาดที่ทำให้โจทก์ฟ้องหย่าขาดจากจำเลยที่ 1 จึงสมควรกำหนดค่าทดแทนให้โจทก์มีสิทธิได้รับจากจำเลยที่ 2 เป็นเงิน 500,000 บาท
ส่วนความรับผิดของจำเลยทั้งสองตามคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองที่จะต้องร่วมกันชำระค่าทดแทนแก่โจทก์นั้น เมื่อคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองที่ให้โจทก์และจำเลยที่ 1 หย่ากันเพราะเหตุตามมาตรา 1516 (1) สิ้นผลไปแล้วเช่นนี้ สิทธิของโจทก์ที่จะได้รับค่าทดแทนจากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสามี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1523 วรรคหนึ่ง ย่อมเป็นอันสิ้นผลไปด้วย สำหรับความรับผิดในค่าทดแทนของจำเลยที่ 2 นั้น ตามคำฟ้องของโจทก์บรรยายว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง โดยจำเลยที่ 1 เป็นชู้ และมีชู้ และร่วมประเวณี กับอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกน้องที่ทำงานที่โรงพยาบาลในฐานะภริยา และให้เป็นกรรมการในบริษัทที่โจทก์และจำเลยที่ 1 จัดตั้งขึ้น รวมทั้งยกย่องจำเลยที่ 2 ออกสังคมอย่างเปิดเผย โดยจำเลยที่ 2 ทราบว่าจำเลยที่ 1 กับโจทก์เป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่ยังเป็นชู้มีความสัมพันธ์กับจำเลยที่ 1 โดยตั้งใจทำผิดต่อกฎหมายและศีลธรรมกับโจทก์ด้วย จำเลยที่ 1 นำจำเลยที่ 2 เข้ามาพักอาศัยหลับนอนกันที่อาคารโรงพยาบาล เมื่อศาลฟังว่าจำเลยที่ 1 ไปสู่ขอจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 1 อยู่กินหลับนอนฉันสามีภริยากับจำเลยที่ 2 แสดงออกต่อบุคคลทั่วไปว่าจำเลยที่ 2 เป็นภริยาจำเลยที่ 1 เท่ากับจำเลยที่ 2 แสดงตนโดยเปิดเผยเพื่อแสดงว่าตนมีความสัมพันธ์กับจำเลยที่ 1 ในทำนองชู้สาวแล้วด้วย โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าทดแทนจากจำเลยที่ 2 ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1523 วรรคสอง แม้การสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จะสิ้นสุดลงด้วยความตายของจำเลยที่ 1 ก็ตาม ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิจารณาถึงความรับผิดในค่าทดแทนของจำเลยที่ 2 ได้ และแม้โจทก์กับจำเลยที่ 1 จะมิได้อาศัยอยู่ร่วมกัน แต่เมื่อพิเคราะห์พฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 มีส่วนถึงขนาดที่ทำให้โจทก์ฟ้องหย่าขาดจากจำเลยที่ 1 จึงสมควรกำหนดค่าทดแทนให้โจทก์มีสิทธิได้รับจากจำเลยที่ 2 เป็นเงิน 500,000 บาท